ASTVผู้จัดการรายวัน –กองอสังหาฉาว"ทียูโดม"ใกล้ได้ข้อสรุป กลต.เตรียมปิดคดีเร็วๆ นี้ หลังผู้ถือหน่วยร้องไม่ได้รับผลตอบแทนตามสัญญาที่ให้ไว้ในหนังสือชี้ชวน ระบุต้องดูที่เจตนาผู้จัดการกองทุนเป็นหลักว่าจงใจหมกเม็ดหรือไม่ ขณะเดียวกันปัดให้ความเห็นการลงทุนของกบข.-สปส. หวั่นสังคมสับสนระหว่างองค์กร กับตัวบุคคล จนบานปลาย กระทบเงินออมยามเกษียณได้
นายประเวช องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สายงานกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า เร็วๆ นี้ สำนักงาน ก.ล.ต. จะได้ข้อสรุปแล้วว่าการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ที ยู โดม เรสซิเดนท์เชียลคอมเพล็กซ์ (TU-PF) ซึ่งบริหารจัดการกองทุนโดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด เข้าข่ายมีความผิดหรือไม่ หลังจากที่ผ่านมา มีการร้องเรียนจากผู้ถือหน่วยว่า กองทุนดังกล่าวไม่สามารถลงทุนได้ตามกำหนด เนื่องจากโครงการก่อสร้างล่าช้า ซึ่งไม่ตรงตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนจนกระทบกับจ่ายผลตอบแทนในที่สุด
ทั้งนี้ ประเด็นความผิดที่ ก.ล.ต. จะพิจารณา จะดูที่เจตนาของผู้บริหารกองทุนเป็นหลัก ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด จงใจหรือเกิดขึ้นจากสาเหตุสุดวิสัย โดยเร็วๆ นี้จะมีการเปิดเผยข้อสรุปที่ชัดเจนอีกครั้ง
สำหรับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ที ยู โดม เรสซิเดนท์เชียลคอมเพล็กซ์ ถือเป็นกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่มีปัญหาอย่างต่อเนื่อง โดยกองทุนนี้จัดตั้งกองทุนเพื่อไปลงทุนในหอพักนักศึกษาซึ่งยังไม่ได้เริ่มต้นก่อสร้าง โดยในหนังสือชี้ชวนระบุว่า ในช่วงระหว่างก่อสร้างโครงการ กองทุนจะนำเงินที่ระดมทนมาได้ ไปลงทุนในตราสารหนี้เพื่อหาผลตอบแทนก่อน แต่พอครบกำหนดระยะเวลา ปรากฎว่า โครงการหอพักดังกล่าว ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จตามที่ระบุไว้ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องที่ดินบริเวณดังกล่าวด้วย
โดยสิ่งที่เกิดขึ้นดังกล่าว ส่งผลให้กองทุนไม่สามารถจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้ถือหน่วยได้ตามที่ระบุในช่วงการเสนอขายหน่วยลงทุน ซึ่งล่าสุด ยังพบว่า ผลการดำเนินงานในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา ยังขาดทุนอยู่อย่างต่อเนื่อง จนนำไปสู่ของการเรียกผู้บริหารกองทุนเข้าไปพบของสำนักงานประกันสังคม ซึ่งเป็นผู้ถือหน่วยรายใหญ่กว่า 70% ถึงสาเหตุของการขาดทุนต่อเนื่องดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม หากผลการตรวจสอบออกมาพบว่า ผู้บริหารกองทุนไม่เข้าข่ายความผิด ประเด็นนี้ สำนักงานก.ล.ต. เอง คงจะต้องชี้แจงผู้ถือหน่วยว่า ปล่อยให้ใช้ช่องว่างจัดตั้งกองทุนในลักษณะออกมาได้อย่างไร เพราะส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ที่นักลงทุนจะได้รับ
