ASTV ผู้จัดการรายวัน – ตลาดหุ้นโดนหลายปัจจัยลบรุมกระหน่ำ ฉุดดัชนีฯร่วงอีก 6.69 จุด ทั้งจากราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงดึงหุ้นกลุ่มพลังงานวูบตาม นักลงทุนเริ่มไม่มั่นใจการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และ โอกาสถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของไทย จากเอสแอนด์พี ด้านโบรกเกอร์ฯเชื่อวันนี้ยังอยู่ในช่วงปรับฐานต่อ แต่ลดลงไม่แรง แนะจับตาผลประชุมเฟด และตัวเลขเศรษฐกิจอื่นๆ
ดัชนีตลาดหุ้นไทย วานนี้ (22มิ.ย.) ปิดที่ระดับ 582.29 จุด ลดลง 6.69 จุด หรือ -1.14% มูลค่าการซื้อขาย 15,278.78 ล้านบาท โดยระหว่างวันปรับตัวสูงสุดที่ระดับ 592.44 จุด และต่ำสุดที่ระดับ 581.31 จุด ซึ่งเป็นอีกวันที่ตลาดหุ้นไทยมีความผันผวนมาก โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มพลังงาน ที่ปรับตัวลดลงและเป็นตัวฉุดดัชนีฯ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน ที่ปรับตัวลง
และเมื่อแบ่งเป็นประเภทนักลงทุน จะพบว่า นักลงทุนต่างประเทศยังซื้อสุทธิต่อเนื่องอีก 1,580.01 ล้านบาท และสถาบันยังขายสุทธิ 839.49 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนทั่วไปที่ขายสุทธิ 740.53 ล้านบาท ส่วนหลักทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงวานนี้ มีเพิ่มขึ้น 127 หลักทรัพย์ ลดลง 195 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 100 หลักทรัพย์
ส่วนหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 5 หลักทรัพย์ ได้แก่ PTT มูลค่าการซื้อขาย 2,171.55 ล้านบาท ปิดที่ 228.00 บาท ลดลง 6.00 บาท PTTEP มูลค่าการซื้อขาย 1,165.56 ล้านบาท ปิดที่ 129.00 บาท ลดลง 5.00 บาท KBANK มูลค่าการซื้อขาย 1,006.72 ล้านบาท ปิดที่ 66.50 บาท เพิ่มขึ้น 1.25 บาท TTA มูลค่าการซื้อขาย 682.39 ล้านบาท ปิดที่ 21.20 บาท ลดลง 0.80 บาท และTOP มูลค่าการซื้อขาย 676.01 ล้านบาท ปิดที่ 35.00 บาท ลดลง 2.00 บาท
ขณะที่ความเคลื่อนไหวของดัชนีฯต่างประเทศ ดัชนี ฮั่งเส็ง ตลาดหุ้นฮ่องกง ปิดที่ระดับ 18,059.55 จุด เพิ่มขึ้น 138.62 จุด หรือ 0.77 %,ดัชนี นิกเกอิตลาดหุ้นญี่ปุ่น ปิดที่ระดับ 9,826.27 จุด เพิ่มขึ้น 40.01 จุด หรือ 0.41 % ดัชนี เวทเต็ด ตลาดหุ้นไต้หวัน ปิดที่ระดับ 6,341.21 จุด เพิ่มขึ้น 110.06 จุด หรือ 1.77 % ,ดัชนี สเตรทไทม์ ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ปิดที่ระดับ 2,266.92 จุด ลดลง 6.26 จุด หรือ -0.28 %
น.ส.ธีรดา ชาญยิ่งยงค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ค่อนข้างผันผวนมาก โดยมีกลุ่มพลังงานปรับตัวลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมั น ในตลาดโลกที่ลดลง และในช่วงบ่ายก็มีข่าวออกมาว่าทาง S&P จะพิจารณาอันดับเครดิตของไทย ซึ่งก็มีโอกาสที่จะถูกปรับลดเครดิตลงอีก จึงทำให้เรื่องนี้ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นในช่วงบ่าย เพราะไทยอาจถูกลดอันดับความน่าเชื่อที่ระดับ BBB+ หากเศรษฐกิจของประเทศชะลอตัวลงและสถานการณ์คลังของรัฐบาลอ่อนแอ
