สมัยก่อนกระทรวงศึกษาธิการเป็นฝ่ายออกข้อสอบกลางสำหรับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมปีที่ 8 นอกจากนั้นก็ยังออกข้อสอบกลางสำหรับชั้นประถมปีที่ 4 อีกด้วย ดังนั้นจึงทราบว่าเด็กคนไหน จากโรงเรียนใดสอบได้คะแนนสูงสุดของประเทศ
นี่เป็นที่มาของ “การติดบอร์ด” ซึ่งหมายความถึงการประกาศรายชื่อนักเรียนที่สอบได้คะแนนสูงสุดอันดับที่ 1-50 ของประเทศ
ผู้ซึ่งสอบได้คะแนนลำดับที่ 1-50 มีสิทธิสอบชิงทุนเล่าเรียนหลวง ต่อมาเมื่อมีทุนที่ต่างประเทศให้เพิ่มเข้ามาคือ ทุนญี่ปุ่น ทุนโคลอมโบ (เรียนที่ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์) นักเรียนเหล่านี้ก็มีสิทธิออกไปเรียนเมืองนอกด้วย แต่เดิมทุนเล่าเรียนหลวง มักส่งไปที่อังกฤษและอเมริกา ใครไปอังกฤษก็อยู่นานหน่อย เพราะกว่าจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยก็ต้องใช้เวลา 1-2 ปี บางคนต้องเสียเวลาถึง 3 ปี ส่วนคนซึ่งไปอเมริกาก็ใช้เวลาน้อยหน่อย ปีเดียวก็เข้าไปแล้ว
ผู้ซึ่งสอบได้ที่ 1 ประเทศไทยสมัยก่อน เท่าที่ผมจำได้ก็มี อ๊อด ชาญเลขา (ดร.กมล ชาญเลขา) ไปเรียนต่อที่ฟิลิปปินส์แล้วไปจบปริญญาเอกทางเกษตรศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยคอร์เนล สหรัฐอเมริกา สุรินทร์ ตันเสียงสม (ดร.สุรินทร์ เศรษฐมานิต) จบปริญญาเอกทางวิศวกรรมศาสตร์จากอังกฤษ
ทั้งสองคนนี้เป็นนักเรียนที่จบชั้นมัธยมปีที่ 8 จากวชิราวุธวิทยาลัย
หมอวิจารณ์ พานิช และดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ก็สอบได้ที่ 1 ประเทศไทยเช่นกัน
การมีทุนเล่าเรียนหลวง หรือการพระราชทานรางวัลแก่โรงเรียนและนักเรียนนี้ เกิดจากพระราชปรารภที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบันทรงมีแก่ ม.ล.ปิ่น มาลากุล ในปี 2506 กระทรวงศึกษาธิการจึงเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2507
เด็กเรียนเก่งหลายคนต่อมาเมื่อจบการศึกษาแล้วก็ได้ทำงานรับใช้ประเทศ จนได้เป็นปลัดกระทรวงหลายคน
นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 ชื่อ ด.ช.ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล โรงเรียนเมืองอุทัยธานี สอบได้คะแนนสูงสุด 91.80% ต่อมาก็สอบได้เป็นที่ 1 ของประเทศ และได้ทุนไปเรียนอังกฤษ และรับราชการจนได้เป็นปลัดกระทรวงการคลัง
ในปีเดียวกันนั้น นายการุณ กิตติสถาพร จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาสอบได้ที่ 2 ของประเทศ ได้รับทุนไปเรียนต่อที่ประเทศนิวซีแลนด์ กลับมารับราชการกระทรวงพาณิชย์จนได้เป็นปลัดกระทรวง คนที่สอบได้ที่ 1 ของแผนกศิลปะในปีนั้นคือ นางสาวจินตลา ติงศภัทิย์ ลูกสาวท่านอาจารย์จิตติ ติงศภัทิย์
ผมมีรายชื่อนักเรียนที่สอบได้ที่ 1-3 ของปี 2508-2520 ดังนี้
แผนกวิทยาศาสตร์
1.นายนุสนธิ์ กลัดเจริญ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
2.นายสุรชัย นิมจิรวัฒน์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
3.นายสันติ ภัทรธรโกศล โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
แผนกศิลปะ
1.ม.ร.ว.กัลยา จิตรพงศ์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
2.นางสาวชนิดา จรรยาเพศ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
3.นางสาวนงนุช จาติกวนิช โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
ปี 2510
นักเรียนประถมศึกษา
1.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดาฯ ได้คะแนนร้อยละ 96.66
นักเรียนมัธยมศึกษา
แผนกวิทยาศาสตร์
1.นางสาวบุญมี สถานิตยวงศ์
2.นายปณิธาน ชีวรัตนาพันธ์
3.นายบรรจง ตั้งสุทธิชัย
แผนกศิลปะ
