เอเอฟพี - อัตราการว่างงานในประเทศเอเชียเวลานี้ แม้จะไม่สูงเท่าพวกประเทศที่เศรษฐกิจก้าวหน้าทั้งหลาย แต่จากการที่ต้องพึ่งพาการส่งออก แถมราคาสินค้าโภคภัณฑ์ก็กำลังทำท่าขยับสูงขึ้นใหม่ จึงอาจทำให้เกิดลอยแพพนักงานกันอย่างขนานใหญ่ในอีกไม่นานจากนี้ไป
พวกประเทศเอเชียจำนวนมากต้องพึ่งพาการส่งออกไปยังตลาดในสหรัฐฯและยุโรป เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจของตนเองให้เคลื่อนไปข้างหน้า ดังนั้น หากความต้องการสินค้าจากเอเชียยังคงดำดิ่งลงไปเรื่อย ๆ และผู้บริโภคในโลกตะวันตกยังคงตกงานมากขึ้นๆ ในที่สุดก็จะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตสินค้าในเอเชียอย่างแน่นอน
"สิ่งที่เราวิตกกังวลมากที่สุดก็คือ อัตราการว่างงาน" ทีมนักเศรษฐศาสตร์จากโนมูระ กล่าวในรายงานว่าด้วยเศรษฐกิจของประเทศเอเชีย
"อาจจะทำเป็นไม่ใส่ใจ เพราะมัน(อัตราการว่างงาน)เป็นสัญญาณบ่งชี้วัฏจักร(เศรษฐกิจ)ที่จะต้องแสดงผลล่าช้ากว่าสัญญาณตัวอื่นๆ อยู่แล้ว กระนั้นก็ตาม ถ้าหากความต้องการสินค้าโดยรวมยังคงไม่มีการฟื้นตัวขึ้นมาอย่างแข็งแกร่งแล้ว ก็จะเป็นเรื่องยากที่จะสามารถสร้างตำแหน่งงานใหม่ๆ และดังนั้นอัตราการว่างงานจึงอาจจะยังคงสูงไม่ยอมลงเสียที จนกลายเป็นตัวขัดขวางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไปเลย" รายงานของโนมูระชี้
รายงานของโนมูระระบุว่า เขตเศรษฐกิจในเอเชียที่น่าจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกมากที่สุด ได้แก่ ฮ่องกง, เกาหลีใต้, มาเลเซีย, สิงคโปร์, ไต้หวัน, และไทย โดยประเทศและดินแดนเหล่านี้ล้วนแล้วแต่กำลังมีอัตราการเติบโตของจีดีพีติดลบมากกว่า 10% และผลกระทบที่เกิดกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศและดินแดนเหล่านี้ ก็หนักหน่วงยิ่งกว่าในสมัยวิกฤตต้มยำกุ้งที่เกิดขึ้นในเอเชียเมื่อสิบกว่าปีก่อนเสียอีก
"ในประเทศและเขตเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดทั้ง 6 นี้ กำลังมีหลักฐานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ของผลกระทบด้านลบรอบที่สอง เนื่องจากพวกบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก ต่างกำลังลดค่าใช้จ่ายหลักรวมทั้งลดตำแหน่งงานด้วย" รายงานกล่าว
เหมือนกับอยู่ในวงจรอุบาทว์ เมื่อสถานการณ์ของตลาดต่างประเทศยังคงไม่กระเตื้องขึ้น บรรดาผู้ส่งออกก็ถูกกดดันให้ต้องลดการใช้จ่าย ดังนั้นจึงทำให้อำนาจซื้อในทั่วทั้งเอเชียลดลงเป็นอย่างมาก
