เป็นอันว่าทั้งเรื่องเช่ารถเมล์เอ็นจีวี ที่ผลักดันโดยกระทรวงคมนาคมนำโดย โสภณ ซารัมย์ และเรื่องขายข้าวของกระทรวงพาณิชย์ของ พรทิวา นาคาศัย จากพรรคภูมิใจไทย (แต่คนละกลุ่ม) ที่ยื้อกันมานานหลายสัปดาห์ เริ่มมีแนวโน้มจะยอมลดราคา ลดขนาดลงมา หรือเมื่อรับเงินไปแล้วได้แค่ไหนก็เอาแค่นั้น
ทำนองรวบรัดตัดความ ตัดรำคาญ เอาเงินเข้ากระเป๋าไว้ก่อน หรือ “กำอุจจาระดีกว่ากำตด” อะไรประมาณนั้น !!
ถ้าแยกแยะอธิบายออกมาเป็นสองส่วนสองกรณี เพื่อให้เห็นภาพคร่าวๆก็คือ เรื่องเช่ารถเมล์เอ็นจีวีโครงการข้ามรัฐบาลที่เดิมมีจำนวน 6 พันคัน มูลค่าร่วมแสนล้านบาทตั้งแต่ยุครัฐบาลพลังประชาชน แล้วกลายพันธุ์มาจนถึงยุครัฐบาลประชาธิปัตย์ ก็ได้ลดราคาลงมาเรื่อยจนล่าสุดเหลือ 4 พันคัน วงเงินก็ลดลงมาพรวดพราดมาอยู่ที่ราคา 6.4 หมื่นล้านบาท หลังจากมีเสียงโวยวายเรื่องทุจริตดังทั่วบ้านทั่วเมือง
จนในที่สุดนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต้องซื้อเวลาด้วยการให้คณะกรรมการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาภายใน 1 เดือน ภายใต้กรอบสองตัวเลือกว่า จะ “เช่า” หรือ “ซื้อ” ดีกว่ากัน
แต่ระหว่างที่รวบรวมข้อมูลเพื่อศึกษาของสภาพัฒน์ไปเรื่อยๆ อีกด้านหนึ่งก็เริ่มมีท่าทีจากฝ่ายการเมืองออกมาให้เห็นแจ่มชัดขึ้นเรื่อยๆ แบบคู่ขนานกันไปในทำนองจะยอม “ผ่อนปรน” หรือ “ลดแหลก” เหมือนกับสินค้าในตลาดสดไม่มีผิด
เพราะถ้าพิจารณาจากอารมณ์ของสังคมในเวลานี้นับว่าจะเดินหน้าเต็มทั้งแพ็กเกจคงทำไม่ได้ เพราะถ้าขืน “ลุยถั่ว” กันไปแบบดุ่ยๆ ดีไม่ดีอาจพังกันทั้งขบวน ดังนั้นหนทางถอยก็น่าจะออกมาในแบบลดจำนวนการเช่าลงมา อาจเหลือแค่ 1,500-2,000 คัน พร้อมทั้งมีการปรับเส้นทางวิ่งเหลือเพียงบางสายสำคัญเท่านั้น
ทำให้วงเงินถูกปรับลด เหลือไม่กี่หมื่นล้านบาท ดูแล้วอาจไม่เป็นที่สังเกต เตะตาคนทั่วไปมากนัก
ขณะที่โครงการระบายข้าวในสต็อกจำนวน 2.6 ล้านตัน ของกระทรวงพาณิชย์ ผลก็ออกมาในทำนองเดียวกัน นอกจากถูกนายกรัฐมนตรีนำทีมเบรกในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีจนหัวทิ่มแล้ว ข้างนอกก็มีแต่เสียงด่ากันขรม จนต้องถอยร่นไม่เป็นขบวน และถูกสั่งล้มประมูลในที่สุด
อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพก็เหมือนกับ “อ้อยเข้าปากช้าง” ครั้นจะดึงออกมามันก็ลำบาก อันไหนที่เคี้ยวไปแล้วกำลังกลืนลงท้อง ก็ต้องปล่อยเลยตามเลย
ซึ่งบังเอิญสอดรับกับความเคลื่อนไหวที่กำลังออกมาเป็นข้อเสนอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณา 3 ประการ น่าสนใจก็คือ ให้เอกชนที่ชนะการประมูลซื้อข้าวจากรัฐทั้ง 17 ราย ที่ชำระเงินไปแล้วบางส่วนประมาณ 1 แสนตัน ให้รับมอบข้าวไปได้ พร้อมทั้งมีออปชั่นพิเศษพ่วงเข้ามาเสริมให้ชื่นใจก็คือ จะช่วยเหลือพ่อค้าให้ส่งมอบข้าวในส่วนที่เหลือจำนวนกว่า 1 ล้านตันตามคำสั่งซื้อล่วงหน้า อ้างว่าเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ส่งออก