อย่างไรก็ตาม บรรยากาศการซื้อขายวานนี้ ยังมีกลุ่มธนาคาร ที่พยายามช่วยประคับประคองตลาดหุ้นเอาไว้ได้บ้างในระหว่างเทรด เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐฯ ทำให้มีความจำเป็นจะต้องใช้เงินกู้ จึงเป็นผลบวกต่อหุ้นในกลุ่มนี้ อีกทั้งการออก Single Stock Future เพิ่มอีก 11 ตัว และได้เริ่มเข้ามาซื้อขายวานนี้เป็นวันแรก ก็ทำให้ช่วยประคองตลาดหุ้นได้ส่วนหนึ่งเช่นกัน
สำหรับ แนวโน้มการลงทุนในวันนี้(23 มิ.ย.) คาดว่า ตลาดหุ้นไทยช่วงนี้ยังอยู่ในช่วงของการปรับฐาน จึงทำให้ ดัชนีฯอาจเคลื่อนไหวในลักษณะซิกแซก อิงขาลงมากกว่า แต่มองว่าไม่น่าจะปรับตัวลดลงแรงนัก อีกทั้งนักลงทุนกำลังรอดูผลประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)ที่จะออกมาในวันพฤหัสนี้ พร้อมให้กรอบการแกว่งของดัชนีฯไว้ที่ 570-590 จุด
ด้านนายวรุฒม์ ศิวะศิริยานนท์ รองกรรมการผู้จัดการ บล.ฟินันซ่า กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยวานนี้ค่อนข้างผันผวน โดยดัชนีฯเคลื่อนไหวสลับกันทั้งแดนลบและแดนบวก และในช่วงบ่ายตลาดฯปรับตัวลดลงเกือบทดสอบระดับแนวรับที่ 580 จุด ซึ่งสาเหตุมาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลงเกือบ 2 ดอลลาร์ ปิดตลาดที่ 69.55 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่งผลให้หุ้นกลุ่มพลังงานถูกแรงเทขายออกมา ประกอบกับนักลงทุนบางส่วนเชื่อว่าเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัว
สำหรับแนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยในวันนี้ คาดว่า จะผันผวนต่อ หลังยังไร้ปัจจัยที่ชัดเจน ขณะเดียวกันตลาดฯยังอยู่ในช่วงการเทรดดิ้ง อย่างไรก็ตาม ให้นักลงทุนติดตามปัจจัยจากต่างประเทศ โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐฯที่จะมีการประชุมในเรื่องอัตราดอกเบี้ยว่าจะออกไปในทิศทางใด แต่ทั้งนี้ประเด็นดังกล่าวมองว่านักลงทุนไม่ได้ให้น้ำหนักมากนัก เนื่องจาก มีการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ย และการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจ อาทิ ตัวเลขบ้านในสหรัฐฯที่จะประกาศในสัปดาห์นี้ รวมถึงราคาน้ำมันในตลาดโลกที่จะส่งผลต่อดัชนีฯของหุ้นไทยโดยตรง ส่วนกรณีที่ เอสแอนด์พีระบุว่าอาจพิจารณาลดอันดับความน่าเชื่อถือของไทย ซึ่งอยู่ที่ระดับ BBB+ เนื่องจากเศรษฐกิจเผชิญภาวะซบเซา มองว่าไม่ส่งผลกระทบต่อดัชนีฯวันพรุ่งนี้แต่อย่างใดเนื่องจากตลาดฯรับรู้แล้ว นอกจากนี้ ปัจจัยในประเทศนั้นให้ติดตามการเปิดซองประมูลรถไฟสายสีม่วงสัญญาที่3 ในวันนี้ (23มิ.ย)และการออกพรก.กู้เงิน 4 แสนล้านของรัฐบาลว่าจะผ่านการพิจารณาหรือไม่