พวกนักวิเคราะห์กล่าวว่า อินโดนีเซีย อินเดียและจีน มีตลาดภายในขนาดใหญ่ จึงสามารถช่วยประคองมิให้เศรษฐกิจของประเทศทรุดลงหนัก แม้ว่าการค้าระหว่างประเทศกำลังหดตัวลงไปก็ตาม และนั่นหมายความว่าเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ จะหลีกพ้นภาวะเศรษฐกิจถดถอยรุนแรง อย่างไรก็ตามอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจยังจะอยู่ในระดับที่เชื่องช้า
**ตัวเลขว่างงานในเอเชีย**
ปัจจุบัน อัตราการว่างงานในเศรษฐกิจขนาดใหญ่ทั้งหลายกำลังพุ่งขึ้นไปสู่ระดับ 10% หรือมากกว่านั้น ขณะเดียวกันอัตราการว่างงานในเอเชียก็กำลังพุ่งขึ้นด้วยเหมือนกัน แม้ว่าในขณะนี้เมื่อเทียบกับประเทศตะวันตก อัตราคนตกงานในเอเชียยังคงต่ำมากและการลอยแพคนงานทีละมาก ๆก็ยังไม่ค่อยเกิดขึ้น
อัตราการว่างงานในสิงคโปร์เวลานี้อยู่ที่ 3.3% สูงที่สุดในรอบ 3 ปี เกาหลีใต้อยู่ที่ 3.9% หรือสูงสุดในรอบเกือบสี่ปี ขณะที่อัตราคนตกงานในญี่ปุ่นก็สูงสุดในรอบห้าปีครึ่งโดยอยู่ที่ 5%
การลดคนงานเป็นจำนวนมากๆ ในเอเชีย มักจะทำได้ไม่ง่ายนัก เนื่องเพราะในสังคมมีความรู้สึกที่ไม่ดีต่อการลดตำแหน่งงาน รวมทั้งกฎหมายแรงงานก็ไม่เอื้อ นอกจากนั้นยังไร้เครือข่ายประกันสังคมคอยรองรับประคับประคองผู้ที่ต้องตกงาน เหล่านี้ล้วนทำให้การปลดคนงานกลายเป็นกระบวนการที่ยากลำบาก
กระนั้นก็ตาม นอกเหนือจากการว่างงานชนิดที่เห็นได้ชัดเจนแล้ว เอเชียยังมีปัญหาการว่างงานแบบซ่อนเร้น เช่น มีการจ้างคนมาทำงานมากกว่าที่จำเป็น และปัญหาการว่างงานแฝง อันได้แก่การจ้างงานแบบไม่เต็มเวลา
แม้กระทั่งเป็นกรณีที่บริษัทย่ำแย่อย่างที่สุดแล้ว การปลดพนักงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายก็เป็นไปด้วยความยุ่งยาก
สัตยัม คอมพิวเตอร์ เซอร์วิเซส ซึ่งเคยเป็นบริษัทเอาต์ซอร์สใหญ่เป็นอันดับสี่ของอินเดีย กำลังเผชิญหน้ากับภาวะยากลำบากอย่างยิ่ง ภายหลังผู้ก่อตั้งออกมายอมรับว่า ได้จัดทำบัญชีแบบหลอกลวงเกินจริงไปหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
เจ้าของใหม่ของบริษัทซึ่งก็คือ เทค มหินทรา ได้รวมคนงานราว 9,000 คนหรือ 20% ของแรงงานทั้งหมด ซึ่งไม่ได้ทำงานมาสามเดือนแล้วให้เข้ามาอยู่ในกลุ่มที่ถูกลดเงินเดือน แต่การเจรจาเพื่อลอยแพพนักงานนั้นล้มเหลวไป
ทางด้าน เจ๊ต แอร์เวย์ ที่ปลดพนักงานทำงานบนเครื่องไปแล้ว 800 คนก่อนหน้านี้ ได้ประกาศลอยแพเพิ่มขึ้นอีก 1,100 คน หลังจากต้องลดเส้นทางการบินไปไม่น้อยเพราะผู้โดยสารที่ลดลงและน้ำมันเชื้อเพลิงที่แพงขึ้น