1.นางสาวปราณี ทินกร
2.นางสาวสรณี วงศ์เบี้ยสัจจ์
3.นางสาวพรสวรรค์ ลี้ถาวร
ผู้ซึ่งได้ที่ 1 ต่อมาคือ ศ.ดร.ปราณี ทินกร อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปี 2514
แผนกวิทยาศาสตร์
1.นายทวีศักดิ์ จันทร์วิทยานุชิต
2.นางสาวพรจิต ประพิณวณิชย์
3.นายนิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย
แผนกศิลปะ
1.นางสาวอู่ทอง ประศาสนวินิจฉัย
2.นางสาวเสาวลักษณ์ ศิริวิบูลย์ชัย
3.นางสาวอนัญญา ภุชงคกุล
ปี 2515
แผนกวิทยาศาสตร์
1.นายกำชัย รังสิมันต์ไพบูลย์
2.นายไชยยศ ประสานวงศ์
3.นายสุรชัย ตั้งมโนมานะ
แผนกศิลปะ
1.นางสาวเมธินี บุณยประสพ
2.นายวิทยา เนติวิวัฒน์
3.นางสาวเบญจพรรณ ชินวัตร
ปี 2516
แผนกวิทยาศาสตร์
1.นายสิริวัฒน์ อนันตพันธุ์พงศ์
2.นายเลอสรร ธนสุกาญจน์
3.นายสุวิทย์ ศิริเศรณี
4.นายสุวัฒน์ ธนัยวัน
แผนกศิลปะ
1.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดาฯ
2.นางสาวอรรชกา สีบุญเรือง
3.นางสาวสุวรรณา วงศ์ไวศยวรรณ
สำหรับธีรยุทธ บุญมี นั้นได้ที่ 1 แผนกวิทยาศาสตร์คะแนนร้อยละ 91.90 และในแผนกศิลปะ นางสาวมิ่งสรรพ์ สันติกาญจน์ ได้ที่ 2 ปัจจุบัน มิ่งสรรพ์ คือ ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ สันติกาญจน์ แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดร.วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ สอบได้ที่ 1 แผนกวิทยาศาสตร์ ในปีการศึกษา 2512 ในปีเดียวกัน ชาญชัย แสวงศักดิ์ ได้ที่ 2 (ปัจจุบันเป็นนักกฎหมายมหาชน)
ในปีการศึกษา 2518 ผู้ที่สอบได้ที่ 3 และที่ 4 ของแผนกศิลปะ ต่อมาเป็นนักวิจัยผู้มีความสามารถ เป็นที่รู้จักกันดีคือ ลีลาภรณ์ นาครทรรพ และปาริชาต โชติยะ
คนเรียนเก่งที่ผมเขียนถึงนี้ ล้วนเป็นคนเก่ง และคนดีด้วย พวกเขามีคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อบ้านเมือง ส่วนคนอื่นๆ ที่ผมไม่ได้กล่าวถึง หากใครทราบว่า ทำอะไรอยู่ที่ไหน ก็บอกกันด้วยนะครับ
นี่เป็นที่มาของ “การติดบอร์ด” ซึ่งหมายความถึงการประกาศรายชื่อนักเรียนที่สอบได้คะแนนสูงสุดอันดับที่ 1-50 ของประเทศ
ผู้ซึ่งสอบได้คะแนนลำดับที่ 1-50 มีสิทธิสอบชิงทุนเล่าเรียนหลวง ต่อมาเมื่อมีทุนที่ต่างประเทศให้เพิ่มเข้ามาคือ ทุนญี่ปุ่น ทุนโคลอมโบ (เรียนที่ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์) นักเรียนเหล่านี้ก็มีสิทธิออกไปเรียนเมืองนอกด้วย แต่เดิมทุนเล่าเรียนหลวง มักส่งไปที่อังกฤษและอเมริกา ใครไปอังกฤษก็อยู่นานหน่อย เพราะกว่าจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยก็ต้องใช้เวลา 1-2 ปี บางคนต้องเสียเวลาถึง 3 ปี ส่วนคนซึ่งไปอเมริกาก็ใช้เวลาน้อยหน่อย ปีเดียวก็เข้าไปแล้ว
ผู้ซึ่งสอบได้ที่ 1 ประเทศไทยสมัยก่อน เท่าที่ผมจำได้ก็มี อ๊อด ชาญเลขา (ดร.กมล ชาญเลขา) ไปเรียนต่อที่ฟิลิปปินส์แล้วไปจบปริญญาเอกทางเกษตรศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยคอร์เนล สหรัฐอเมริกา สุรินทร์ ตันเสียงสม (ดร.สุรินทร์ เศรษฐมานิต) จบปริญญาเอกทางวิศวกรรมศาสตร์จากอังกฤษ
ทั้งสองคนนี้เป็นนักเรียนที่จบชั้นมัธยมปีที่ 8 จากวชิราวุธวิทยาลัย
หมอวิจารณ์ พานิช และดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ก็สอบได้ที่ 1 ประเทศไทยเช่นกัน
การมีทุนเล่าเรียนหลวง หรือการพระราชทานรางวัลแก่โรงเรียนและนักเรียนนี้ เกิดจากพระราชปรารภที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบันทรงมีแก่ ม.ล.ปิ่น มาลากุล ในปี 2506 กระทรวงศึกษาธิการจึงเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2507
เด็กเรียนเก่งหลายคนต่อมาเมื่อจบการศึกษาแล้วก็ได้ทำงานรับใช้ประเทศ จนได้เป็นปลัดกระทรวงหลายคน
นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 ชื่อ ด.ช.ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล โรงเรียนเมืองอุทัยธานี สอบได้คะแนนสูงสุด 91.80% ต่อมาก็สอบได้เป็นที่ 1 ของประเทศ และได้ทุนไปเรียนอังกฤษ และรับราชการจนได้เป็นปลัดกระทรวงการคลัง
ในปีเดียวกันนั้น นายการุณ กิตติสถาพร จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาสอบได้ที่ 2 ของประเทศ ได้รับทุนไปเรียนต่อที่ประเทศนิวซีแลนด์ กลับมารับราชการกระทรวงพาณิชย์จนได้เป็นปลัดกระทรวง คนที่สอบได้ที่ 1 ของแผนกศิลปะในปีนั้นคือ นางสาวจินตลา ติงศภัทิย์ ลูกสาวท่านอาจารย์จิตติ ติงศภัทิย์
ผมมีรายชื่อนักเรียนที่สอบได้ที่ 1-3 ของปี 2508-2520 ดังนี้
แผนกวิทยาศาสตร์
1.นายนุสนธิ์ กลัดเจริญ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
2.นายสุรชัย นิมจิรวัฒน์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
3.นายสันติ ภัทรธรโกศล โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
แผนกศิลปะ
1.ม.ร.ว.กัลยา จิตรพงศ์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
2.นางสาวชนิดา จรรยาเพศ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
3.นางสาวนงนุช จาติกวนิช โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
ปี 2510
นักเรียนประถมศึกษา
1.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดาฯ ได้คะแนนร้อยละ 96.66
นักเรียนมัธยมศึกษา
แผนกวิทยาศาสตร์
1.นางสาวบุญมี สถานิตยวงศ์
2.นายปณิธาน ชีวรัตนาพันธ์
3.นายบรรจง ตั้งสุทธิชัย
แผนกศิลปะ
1.นางสาวปราณี ทินกร
2.นางสาวสรณี วงศ์เบี้ยสัจจ์
3.นางสาวพรสวรรค์ ลี้ถาวร
ผู้ซึ่งได้ที่ 1 ต่อมาคือ ศ.ดร.ปราณี ทินกร อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปี 2514
แผนกวิทยาศาสตร์
1.นายทวีศักดิ์ จันทร์วิทยานุชิต
2.นางสาวพรจิต ประพิณวณิชย์
3.นายนิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย
แผนกศิลปะ
1.นางสาวอู่ทอง ประศาสนวินิจฉัย
2.นางสาวเสาวลักษณ์ ศิริวิบูลย์ชัย
3.นางสาวอนัญญา ภุชงคกุล
ปี 2515
แผนกวิทยาศาสตร์
1.นายกำชัย รังสิมันต์ไพบูลย์
2.นายไชยยศ ประสานวงศ์
3.นายสุรชัย ตั้งมโนมานะ
แผนกศิลปะ
1.นางสาวเมธินี บุณยประสพ
2.นายวิทยา เนติวิวัฒน์
3.นางสาวเบญจพรรณ ชินวัตร
ปี 2516
แผนกวิทยาศาสตร์
1.นายสิริวัฒน์ อนันตพันธุ์พงศ์
2.นายเลอสรร ธนสุกาญจน์
3.นายสุวิทย์ ศิริเศรณี
4.นายสุวัฒน์ ธนัยวัน
แผนกศิลปะ
1.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดาฯ
2.นางสาวอรรชกา สีบุญเรือง
3.นางสาวสุวรรณา วงศ์ไวศยวรรณ
สำหรับธีรยุทธ บุญมี นั้นได้ที่ 1 แผนกวิทยาศาสตร์คะแนนร้อยละ 91.90 และในแผนกศิลปะ นางสาวมิ่งสรรพ์ สันติกาญจน์ ได้ที่ 2 ปัจจุบัน มิ่งสรรพ์ คือ ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ สันติกาญจน์ แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดร.วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ สอบได้ที่ 1 แผนกวิทยาศาสตร์ ในปีการศึกษา 2512 ในปีเดียวกัน ชาญชัย แสวงศักดิ์ ได้ที่ 2 (ปัจจุบันเป็นนักกฎหมายมหาชน)
ในปีการศึกษา 2518 ผู้ที่สอบได้ที่ 3 และที่ 4 ของแผนกศิลปะ ต่อมาเป็นนักวิจัยผู้มีความสามารถ เป็นที่รู้จักกันดีคือ ลีลาภรณ์ นาครทรรพ และปาริชาต โชติยะ
คนเรียนเก่งที่ผมเขียนถึงนี้ ล้วนเป็นคนเก่ง และคนดีด้วย พวกเขามีคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อบ้านเมือง ส่วนคนอื่นๆ ที่ผมไม่ได้กล่าวถึง หากใครทราบว่า ทำอะไรอยู่ที่ไหน ก็บอกกันด้วยนะครับ