ทำให้กลยุทธ์การลงทุนคือ แนะนำนักลงทุนขายเมื่อดัชนีฯปรับเพิ่มขึ้นและซื้อเมื่อดัชนีฯลดลง โดยประเมินแนวรับไว้ที่ 580 จุด ซึ่งหากหลุดแนวรับดังกล่าว ดัชนีฯอาจจะลงถึง 560 จุด และแนวต้านไว้ที่ 592-595 จุด
**S&Pส่อปรับลดอันดับเครดิตไทย
วานนี้ มีรายงานข่าวว่า สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือแสตนดาร์ดแอนด์พัวร์ส หรือ (S&P) อาจจะพิจารณาลดอันดับความน่าเชื่อถือของไทย ซึ่งอยู่ที่ระดับ BBB+ เนื่องจากเศรษฐกิจเผชิญภาวะซบเซา ขณะที่ฐานะการคลังของรัฐบาลมีแนวโน้มอ่อนแอลง
โดยเหตุผลที่จะถูกนำมาพิจารณา คือ สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาได้ทำลายแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐิกิจใน ระยะกลางของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นความตึงเครียดทางการเมืองที่ยังคงมีอยู่ ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้อันดับความน่าเชื่อถือของไทยถูกลด หากเศรษฐกิจทรุดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลให้ฐานะการคลังของรัฐบาลอ่อนแอลงอย่างหนัก หรือ คุณภาพสินทรัพย์ภาคธนาคารลดลงอย่างมีนัยสำคัญนั่นเอง
ก่อนหน้านี้ เอสแอนด์พีได้ลดมุมมองอันดับความน่าเชื่อถือของไทยจากระดับ มีเสถียรภาพ มาอยู่ที่ระดับ เชิงลบ ตั้งแต่เดือนธันวาคมปี2551 หลังเกิดความตึงเครียดทางการเมืองและมีเหตุการณ์ปิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ขณะที่ในไตรมาสแรกปี2552 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ จีดีพีของไทยติดลบ7.1% ซึ่งเป็นผลกระทบจากภาวะซบเซาในภาคส่งออก
ดัชนีตลาดหุ้นไทย วานนี้ (22มิ.ย.) ปิดที่ระดับ 582.29 จุด ลดลง 6.69 จุด หรือ -1.14% มูลค่าการซื้อขาย 15,278.78 ล้านบาท โดยระหว่างวันปรับตัวสูงสุดที่ระดับ 592.44 จุด และต่ำสุดที่ระดับ 581.31 จุด ซึ่งเป็นอีกวันที่ตลาดหุ้นไทยมีความผันผวนมาก โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มพลังงาน ที่ปรับตัวลดลงและเป็นตัวฉุดดัชนีฯ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน ที่ปรับตัวลง
และเมื่อแบ่งเป็นประเภทนักลงทุน จะพบว่า นักลงทุนต่างประเทศยังซื้อสุทธิต่อเนื่องอีก 1,580.01 ล้านบาท และสถาบันยังขายสุทธิ 839.49 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนทั่วไปที่ขายสุทธิ 740.53 ล้านบาท ส่วนหลักทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงวานนี้ มีเพิ่มขึ้น 127 หลักทรัพย์ ลดลง 195 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 100 หลักทรัพย์
