เอเอฟพี – อิหร่านพยายามผ่อนคลายสถานการณ์ตึงเครียดในประเทศ โดยระบุในวันจันทร์ (29) ว่าได้ปล่อยตัวเจ้าหน้าที่สถานทูตอังกฤษ 5 คนที่ถูกกล่าวหาว่ายั่วยุให้เกิดความไม่สงบภายหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีแล้ว ส่วนประธานาธิบดีมาห์มูด อาห์มาดิเนจาด ก็ได้สั่งการให้สอบสวนคดีการเสียชีวิต “อย่างน่าสงสัย” ของเนดา อักฮา-โซลตัน สาวอิหร่านที่เป็นสัญลักษณ์ของฝ่ายผู้ประท้วงขณะนี้
“ในจำนวนผู้ถูกจับกุมตัวทั้งหมด 9 คน เราได้ปล่อยตัวไปแล้ว 5 คน” ฮัสซัน กาชกาวี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศอิหร่าน แถลงข่าว และยังบอกว่าอิหร่านไม่คิดจะปิดสถานทูตหรือปรับลดระดับความสัมพันธ์กับประเทศอื่น แม้ว่าจะมีเสียงเรียกร้องจากประชาคมโลกที่แสดงความวิตกต่อสถานการณ์ในอิหร่านก็ตาม
ก่อนหน้านี้ อิหร่านได้กล่าวหาซ้ำๆ ว่าโลกตะวันตก โดยเฉพาะอังกฤษและสหรัฐฯ นั้น “เข้าไปมีส่วนยั่วยุ” ให้เกิดความรุนแรงภายหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่านเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน จนเกิดวิกฤตการณ์ร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่การปฏิวัติอิสลามเมื่อ 30 ปีก่อน โดยเจ้าหน้าที่สถานทูต “มีบทบาทอย่างมาก” ในเหตุความไม่สงบครั้งนี้
โกแลม ฮุสเซน โมห์เซนี เอจีจี รัฐมนตรีกระทรวงข่าวกรองของอิหร่าน ก็กล่าวหาว่าสถานทูตอังกฤษส่งเจ้าหน้าที่ออกไป “ขยายเหตุจลาจลให้ลุกลาม”
ทว่า เดวิด มิลิแบนด์ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษ ได่ประท้วงอย่างรุนแรงต่อการจับกุมดังกล่าว เพราะถือว่าเป็น “การละเมิดและข่มขู่” พร้อมกันนั้นเขาก็ปฏิเสธคำกล่าวอ้างที่ไร้หลักฐานที่ว่าสถานทูตอยู่เบื้องหลังความไม่สงบ
เขาบอกอีกว่าสหภาพยุโรปเองก็ให้คำมั่นว่าจะ “ร่วมมือกันตอบโต้อิหร่านอย่างรุนแรง” เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม มานูเชอร์ มอตตากิ รัฐมนตรีการต่างประเทศของอิหร่านได้เรียกร้องให้อังกฤษและสหภาพยุโรปอย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจดำเนินการใดๆ โดยบอกว่า “อย่าเดินหน้าเล่นเกมที่มีแต่เสียอีกต่อไป เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของประชาชนอังกฤษ หรือความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศที่เลวร้ายลงไปเพราะพฤติกรรมของรัฐบาลอังกฤษ”
นอกจากนั้น อิหร่านยังระบุว่าเมื่อวานนี้ได้เริ่มมีการนับคะแนนการเลือกตั้งใหม่บางส่วนแล้ว โดย “สภาผู้พิทักษ์ได้เริ่มนับคะแนนเลือกตั้งใหม่เป็นบางส่วนในหีบเลือกตั้งราว 10 เปอร์เซ็นต์ของหีบเลือกตั้งทั้งหมด” ทั้งนี้การนับคะแนนในรอบแรก มีร์ฮุสเซน มูซาวี ได้คะแนนเสียงราว 34 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอาห์มาดิเนจาดได้คะแนนเสียง 63 เปอร์เซ็นต์ โดยทิ้งห่างกันมากถึง 11 ล้านเสียง
ทว่าฝ่ายผู้ประท้วงยังยืนยันเรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ โดยยังชุมนุมต่อเนื่องจนทำให้รากฐานของระบอบอิสลามสั่นคลอนครั้งใหญ่
**อาห์มาดิเนจาดสั่งสอบกรณีสังหาร “เนดา”**
ในวันจันทร์ (29) ประธานาธิบดีอาห์มาดิเนจาด ได้สั่งการให้สอบสวนคดีการเสียชีวิต “อย่างน่าสงสัย” ของเนดา อักฮา โซลตัน ผู้หญิงอิหร่านวัย 26 ปี ที่กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของผู้ประท้วงผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี หลังจากที่เธอถูกฝ่ายทหารยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ในระหว่างที่กลุ่มผู้ประท้วงซึ่งสนับสนุนมูซาวี ปะทะกับตำรวจปราบจลาจลและหน่วยทหาร
สำนักข่าวไออาร์เอ็นเอของอิหร่านระบุว่า อาห์มาดิเนจาดได้ส่งจดหมายถึงอยาตอลเลาะห์ ฮาเชมี ชาห์รูดี ประธานศาลยุติธรรม โดยขอให้ทำการสืบสวนคดีอย่างจริงจังเพื่อสืบหาตัว “ตัวการ” ที่อยู่เบื้องหลังการยิงเนดา
