สมัยผมเป็นผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย ผมได้ไปติดต่อโรงเรียนมัธยมในนิวซีแลนด์ไว้ประมาณสิบแห่ง ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนรัฐบาลเพื่อส่งนักเรียนไปเรียนเป็นเวลาหนึ่งปี เพราะผมสังเกตว่านักเรียนทุน AFS ที่ไปอเมริกากลับมาจะภาษาดี และมีความมั่นใจในตัวเอง ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน
แต่ก่อนเด็กที่ไปเรียนเมืองนอก หากไม่เป็นลูกหลานเจ้านาย ก็เป็นลูกหลานนักธุรกิจ โรงเรียนประจำในอังกฤษเป็นที่นิยมกันมาก เด็กต้องไปเรียนตั้งแต่อายุ 9 ขวบ ส่วนที่อเมริกาก็มีโรงเรียนประจำที่ดีๆ หลายแห่ง เช่น Chote, Andover, Hotchkiss และ Exeter เป็นต้น เคยมีการสำรวจว่านักการเมือง นักการทูต และนักธุรกิจชั้นนำในอเมริกาล้วนแล้วแต่เคยเป็นนักเรียนประจำในโรงเรียนเหล่านี้มาทั้งสิ้น
อเมริกาเรียกโรงเรียนเหล่านี้ว่า private school ส่วนอังกฤษเรียกว่า public school ซึ่งไม่ใช่โรงเรียนของรัฐ หากเป็นของเอกชนซึ่งเป็นของพวกสอนศาสนานิกายต่างๆ
โรงเรียนประจำในอังกฤษและอเมริกา มีเนื้อที่ใหญ่โตกว้างขวางมาก เป็นหลายๆ ร้อยไร่ บางแห่งก็มีสนามกอล์ฟเป็นของตัวเองด้วย เวลานี้ค่าเล่าเรียนรวมค่ากินอยู่ด้วยก็ตกราวๆ หนึ่งล้านห้าแสนบาท
นอกจากอังกฤษและอเมริกาแล้ว ก็มีออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ที่เด็กไทยไปเรียนกันแยะ สมัยก่อนคนไทยนิยมส่งเด็กไปเรียนที่อินเดีย เพราะหลวงวิจิตรวาทการเคยเป็นทูตที่อินเดีย และเขียนหนังสือเรื่อง “ของดีในอินเดีย” ในบรรดาของดีเหล่านั้น ก็มีโรงเรียนที่อังกฤษไปสร้างขึ้นไว้ด้วย ส่วนมากเป็นของนิกายต่างๆ ในศาสนาคริสต์
โรงเรียนในอินเดียที่เป็นโรงเรียนประจำแบบอังกฤษ จะอยู่ตามเมืองตากอากาศ เช่น แถบเทือกเขาหิมาลัย และตอนเหนือแถวเมืองซิมลา นอกจากนั้นก็มีในตอนใต้แถวเมืองบังกาลอ ซึ่งเวลานี้กลายเป็นศูนย์คอมพิวเตอร์ไปแล้ว โรงเรียนในอินเดียมีคุณภาพดี ครูจะเป็นชาวอังกฤษ ราคาถูกเมื่อ 40-50 ปีที่แล้ว ค่าใช้จ่ายตกเดือนละ 2,000 บาทเท่านั้น ผู้ที่จบชั้นมัธยมปลายจะได้ประกาศนียบัตร Senior Cambridge จบแล้วไปเข้ามหาวิทยาลัยในอังกฤษสบายเลย สมัย พ.ศ. 2500 การไปเรียนที่อินเดียเป็นที่นิยมกันมาก จบแล้วก็ไปต่อที่อังกฤษ โรงเรียนที่อินเดียเข้าง่ายกว่า โรงเรียนในอังกฤษซึ่งมีข้อพิจารณาพิเศษอย่างเช่น ปู่ พ่อ เคยเป็นนักเรียนเก่ามาก่อน เป็นต้น