สิ่งที่เกิดตามมาก็คือ การประท้วงและการกดดันทางการเมือง ทำให้ไม่กี่วันหลังจากการปลดคนงาน เจ๊ต แอร์เวย์ก็ต้องรับคนงานกลับเข้าไปใหม่ ผู้บริหารต้องออกหนังสือขอโทษพนักงาน ในที่สุดเจ๊ตต้องหาทางแก้ไขปัญหาด้วยการลดพนักงานที่เป็นผู้เชี่ยวชาญต่างชาติลง รวมทั้งลดเงินเดือนพวกเขาเพื่อให้ต้นทุนต่ำลงด้วย
มองกันในระดับรัฐบาล รัฐบาลเกาหลีใต้กำลังให้แรงจูงใจทางด้านภาษีและอื่น ๆแก่บริษัทที่ไม่ปลดคนงานหรือรับคนงานใหม่โดยการปรับค่าจ้างและชั่วโมงการทำงาน ข้อมูลของรัฐบาลระบุว่าในเดือนนี้ บริษัทที่มีพนักงานเกิน 100 คนราวหนึ่งในสี่ของที่มีอยู่ ได้เข้าร่วมโครงการนี้กับทางรัฐบาล
ทางด้าน ไทย มาเลเซีย ญี่ปุ่น ต่างกำลังมุ่งใช้วิธีการเดียวกันกับเกาหลีใต้
"รัฐบาลในเอเชียรู้ดีว่าสถานการณ์ที่คนตกงานมาก ๆนั้นร้ายแรงเพียงไร พวกเขาจึงต้องหาหนทางที่จะลดผลกระทบลง ดังนั้นผมจึงไม่คิดว่าคราวนี้เอเชียจะใช้เวลาเพียง 2-3 ปีที่สามารถฟื้นตัวได้เหมือนเมื่อครั้งวิกฤตต้มยำกุ้ง" ชุนจิ คาริโคมิ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสแห่งมิซูโฮ รีเสิร์ช ให้ความเห็น
ขณะที่ระบบการแบ่งกระจายงานให้พนักงานจำนวนมากได้ทำกันและแต่ละคนได้เงินน้อยลง จะได้ไม่ต้องปลดคน เป็นสิ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดในเกาหลีใต้นั้น ระบบนี้ก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศเอเชียอื่น ๆ
ฮิตาชิ ซึ่งเป็นกลุ่มผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น และสายการบินคาเธย์แปซิฟิก แห่งฮ่องกง ต่างกำลังพยายามรักษาตำแหน่งงานเอาไว้ ด้วยการขอให้พนักงานทั้งหลายยื่นใบลางานแบบไม่ได้รับเงินเดือน
แม้กระทั่งในอุตสาหกรรมบริการทางการเงินซึ่งถูกกระหน่ำหนักที่สุดในวิกฤตคราวนี้ ทางเอเชียก็ยังมีการกระทบกระเทือนน้อยกว่าที่อื่นๆ
ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2007 พวกธนาคาร, กองทุน, และบริษัทประกันภัยทั้งหลาย ได้ปลดคนตัดลดตำแหน่งงานไปแล้วประมาณ 385,000 ตำแหน่ง ปรากฏว่ามีกิจการในเอเชียเพียงรายเดียวเท่านั้นที่ติดบัญชีรายชื่อบริษัทภาคการเงินซึ่งปลดลดคนหนักหน่วงที่สุด ได้แก่ โนมูระ ของญี่ปุ่น ซึ่งลดตำแหน่งงานไปทั้งสิ้น 1,530 ตำแหน่ง โดยในจำนวนนี้รวมถึงงาน 1,000 ตำแหน่งภายหลังจากเข้าควบรวมกิจการบริษัทย่อยหลายแห่งของเลห์แมนบราเธอร์สด้วยแล้ว
