สยามพิวรรธน์ สวนกระแสเศรษฐกิจซบ ซุ่มศึกษาแผนลงทุนใน 5 ทำเล เล็งขนาดที่ดิน 5-70 ไร่ หวังพลิกวิกฤตเป็นโอกาสรับเศรษฐกิจขาขึ้น 2-3 ปี แถมข้อได้เปรียบต้นทุนก่อสร้างลด 20-30% พร้อมผุดบริษัท สยาม โปรเฟสชั่นนัล ลุยธุรกิจการจัดการงานอาคาร เดินหน้า 3 ปี ขยายร้อนลอฟท์ 3 แห่ง อัด 80 ล้านบาท ปรับโฉมร้านลอฟท์ สู่มินิ สเปเชียลิตี้ ดีพาร์ตเมนต์สโตร์ สิ้นปีลอฟท์กวาดยอดโต 2.5 เท่าตัว
นางชฎาทิพ จูตระกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ เปิดเผยว่า ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ สำหรับเรามองว่าเป็นโอกาสที่ดีที่จะลงทุน รองรับกับภาวะเศรษฐกิจขาขึ้นในอีก 2-3 ปีข้างหน้านี้ ซึ่งขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการศึกษาพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และพื้นที่ว่างตามอาคารต่างๆ ที่มีศักยภาพ 5 ทำเล ในกรุงเทพฯเป็นหลัก โดยมีขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 5-70 ไร่ เพื่อนำมาพัฒนาธุรกิจในด้านต่างๆ ที่บริษัทมีความเชี่ยวชาญ อาทิ ศูนย์การค้า โรงแรม เป็นต้น
“หลังจากเกิดไอเอ็มเอฟ เราตัดสินใจลงทุนผุดศูนย์การค้าสยามพารากอน เพราะมองว่า ท่ามกลางเศรษฐกิจถดถอยแบบนี้ ต้องไม่กะพริบตา อีกทั้งยังมีข้อได้เปรียบด้านลดต้นทุนต่างๆ หรือกระทั่งการเจรจาซื้อที่ดินเพื่อบริหารก็มีการต่อรองราคาที่ง่ายมากขึ้น ซึ่งในช่วงนั้นเราสามารถลดต้นทุนสยามพารากอน 20-30% และขณะที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงเวลานี้ คาดว่า จะช่วยลดต้นทุนด้านการก่อสร้าง 20-30%”
นางชฎาทิพ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันยังมีอาคารที่มีศักยภาพบริหารได้อีกมาก เพียงแต่ต้องหาโซลูชั่นที่ดี ให้เวลารัฐบาลในการบริหารประเทศ และรอโอกาสในการพัฒนาเพื่อรับกับเศรษฐกิจขาขึ้นในอนาคต ซึ่งบริษัทอยู่ระหว่างการศึกษาโครงการอย่างละเอียด อย่างพื้นที่ 70 ไร่ นับว่า มีขนาดใหญ่มากเปรียบได้กับพื้นที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน สยามดิสคัฟเวอรี่ และสยามเซ็นเตอร์ มารวมกัน อย่างไรก็ตาม ปกติในแง่ของการลงทุนบริษัทจะใช้เงินกู้ประมาณ 35% ที่เหลือ 65% เป็นการลงทุนของบริษัทเองทั้งหมด
ล่าสุด ปีนี้ได้เปิดตัวบริษัท สยาม โปรเฟสชั่นนัล แมเนจเม้นท์ ซึ่งเป็นบริษัทลูกบริษัทที่ 6 ของสยามพิวรรธน์ เพื่อดำเนินธุรกิจการจัดการและการบริหารงานอาคาร อาทิ การบริหารงานภายใน-นอก ด้านความปลอดภัย และต้นทุนการบริหารงาน ทั้งนี้ เพื่อรองรับกับการขยายธุรกิจของทั้งกรุ๊ปของสยามพิวรรธน์
ขณะที่ความคืบหน้าด้านการลงทุนศูนย์การค้าเสรี เซ็นเตอร์ จะสามารถสรุปได้กลางปีนี้
**วาง 3 ปีผุดลอฟท์เพิ่มอีก 3 สาขา**
นางชฎาทิพ กล่าวในฐานะรองประธานกรรมการ บริษัท บีไอเอชซี เทรดดิ้ง จำกัด ผู้บริหารร้านลอฟท์ กล่าวว่า บริษัทได้วางแผนขยายร้านลอฟท์ ภายใน 3 ปี เปิดอีก 3 สาขา โดยในเบื้องต้นภายใน 2 ปี วางแผนเปิดต่างจังหวัด 1 แห่ง พัทยา จ.ภูเก็ต จ.เชียงใหม่