**“กบข.-สปส.”นอกเหนืออำนาจก.ล.ต**
นายประเวช กล่าวต่อถึงกรณีที่เกิดขึ้นกับทั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หรือกองทุนประกันสังคม (สปส.) ว่า ไม่อยากให้สังคมสับสนระหว่างองค์กรกับตัวบุคคล เพราะโดยตัวองค์กรแล้วทั้งกบข.และสปส.ไม่ได้มีปัญหาอะไร และยังถือเป็นนักลงทุนสถาบันที่มีคุณภาพด้วย เพราะเท่าที่ทราบมา บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ที่เข้าไปบริหารพอร์ตลงทุนบางส่วนให้กับ 2 องค์นี้ ก็บอกว่า ทั้งกบข.และสปส.มีกระบวนการคัดเลือกที่เข้มงวดมาก ดังนั้น สมาชิกของกบข.และสปส.จึงน่าจะสบายใจในเรื่องของกระบวนการลงทุนของนักลงทุนสถาบันทั้ง 2 แห่งนี้ได้
ทั้งนี้ ไม่อยากให้นักลงทุนสับสนระหว่างความผิดของอดีตเลขาธิการกบข.ซึ่งเป็นความผิดในระดับบุคลลไปปะปนกับความเป็นสถาบันขององค์กรทั้ง 2 แห่ง ซึ่งไม่ได้มีปัญหาอะไรด้วย เพราะอาจจะทำให้สมาชิกขององค์กรทั้ง 2 เกิดความเข้าใจที่สับสนได้
นายประเวชกล่าวว่า ทั้งกบข.และสปส.เป็นกองทุนระยะยาว ดังนั้นสมาชิกและนักลงทุนควรจะมองผลการดำเนินงานในระยะยาวด้วยเช่นเดียวกัน จึงจะได้ภาพที่สอดคล้องกับเป้าหมายของกองทุนทั้ง 2 แห่ง ซึ่งหากมองผลตอบแทนในระยะยาวแล้วจะเห็นว่า กบข.เองก็สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีเมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีมาตรฐาน (Benchmark) ซึ่งเป็นตัวเทียบวัด ดังนั้น จึงไม่อยากให้มองผลการดำเนินงานในระยะสั้นเป็นรายปีเพราะอาจไม่สอดคล้องกับเป้าหมายในการลงทุนของกองทุน
“ปีที่แล้วที่ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลงหนัก เมื่อกบข.มีการลงทุนในหุ้นก้ต้องมีผลขาดทุนได้เป็นธรรมดา สปส.ก็เช่นเดียวกัน ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นว่ากบข.และสปส.ไม่สามารถลงทุนในหุ้นได้เพราะกลัวขาดทุน ทั้งที่ลงทุนในหุ้นต้องขาดทุนได้จึงจะถูกต้องไม่เช่นนั้นจะเอาผลตอบแทนที่ดีจากไหนมาให้สมาชิกเมื่อเกษียณในบั้นปลาย”
นายประเวช ยังกล่าวอีกว่า แม้จะเป็นเรื่องที่ดีที่สังคมคาดหวังต่อบทบาทการทำหน้าที่ของสำนักงานก.ล.ต. แต่อำนาจของก.ล.ต.ก็มีขอบเขตเช่นเดียวกัน ซึ่งในกรณีของสปส.หรือกบข.ไม่ได้อยู่ในอำนาจการตรวจสอบของ ก.ล.ต. แต่เราจะดูแลเขาในฐานะของนักลงทุนสถาบันที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น เสมือนนักลงทุนรายใหญ่รายหนึ่ง ซึ่งหากก.ล.ต.พบว่ามีพฤติกรรมที่เป็นไปในลักษณะของความผิดอาญาตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เช่น การปั่นหุ้นหรือสร้างราคาเหมือนกรณีที่เกิดขึ้น ในอดีตนั้น ก.ล.ต.ก็สามารถเข้าไปตรวจสอบได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาเรายังไม่เคยพบว่านักลงทุนสถาบันในตลาดมีพฤติกรรมในลักษณะดังกล่าวเลย เพราะเขาถือเป็นนักลงทุนมืออาชีพ โอกาสที่จะเกิดเรื่องในลักษณะนี้น้อยมาก ในระดับบุคคลเองในส่วนของธุรกิจกองทุนรวมที่เรากำกับดูแลอยู่ ก็ไม่มีเช่นเดียวกัน
ส่วนกรณีของอดีตเลขาธิการกบข.นั้น ถือเป็นเรื่องภายในองค์กรที่จะต้องเข้ามาดูแลตรงนั้น หากผู้บริหารมีการใช้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ของตัวเองจนทำให้กองทุนที่บริหารอยู่เกิดความเสียหาย ในการวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับจรรยาบรรณขององค์กรภายในซึ่งสังคมอาจจะมีความคาดหวังในฐานะที่เขาเป็นนักลงทุนสถาบัน แต่ ก.ล.ต.ไม่มีอำนาจที่จะเข้าไปตรวจสอบได้ เพราะ กบข.และ สปส.มี พ.ร.บ.จัดตั้งโดยเฉพาะ และไม่ได้อยู่ในอำนาจของก.ล.ต.ที่จะเข้าไปตรวจสอบ