กระนั้นก็ตาม ตัวเลขนี้ดูจิ๊บจ๊อยไปเลยเมื่อเทียบกับการปลดพนักงาน 75,000 คนที่ซิตี้กรุ๊ป และ 45,500 คนที่แบงก์ออฟอเมริกา
พวกประเทศเอเชียจำนวนมากต้องพึ่งพาการส่งออกไปยังตลาดในสหรัฐฯและยุโรป เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจของตนเองให้เคลื่อนไปข้างหน้า ดังนั้น หากความต้องการสินค้าจากเอเชียยังคงดำดิ่งลงไปเรื่อย ๆ และผู้บริโภคในโลกตะวันตกยังคงตกงานมากขึ้นๆ ในที่สุดก็จะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตสินค้าในเอเชียอย่างแน่นอน
"สิ่งที่เราวิตกกังวลมากที่สุดก็คือ อัตราการว่างงาน" ทีมนักเศรษฐศาสตร์จากโนมูระ กล่าวในรายงานว่าด้วยเศรษฐกิจของประเทศเอเชีย
"อาจจะทำเป็นไม่ใส่ใจ เพราะมัน(อัตราการว่างงาน)เป็นสัญญาณบ่งชี้วัฏจักร(เศรษฐกิจ)ที่จะต้องแสดงผลล่าช้ากว่าสัญญาณตัวอื่นๆ อยู่แล้ว กระนั้นก็ตาม ถ้าหากความต้องการสินค้าโดยรวมยังคงไม่มีการฟื้นตัวขึ้นมาอย่างแข็งแกร่งแล้ว ก็จะเป็นเรื่องยากที่จะสามารถสร้างตำแหน่งงานใหม่ๆ และดังนั้นอัตราการว่างงานจึงอาจจะยังคงสูงไม่ยอมลงเสียที จนกลายเป็นตัวขัดขวางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไปเลย" รายงานของโนมูระชี้
รายงานของโนมูระระบุว่า เขตเศรษฐกิจในเอเชียที่น่าจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกมากที่สุด ได้แก่ ฮ่องกง, เกาหลีใต้, มาเลเซีย, สิงคโปร์, ไต้หวัน, และไทย โดยประเทศและดินแดนเหล่านี้ล้วนแล้วแต่กำลังมีอัตราการเติบโตของจีดีพีติดลบมากกว่า 10% และผลกระทบที่เกิดกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศและดินแดนเหล่านี้ ก็หนักหน่วงยิ่งกว่าในสมัยวิกฤตต้มยำกุ้งที่เกิดขึ้นในเอเชียเมื่อสิบกว่าปีก่อนเสียอีก
"ในประเทศและเขตเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดทั้ง 6 นี้ กำลังมีหลักฐานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ของผลกระทบด้านลบรอบที่สอง เนื่องจากพวกบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก ต่างกำลังลดค่าใช้จ่ายหลักรวมทั้งลดตำแหน่งงานด้วย" รายงานกล่าว
เหมือนกับอยู่ในวงจรอุบาทว์ เมื่อสถานการณ์ของตลาดต่างประเทศยังคงไม่กระเตื้องขึ้น บรรดาผู้ส่งออกก็ถูกกดดันให้ต้องลดการใช้จ่าย ดังนั้นจึงทำให้อำนาจซื้อในทั่วทั้งเอเชียลดลงเป็นอย่างมาก
