เอเอฟพี - สวิตเซอร์แลนด์ที่มีฐานะเป็นศูนย์กลางการเงินสำคัญแห่งหนึ่งของโลก กำลังถูกสอดแนมถูกแอบเจาะหาข้อมูลอย่างหนักข้อมากขึ้น ในยามที่เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังจ่อมลงสู่วิกฤตเช่นปัจจุบัน ตลอดจนเกิดการแข่งขันอย่างสูงระหว่างศูนย์การเงินต่างๆ
เจืร์ก บือห์เลอร์ ผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรอง ในสังกัดกระทรวงกลาโหมสวิตเซอร์แลนด์ เผยว่าขณะนี้หลายประเทศมีความสนใจในข้อมูลด้านการเงินมากขึ้น และแนวโน้มนี้ยิ่งได้รับการตอกย้ำจากวิกฤตการเงินตลอดจนการแข่งขันระหว่างศูนย์กลางการเงินต่างๆ โดยเฉพาะสิ่งที่น่าจับตามองก็คือการโจมตีของแฮกเกอร์ที่ต้องการเจาะเข้าเครือข่ายของธนาคารต่างๆ
ตามข้อมูลของพวกเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบของสวิตเซอร์แลนด์ ในปีที่ผ่านมา ประเทศนี้ได้ห้ามชาวต่างชาติ 21 คนที่มีฐานะนักการทูตไม่ให้เข้าประเทศ เทียบกับเมื่อปี 2007 ที่ห้ามไป 8 คน และในปี 2006 จำนวน 2 คน
ขณะที่ในรายงานประจำปี หน่วยงานข่าวกรองภายในของสวิสระบุว่า พวกหน่วยข่าวกรองต่างชาติยังคงดำเนินกิจกรรมสอดแนมในสวิตเซอร์แลนด์ในทุกรูปแบบและอย่างต่อเนื่อง จารชนส่วนใหญ่ที่เดินทางเข้ามาแอบอ้างตัวว่าเป็นนักการทูตหรือผู้สื่อข่าว ซึ่งทำให้สามารถรวบรวมข้อมูลและติดต่อกับผู้คนต่างๆ โดยไม่เป็นที่สงสัย
รายงานยังตั้งข้อสังเกตว่า เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานด้านการทูตมีแนวโน้มมากที่สุดที่จะเป็นจารชนแฝงตัวมา เป็นต้นว่า ในตำแหน่งนักแปลและพนักงานฝึกหัด
นอกจากนี้ยังตรวจพบการโจมตีทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งบางส่วนมาจากเอเชียหรือผ่านจีน แต่ไม่อาจระบุชัดเจนว่าต้นตอที่แท้จริงมาจากประเทศใด
"ความสนใจของคนเหล่านั้นในประเทศของเราในฐานะที่ตั้งหน่วยงานวิจัยและกิจการในภาคเทคโนโลยีระดับสูงไม่ได้ลดน้อยลงเลย" รายงานระบุ
"นอกจากนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่าองค์กรระหว่างประเทศมากมายตั้งอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ และการเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางการค้าโภคภัณฑ์และศูนย์กลางการเงินที่สำคัญ ทำให้ประเทศของเราเป็นเป้าหมายของหน่วยข่าวกรองต่างชาติ"
ลิกเตนสไตน์ เพื่อนบ้านขนาดเล็กของสวิตเซอร์แลนด์ ตกเป็นเป้าหมายความขุ่นเคืองของพวกประเทศขนาดใหญ่ ซึ่งรวมถึงสหรัฐฯด้วย ในข้อหาส่งเสริมสนับสนุนการหนีภาษี หลังจากหน่วยข่าวกรองเยอรมันได้เอกสารลับจากอดีตพนักงานแอลจีที แบงก์ ซึ่งเป็นบัญชีลูกค้าชาวต่างประเทศส่วนหนึ่งของแบงก์แห่งนี้ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2008 จนนำไปสู่การตรวจสอบภาษีครั้งใหญ่ในหลายๆ ชาติ จากนั้นด้วยแรงกดดันอันมหาศาลของพวกประเทศมหาอำนาจ ที่ไม่เพียงทำให้ลิกเตนสไตน์ต้องยอมปรับกฎเกณฑ์เกี่ยวกับความลับของธนาคารให้ผ่อนคลายลงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสวิตเซอร์แลนด์และศูนย์กลางการเงินอื่นๆ ด้วย
โฆษกสมาคมนายธนาคารสวิสระบุว่า เรื่องราวของแอลจีทีเป็นสัญญาณเตือนภัยสำหรับภาคการเงินโดยรวม เพราะบ่งชี้ถึง 'อันตราย' ที่อาจเกิดกับสถาบันการธนาคารหากไม่มีการป้องกันอย่างดีพอ