ส่วนกรุงเทพฯ ขยายเพิ่ม 2 แห่ง จากปัจจุบันมีทั้งหมด 2 สาขา ได้แก่ จามจุรี และ สยามดิสคัฟเวอรี่ ซึ่งล่าสุด ได้ทุ่มงบ 80 ล้านบาท ปรับปรุงร้านใหม่จากรูปแบบสโตร์มาสู่มินิ สเปเชียลิตี้ ดีพาร์ตเมนต์ สโตร์ โดยขยายพื้นที่ 3 เท่า จากชั้น 3 ขยายต่อเนื่องชั้น 4-5 บนพื้นที่กว่า 3,000 ตร.ม.โดยจะเปิดในเดือนกรกฎาคมนี้
สำหรับการปรับปรุงในครั้งนี้ ร้านลอฟท์จะเป็นโมเดลเต็มรูปแบบของประเทศญี่ปุ่น โดยมีสินค้ากว่า 1.5 แสนรายการ จากปัจจุบันมีสินค้า 1 แสนรายการ หมุนเวียนวางจำหน่ายใหม่ทุก 2 สัปดาห์ ภายในร้านมีการเพิ่มแผนกความงามและสุขภาพ สินค้าแฟชั่น เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน เป็นต้น โดยเจาะกลุ่มเป้าหมายวัยทำงาน กลุ่มครอบครัว อายุ 24-50 ปี สัดส่วน 75% อีก 25% เป็นกลุ่มนักเรียน
“โมเดลมินิ สเปเชียลิตี้ ดีพาร์ตเมนต์ สโตร์ เป็นการทดลองนำร่องไปก่อน ซึ่งหากได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีวางแผนขยายเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะในรูปแบบสแตนอโลน ใช้พื้นที่ประมาณ 8,000 ตร.ม.ขึ้นไป”
ทั้งนี้ จากการขยายร้านลอฟท์ เป็นมินิ สเปเชียลิตี้ ดีพาร์ตเมนต์สโตร์ นับว่าเป็นการเคลื่อนไหวของธุรกิจค้าปลีกในรอบ 14 ปี เพราะปัจจุบันนี้ยังไม่มีค้าปลีกในรูปแบบใหม่เกิดขึ้น โดยบริษัทตั้งเป้าเพิ่มยอดขายเติบโต 2.5 เท่าตัว จากปกติการซื้อต่อคนต่อครั้ง 1,800 บาท ส่วนการหมุนเวียนเข้าร้านเพิ่มขึ้น 2 เท่า จากปกติ 3.5 แสนคนต่อเดือน
สำหรับผลประกอบการปีที่ผ่านมา ทั้งกรุ๊ปถือว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยร้านลอฟท์มีกำไรเติบโต 50% โดยในช่วงเดือนมกราคม เติบโต 3% ส่วนในเดือนกุมภาพันธ์ เติบโต 3% ซึ่งถือว่าเป็นไปตามเป้าหมายท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ
นางชฎาทิพ จูตระกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ เปิดเผยว่า ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ สำหรับเรามองว่าเป็นโอกาสที่ดีที่จะลงทุน รองรับกับภาวะเศรษฐกิจขาขึ้นในอีก 2-3 ปีข้างหน้านี้ ซึ่งขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการศึกษาพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และพื้นที่ว่างตามอาคารต่างๆ ที่มีศักยภาพ 5 ทำเล ในกรุงเทพฯเป็นหลัก โดยมีขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 5-70 ไร่ เพื่อนำมาพัฒนาธุรกิจในด้านต่างๆ ที่บริษัทมีความเชี่ยวชาญ อาทิ ศูนย์การค้า โรงแรม เป็นต้น
“หลังจากเกิดไอเอ็มเอฟ เราตัดสินใจลงทุนผุดศูนย์การค้าสยามพารากอน เพราะมองว่า ท่ามกลางเศรษฐกิจถดถอยแบบนี้ ต้องไม่กะพริบตา อีกทั้งยังมีข้อได้เปรียบด้านลดต้นทุนต่างๆ หรือกระทั่งการเจรจาซื้อที่ดินเพื่อบริหารก็มีการต่อรองราคาที่ง่ายมากขึ้น ซึ่งในช่วงนั้นเราสามารถลดต้นทุนสยามพารากอน 20-30% และขณะที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงเวลานี้ คาดว่า จะช่วยลดต้นทุนด้านการก่อสร้าง 20-30%”