ส่วนหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 5 หลักทรัพย์ ได้แก่ PTT มูลค่าการซื้อขาย 2,171.55 ล้านบาท ปิดที่ 228.00 บาท ลดลง 6.00 บาท PTTEP มูลค่าการซื้อขาย 1,165.56 ล้านบาท ปิดที่ 129.00 บาท ลดลง 5.00 บาท KBANK มูลค่าการซื้อขาย 1,006.72 ล้านบาท ปิดที่ 66.50 บาท เพิ่มขึ้น 1.25 บาท TTA มูลค่าการซื้อขาย 682.39 ล้านบาท ปิดที่ 21.20 บาท ลดลง 0.80 บาท และTOP มูลค่าการซื้อขาย 676.01 ล้านบาท ปิดที่ 35.00 บาท ลดลง 2.00 บาท
ขณะที่ความเคลื่อนไหวของดัชนีฯต่างประเทศ ดัชนี ฮั่งเส็ง ตลาดหุ้นฮ่องกง ปิดที่ระดับ 18,059.55 จุด เพิ่มขึ้น 138.62 จุด หรือ 0.77 %,ดัชนี นิกเกอิตลาดหุ้นญี่ปุ่น ปิดที่ระดับ 9,826.27 จุด เพิ่มขึ้น 40.01 จุด หรือ 0.41 % ดัชนี เวทเต็ด ตลาดหุ้นไต้หวัน ปิดที่ระดับ 6,341.21 จุด เพิ่มขึ้น 110.06 จุด หรือ 1.77 % ,ดัชนี สเตรทไทม์ ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ปิดที่ระดับ 2,266.92 จุด ลดลง 6.26 จุด หรือ -0.28 %
น.ส.ธีรดา ชาญยิ่งยงค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ค่อนข้างผันผวนมาก โดยมีกลุ่มพลังงานปรับตัวลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมั น ในตลาดโลกที่ลดลง และในช่วงบ่ายก็มีข่าวออกมาว่าทาง S&P จะพิจารณาอันดับเครดิตของไทย ซึ่งก็มีโอกาสที่จะถูกปรับลดเครดิตลงอีก จึงทำให้เรื่องนี้ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นในช่วงบ่าย เพราะไทยอาจถูกลดอันดับความน่าเชื่อที่ระดับ BBB+ หากเศรษฐกิจของประเทศชะลอตัวลงและสถานการณ์คลังของรัฐบาลอ่อนแอ
อย่างไรก็ตาม บรรยากาศการซื้อขายวานนี้ ยังมีกลุ่มธนาคาร ที่พยายามช่วยประคับประคองตลาดหุ้นเอาไว้ได้บ้างในระหว่างเทรด เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐฯ ทำให้มีความจำเป็นจะต้องใช้เงินกู้ จึงเป็นผลบวกต่อหุ้นในกลุ่มนี้ อีกทั้งการออก Single Stock Future เพิ่มอีก 11 ตัว และได้เริ่มเข้ามาซื้อขายวานนี้เป็นวันแรก ก็ทำให้ช่วยประคองตลาดหุ้นได้ส่วนหนึ่งเช่นกัน
สำหรับ แนวโน้มการลงทุนในวันนี้(23 มิ.ย.) คาดว่า ตลาดหุ้นไทยช่วงนี้ยังอยู่ในช่วงของการปรับฐาน จึงทำให้ ดัชนีฯอาจเคลื่อนไหวในลักษณะซิกแซก อิงขาลงมากกว่า แต่มองว่าไม่น่าจะปรับตัวลดลงแรงนัก อีกทั้งนักลงทุนกำลังรอดูผลประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)ที่จะออกมาในวันพฤหัสนี้ พร้อมให้กรอบการแกว่งของดัชนีฯไว้ที่ 570-590 จุด
ด้านนายวรุฒม์ ศิวะศิริยานนท์ รองกรรมการผู้จัดการ บล.ฟินันซ่า กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยวานนี้ค่อนข้างผันผวน โดยดัชนีฯเคลื่อนไหวสลับกันทั้งแดนลบและแดนบวก และในช่วงบ่ายตลาดฯปรับตัวลดลงเกือบทดสอบระดับแนวรับที่ 580 จุด ซึ่งสาเหตุมาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลงเกือบ 2 ดอลลาร์ ปิดตลาดที่ 69.55 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่งผลให้หุ้นกลุ่มพลังงานถูกแรงเทขายออกมา ประกอบกับนักลงทุนบางส่วนเชื่อว่าเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัว
สำหรับแนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยในวันนี้ คาดว่า จะผันผวนต่อ หลังยังไร้ปัจจัยที่ชัดเจน ขณะเดียวกันตลาดฯยังอยู่ในช่วงการเทรดดิ้ง อย่างไรก็ตาม ให้นักลงทุนติดตามปัจจัยจากต่างประเทศ โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐฯที่จะมีการประชุมในเรื่องอัตราดอกเบี้ยว่าจะออกไปในทิศทางใด แต่ทั้งนี้ประเด็นดังกล่าวมองว่านักลงทุนไม่ได้ให้น้ำหนักมากนัก เนื่องจาก มีการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ย และการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจ อาทิ ตัวเลขบ้านในสหรัฐฯที่จะประกาศในสัปดาห์นี้ รวมถึงราคาน้ำมันในตลาดโลกที่จะส่งผลต่อดัชนีฯของหุ้นไทยโดยตรง ส่วนกรณีที่ เอสแอนด์พีระบุว่าอาจพิจารณาลดอันดับความน่าเชื่อถือของไทย ซึ่งอยู่ที่ระดับ BBB+ เนื่องจากเศรษฐกิจเผชิญภาวะซบเซา มองว่าไม่ส่งผลกระทบต่อดัชนีฯวันพรุ่งนี้แต่อย่างใดเนื่องจากตลาดฯรับรู้แล้ว นอกจากนี้ ปัจจัยในประเทศนั้นให้ติดตามการเปิดซองประมูลรถไฟสายสีม่วงสัญญาที่3 ในวันนี้ (23มิ.ย)และการออกพรก.กู้เงิน 4 แสนล้านของรัฐบาลว่าจะผ่านการพิจารณาหรือไม่
ทำให้กลยุทธ์การลงทุนคือ แนะนำนักลงทุนขายเมื่อดัชนีฯปรับเพิ่มขึ้นและซื้อเมื่อดัชนีฯลดลง โดยประเมินแนวรับไว้ที่ 580 จุด ซึ่งหากหลุดแนวรับดังกล่าว ดัชนีฯอาจจะลงถึง 560 จุด และแนวต้านไว้ที่ 592-595 จุด
**S&Pส่อปรับลดอันดับเครดิตไทย
วานนี้ มีรายงานข่าวว่า สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือแสตนดาร์ดแอนด์พัวร์ส หรือ (S&P) อาจจะพิจารณาลดอันดับความน่าเชื่อถือของไทย ซึ่งอยู่ที่ระดับ BBB+ เนื่องจากเศรษฐกิจเผชิญภาวะซบเซา ขณะที่ฐานะการคลังของรัฐบาลมีแนวโน้มอ่อนแอลง
โดยเหตุผลที่จะถูกนำมาพิจารณา คือ สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาได้ทำลายแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐิกิจใน ระยะกลางของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นความตึงเครียดทางการเมืองที่ยังคงมีอยู่ ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้อันดับความน่าเชื่อถือของไทยถูกลด หากเศรษฐกิจทรุดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลให้ฐานะการคลังของรัฐบาลอ่อนแอลงอย่างหนัก หรือ คุณภาพสินทรัพย์ภาคธนาคารลดลงอย่างมีนัยสำคัญนั่นเอง
ก่อนหน้านี้ เอสแอนด์พีได้ลดมุมมองอันดับความน่าเชื่อถือของไทยจากระดับ มีเสถียรภาพ มาอยู่ที่ระดับ เชิงลบ ตั้งแต่เดือนธันวาคมปี2551 หลังเกิดความตึงเครียดทางการเมืองและมีเหตุการณ์ปิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ขณะที่ในไตรมาสแรกปี2552 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ จีดีพีของไทยติดลบ7.1% ซึ่งเป็นผลกระทบจากภาวะซบเซาในภาคส่งออก