บือห์เลอร์สำทับว่า หน่วยงานของตนซึ่งมีเจ้าหน้าที่ประจำอยู่ 120 คน พยายามทำให้อุตสาหกรรมการธนาคารตระหนักถึงอันตราย เช่น ความเสี่ยงในการถูกเจาะข้อมูลลับโดยต่างชาติ แต่ยอมรับว่า คงไม่สามารถส่งตำรวจไปเฝ้าหน้าแบงก์ทุกแห่งได้
เจืร์ก บือห์เลอร์ ผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรอง ในสังกัดกระทรวงกลาโหมสวิตเซอร์แลนด์ เผยว่าขณะนี้หลายประเทศมีความสนใจในข้อมูลด้านการเงินมากขึ้น และแนวโน้มนี้ยิ่งได้รับการตอกย้ำจากวิกฤตการเงินตลอดจนการแข่งขันระหว่างศูนย์กลางการเงินต่างๆ โดยเฉพาะสิ่งที่น่าจับตามองก็คือการโจมตีของแฮกเกอร์ที่ต้องการเจาะเข้าเครือข่ายของธนาคารต่างๆ
ตามข้อมูลของพวกเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบของสวิตเซอร์แลนด์ ในปีที่ผ่านมา ประเทศนี้ได้ห้ามชาวต่างชาติ 21 คนที่มีฐานะนักการทูตไม่ให้เข้าประเทศ เทียบกับเมื่อปี 2007 ที่ห้ามไป 8 คน และในปี 2006 จำนวน 2 คน
ขณะที่ในรายงานประจำปี หน่วยงานข่าวกรองภายในของสวิสระบุว่า พวกหน่วยข่าวกรองต่างชาติยังคงดำเนินกิจกรรมสอดแนมในสวิตเซอร์แลนด์ในทุกรูปแบบและอย่างต่อเนื่อง จารชนส่วนใหญ่ที่เดินทางเข้ามาแอบอ้างตัวว่าเป็นนักการทูตหรือผู้สื่อข่าว ซึ่งทำให้สามารถรวบรวมข้อมูลและติดต่อกับผู้คนต่างๆ โดยไม่เป็นที่สงสัย
รายงานยังตั้งข้อสังเกตว่า เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานด้านการทูตมีแนวโน้มมากที่สุดที่จะเป็นจารชนแฝงตัวมา เป็นต้นว่า ในตำแหน่งนักแปลและพนักงานฝึกหัด
นอกจากนี้ยังตรวจพบการโจมตีทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งบางส่วนมาจากเอเชียหรือผ่านจีน แต่ไม่อาจระบุชัดเจนว่าต้นตอที่แท้จริงมาจากประเทศใด
"ความสนใจของคนเหล่านั้นในประเทศของเราในฐานะที่ตั้งหน่วยงานวิจัยและกิจการในภาคเทคโนโลยีระดับสูงไม่ได้ลดน้อยลงเลย" รายงานระบุ
"นอกจากนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่าองค์กรระหว่างประเทศมากมายตั้งอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ และการเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางการค้าโภคภัณฑ์และศูนย์กลางการเงินที่สำคัญ ทำให้ประเทศของเราเป็นเป้าหมายของหน่วยข่าวกรองต่างชาติ"
ลิกเตนสไตน์ เพื่อนบ้านขนาดเล็กของสวิตเซอร์แลนด์ ตกเป็นเป้าหมายความขุ่นเคืองของพวกประเทศขนาดใหญ่ ซึ่งรวมถึงสหรัฐฯด้วย ในข้อหาส่งเสริมสนับสนุนการหนีภาษี หลังจากหน่วยข่าวกรองเยอรมันได้เอกสารลับจากอดีตพนักงานแอลจีที แบงก์ ซึ่งเป็นบัญชีลูกค้าชาวต่างประเทศส่วนหนึ่งของแบงก์แห่งนี้ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2008 จนนำไปสู่การตรวจสอบภาษีครั้งใหญ่ในหลายๆ ชาติ จากนั้นด้วยแรงกดดันอันมหาศาลของพวกประเทศมหาอำนาจ ที่ไม่เพียงทำให้ลิกเตนสไตน์ต้องยอมปรับกฎเกณฑ์เกี่ยวกับความลับของธนาคารให้ผ่อนคลายลงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสวิตเซอร์แลนด์และศูนย์กลางการเงินอื่นๆ ด้วย
โฆษกสมาคมนายธนาคารสวิสระบุว่า เรื่องราวของแอลจีทีเป็นสัญญาณเตือนภัยสำหรับภาคการเงินโดยรวม เพราะบ่งชี้ถึง 'อันตราย' ที่อาจเกิดกับสถาบันการธนาคารหากไม่มีการป้องกันอย่างดีพอ
บือห์เลอร์สำทับว่า หน่วยงานของตนซึ่งมีเจ้าหน้าที่ประจำอยู่ 120 คน พยายามทำให้อุตสาหกรรมการธนาคารตระหนักถึงอันตราย เช่น ความเสี่ยงในการถูกเจาะข้อมูลลับโดยต่างชาติ แต่ยอมรับว่า คงไม่สามารถส่งตำรวจไปเฝ้าหน้าแบงก์ทุกแห่งได้