ผู้ทำกิจการด้านการศึกษาพาเด็กไปเรียนต่างประเทศชื่อ คุณหลวงอุปถัมภ์ฯ ซึ่งดูแลส่งเด็กไปเรียนที่อินเดีย ส่วนมากจะเป็นเมืองคาร์จีลิง ซึ่งอยู่บนเขา
คาร์จีลิงเป็นเมืองบนเขา มีที่ราบน้อย ที่ดินเชิงเขาจะปลูกชามีชื่อเสียงมาก แต่ก่อนสมัยอังกฤษปกครองอาณานิคม คาร์จีลิงเป็นเมืองตากอากาศที่มีชื่อเสียงมาก
การไปคาร์จีลิงต้องขึ้นเครื่องบินจากกัลกัตตาไปลงที่สนามบินเล็กๆ ชื่อ ซีรีกูรี แล้วนั่งรถบนเส้นทางที่คดเคี้ยว และสวยงาม ใกล้ๆ กับคาร์จีลิงมีเมืองชายแดนชื่อ กาลิมปง เป็นเมืองเล็กๆ ที่นี่มีโรงเรียนหญิงชื่อ St. Joseph Convent ที่คุณหญิงพรทิพย์ เคยไปอยู่ และโรงเรียนชายชื่อ St. Angustine
ที่คาร์จีลิงและกาลิมปงนี้มีชาวทิเบต ชาวภูฎานมาอยู่หลายคน ส่วนมากเป็นเชื้อพระวงศ์และลูกข้าราชการ เดี๋ยวนี้แทนที่จะไปเรียนอินเดีย ชาวภูฏานหลายคนนิยมส่งลูกมาเรียนที่ประเทศไทย ทั้งในระดับมัธยม และมหาวิทยาลัย
คนทิเบตเป็นคนแข็งแรง อดทน เดินเก่ง ส่วนมากเดินกันไกลๆ รู้ทางลัด และเดินเร็วมาก คนทิเบตนั้นจบแค่มัธยมไปจากอินเดีย ก็นับว่าดีแล้ว ในสมัยหลังๆ จึงจะเรียนระดับมหาวิทยาลัย
โรงเรียนประจำในอินเดีย อาหารการกินแร้นแค้นมาก อาหารแขกจะไม่มีเนื้ออยู่แล้ว ส่วนมากจะมีดัลห์หรือซุปถั่ว และผักกับผงกะหรี่กินกับโรตีแผ่นเล็กๆ หากใครอยากกินไก่ก็ต้องไปขอให้คนครัวที่เลี้ยงไก่ไว้ขายเป็นอาชีพเสริมทำให้ ส่วนหมูไม่ต้องพูดถึงเพราะไม่มีคนทำ
เดี๋ยวนี้ไทยเรามี “โรงเรียนอินเตอร์” หลายโรงเรียนราคาถูกกว่าส่งเด็กไปอังกฤษหรืออเมริกา แต่ก็ยังแพงอยู่คือปีละ 4-5 แสนบาท คุณภาพดีมีครูจากอังกฤษ และอุปกรณ์การสอนครบถ้วน หลักสูตรเหมือนกับในอังกฤษ
การที่เด็กไทยได้เรียนโรงเรียน “อินเตอร์” นั้น ไม่ใช่จะดีเพราะได้ภาษา แต่ได้วิชาการคิด และวินัยในการเรียนมาด้วย โรงเรียนบางแห่งก็มีการสอนดนตรีและศิลปะที่ดีมาก เวลานี้เราก็ยังมีคนส่งเด็กไปเรียนเมืองนอกอยู่ โดยเฉพาะนิวซีแลนด์ เมื่อ 40 ปีก่อนมีนักเรียนมาเรียนโรงเรียนมัธยมไม่กี่คน เดี๋ยวนี้มีหลายร้อยคน