อย่างไรก็ตาม ข้อเรียกร้องของสังคมที่อยากเห็นสปส.เปิดเผยข้อมูลการลงทุนให้มีความโปร่งใสมากขึ้นก็เป็นเรื่องที่รับฟังได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สปส.จะทำหรือไม่นั้น เป็นเรื่องภายในองค์กรเช่นเดียวกัน
นายประเวช องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สายงานกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า เร็วๆ นี้ สำนักงาน ก.ล.ต. จะได้ข้อสรุปแล้วว่าการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ที ยู โดม เรสซิเดนท์เชียลคอมเพล็กซ์ (TU-PF) ซึ่งบริหารจัดการกองทุนโดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด เข้าข่ายมีความผิดหรือไม่ หลังจากที่ผ่านมา มีการร้องเรียนจากผู้ถือหน่วยว่า กองทุนดังกล่าวไม่สามารถลงทุนได้ตามกำหนด เนื่องจากโครงการก่อสร้างล่าช้า ซึ่งไม่ตรงตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนจนกระทบกับจ่ายผลตอบแทนในที่สุด
ทั้งนี้ ประเด็นความผิดที่ ก.ล.ต. จะพิจารณา จะดูที่เจตนาของผู้บริหารกองทุนเป็นหลัก ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด จงใจหรือเกิดขึ้นจากสาเหตุสุดวิสัย โดยเร็วๆ นี้จะมีการเปิดเผยข้อสรุปที่ชัดเจนอีกครั้ง
สำหรับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ที ยู โดม เรสซิเดนท์เชียลคอมเพล็กซ์ ถือเป็นกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่มีปัญหาอย่างต่อเนื่อง โดยกองทุนนี้จัดตั้งกองทุนเพื่อไปลงทุนในหอพักนักศึกษาซึ่งยังไม่ได้เริ่มต้นก่อสร้าง โดยในหนังสือชี้ชวนระบุว่า ในช่วงระหว่างก่อสร้างโครงการ กองทุนจะนำเงินที่ระดมทนมาได้ ไปลงทุนในตราสารหนี้เพื่อหาผลตอบแทนก่อน แต่พอครบกำหนดระยะเวลา ปรากฎว่า โครงการหอพักดังกล่าว ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จตามที่ระบุไว้ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องที่ดินบริเวณดังกล่าวด้วย
โดยสิ่งที่เกิดขึ้นดังกล่าว ส่งผลให้กองทุนไม่สามารถจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้ถือหน่วยได้ตามที่ระบุในช่วงการเสนอขายหน่วยลงทุน ซึ่งล่าสุด ยังพบว่า ผลการดำเนินงานในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา ยังขาดทุนอยู่อย่างต่อเนื่อง จนนำไปสู่ของการเรียกผู้บริหารกองทุนเข้าไปพบของสำนักงานประกันสังคม ซึ่งเป็นผู้ถือหน่วยรายใหญ่กว่า 70% ถึงสาเหตุของการขาดทุนต่อเนื่องดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม หากผลการตรวจสอบออกมาพบว่า ผู้บริหารกองทุนไม่เข้าข่ายความผิด ประเด็นนี้ สำนักงานก.ล.ต. เอง คงจะต้องชี้แจงผู้ถือหน่วยว่า ปล่อยให้ใช้ช่องว่างจัดตั้งกองทุนในลักษณะออกมาได้อย่างไร เพราะส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ที่นักลงทุนจะได้รับ
**“กบข.-สปส.”นอกเหนืออำนาจก.ล.ต**
นายประเวช กล่าวต่อถึงกรณีที่เกิดขึ้นกับทั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หรือกองทุนประกันสังคม (สปส.) ว่า ไม่อยากให้สังคมสับสนระหว่างองค์กรกับตัวบุคคล เพราะโดยตัวองค์กรแล้วทั้งกบข.และสปส.ไม่ได้มีปัญหาอะไร และยังถือเป็นนักลงทุนสถาบันที่มีคุณภาพด้วย เพราะเท่าที่ทราบมา บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ที่เข้าไปบริหารพอร์ตลงทุนบางส่วนให้กับ 2 องค์นี้ ก็บอกว่า ทั้งกบข.และสปส.มีกระบวนการคัดเลือกที่เข้มงวดมาก ดังนั้น สมาชิกของกบข.และสปส.จึงน่าจะสบายใจในเรื่องของกระบวนการลงทุนของนักลงทุนสถาบันทั้ง 2 แห่งนี้ได้
