ผลของวิกฤติการเงินทำให้เศรษฐกิจไตรมาสแรกปีนี้ของจีนชะลอตัวลงค่อนข้างมาก จากที่ขยายตัวในอัตราสูงในปี 2550 และ 2551 อย่างไรก็ตาม การที่รัฐบาลจีนมีการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายด้านด้วยกัน โดยใช้ทั้งมาตรการการคลัง, การเงิน, อัตราแลกเปลี่ยนและการกระตุ้นการบริโภค ส่งผลให้เศรษฐกิจจีนมีสัญญาณหลายประการที่ชี้ว่าจะขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นในอนาคต แม้ว่าการส่งออกจะยังหดตัวอยู่ก็ตาม ทั้งหมดแสดงถึงความสำเร็จของมาตรการที่จีนใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ
วิกฤติเศรษฐกิจและการเงินที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯและยุโรป ส่งผลให้การส่งออกของจีนหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยใน 5 เดือนแรกของปี 2552 การส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐฯหดตัวถึงร้อยละ 21.8 โดยเฉพาะล่าสุดในเดือนพฤษภาคมที่หดตัวลงถึงร้อยละ 26.3 การหดตัวของการส่งออกส่งผลให้เศรษฐกิจจีนที่เคยขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 11.4 ในปี 2550 ค่อยๆชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 10.6, 10.1, 9.0 และ 6.8 ตามลำดับในไตรมาส 1 ถึง 4 ของปี 2551 จนกระทั่งลดลงเหลือเพียงร้อยละ 6.1 ในไตรมาสแรกปีนี้
การชะลอตัวของเศรษฐกิจทำให้รัฐบาลจีนใช้มาตรการทุกด้านทั้งการคลัง การเงิน และอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมาตรการทางการคลังประกอบด้วย การใช้จ่ายในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและอื่นๆ มูลค่า 4 ล้านล้านหยวน (585, 000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) หรือร้อยละ 16.5 ของมูลค่าเศรษฐกิจ (GDP) ซึ่งเป็นการใช้เงินที่มีมูลค่าสูงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ โดยคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 16 ของการใช้เงินกระตุ้นเศรษฐกิจของทุกประเทศในโลก และสูงเป็นอันดับที่ 2 รองจากสหรัฐฯเท่านั้น ด้านมาตรการทางการเงิน ที่สำคัญคือการกระตุ้นการปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งทำให้สินเชื่อขยายตัวมาก โดยใน 4 เดือนแรกของปี 2552 ยอดสินเชื่อมีมูลค่าถึงร้อยละ 88 ของเป้าหมายสินเชื่อทั้งหมดของปีนี้ นอกจากมาตรการทั้ง 2 แล้ว รัฐบาลจีนยังใช้มาตรการอัตราแลกเปลี่ยนกระตุ้นการส่งออกและเศรษฐกิจโดยรวมอีกทางหนึ่ง ซึ่งทำให้เงินหยวนของจีนอ่อนค่าลงตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม จนมาอยู่ที่ประมาณ 6.84 ดอลลาร์สหรัฐฯเมื่อกลางเดือนมิถุนายน
นอกจากมาตรการดังที่กล่าวมาแล้ว รัฐบาลจีนยังมีมาตรการใหม่ในการกระตุ้นการบริโภคในประเทศด้วยการให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ซื้อรถยนต์และอุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวเรือนใหม่ จากที่ทดลองใช้ในชนบทแล้วประสบผลสำเร็จ จึงนำมาใช้กับเมืองใหญ่ด้วย
