ASTVผู้จัดการรายวัน – สทท.ลุยจับเข่าบสย.ขอความช่วยเหลือเป็นสื่อกลางกล่อมสถาบันการเงินปล่อยกู้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวเป็นกรณีพิเศษ ระบุทุกรายอยู่ในอาการร่อแร่ หากไม่ได้รับการช่วยเหลือโดยด่วนมีหวังชักแถวล้มละลาย ระบุสิ้นปีนี้ยอดนักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างดีได้แค่ 11 ล้านคน ติดลบ 22%
นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สทท.) เปิดเผยว่า ได้หารือกับนายสุรชัย ดนัยตั้งตระกูล รักษาการผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.) ในประเด็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ที่ขณะนี้กำลังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างหนัก โดยต้องการขอให้ บสย. เป็นตัวแทนภาคเอกชนไปเจรจากับสถาบันการเงิน ขอผ่อนปรนหลักเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อให้ภาคท่องเที่ยวเป็นกรณีพิเศษ
ทั้งนี้เพราะ ผู้ประกอบการท่องเที่ยว เจอปัจจัยลบที่เข้ามากระทบต่อการทำธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา เช่น ปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ปัญหาโรคระบาด และ ปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองภายในประเทศ ซึ่งทั้งหมดได้ส่งผลให้ นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง หากไม่ได้เม็ดเงินเข้ามาเสริมสภาพคล่องโดยเร็ว อาจทำให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้ต้องปิดตัวและล้มตายจำนวนมาก
“ตอนนี้มีรายงานแจงเข้ามาว่ามีหลายบริษัททั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เตรียมที่จะปิดกิจการแล้ว เพราะไม่มีเงินทุนเข้ามาหมุนเวียน ซึ่งเป็นสาเหตุเพราะจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง โดยโรงแรมทางภาคใต้ เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ได้รับผลกระทบหนักมาก เพราะเดิมก็มีเรื่องปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ แล้วยังมาเจอกับผลกระทบจากวิกฤตในด้านอื่นๆอีก จึงต้องการให้สถาบันการเงินเห็นใจและผ่อนปรนการปล่อยสินเชื่ออกมาบ้าง”
อย่างไรก็ตาม ในการหารือ นายสุรชัย ได้รับปากว่าจะช่วยเจรจากับสถาบันการเงินให้ปล่อยกู้ให้แก่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวเป็นกรณีพิเศษ เพราะแม้จะมีโครงการช่วยเหลือทางการเงินให้ธุรกิจท่องเที่ยวผ่านทางธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อมแห่งประเทศไทย(เอสเอ็มอีแบงก์) แต่ผู้ประกอบการที่ยื่นเรื่องไปก็ยังได้รับการอนุมติมาในจำนวนที่น้อย เพราะแม้ในประวัติจะเป็นผู้ประกอบการที่มีประวัติผ่อนชำระตรงเวลามาตลอด แต่เมื่อเจอกับวิกฤตในครั้งนี้ ทำให้บางรายขาดสภาพคล่อง หยุดการผ่อนชำระมากกว่า 3 เดือน จึงกลายเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ เอ็นพีแอล เมื่อยื่นเรื่องขอกู้เงินก็ไม่ได้รับการพิจารณา
สำหรับการช่วยเหลือในครั้งนี้ บสย. รับปากว่า จะเน้นให้การช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการที่ขาดสภาพคล่อง และมีหลักประกันไม่เพียงพอ โดยบสย. จะนำวงเงินค้ำประกันตามนโยบายของรัฐบาลที่ 60,000 ล้านบาท มาค้ำประกันให้ผู้ประกอบการรกลุ่มนี้
รายละไม่เกิน 20 ล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมาเพิ่งใช้วงเงินค้ำประกันดังกล่าวไปเพียง 300 ล้านบาทเท่านั้น
นอกจากนี้ธนาคารออมสิน ยังแจ้งมาอีกว่า พร้อมปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการรายย่อย ที่ต้องการเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ไปประกอบอาชีพ ดังนั้น สทท. จะนำข้อมูลที่ได้มาทั้งหมด ไปเร่งประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการรายย่อยในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ได้รับทราบโดยเร็ว เช่น ร้านอาหารขนาดเล็ก ร้านขายของที่ระลึก ร้านซักรีด เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม สทท. ประเมินว่า ปีนี้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในไทย คงไม่ถึง 11 ล้านคน ลดลง 22% จากปีก่อน โดยสร้างรายได้เข้าประเทศ 4 แสนล้านบาท เพราะจากที่หวังว่านักท่องเที่ยวจะกลับเป็นปกติ เมื่อการเมืองในประเทศสงบ แต่กลับต่อมาเจอกับสถานการณ์ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 จึงซ้ำเติมให้อุตสาหกรรมนนี้ ทรุดตัวหนักขึ้น แต่ก็ยังหวังว่าไตรมาส 4 ซึ่งเป็นไฮซีซั่น สถานการณ์นักท่องเที่ยว จะเริ่มดีขึ้นบ้าง
นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สทท.) เปิดเผยว่า ได้หารือกับนายสุรชัย ดนัยตั้งตระกูล รักษาการผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.) ในประเด็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ที่ขณะนี้กำลังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างหนัก โดยต้องการขอให้ บสย. เป็นตัวแทนภาคเอกชนไปเจรจากับสถาบันการเงิน ขอผ่อนปรนหลักเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อให้ภาคท่องเที่ยวเป็นกรณีพิเศษ
ทั้งนี้เพราะ ผู้ประกอบการท่องเที่ยว เจอปัจจัยลบที่เข้ามากระทบต่อการทำธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา เช่น ปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ปัญหาโรคระบาด และ ปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองภายในประเทศ ซึ่งทั้งหมดได้ส่งผลให้ นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง หากไม่ได้เม็ดเงินเข้ามาเสริมสภาพคล่องโดยเร็ว อาจทำให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้ต้องปิดตัวและล้มตายจำนวนมาก
“ตอนนี้มีรายงานแจงเข้ามาว่ามีหลายบริษัททั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เตรียมที่จะปิดกิจการแล้ว เพราะไม่มีเงินทุนเข้ามาหมุนเวียน ซึ่งเป็นสาเหตุเพราะจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง โดยโรงแรมทางภาคใต้ เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ได้รับผลกระทบหนักมาก เพราะเดิมก็มีเรื่องปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ แล้วยังมาเจอกับผลกระทบจากวิกฤตในด้านอื่นๆอีก จึงต้องการให้สถาบันการเงินเห็นใจและผ่อนปรนการปล่อยสินเชื่ออกมาบ้าง”
อย่างไรก็ตาม ในการหารือ นายสุรชัย ได้รับปากว่าจะช่วยเจรจากับสถาบันการเงินให้ปล่อยกู้ให้แก่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวเป็นกรณีพิเศษ เพราะแม้จะมีโครงการช่วยเหลือทางการเงินให้ธุรกิจท่องเที่ยวผ่านทางธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อมแห่งประเทศไทย(เอสเอ็มอีแบงก์) แต่ผู้ประกอบการที่ยื่นเรื่องไปก็ยังได้รับการอนุมติมาในจำนวนที่น้อย เพราะแม้ในประวัติจะเป็นผู้ประกอบการที่มีประวัติผ่อนชำระตรงเวลามาตลอด แต่เมื่อเจอกับวิกฤตในครั้งนี้ ทำให้บางรายขาดสภาพคล่อง หยุดการผ่อนชำระมากกว่า 3 เดือน จึงกลายเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ เอ็นพีแอล เมื่อยื่นเรื่องขอกู้เงินก็ไม่ได้รับการพิจารณา
สำหรับการช่วยเหลือในครั้งนี้ บสย. รับปากว่า จะเน้นให้การช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการที่ขาดสภาพคล่อง และมีหลักประกันไม่เพียงพอ โดยบสย. จะนำวงเงินค้ำประกันตามนโยบายของรัฐบาลที่ 60,000 ล้านบาท มาค้ำประกันให้ผู้ประกอบการรกลุ่มนี้
รายละไม่เกิน 20 ล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมาเพิ่งใช้วงเงินค้ำประกันดังกล่าวไปเพียง 300 ล้านบาทเท่านั้น
นอกจากนี้ธนาคารออมสิน ยังแจ้งมาอีกว่า พร้อมปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการรายย่อย ที่ต้องการเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ไปประกอบอาชีพ ดังนั้น สทท. จะนำข้อมูลที่ได้มาทั้งหมด ไปเร่งประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการรายย่อยในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ได้รับทราบโดยเร็ว เช่น ร้านอาหารขนาดเล็ก ร้านขายของที่ระลึก ร้านซักรีด เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม สทท. ประเมินว่า ปีนี้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในไทย คงไม่ถึง 11 ล้านคน ลดลง 22% จากปีก่อน โดยสร้างรายได้เข้าประเทศ 4 แสนล้านบาท เพราะจากที่หวังว่านักท่องเที่ยวจะกลับเป็นปกติ เมื่อการเมืองในประเทศสงบ แต่กลับต่อมาเจอกับสถานการณ์ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 จึงซ้ำเติมให้อุตสาหกรรมนนี้ ทรุดตัวหนักขึ้น แต่ก็ยังหวังว่าไตรมาส 4 ซึ่งเป็นไฮซีซั่น สถานการณ์นักท่องเที่ยว จะเริ่มดีขึ้นบ้าง