ทั้งนี้ ไม่อยากให้นักลงทุนสับสนระหว่างความผิดของอดีตเลขาธิการกบข.ซึ่งเป็นความผิดในระดับบุคลลไปปะปนกับความเป็นสถาบันขององค์กรทั้ง 2 แห่ง ซึ่งไม่ได้มีปัญหาอะไรด้วย เพราะอาจจะทำให้สมาชิกขององค์กรทั้ง 2 เกิดความเข้าใจที่สับสนได้
นายประเวชกล่าวว่า ทั้งกบข.และสปส.เป็นกองทุนระยะยาว ดังนั้นสมาชิกและนักลงทุนควรจะมองผลการดำเนินงานในระยะยาวด้วยเช่นเดียวกัน จึงจะได้ภาพที่สอดคล้องกับเป้าหมายของกองทุนทั้ง 2 แห่ง ซึ่งหากมองผลตอบแทนในระยะยาวแล้วจะเห็นว่า กบข.เองก็สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีเมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีมาตรฐาน (Benchmark) ซึ่งเป็นตัวเทียบวัด ดังนั้น จึงไม่อยากให้มองผลการดำเนินงานในระยะสั้นเป็นรายปีเพราะอาจไม่สอดคล้องกับเป้าหมายในการลงทุนของกองทุน
“ปีที่แล้วที่ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลงหนัก เมื่อกบข.มีการลงทุนในหุ้นก้ต้องมีผลขาดทุนได้เป็นธรรมดา สปส.ก็เช่นเดียวกัน ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นว่ากบข.และสปส.ไม่สามารถลงทุนในหุ้นได้เพราะกลัวขาดทุน ทั้งที่ลงทุนในหุ้นต้องขาดทุนได้จึงจะถูกต้องไม่เช่นนั้นจะเอาผลตอบแทนที่ดีจากไหนมาให้สมาชิกเมื่อเกษียณในบั้นปลาย”
นายประเวช ยังกล่าวอีกว่า แม้จะเป็นเรื่องที่ดีที่สังคมคาดหวังต่อบทบาทการทำหน้าที่ของสำนักงานก.ล.ต. แต่อำนาจของก.ล.ต.ก็มีขอบเขตเช่นเดียวกัน ซึ่งในกรณีของสปส.หรือกบข.ไม่ได้อยู่ในอำนาจการตรวจสอบของ ก.ล.ต. แต่เราจะดูแลเขาในฐานะของนักลงทุนสถาบันที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น เสมือนนักลงทุนรายใหญ่รายหนึ่ง ซึ่งหากก.ล.ต.พบว่ามีพฤติกรรมที่เป็นไปในลักษณะของความผิดอาญาตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เช่น การปั่นหุ้นหรือสร้างราคาเหมือนกรณีที่เกิดขึ้น ในอดีตนั้น ก.ล.ต.ก็สามารถเข้าไปตรวจสอบได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาเรายังไม่เคยพบว่านักลงทุนสถาบันในตลาดมีพฤติกรรมในลักษณะดังกล่าวเลย เพราะเขาถือเป็นนักลงทุนมืออาชีพ โอกาสที่จะเกิดเรื่องในลักษณะนี้น้อยมาก ในระดับบุคคลเองในส่วนของธุรกิจกองทุนรวมที่เรากำกับดูแลอยู่ ก็ไม่มีเช่นเดียวกัน
ส่วนกรณีของอดีตเลขาธิการกบข.นั้น ถือเป็นเรื่องภายในองค์กรที่จะต้องเข้ามาดูแลตรงนั้น หากผู้บริหารมีการใช้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ของตัวเองจนทำให้กองทุนที่บริหารอยู่เกิดความเสียหาย ในการวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับจรรยาบรรณขององค์กรภายในซึ่งสังคมอาจจะมีความคาดหวังในฐานะที่เขาเป็นนักลงทุนสถาบัน แต่ ก.ล.ต.ไม่มีอำนาจที่จะเข้าไปตรวจสอบได้ เพราะ กบข.และ สปส.มี พ.ร.บ.จัดตั้งโดยเฉพาะ และไม่ได้อยู่ในอำนาจของก.ล.ต.ที่จะเข้าไปตรวจสอบ
อย่างไรก็ตาม ข้อเรียกร้องของสังคมที่อยากเห็นสปส.เปิดเผยข้อมูลการลงทุนให้มีความโปร่งใสมากขึ้นก็เป็นเรื่องที่รับฟังได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สปส.จะทำหรือไม่นั้น เป็นเรื่องภายในองค์กรเช่นเดียวกัน