เมื่อพิจารณาตามตัวเลข บวกลบกันแล้วก็ถือว่ายอมปรับลงมาจากเดิมลงนับล้านตัน หากคิดเป็นตัวเงินก็ต้องบอกว่าหดหายไปไม่น้อยเลยทีเดียว แต่เมื่อดูอารมณ์ของชาวบ้านทั่วไป ก็ไม่ไว้วางใจไม่ต่างจากกรณีของรถเมล์อื้อฉาวของกระทรวงคมนาคม จนส่ออาการฝ่อ มีแนวโน้มต้องเลี่ยงลดขนาดลงมา
อย่างไรก็ตาม แม้ว่านาทีนี้ทั้งสองกรณียังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนออกมา แต่ค่อนข้างมั่นใจได้ว่า ผลที่ออกมาน่าจะไม่ผิดไปจากนี้มากนัก
ขณะเดียวกันหากพิจารณาจากลักษณะของรัฐบาลผสม ที่ต้องประคับประคองรักษาหน้ากันไปให้นานที่สุด และที่สำคัญที่สุดก็คือเวลานี้ยังไม่ใช่เวลาที่จะต้องมา “แตกหัก” เพราะยังมี “เค้ก” ที่เป็นโครงการใหญ่วงเงินงบประมาณมหาศาลรอท่าอยู่ข้างหน้า
นอกเหนือจากนี้ด้วยบุคลิกลักษณะของนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ไม่ใช่เป็นคนที่แข็งกร้าว “หักหน้า” ใครแบบนั้น
ดังนั้น เมื่อพิจารณาทุกองค์ประกอบและบรรยากาศที่เป็นอยู่ทั้งหมดดังกล่าว ผลน่าจะออกมาในลักษณะทุกอย่างยังเดินหน้าต่อไป แต่จะลดขนาด ลดวงเงินงบประมาณลงมา
แต่ประเด็นสำคัญก็คือหากผลออกมาแบบ “เกี้ยเซียะ” แบบนี้ เงินก็จะเข้ากระเป๋านักการเมือง เข้าอีหรอบเดิม เพียงแต่พอถูกสังคมจับได้ ส่งเสียงโวยวายก็ต้องยอมถอยร่นลงมา หรือแทนที่จะได้เต็มร้อย ก็ต้องยอมกัดฟันยอมลดเหลือแค่ 20 บาท หรือ 30 บาท ก็ยังดี
ได้แค่ไหนก็คว้าใกล้มือเอาไว้ก่อน !!
ทำนองรวบรัดตัดความ ตัดรำคาญ เอาเงินเข้ากระเป๋าไว้ก่อน หรือ “กำอุจจาระดีกว่ากำตด” อะไรประมาณนั้น !!
ถ้าแยกแยะอธิบายออกมาเป็นสองส่วนสองกรณี เพื่อให้เห็นภาพคร่าวๆก็คือ เรื่องเช่ารถเมล์เอ็นจีวีโครงการข้ามรัฐบาลที่เดิมมีจำนวน 6 พันคัน มูลค่าร่วมแสนล้านบาทตั้งแต่ยุครัฐบาลพลังประชาชน แล้วกลายพันธุ์มาจนถึงยุครัฐบาลประชาธิปัตย์ ก็ได้ลดราคาลงมาเรื่อยจนล่าสุดเหลือ 4 พันคัน วงเงินก็ลดลงมาพรวดพราดมาอยู่ที่ราคา 6.4 หมื่นล้านบาท หลังจากมีเสียงโวยวายเรื่องทุจริตดังทั่วบ้านทั่วเมือง
จนในที่สุดนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต้องซื้อเวลาด้วยการให้คณะกรรมการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาภายใน 1 เดือน ภายใต้กรอบสองตัวเลือกว่า จะ “เช่า” หรือ “ซื้อ” ดีกว่ากัน
แต่ระหว่างที่รวบรวมข้อมูลเพื่อศึกษาของสภาพัฒน์ไปเรื่อยๆ อีกด้านหนึ่งก็เริ่มมีท่าทีจากฝ่ายการเมืองออกมาให้เห็นแจ่มชัดขึ้นเรื่อยๆ แบบคู่ขนานกันไปในทำนองจะยอม “ผ่อนปรน” หรือ “ลดแหลก” เหมือนกับสินค้าในตลาดสดไม่มีผิด