ในที่สุดมาตรการต่างๆที่รัฐบาลใช้ก็เริ่มส่งผลต่อเศรษฐกิจ โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Purchasing manager index: PMI) ในเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นเป็น 50.1 จาก 44.8 ในเดือนก่อน เป็นครั้งแรกในรอบ 9 เดือน ที่ PMI สูงกว่าระดับ 50 จุด (สูงกว่า 50 แสดงถึงการขยายตัว) และยังปรับเพิ่มขึ้นเป็น 51.2 ในเดือนพฤษภาคม แสดงถึงการฟื้นตัวของภาคการผลิตของจีนที่ชัดเจน ขณะที่การลงทุนในทรัพย์สินถาวรใน 4 เดือนแรกก็ขยายตัวถึงร้อยละ 30.5 นอกจากนี้ยอดขายรถยนต์ก็ขยายตัวถึงร้อยละ 34 ในเดือนพฤษภาคม ข้อมูลทั้งหมดแสดงถึงการฟื้นตัวของการบริโภคที่ชัดเจน
แนวโน้มของเศรษฐกิจที่ดีขึ้นส่งผลให้นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่หันมามองทิศทางเศรษฐกิจจีนในทางที่ดีขึ้น จากการสำรวจของสถาบัน Bloomberg นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า เศรษฐกิจจีนในปี 2552 จะขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นเป็นร้อยละ 7.5 จากที่เคยคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.1
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน ได้สร้างภาระหนี้สาธารณะจำนวนมากโดยเฉพาะแก่รัฐบาลท้องถิ่น เนื่องจากรัฐบาลกลางจะจัดหางบประมาณส่วนหนึ่งให้รัฐบาลท้องถิ่นและที่เหลือรัฐบาลท้องถิ่นเป็นผู้จัดหาเอง ขณะที่รายได้งบประมาณเกือบทั้งหมดจะเป็นของรัฐบาลกลาง รัฐบาลท้องถิ่นมีรายได้จำกัดจึงต้องหาเพิ่มโดยการกู้เป็นหลัก สำนักวิจัยเกี่ยวกับรายได้ของแผ่นดินของจีนประเมินว่า หนี้สาธารณะที่รัฐบาลท้องถิ่นก่อไว้จากการกระตุ้นเศรษฐกิจและอื่นๆเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 4 ล้านล้านหยวน หรือร้อยละ 16.5 ของ GDP นอกจากนี้ ธนาคารโลกยังชี้ว่า ภาคอุตสาหกรรมของจีนยังมีกำลังการผลิตส่วนเกินจำนวนมาก และภาคอสังหาริมทรัพย์ยังมีอุปทานส่วนเกินจำนวนมากเช่นเดียวกัน ดังนั้นภาระหนี้ที่พุ่งขึ้นและปัญหาภาคการผลิตจะยังเป็นตัวถ่วงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน
แม้ว่าจะมีปัญหาดังกล่าว แต่การที่จีนยังมียอดหนี้สาธารณะต่ำเพียงประมาณร้อยละ20 ของ GDP และเป็นประเทศที่มีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมาก ทำให้มีความสามารถที่จะรองรับภาระหนี้สาธารณะที่ขยายตัวขึ้นได้ ขณะเดียวกัน จีนมีความจำเป็นที่จะต้องกระตุ้นให้เศรษฐกิจขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8 เพื่อรองรับแรงงานประมาณ 100 ล้านคนที่กำลังหางาน และไม่ให้มีการว่างงานมากเกินไปจนกลายเป็นวิกฤติการเมืองและสังคม รัฐบาลจึงต้องใช้จ่ายเพิ่มขึ้นแม้ว่าจะเป็นการเพิ่มหนี้ขึ้นมากก็ตาม
ผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ทำให้เศรษฐกิจจีนมีสัญญานการฟื้นตัวที่ดีขึ้น แม้ว่ามาตรการดังกล่าวจะเพิ่มภาระหนี้สาธารณะจำนวนมาก ขณะเดียวกับที่ภาคการผลิตและภาคอสังหาริมทรัพย์ก็ยังมีปัญหากำลังการผลิตและอุปทานส่วนเกินก็ตาม ทว่ารัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างงานให้เพียงพอจึงไม่มีทางเลือกนอกจากกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไปตามแผนที่วางไว้ ถ้าไม่คิดว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในวันนี้อาจจะสร้างปัญหาในอนาคต ก็นับว่าเป็นความสำเร็จของรัฐบาลจีนในการที่จะทำให้เศรษฐกิจในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2552 ขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นกว่าในไตรมาส 1 ที่ผ่านมา
bunluasak.p@cimbthai.com