พวกนักวิเคราะห์กล่าวว่า อินโดนีเซีย อินเดียและจีน มีตลาดภายในขนาดใหญ่ จึงสามารถช่วยประคองมิให้เศรษฐกิจของประเทศทรุดลงหนัก แม้ว่าการค้าระหว่างประเทศกำลังหดตัวลงไปก็ตาม และนั่นหมายความว่าเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ จะหลีกพ้นภาวะเศรษฐกิจถดถอยรุนแรง อย่างไรก็ตามอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจยังจะอยู่ในระดับที่เชื่องช้า
**ตัวเลขว่างงานในเอเชีย**
ปัจจุบัน อัตราการว่างงานในเศรษฐกิจขนาดใหญ่ทั้งหลายกำลังพุ่งขึ้นไปสู่ระดับ 10% หรือมากกว่านั้น ขณะเดียวกันอัตราการว่างงานในเอเชียก็กำลังพุ่งขึ้นด้วยเหมือนกัน แม้ว่าในขณะนี้เมื่อเทียบกับประเทศตะวันตก อัตราคนตกงานในเอเชียยังคงต่ำมากและการลอยแพคนงานทีละมาก ๆก็ยังไม่ค่อยเกิดขึ้น
อัตราการว่างงานในสิงคโปร์เวลานี้อยู่ที่ 3.3% สูงที่สุดในรอบ 3 ปี เกาหลีใต้อยู่ที่ 3.9% หรือสูงสุดในรอบเกือบสี่ปี ขณะที่อัตราคนตกงานในญี่ปุ่นก็สูงสุดในรอบห้าปีครึ่งโดยอยู่ที่ 5%
การลดคนงานเป็นจำนวนมากๆ ในเอเชีย มักจะทำได้ไม่ง่ายนัก เนื่องเพราะในสังคมมีความรู้สึกที่ไม่ดีต่อการลดตำแหน่งงาน รวมทั้งกฎหมายแรงงานก็ไม่เอื้อ นอกจากนั้นยังไร้เครือข่ายประกันสังคมคอยรองรับประคับประคองผู้ที่ต้องตกงาน เหล่านี้ล้วนทำให้การปลดคนงานกลายเป็นกระบวนการที่ยากลำบาก
กระนั้นก็ตาม นอกเหนือจากการว่างงานชนิดที่เห็นได้ชัดเจนแล้ว เอเชียยังมีปัญหาการว่างงานแบบซ่อนเร้น เช่น มีการจ้างคนมาทำงานมากกว่าที่จำเป็น และปัญหาการว่างงานแฝง อันได้แก่การจ้างงานแบบไม่เต็มเวลา
แม้กระทั่งเป็นกรณีที่บริษัทย่ำแย่อย่างที่สุดแล้ว การปลดพนักงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายก็เป็นไปด้วยความยุ่งยาก
สัตยัม คอมพิวเตอร์ เซอร์วิเซส ซึ่งเคยเป็นบริษัทเอาต์ซอร์สใหญ่เป็นอันดับสี่ของอินเดีย กำลังเผชิญหน้ากับภาวะยากลำบากอย่างยิ่ง ภายหลังผู้ก่อตั้งออกมายอมรับว่า ได้จัดทำบัญชีแบบหลอกลวงเกินจริงไปหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
เจ้าของใหม่ของบริษัทซึ่งก็คือ เทค มหินทรา ได้รวมคนงานราว 9,000 คนหรือ 20% ของแรงงานทั้งหมด ซึ่งไม่ได้ทำงานมาสามเดือนแล้วให้เข้ามาอยู่ในกลุ่มที่ถูกลดเงินเดือน แต่การเจรจาเพื่อลอยแพพนักงานนั้นล้มเหลวไป
ทางด้าน เจ๊ต แอร์เวย์ ที่ปลดพนักงานทำงานบนเครื่องไปแล้ว 800 คนก่อนหน้านี้ ได้ประกาศลอยแพเพิ่มขึ้นอีก 1,100 คน หลังจากต้องลดเส้นทางการบินไปไม่น้อยเพราะผู้โดยสารที่ลดลงและน้ำมันเชื้อเพลิงที่แพงขึ้น
