เอเอฟพี - การรักษาความลับของลูกค้าที่ใช้บริการกับธนาคารของสวิตเซอร์แลนด์ จะยังคงเป็นหัวใจสำคัญในการให้บริการต่อไป ประธานาธิบดีและรัฐมนตรีคลัง ฮานส์ รูดอล์ฟ เมิร์ซ กล่าวในการให้สัมภาษณ์ซึ่งได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อวันพฤหัสบดี (25)
"ในเรื่องการรักษาความลับด้านการธนาคารแล้ว ยังไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงไปเลยเมื่อเทียบกับในอดีต ไม่มีกฎข้อใดที่ผ่อนคลายลงแม้แต่น้อย" เมิร์ซกล่าวกับหนังสือพิมพ์ฟรังค์ฟูร์เทอร์ อัลล์เกเมน ไซตุง (เอฟเอแซด) ของเยอรมนี
"เพียงแต่ว่าในระดับระหว่างประเทศนั้นจะมีการร่วมมือกันใกล้ชิดมากขึ้น" เขากล่าว
ก่อนหน้านี้ สวิตเซอร์แลนด์ได้ถูกองค์การความร่วมมือและการพัฒนาเศรษฐกิจ (โออีซีดี)ขึ้นบัญชี "เทา" เอาไว้ ซึ่งเป็นรายชื่อประเทศที่มีแนวโน้มว่าจะไม่ให้ความร่วมมือในการเปิดเผยข้อมูลลูกค้าซึ่งต้องสงสัยว่าเลี่ยงภาษี
รวมทั้งสวิตเซอร์แลนด์ยังถูกกลุ่มประเทศจี 20 ที่เรียกร้องให้มีการปฎิรูปการเงินโลกให้โปร่งใสมากขึ้น เป็นที่คาดหมายกันอยู่ในเวลานี้ว่า ทางการกรุงเบิร์นน่าจะยอมให้สัตยาบันแก่สนธิสัญญาเผยข้อมูลด้านภาษีตามมาตรฐานของโออีซีดีภายในปีนี้ เพื่อแลกกับการทำให้โออีซีดีเอาสวิตเซอร์แลนด์ออกมาบัญชีเทาดังกล่าว
ตอนนี้มี 6 ประเทศแล้วที่ให้สัตยาบันสนธิสัญญานี้ คือ เดนมาร์ก , ฝรั่งเศส , เม็กซิโก, นอร์เวย์, สหรัฐฯ, และอีกประเทศหนึ่งซึ่งทางการสวิสไม่ได้เผยชื่อออกมา
เมื่อวันจันทร์(22) สมาคมนายธนาคารแห่งสวิสซึ่งทรงอิทธิพล ได้ประกาศชื่อประธานคนใหม่ของสมาคม ซึ่งได้แก่ แพตทริก โอดิเยร์ และเขาก็ได้ออกคำแถลงว่า "การปกป้องความเป็นส่วนตัวทางการเงินในฐานะที่เป็นการคุ้มครองปกป้องข้อมูลให้แก่ลูกค้าธนาคารทั้งหมดนั้น จะยังคงเป็นความรับผิดชอบอันสำคัญสำหรับพวกเราผู้เป็นนักการธนาคารสวิสต่อไปในอนาคต"
สวิตเซอร์แลนด์นั้นมีชื่อเสียงมานานด้านการรักษาความลับของลูกค้าธนาคาร แต่วิกฤตการเงินที่ร้ายแรงที่สุดในรอบ 7 ทศวรรษคราวนี้ ยิ่งเพิ่มเสียงเรียกร้องจากนานาประเทศให้ดูแลภาคการเงินการธนาคารระหว่างประเทศให้เข้มงวดมากกว่าเดิม เพื่อให้ภาคการเงินและการธนาคารมีความโปร่งใสและไม่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำผิดกฎหมายอย่างเช่นเลี่ยงภาษีในประเทศหนึ่ง ๆโดยการนำเอาเงินรายได้มาฝากไว้ในธนาคารสวิส
