สยามพารากอนแนะรัฐต้องสร้างความมั่นใจกับคนต่างชาติต่อเนื่อง ย้ำเศรษฐกิจเริ่มโงหัวขึ้นแล้ว ลุยหนักดึงอีเวนต์ยักษ์เข้ามาจัดในไทย ล่าสุดทุ่ม 20 ล้านบาทรีโนเวตพื้นที่ใหม่เปิดโซนโคคูน
นางชฎาทิพ จูตระกูล ผู้บริหารสูงสุด ศูนย์การค้าสยามพารากอน เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจขณะนี้เริ่มดีขึ้นแล้ว หลังจากที่ตกลงอย่างหนักตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยเดือนพฤษภาคมรายได้ของศูนย์เติบโต 15% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกปีนี้ อย่างไรก็ตามในภาพรวมนั้น รัฐบาลควรจะต้องเน้นหนักและสร้างความมั่นใจต่อต่างชาติให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งที่ผ่านมาก็ทำได้ดีแล้วในระดับหนึ่ง
ขณะที่ทางฟากเอกชนเองก็ยังต้องทำเองควบคู่ไปด้วย โดยในส่วนของพารากอน ก็มีแผนที่จะออกไปโรดโชว์ต่างประเทศเพื่อดึงลูกค้าต่างประเทศให้เข้ามาเที่ยวในไทยและที่ศูนย์การค้าสยามพารากอนมากขึ้น โดยมีทั้งการร่วมมือกับหน่วยงานรัฐและพันธมิตรต่างๆ รวมทั้งการพยายามดึงงานอีเวนต์ระดับชาติเข้ามาจัดในไทยที่รอยัลพารารากอนฮอลล์มากขึ้นเช่นกัน ซึ่งคาดว่าจะใช้งบในการทำโรดโชว์นี้ไม่ต่ำกว่า 7-8 ล้านบาท
แผนที่เตรียมไว้คือ การไปโรดโชว์ในงานอาระเบียนแทรเวิลมาร์ทที่ดูไบ การไปโรดโชว์งานเวิลด์ทราเวิลมาร์ทที่ลอนดอนในเดือนพฤศจิกายนนี้ งานไชน่าอินเตอร์เนชั่นแนลทราเวลมาร์ทที่จีนเดือนพฤศจิกายนนี้ และยังมีงานดิอัลติเมตดรีมเดสติเนชั่นที่ร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่จะเปิดตัวในวันนี้ (2 มิ.ย.) ส่วนการดึงงานใหญ่ๆมาจัดในรอยัลพารากอนฮอลล์เช่น งานของเล่นโลก หรือทอยส์เวิลด์ ซึ่งเดิมจัดที่ฮ่องกงและสิงคโปร์ งานเกี่ยวกับเชฟจะจัดปีนหน้า ล่าสุดก็คือ การจัดงานประชุมใหญ่ของแอมเวย์ภาคพื้นเอเซีย
“ที่ผ่านมาเรามีสัดส่วนการจัดงานที่มาจากต่างประเทศประมาณ 25% ของปริมาณงานทั้งหมด ซึ่งจากนี้เราจะพยายามดึงงานใหญ่ๆเข้ามาจัดที่นี่มากขึ้น เพื่อสร้างศักยภาพและสร้างความเชื่อมั่นให้กับต่างประเทศมากขึ้นด้วย ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก” นางชฎาทิพกล่าว
นางชฎาทิพ กล่าวต่อว่า ล่าสุด สยามพารากอนได้ปรับพื้นที่ใหม่ บริเวณชั้น 3 ซึ่งเดิมเป็นลานจัดอีเวนต์ โดยใช้งบมากกว่า 20 ล้านบาทในการรีโนเวตพื้นที่เป็นโซน เดอะโคคูน (The Cocoon) บนชั้น 3 เพื่อให้เป็นโซนอาหารรูปแบบใหม่ มีร้านค้า เบเกอรี เครื่องดื่ม อาหารรวม 10 แบรนด์ที่ไม่เคยเปิดร้านรูปแบบใหม่นี้ในที่ใดมาก่อน เพื่อให้เป็นแหล่งนัดพบของคนรุ่นใหม่ คนทำงาน วัยรุ่น และครอบครัว เจาะกลุ่มระดับ บีบวกขึ้นไป ซึ่งคาดว่าจะสามารถเพิ่มปริมาณลูกค้าหมุนเวียนในโซนนี้ได้ 10,000 คนต่อวัน มียอดซื้อเฉลี่ย 300 บาทต่อคนต่อครั้ง ขณะที่โซนอาหารชั้น จี นั้น มีลูกค้าหมุนเวียน 50,000 – 80,000 คนต่อวัน โดยมีแผนที่จะใช้งบ 10 ล้านบาทสำหรับจัดกิจกรรมการตลาด และอีก 5 ล้านบาท สำหรับโฆษณาและประชาสัมพันธ์