ผมเองอยากกลับไปดูโรงเรียนในอินเดียว่าจะเป็นอย่างไร คงไม่ดีเหมือนสมัยก่อน แต่ในด้านค่าใช้จ่ายคงถูกกว่าที่อื่น และมหาวิทยาลัยในอินเดียที่ดีๆ ก็มีมาก หากผมไปมาก็จะนำมาเล่าสู่กันฟังต่อไป
แต่ก่อนเด็กที่ไปเรียนเมืองนอก หากไม่เป็นลูกหลานเจ้านาย ก็เป็นลูกหลานนักธุรกิจ โรงเรียนประจำในอังกฤษเป็นที่นิยมกันมาก เด็กต้องไปเรียนตั้งแต่อายุ 9 ขวบ ส่วนที่อเมริกาก็มีโรงเรียนประจำที่ดีๆ หลายแห่ง เช่น Chote, Andover, Hotchkiss และ Exeter เป็นต้น เคยมีการสำรวจว่านักการเมือง นักการทูต และนักธุรกิจชั้นนำในอเมริกาล้วนแล้วแต่เคยเป็นนักเรียนประจำในโรงเรียนเหล่านี้มาทั้งสิ้น
อเมริกาเรียกโรงเรียนเหล่านี้ว่า private school ส่วนอังกฤษเรียกว่า public school ซึ่งไม่ใช่โรงเรียนของรัฐ หากเป็นของเอกชนซึ่งเป็นของพวกสอนศาสนานิกายต่างๆ
โรงเรียนประจำในอังกฤษและอเมริกา มีเนื้อที่ใหญ่โตกว้างขวางมาก เป็นหลายๆ ร้อยไร่ บางแห่งก็มีสนามกอล์ฟเป็นของตัวเองด้วย เวลานี้ค่าเล่าเรียนรวมค่ากินอยู่ด้วยก็ตกราวๆ หนึ่งล้านห้าแสนบาท
นอกจากอังกฤษและอเมริกาแล้ว ก็มีออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ที่เด็กไทยไปเรียนกันแยะ สมัยก่อนคนไทยนิยมส่งเด็กไปเรียนที่อินเดีย เพราะหลวงวิจิตรวาทการเคยเป็นทูตที่อินเดีย และเขียนหนังสือเรื่อง “ของดีในอินเดีย” ในบรรดาของดีเหล่านั้น ก็มีโรงเรียนที่อังกฤษไปสร้างขึ้นไว้ด้วย ส่วนมากเป็นของนิกายต่างๆ ในศาสนาคริสต์
โรงเรียนในอินเดียที่เป็นโรงเรียนประจำแบบอังกฤษ จะอยู่ตามเมืองตากอากาศ เช่น แถบเทือกเขาหิมาลัย และตอนเหนือแถวเมืองซิมลา นอกจากนั้นก็มีในตอนใต้แถวเมืองบังกาลอ ซึ่งเวลานี้กลายเป็นศูนย์คอมพิวเตอร์ไปแล้ว โรงเรียนในอินเดียมีคุณภาพดี ครูจะเป็นชาวอังกฤษ ราคาถูกเมื่อ 40-50 ปีที่แล้ว ค่าใช้จ่ายตกเดือนละ 2,000 บาทเท่านั้น ผู้ที่จบชั้นมัธยมปลายจะได้ประกาศนียบัตร Senior Cambridge จบแล้วไปเข้ามหาวิทยาลัยในอังกฤษสบายเลย สมัย พ.ศ. 2500 การไปเรียนที่อินเดียเป็นที่นิยมกันมาก จบแล้วก็ไปต่อที่อังกฤษ โรงเรียนที่อินเดียเข้าง่ายกว่า โรงเรียนในอังกฤษซึ่งมีข้อพิจารณาพิเศษอย่างเช่น ปู่ พ่อ เคยเป็นนักเรียนเก่ามาก่อน เป็นต้น