ทั้งนี้ อาห์มาดิเนจาดยังกล่าวหาสื่อต่างประเทศว่าใช้กรณีเนดาเพื่อการโฆษณาชวนเชื่อ และชี้ว่าฝ่ายค้านและศัตรูของอิหร่านในต่างประเทศมีเป้าหมายที่จะบิดเบือนกรณีดังกล่าวเพื่อ “เป้าหมายทางการเมืองของตนเอง และยังบิดเบือนภาพลักษณ์ที่สะอาดบริสุทธิ์ของสาธารณรัฐอิสลามในสายตาชาวโลกอีกด้วย”
“ในจำนวนผู้ถูกจับกุมตัวทั้งหมด 9 คน เราได้ปล่อยตัวไปแล้ว 5 คน” ฮัสซัน กาชกาวี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศอิหร่าน แถลงข่าว และยังบอกว่าอิหร่านไม่คิดจะปิดสถานทูตหรือปรับลดระดับความสัมพันธ์กับประเทศอื่น แม้ว่าจะมีเสียงเรียกร้องจากประชาคมโลกที่แสดงความวิตกต่อสถานการณ์ในอิหร่านก็ตาม
ก่อนหน้านี้ อิหร่านได้กล่าวหาซ้ำๆ ว่าโลกตะวันตก โดยเฉพาะอังกฤษและสหรัฐฯ นั้น “เข้าไปมีส่วนยั่วยุ” ให้เกิดความรุนแรงภายหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่านเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน จนเกิดวิกฤตการณ์ร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่การปฏิวัติอิสลามเมื่อ 30 ปีก่อน โดยเจ้าหน้าที่สถานทูต “มีบทบาทอย่างมาก” ในเหตุความไม่สงบครั้งนี้
โกแลม ฮุสเซน โมห์เซนี เอจีจี รัฐมนตรีกระทรวงข่าวกรองของอิหร่าน ก็กล่าวหาว่าสถานทูตอังกฤษส่งเจ้าหน้าที่ออกไป “ขยายเหตุจลาจลให้ลุกลาม”
ทว่า เดวิด มิลิแบนด์ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษ ได่ประท้วงอย่างรุนแรงต่อการจับกุมดังกล่าว เพราะถือว่าเป็น “การละเมิดและข่มขู่” พร้อมกันนั้นเขาก็ปฏิเสธคำกล่าวอ้างที่ไร้หลักฐานที่ว่าสถานทูตอยู่เบื้องหลังความไม่สงบ
เขาบอกอีกว่าสหภาพยุโรปเองก็ให้คำมั่นว่าจะ “ร่วมมือกันตอบโต้อิหร่านอย่างรุนแรง” เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม มานูเชอร์ มอตตากิ รัฐมนตรีการต่างประเทศของอิหร่านได้เรียกร้องให้อังกฤษและสหภาพยุโรปอย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจดำเนินการใดๆ โดยบอกว่า “อย่าเดินหน้าเล่นเกมที่มีแต่เสียอีกต่อไป เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของประชาชนอังกฤษ หรือความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศที่เลวร้ายลงไปเพราะพฤติกรรมของรัฐบาลอังกฤษ”
นอกจากนั้น อิหร่านยังระบุว่าเมื่อวานนี้ได้เริ่มมีการนับคะแนนการเลือกตั้งใหม่บางส่วนแล้ว โดย “สภาผู้พิทักษ์ได้เริ่มนับคะแนนเลือกตั้งใหม่เป็นบางส่วนในหีบเลือกตั้งราว 10 เปอร์เซ็นต์ของหีบเลือกตั้งทั้งหมด” ทั้งนี้การนับคะแนนในรอบแรก มีร์ฮุสเซน มูซาวี ได้คะแนนเสียงราว 34 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอาห์มาดิเนจาดได้คะแนนเสียง 63 เปอร์เซ็นต์ โดยทิ้งห่างกันมากถึง 11 ล้านเสียง
ทว่าฝ่ายผู้ประท้วงยังยืนยันเรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ โดยยังชุมนุมต่อเนื่องจนทำให้รากฐานของระบอบอิสลามสั่นคลอนครั้งใหญ่
**อาห์มาดิเนจาดสั่งสอบกรณีสังหาร “เนดา”**
ในวันจันทร์ (29) ประธานาธิบดีอาห์มาดิเนจาด ได้สั่งการให้สอบสวนคดีการเสียชีวิต “อย่างน่าสงสัย” ของเนดา อักฮา โซลตัน ผู้หญิงอิหร่านวัย 26 ปี ที่กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของผู้ประท้วงผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี หลังจากที่เธอถูกฝ่ายทหารยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ในระหว่างที่กลุ่มผู้ประท้วงซึ่งสนับสนุนมูซาวี ปะทะกับตำรวจปราบจลาจลและหน่วยทหาร
สำนักข่าวไออาร์เอ็นเอของอิหร่านระบุว่า อาห์มาดิเนจาดได้ส่งจดหมายถึงอยาตอลเลาะห์ ฮาเชมี ชาห์รูดี ประธานศาลยุติธรรม โดยขอให้ทำการสืบสวนคดีอย่างจริงจังเพื่อสืบหาตัว “ตัวการ” ที่อยู่เบื้องหลังการยิงเนดา
ทั้งนี้ อาห์มาดิเนจาดยังกล่าวหาสื่อต่างประเทศว่าใช้กรณีเนดาเพื่อการโฆษณาชวนเชื่อ และชี้ว่าฝ่ายค้านและศัตรูของอิหร่านในต่างประเทศมีเป้าหมายที่จะบิดเบือนกรณีดังกล่าวเพื่อ “เป้าหมายทางการเมืองของตนเอง และยังบิดเบือนภาพลักษณ์ที่สะอาดบริสุทธิ์ของสาธารณรัฐอิสลามในสายตาชาวโลกอีกด้วย”