สิ่งที่เกิดตามมาก็คือ การประท้วงและการกดดันทางการเมือง ทำให้ไม่กี่วันหลังจากการปลดคนงาน เจ๊ต แอร์เวย์ก็ต้องรับคนงานกลับเข้าไปใหม่ ผู้บริหารต้องออกหนังสือขอโทษพนักงาน ในที่สุดเจ๊ตต้องหาทางแก้ไขปัญหาด้วยการลดพนักงานที่เป็นผู้เชี่ยวชาญต่างชาติลง รวมทั้งลดเงินเดือนพวกเขาเพื่อให้ต้นทุนต่ำลงด้วย
มองกันในระดับรัฐบาล รัฐบาลเกาหลีใต้กำลังให้แรงจูงใจทางด้านภาษีและอื่น ๆแก่บริษัทที่ไม่ปลดคนงานหรือรับคนงานใหม่โดยการปรับค่าจ้างและชั่วโมงการทำงาน ข้อมูลของรัฐบาลระบุว่าในเดือนนี้ บริษัทที่มีพนักงานเกิน 100 คนราวหนึ่งในสี่ของที่มีอยู่ ได้เข้าร่วมโครงการนี้กับทางรัฐบาล
ทางด้าน ไทย มาเลเซีย ญี่ปุ่น ต่างกำลังมุ่งใช้วิธีการเดียวกันกับเกาหลีใต้
"รัฐบาลในเอเชียรู้ดีว่าสถานการณ์ที่คนตกงานมาก ๆนั้นร้ายแรงเพียงไร พวกเขาจึงต้องหาหนทางที่จะลดผลกระทบลง ดังนั้นผมจึงไม่คิดว่าคราวนี้เอเชียจะใช้เวลาเพียง 2-3 ปีที่สามารถฟื้นตัวได้เหมือนเมื่อครั้งวิกฤตต้มยำกุ้ง" ชุนจิ คาริโคมิ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสแห่งมิซูโฮ รีเสิร์ช ให้ความเห็น
ขณะที่ระบบการแบ่งกระจายงานให้พนักงานจำนวนมากได้ทำกันและแต่ละคนได้เงินน้อยลง จะได้ไม่ต้องปลดคน เป็นสิ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดในเกาหลีใต้นั้น ระบบนี้ก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศเอเชียอื่น ๆ
ฮิตาชิ ซึ่งเป็นกลุ่มผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น และสายการบินคาเธย์แปซิฟิก แห่งฮ่องกง ต่างกำลังพยายามรักษาตำแหน่งงานเอาไว้ ด้วยการขอให้พนักงานทั้งหลายยื่นใบลางานแบบไม่ได้รับเงินเดือน
แม้กระทั่งในอุตสาหกรรมบริการทางการเงินซึ่งถูกกระหน่ำหนักที่สุดในวิกฤตคราวนี้ ทางเอเชียก็ยังมีการกระทบกระเทือนน้อยกว่าที่อื่นๆ
ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2007 พวกธนาคาร, กองทุน, และบริษัทประกันภัยทั้งหลาย ได้ปลดคนตัดลดตำแหน่งงานไปแล้วประมาณ 385,000 ตำแหน่ง ปรากฏว่ามีกิจการในเอเชียเพียงรายเดียวเท่านั้นที่ติดบัญชีรายชื่อบริษัทภาคการเงินซึ่งปลดลดคนหนักหน่วงที่สุด ได้แก่ โนมูระ ของญี่ปุ่น ซึ่งลดตำแหน่งงานไปทั้งสิ้น 1,530 ตำแหน่ง โดยในจำนวนนี้รวมถึงงาน 1,000 ตำแหน่งภายหลังจากเข้าควบรวมกิจการบริษัทย่อยหลายแห่งของเลห์แมนบราเธอร์สด้วยแล้ว
กระนั้นก็ตาม ตัวเลขนี้ดูจิ๊บจ๊อยไปเลยเมื่อเทียบกับการปลดพนักงาน 75,000 คนที่ซิตี้กรุ๊ป และ 45,500 คนที่แบงก์ออฟอเมริกา