เมิร์ซกล่าวว่าการที่สวิตเวอร์แลนด์ยินยอมที่จะทำตามกฎเกณฑ์ของโออีซีดี มิได้หมายความว่าประเทศของเขาก้มหัวให้กับแรงกดดันของนานาชาติ แต่หากไม่สนใจจะทำตามคำเรียกร้อง สวิตเซอร์แลนด์ก็อาจจะถูกคว่ำบาตร ซึ่งจะส่งผลให้คนตกงานตามมา
"ในเรื่องการรักษาความลับด้านการธนาคารแล้ว ยังไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงไปเลยเมื่อเทียบกับในอดีต ไม่มีกฎข้อใดที่ผ่อนคลายลงแม้แต่น้อย" เมิร์ซกล่าวกับหนังสือพิมพ์ฟรังค์ฟูร์เทอร์ อัลล์เกเมน ไซตุง (เอฟเอแซด) ของเยอรมนี
"เพียงแต่ว่าในระดับระหว่างประเทศนั้นจะมีการร่วมมือกันใกล้ชิดมากขึ้น" เขากล่าว
ก่อนหน้านี้ สวิตเซอร์แลนด์ได้ถูกองค์การความร่วมมือและการพัฒนาเศรษฐกิจ (โออีซีดี)ขึ้นบัญชี "เทา" เอาไว้ ซึ่งเป็นรายชื่อประเทศที่มีแนวโน้มว่าจะไม่ให้ความร่วมมือในการเปิดเผยข้อมูลลูกค้าซึ่งต้องสงสัยว่าเลี่ยงภาษี
รวมทั้งสวิตเซอร์แลนด์ยังถูกกลุ่มประเทศจี 20 ที่เรียกร้องให้มีการปฎิรูปการเงินโลกให้โปร่งใสมากขึ้น เป็นที่คาดหมายกันอยู่ในเวลานี้ว่า ทางการกรุงเบิร์นน่าจะยอมให้สัตยาบันแก่สนธิสัญญาเผยข้อมูลด้านภาษีตามมาตรฐานของโออีซีดีภายในปีนี้ เพื่อแลกกับการทำให้โออีซีดีเอาสวิตเซอร์แลนด์ออกมาบัญชีเทาดังกล่าว
ตอนนี้มี 6 ประเทศแล้วที่ให้สัตยาบันสนธิสัญญานี้ คือ เดนมาร์ก , ฝรั่งเศส , เม็กซิโก, นอร์เวย์, สหรัฐฯ, และอีกประเทศหนึ่งซึ่งทางการสวิสไม่ได้เผยชื่อออกมา
เมื่อวันจันทร์(22) สมาคมนายธนาคารแห่งสวิสซึ่งทรงอิทธิพล ได้ประกาศชื่อประธานคนใหม่ของสมาคม ซึ่งได้แก่ แพตทริก โอดิเยร์ และเขาก็ได้ออกคำแถลงว่า "การปกป้องความเป็นส่วนตัวทางการเงินในฐานะที่เป็นการคุ้มครองปกป้องข้อมูลให้แก่ลูกค้าธนาคารทั้งหมดนั้น จะยังคงเป็นความรับผิดชอบอันสำคัญสำหรับพวกเราผู้เป็นนักการธนาคารสวิสต่อไปในอนาคต"
สวิตเซอร์แลนด์นั้นมีชื่อเสียงมานานด้านการรักษาความลับของลูกค้าธนาคาร แต่วิกฤตการเงินที่ร้ายแรงที่สุดในรอบ 7 ทศวรรษคราวนี้ ยิ่งเพิ่มเสียงเรียกร้องจากนานาประเทศให้ดูแลภาคการเงินการธนาคารระหว่างประเทศให้เข้มงวดมากกว่าเดิม เพื่อให้ภาคการเงินและการธนาคารมีความโปร่งใสและไม่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำผิดกฎหมายอย่างเช่นเลี่ยงภาษีในประเทศหนึ่ง ๆโดยการนำเอาเงินรายได้มาฝากไว้ในธนาคารสวิส
เมิร์ซกล่าวว่าการที่สวิตเวอร์แลนด์ยินยอมที่จะทำตามกฎเกณฑ์ของโออีซีดี มิได้หมายความว่าประเทศของเขาก้มหัวให้กับแรงกดดันของนานาชาติ แต่หากไม่สนใจจะทำตามคำเรียกร้อง สวิตเซอร์แลนด์ก็อาจจะถูกคว่ำบาตร ซึ่งจะส่งผลให้คนตกงานตามมา