ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - นายกเทศมนตรีนครสงขลา ทุ่มงบ 46 ล้านบาท สร้างเขื่อนกันคลื่นป้องกันการกัดเซาะตลิ่งชายหาดชลาทัศน์แหลมสมิหลาสงขลา ที่ผ่านมา เขื่อนนี้สามารถป้องกันการกัดเซาะชายหาดเป็นอย่างดี
นายอุทิศ ชูช่วย นายกเทศมนตรีนครสงขลา เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูมรสุมที่ผ่านมา เขื่อนกั้นคลื่นป้องกันการกัดเซาะตลิ่งชายหาดชลาทัศน์ แหลมสมิหลา สงขลา ระยะทาง 250 เมตร ซึ่งกรมโยธาธิการใช้งบประมาณก่อสร้างเกือบ 7 ล้านบาท ใช้ทรายเป็นส่วนใหญ่ทำเป็นเขื่อนขึ้นมาฝังอยู่ในดินและเป็นเขื่อนกำแพงอยู่บนดิน ความสูงเท่าระดับถนนชลาทัศน์ สามารถป้องกันการกัดเซาะชายหาดสมิหลาสงขลาได้เป็นอย่างดี บริเวณชายหาดชลาทัศน์ตลอดความยาวเขื่อนนี้ไม่มีการกัดเซาะตลิ่ง ในช่วงฤดูมรสุมที่ผ่านมา
สำหรับในปีงบประมาณ 2552 กรมโยธาธิการได้รับงบประมาณต่อเนื่องในการสร้างเขื่อนกั้นคลื่นป้องกันการกัดเซาะตลิ่งชายหาดชลาทัศน์แหลมสมิหลาสงขลา ตอนที่ 2 ความยาว 800 เมตร งบประมาณ 46 ล้านบาท ซึ่งจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างในเดือนกรกฎาคม 2552
นอกจากนั้น ยังเตรียมที่จะสำรวจออกแบบเขื่อนกั้นคลื่นป้องกันการกัดเซาะตลิ่งชายหาดชลาทัศน์ ตอนที่ 3 อีก 1,000 เมตรต่อเนื่องอีกในปี 2553 สำหรับเขื่อนกั้นคลื่นป้องกันการกัดเซาะตลิ่งชายหาดชลาทัศน์ เป็นเขื่อนแบบใช้ถุงทรายวางเรียงซ้อนทับกันเป็นชั้นๆ ขนานไปกับแนวชายหาด เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล โดยเรียงถุงทรายให้ด้านหน้าลาดเอียง เพื่อลดแรงสะท้อนกลับของคลื่นและลดการกัดเซาะฐานเขื่อนด้านหน้า
การก่อสร้างเขื่อนแบบถุงทรายจะก่อสร้างใต้ชายหาด เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วจะถมกลับด้วยทรายเพื่อให้ชายหาดมีความสวยงามเช่นเดิม สำหรับถุงทราย เป็นวัสดุประดิษฐ์ เพื่อใช้ทดแทนหินขนาดใหญ่หรือก้อนหินคอนกรีต มีหน้าที่รับแรงกระแทกของคลื่นทะเล โดยใช้แผ่นใยสงเคราะห์ (Geotextile) มาเย็บขึ้นเป็นถุงให้มีขนาดใหญ่พอที่จะรับแรงกระแทกของคลื่นทะเลได้ การก่อสร้างจะบรรจุทรายเต็มถุงและเรียงเป็นชั้นๆ ขนานไปกับแนวชายหาด
ในปี 2551 กรมโยธาธิการได้งบประมาณจำนวน 6,800,000 บาท ก่อสร้างเขื่อนระยะทางยาว 250 เมตร ตอนที่ 1 ต่อเชื่อมกับเขื่อนของเทศบาลนครสงขลาที่ทำการก่อสร้างไปแล้วระยะทาง 400 เมตรและในปี 2552 กรมโยธาธิการก็ได้งบประมาณก่อสร้างเขื่อนกั้นคลื่นป้องกันการกัดเซาะตลิ่งชายหาดชลาทัศน์ ตอนที่ 2 จำนวน 46 ล้านบาท ทำการก่อสร้างเพิ่มเติมอีก 800 เมตร และขอตั้งงบประมาณต่อเนื่องในการออกแบบก่อสร้างเขื่อนอีก 1,000 เมตร ในปี 2553 ใช้งบประมาณกว่า 60 ล้านบาท เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ชายหาดแหลมสมิหลาสงขลาตรงบริเวณนี้ตลอดแนวทั้งหมด
ทั้งนี้ เนื่องจากชายหาดสมิหลาสงขลา ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัด แต่ในระยะ 5-6 ปีที่ผ่านมาชายหาดสมิหลาถนนชลาทัศน์ ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในช่วงฤดูมรสุมทุกปี จนทำให้ชายหาดชลาทัศน์ได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก ส่งผลกระทบต่อทัศนียภาพด้านการท่องเที่ยว ทำให้หลายหน่วยงานที่รับผิดชอบ เร่งดำเนินการป้องกันชายหาดชลาทัศน์แหลมสมิหลาสงขลาอย่างจริงจัง ก่อนที่ชายหาดจะถูกคลื่นกัดเซาะหายไปหมด โดยมีกรมโยธาธิการเป็นตัวหลักในการดำเนินการร่วมกับเทศบาลนครสงขลาได้ก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นป้องกันชายหาดสมิหลาอย่างต่อเนื่องใช้งบกว่า 53 ล้านบาท