นางชฎาทิพ จูตระกูล ผู้บริหารสูงสุด ศูนย์การค้าสยามพารากอน เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจขณะนี้เริ่มดีขึ้นแล้ว หลังจากที่ตกลงอย่างหนักตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยเดือนพฤษภาคมรายได้ของศูนย์เติบโต 15% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกปีนี้ อย่างไรก็ตามในภาพรวมนั้น รัฐบาลควรจะต้องเน้นหนักและสร้างความมั่นใจต่อต่างชาติให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งที่ผ่านมาก็ทำได้ดีแล้วในระดับหนึ่ง
ขณะที่ทางฟากเอกชนเองก็ยังต้องทำเองควบคู่ไปด้วย โดยในส่วนของพารากอน ก็มีแผนที่จะออกไปโรดโชว์ต่างประเทศเพื่อดึงลูกค้าต่างประเทศให้เข้ามาเที่ยวในไทยและที่ศูนย์การค้าสยามพารากอนมากขึ้น โดยมีทั้งการร่วมมือกับหน่วยงานรัฐและพันธมิตรต่างๆ รวมทั้งการพยายามดึงงานอีเวนต์ระดับชาติเข้ามาจัดในไทยที่รอยัลพารารากอนฮอลล์มากขึ้นเช่นกัน ซึ่งคาดว่าจะใช้งบในการทำโรดโชว์นี้ไม่ต่ำกว่า 7-8 ล้านบาท
แผนที่เตรียมไว้คือ การไปโรดโชว์ในงานอาระเบียนแทรเวิลมาร์ทที่ดูไบ การไปโรดโชว์งานเวิลด์ทราเวิลมาร์ทที่ลอนดอนในเดือนพฤศจิกายนนี้ งานไชน่าอินเตอร์เนชั่นแนลทราเวลมาร์ทที่จีนเดือนพฤศจิกายนนี้ และยังมีงานดิอัลติเมตดรีมเดสติเนชั่นที่ร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่จะเปิดตัวในวันนี้ (2 มิ.ย.) ส่วนการดึงงานใหญ่ๆมาจัดในรอยัลพารากอนฮอลล์เช่น งานของเล่นโลก หรือทอยส์เวิลด์ ซึ่งเดิมจัดที่ฮ่องกงและสิงคโปร์ งานเกี่ยวกับเชฟจะจัดปีนหน้า ล่าสุดก็คือ การจัดงานประชุมใหญ่ของแอมเวย์ภาคพื้นเอเซีย
“ที่ผ่านมาเรามีสัดส่วนการจัดงานที่มาจากต่างประเทศประมาณ 25% ของปริมาณงานทั้งหมด ซึ่งจากนี้เราจะพยายามดึงงานใหญ่ๆเข้ามาจัดที่นี่มากขึ้น เพื่อสร้างศักยภาพและสร้างความเชื่อมั่นให้กับต่างประเทศมากขึ้นด้วย ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก” นางชฎาทิพกล่าว
นางชฎาทิพ กล่าวต่อว่า ล่าสุด สยามพารากอนได้ปรับพื้นที่ใหม่ บริเวณชั้น 3 ซึ่งเดิมเป็นลานจัดอีเวนต์ โดยใช้งบมากกว่า 20 ล้านบาทในการรีโนเวตพื้นที่เป็นโซน เดอะโคคูน (The Cocoon) บนชั้น 3 เพื่อให้เป็นโซนอาหารรูปแบบใหม่ มีร้านค้า เบเกอรี เครื่องดื่ม อาหารรวม 10 แบรนด์ที่ไม่เคยเปิดร้านรูปแบบใหม่นี้ในที่ใดมาก่อน เพื่อให้เป็นแหล่งนัดพบของคนรุ่นใหม่ คนทำงาน วัยรุ่น และครอบครัว เจาะกลุ่มระดับ บีบวกขึ้นไป ซึ่งคาดว่าจะสามารถเพิ่มปริมาณลูกค้าหมุนเวียนในโซนนี้ได้ 10,000 คนต่อวัน มียอดซื้อเฉลี่ย 300 บาทต่อคนต่อครั้ง ขณะที่โซนอาหารชั้น จี นั้น มีลูกค้าหมุนเวียน 50,000 – 80,000 คนต่อวัน โดยมีแผนที่จะใช้งบ 10 ล้านบาทสำหรับจัดกิจกรรมการตลาด และอีก 5 ล้านบาท สำหรับโฆษณาและประชาสัมพันธ์