นางชฎาทิพ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันยังมีอาคารที่มีศักยภาพบริหารได้อีกมาก เพียงแต่ต้องหาโซลูชั่นที่ดี ให้เวลารัฐบาลในการบริหารประเทศ และรอโอกาสในการพัฒนาเพื่อรับกับเศรษฐกิจขาขึ้นในอนาคต ซึ่งบริษัทอยู่ระหว่างการศึกษาโครงการอย่างละเอียด อย่างพื้นที่ 70 ไร่ นับว่า มีขนาดใหญ่มากเปรียบได้กับพื้นที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน สยามดิสคัฟเวอรี่ และสยามเซ็นเตอร์ มารวมกัน อย่างไรก็ตาม ปกติในแง่ของการลงทุนบริษัทจะใช้เงินกู้ประมาณ 35% ที่เหลือ 65% เป็นการลงทุนของบริษัทเองทั้งหมด
ล่าสุด ปีนี้ได้เปิดตัวบริษัท สยาม โปรเฟสชั่นนัล แมเนจเม้นท์ ซึ่งเป็นบริษัทลูกบริษัทที่ 6 ของสยามพิวรรธน์ เพื่อดำเนินธุรกิจการจัดการและการบริหารงานอาคาร อาทิ การบริหารงานภายใน-นอก ด้านความปลอดภัย และต้นทุนการบริหารงาน ทั้งนี้ เพื่อรองรับกับการขยายธุรกิจของทั้งกรุ๊ปของสยามพิวรรธน์
ขณะที่ความคืบหน้าด้านการลงทุนศูนย์การค้าเสรี เซ็นเตอร์ จะสามารถสรุปได้กลางปีนี้
**วาง 3 ปีผุดลอฟท์เพิ่มอีก 3 สาขา**
นางชฎาทิพ กล่าวในฐานะรองประธานกรรมการ บริษัท บีไอเอชซี เทรดดิ้ง จำกัด ผู้บริหารร้านลอฟท์ กล่าวว่า บริษัทได้วางแผนขยายร้านลอฟท์ ภายใน 3 ปี เปิดอีก 3 สาขา โดยในเบื้องต้นภายใน 2 ปี วางแผนเปิดต่างจังหวัด 1 แห่ง พัทยา จ.ภูเก็ต จ.เชียงใหม่
ส่วนกรุงเทพฯ ขยายเพิ่ม 2 แห่ง จากปัจจุบันมีทั้งหมด 2 สาขา ได้แก่ จามจุรี และ สยามดิสคัฟเวอรี่ ซึ่งล่าสุด ได้ทุ่มงบ 80 ล้านบาท ปรับปรุงร้านใหม่จากรูปแบบสโตร์มาสู่มินิ สเปเชียลิตี้ ดีพาร์ตเมนต์ สโตร์ โดยขยายพื้นที่ 3 เท่า จากชั้น 3 ขยายต่อเนื่องชั้น 4-5 บนพื้นที่กว่า 3,000 ตร.ม.โดยจะเปิดในเดือนกรกฎาคมนี้
สำหรับการปรับปรุงในครั้งนี้ ร้านลอฟท์จะเป็นโมเดลเต็มรูปแบบของประเทศญี่ปุ่น โดยมีสินค้ากว่า 1.5 แสนรายการ จากปัจจุบันมีสินค้า 1 แสนรายการ หมุนเวียนวางจำหน่ายใหม่ทุก 2 สัปดาห์ ภายในร้านมีการเพิ่มแผนกความงามและสุขภาพ สินค้าแฟชั่น เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน เป็นต้น โดยเจาะกลุ่มเป้าหมายวัยทำงาน กลุ่มครอบครัว อายุ 24-50 ปี สัดส่วน 75% อีก 25% เป็นกลุ่มนักเรียน
“โมเดลมินิ สเปเชียลิตี้ ดีพาร์ตเมนต์ สโตร์ เป็นการทดลองนำร่องไปก่อน ซึ่งหากได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีวางแผนขยายเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะในรูปแบบสแตนอโลน ใช้พื้นที่ประมาณ 8,000 ตร.ม.ขึ้นไป”
ทั้งนี้ จากการขยายร้านลอฟท์ เป็นมินิ สเปเชียลิตี้ ดีพาร์ตเมนต์สโตร์ นับว่าเป็นการเคลื่อนไหวของธุรกิจค้าปลีกในรอบ 14 ปี เพราะปัจจุบันนี้ยังไม่มีค้าปลีกในรูปแบบใหม่เกิดขึ้น โดยบริษัทตั้งเป้าเพิ่มยอดขายเติบโต 2.5 เท่าตัว จากปกติการซื้อต่อคนต่อครั้ง 1,800 บาท ส่วนการหมุนเวียนเข้าร้านเพิ่มขึ้น 2 เท่า จากปกติ 3.5 แสนคนต่อเดือน
สำหรับผลประกอบการปีที่ผ่านมา ทั้งกรุ๊ปถือว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยร้านลอฟท์มีกำไรเติบโต 50% โดยในช่วงเดือนมกราคม เติบโต 3% ส่วนในเดือนกุมภาพันธ์ เติบโต 3% ซึ่งถือว่าเป็นไปตามเป้าหมายท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