นายอุทิศ ชูช่วย นายกเทศมนตรีนครสงขลา เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูมรสุมที่ผ่านมา เขื่อนกั้นคลื่นป้องกันการกัดเซาะตลิ่งชายหาดชลาทัศน์ แหลมสมิหลา สงขลา ระยะทาง 250 เมตร ซึ่งกรมโยธาธิการใช้งบประมาณก่อสร้างเกือบ 7 ล้านบาท ใช้ทรายเป็นส่วนใหญ่ทำเป็นเขื่อนขึ้นมาฝังอยู่ในดินและเป็นเขื่อนกำแพงอยู่บนดิน ความสูงเท่าระดับถนนชลาทัศน์ สามารถป้องกันการกัดเซาะชายหาดสมิหลาสงขลาได้เป็นอย่างดี บริเวณชายหาดชลาทัศน์ตลอดความยาวเขื่อนนี้ไม่มีการกัดเซาะตลิ่ง ในช่วงฤดูมรสุมที่ผ่านมา
สำหรับในปีงบประมาณ 2552 กรมโยธาธิการได้รับงบประมาณต่อเนื่องในการสร้างเขื่อนกั้นคลื่นป้องกันการกัดเซาะตลิ่งชายหาดชลาทัศน์แหลมสมิหลาสงขลา ตอนที่ 2 ความยาว 800 เมตร งบประมาณ 46 ล้านบาท ซึ่งจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างในเดือนกรกฎาคม 2552
นอกจากนั้น ยังเตรียมที่จะสำรวจออกแบบเขื่อนกั้นคลื่นป้องกันการกัดเซาะตลิ่งชายหาดชลาทัศน์ ตอนที่ 3 อีก 1,000 เมตรต่อเนื่องอีกในปี 2553 สำหรับเขื่อนกั้นคลื่นป้องกันการกัดเซาะตลิ่งชายหาดชลาทัศน์ เป็นเขื่อนแบบใช้ถุงทรายวางเรียงซ้อนทับกันเป็นชั้นๆ ขนานไปกับแนวชายหาด เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล โดยเรียงถุงทรายให้ด้านหน้าลาดเอียง เพื่อลดแรงสะท้อนกลับของคลื่นและลดการกัดเซาะฐานเขื่อนด้านหน้า
การก่อสร้างเขื่อนแบบถุงทรายจะก่อสร้างใต้ชายหาด เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วจะถมกลับด้วยทรายเพื่อให้ชายหาดมีความสวยงามเช่นเดิม สำหรับถุงทราย เป็นวัสดุประดิษฐ์ เพื่อใช้ทดแทนหินขนาดใหญ่หรือก้อนหินคอนกรีต มีหน้าที่รับแรงกระแทกของคลื่นทะเล โดยใช้แผ่นใยสงเคราะห์ (Geotextile) มาเย็บขึ้นเป็นถุงให้มีขนาดใหญ่พอที่จะรับแรงกระแทกของคลื่นทะเลได้ การก่อสร้างจะบรรจุทรายเต็มถุงและเรียงเป็นชั้นๆ ขนานไปกับแนวชายหาด
ในปี 2551 กรมโยธาธิการได้งบประมาณจำนวน 6,800,000 บาท ก่อสร้างเขื่อนระยะทางยาว 250 เมตร ตอนที่ 1 ต่อเชื่อมกับเขื่อนของเทศบาลนครสงขลาที่ทำการก่อสร้างไปแล้วระยะทาง 400 เมตรและในปี 2552 กรมโยธาธิการก็ได้งบประมาณก่อสร้างเขื่อนกั้นคลื่นป้องกันการกัดเซาะตลิ่งชายหาดชลาทัศน์ ตอนที่ 2 จำนวน 46 ล้านบาท ทำการก่อสร้างเพิ่มเติมอีก 800 เมตร และขอตั้งงบประมาณต่อเนื่องในการออกแบบก่อสร้างเขื่อนอีก 1,000 เมตร ในปี 2553 ใช้งบประมาณกว่า 60 ล้านบาท เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ชายหาดแหลมสมิหลาสงขลาตรงบริเวณนี้ตลอดแนวทั้งหมด
ทั้งนี้ เนื่องจากชายหาดสมิหลาสงขลา ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัด แต่ในระยะ 5-6 ปีที่ผ่านมาชายหาดสมิหลาถนนชลาทัศน์ ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในช่วงฤดูมรสุมทุกปี จนทำให้ชายหาดชลาทัศน์ได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก ส่งผลกระทบต่อทัศนียภาพด้านการท่องเที่ยว ทำให้หลายหน่วยงานที่รับผิดชอบ เร่งดำเนินการป้องกันชายหาดชลาทัศน์แหลมสมิหลาสงขลาอย่างจริงจัง ก่อนที่ชายหาดจะถูกคลื่นกัดเซาะหายไปหมด โดยมีกรมโยธาธิการเป็นตัวหลักในการดำเนินการร่วมกับเทศบาลนครสงขลาได้ก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นป้องกันชายหาดสมิหลาอย่างต่อเนื่องใช้งบกว่า 53 ล้านบาท