ผู้ทำกิจการด้านการศึกษาพาเด็กไปเรียนต่างประเทศชื่อ คุณหลวงอุปถัมภ์ฯ ซึ่งดูแลส่งเด็กไปเรียนที่อินเดีย ส่วนมากจะเป็นเมืองคาร์จีลิง ซึ่งอยู่บนเขา
คาร์จีลิงเป็นเมืองบนเขา มีที่ราบน้อย ที่ดินเชิงเขาจะปลูกชามีชื่อเสียงมาก แต่ก่อนสมัยอังกฤษปกครองอาณานิคม คาร์จีลิงเป็นเมืองตากอากาศที่มีชื่อเสียงมาก
การไปคาร์จีลิงต้องขึ้นเครื่องบินจากกัลกัตตาไปลงที่สนามบินเล็กๆ ชื่อ ซีรีกูรี แล้วนั่งรถบนเส้นทางที่คดเคี้ยว และสวยงาม ใกล้ๆ กับคาร์จีลิงมีเมืองชายแดนชื่อ กาลิมปง เป็นเมืองเล็กๆ ที่นี่มีโรงเรียนหญิงชื่อ St. Joseph Convent ที่คุณหญิงพรทิพย์ เคยไปอยู่ และโรงเรียนชายชื่อ St. Angustine
ที่คาร์จีลิงและกาลิมปงนี้มีชาวทิเบต ชาวภูฎานมาอยู่หลายคน ส่วนมากเป็นเชื้อพระวงศ์และลูกข้าราชการ เดี๋ยวนี้แทนที่จะไปเรียนอินเดีย ชาวภูฏานหลายคนนิยมส่งลูกมาเรียนที่ประเทศไทย ทั้งในระดับมัธยม และมหาวิทยาลัย
คนทิเบตเป็นคนแข็งแรง อดทน เดินเก่ง ส่วนมากเดินกันไกลๆ รู้ทางลัด และเดินเร็วมาก คนทิเบตนั้นจบแค่มัธยมไปจากอินเดีย ก็นับว่าดีแล้ว ในสมัยหลังๆ จึงจะเรียนระดับมหาวิทยาลัย
โรงเรียนประจำในอินเดีย อาหารการกินแร้นแค้นมาก อาหารแขกจะไม่มีเนื้ออยู่แล้ว ส่วนมากจะมีดัลห์หรือซุปถั่ว และผักกับผงกะหรี่กินกับโรตีแผ่นเล็กๆ หากใครอยากกินไก่ก็ต้องไปขอให้คนครัวที่เลี้ยงไก่ไว้ขายเป็นอาชีพเสริมทำให้ ส่วนหมูไม่ต้องพูดถึงเพราะไม่มีคนทำ
เดี๋ยวนี้ไทยเรามี “โรงเรียนอินเตอร์” หลายโรงเรียนราคาถูกกว่าส่งเด็กไปอังกฤษหรืออเมริกา แต่ก็ยังแพงอยู่คือปีละ 4-5 แสนบาท คุณภาพดีมีครูจากอังกฤษ และอุปกรณ์การสอนครบถ้วน หลักสูตรเหมือนกับในอังกฤษ
การที่เด็กไทยได้เรียนโรงเรียน “อินเตอร์” นั้น ไม่ใช่จะดีเพราะได้ภาษา แต่ได้วิชาการคิด และวินัยในการเรียนมาด้วย โรงเรียนบางแห่งก็มีการสอนดนตรีและศิลปะที่ดีมาก เวลานี้เราก็ยังมีคนส่งเด็กไปเรียนเมืองนอกอยู่ โดยเฉพาะนิวซีแลนด์ เมื่อ 40 ปีก่อนมีนักเรียนมาเรียนโรงเรียนมัธยมไม่กี่คน เดี๋ยวนี้มีหลายร้อยคน
ผมเองอยากกลับไปดูโรงเรียนในอินเดียว่าจะเป็นอย่างไร คงไม่ดีเหมือนสมัยก่อน แต่ในด้านค่าใช้จ่ายคงถูกกว่าที่อื่น และมหาวิทยาลัยในอินเดียที่ดีๆ ก็มีมาก หากผมไปมาก็จะนำมาเล่าสู่กันฟังต่อไป