เพราะถ้าพิจารณาจากอารมณ์ของสังคมในเวลานี้นับว่าจะเดินหน้าเต็มทั้งแพ็กเกจคงทำไม่ได้ เพราะถ้าขืน “ลุยถั่ว” กันไปแบบดุ่ยๆ ดีไม่ดีอาจพังกันทั้งขบวน ดังนั้นหนทางถอยก็น่าจะออกมาในแบบลดจำนวนการเช่าลงมา อาจเหลือแค่ 1,500-2,000 คัน พร้อมทั้งมีการปรับเส้นทางวิ่งเหลือเพียงบางสายสำคัญเท่านั้น
ทำให้วงเงินถูกปรับลด เหลือไม่กี่หมื่นล้านบาท ดูแล้วอาจไม่เป็นที่สังเกต เตะตาคนทั่วไปมากนัก
ขณะที่โครงการระบายข้าวในสต็อกจำนวน 2.6 ล้านตัน ของกระทรวงพาณิชย์ ผลก็ออกมาในทำนองเดียวกัน นอกจากถูกนายกรัฐมนตรีนำทีมเบรกในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีจนหัวทิ่มแล้ว ข้างนอกก็มีแต่เสียงด่ากันขรม จนต้องถอยร่นไม่เป็นขบวน และถูกสั่งล้มประมูลในที่สุด
อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพก็เหมือนกับ “อ้อยเข้าปากช้าง” ครั้นจะดึงออกมามันก็ลำบาก อันไหนที่เคี้ยวไปแล้วกำลังกลืนลงท้อง ก็ต้องปล่อยเลยตามเลย
ซึ่งบังเอิญสอดรับกับความเคลื่อนไหวที่กำลังออกมาเป็นข้อเสนอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณา 3 ประการ น่าสนใจก็คือ ให้เอกชนที่ชนะการประมูลซื้อข้าวจากรัฐทั้ง 17 ราย ที่ชำระเงินไปแล้วบางส่วนประมาณ 1 แสนตัน ให้รับมอบข้าวไปได้ พร้อมทั้งมีออปชั่นพิเศษพ่วงเข้ามาเสริมให้ชื่นใจก็คือ จะช่วยเหลือพ่อค้าให้ส่งมอบข้าวในส่วนที่เหลือจำนวนกว่า 1 ล้านตันตามคำสั่งซื้อล่วงหน้า อ้างว่าเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ส่งออก
เมื่อพิจารณาตามตัวเลข บวกลบกันแล้วก็ถือว่ายอมปรับลงมาจากเดิมลงนับล้านตัน หากคิดเป็นตัวเงินก็ต้องบอกว่าหดหายไปไม่น้อยเลยทีเดียว แต่เมื่อดูอารมณ์ของชาวบ้านทั่วไป ก็ไม่ไว้วางใจไม่ต่างจากกรณีของรถเมล์อื้อฉาวของกระทรวงคมนาคม จนส่ออาการฝ่อ มีแนวโน้มต้องเลี่ยงลดขนาดลงมา
อย่างไรก็ตาม แม้ว่านาทีนี้ทั้งสองกรณียังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนออกมา แต่ค่อนข้างมั่นใจได้ว่า ผลที่ออกมาน่าจะไม่ผิดไปจากนี้มากนัก
ขณะเดียวกันหากพิจารณาจากลักษณะของรัฐบาลผสม ที่ต้องประคับประคองรักษาหน้ากันไปให้นานที่สุด และที่สำคัญที่สุดก็คือเวลานี้ยังไม่ใช่เวลาที่จะต้องมา “แตกหัก” เพราะยังมี “เค้ก” ที่เป็นโครงการใหญ่วงเงินงบประมาณมหาศาลรอท่าอยู่ข้างหน้า
นอกเหนือจากนี้ด้วยบุคลิกลักษณะของนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ไม่ใช่เป็นคนที่แข็งกร้าว “หักหน้า” ใครแบบนั้น
ดังนั้น เมื่อพิจารณาทุกองค์ประกอบและบรรยากาศที่เป็นอยู่ทั้งหมดดังกล่าว ผลน่าจะออกมาในลักษณะทุกอย่างยังเดินหน้าต่อไป แต่จะลดขนาด ลดวงเงินงบประมาณลงมา
แต่ประเด็นสำคัญก็คือหากผลออกมาแบบ “เกี้ยเซียะ” แบบนี้ เงินก็จะเข้ากระเป๋านักการเมือง เข้าอีหรอบเดิม เพียงแต่พอถูกสังคมจับได้ ส่งเสียงโวยวายก็ต้องยอมถอยร่นลงมา หรือแทนที่จะได้เต็มร้อย ก็ต้องยอมกัดฟันยอมลดเหลือแค่ 20 บาท หรือ 30 บาท ก็ยังดี
ได้แค่ไหนก็คว้าใกล้มือเอาไว้ก่อน !!