วิกฤติเศรษฐกิจและการเงินที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯและยุโรป ส่งผลให้การส่งออกของจีนหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยใน 5 เดือนแรกของปี 2552 การส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐฯหดตัวถึงร้อยละ 21.8 โดยเฉพาะล่าสุดในเดือนพฤษภาคมที่หดตัวลงถึงร้อยละ 26.3 การหดตัวของการส่งออกส่งผลให้เศรษฐกิจจีนที่เคยขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 11.4 ในปี 2550 ค่อยๆชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 10.6, 10.1, 9.0 และ 6.8 ตามลำดับในไตรมาส 1 ถึง 4 ของปี 2551 จนกระทั่งลดลงเหลือเพียงร้อยละ 6.1 ในไตรมาสแรกปีนี้
การชะลอตัวของเศรษฐกิจทำให้รัฐบาลจีนใช้มาตรการทุกด้านทั้งการคลัง การเงิน และอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมาตรการทางการคลังประกอบด้วย การใช้จ่ายในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและอื่นๆ มูลค่า 4 ล้านล้านหยวน (585, 000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) หรือร้อยละ 16.5 ของมูลค่าเศรษฐกิจ (GDP) ซึ่งเป็นการใช้เงินที่มีมูลค่าสูงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ โดยคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 16 ของการใช้เงินกระตุ้นเศรษฐกิจของทุกประเทศในโลก และสูงเป็นอันดับที่ 2 รองจากสหรัฐฯเท่านั้น ด้านมาตรการทางการเงิน ที่สำคัญคือการกระตุ้นการปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งทำให้สินเชื่อขยายตัวมาก โดยใน 4 เดือนแรกของปี 2552 ยอดสินเชื่อมีมูลค่าถึงร้อยละ 88 ของเป้าหมายสินเชื่อทั้งหมดของปีนี้ นอกจากมาตรการทั้ง 2 แล้ว รัฐบาลจีนยังใช้มาตรการอัตราแลกเปลี่ยนกระตุ้นการส่งออกและเศรษฐกิจโดยรวมอีกทางหนึ่ง ซึ่งทำให้เงินหยวนของจีนอ่อนค่าลงตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม จนมาอยู่ที่ประมาณ 6.84 ดอลลาร์สหรัฐฯเมื่อกลางเดือนมิถุนายน
นอกจากมาตรการดังที่กล่าวมาแล้ว รัฐบาลจีนยังมีมาตรการใหม่ในการกระตุ้นการบริโภคในประเทศด้วยการให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ซื้อรถยนต์และอุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวเรือนใหม่ จากที่ทดลองใช้ในชนบทแล้วประสบผลสำเร็จ จึงนำมาใช้กับเมืองใหญ่ด้วย
ในที่สุดมาตรการต่างๆที่รัฐบาลใช้ก็เริ่มส่งผลต่อเศรษฐกิจ โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Purchasing manager index: PMI) ในเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นเป็น 50.1 จาก 44.8 ในเดือนก่อน เป็นครั้งแรกในรอบ 9 เดือน ที่ PMI สูงกว่าระดับ 50 จุด (สูงกว่า 50 แสดงถึงการขยายตัว) และยังปรับเพิ่มขึ้นเป็น 51.2 ในเดือนพฤษภาคม แสดงถึงการฟื้นตัวของภาคการผลิตของจีนที่ชัดเจน ขณะที่การลงทุนในทรัพย์สินถาวรใน 4 เดือนแรกก็ขยายตัวถึงร้อยละ 30.5 นอกจากนี้ยอดขายรถยนต์ก็ขยายตัวถึงร้อยละ 34 ในเดือนพฤษภาคม ข้อมูลทั้งหมดแสดงถึงการฟื้นตัวของการบริโภคที่ชัดเจน
แนวโน้มของเศรษฐกิจที่ดีขึ้นส่งผลให้นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่หันมามองทิศทางเศรษฐกิจจีนในทางที่ดีขึ้น จากการสำรวจของสถาบัน Bloomberg นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า เศรษฐกิจจีนในปี 2552 จะขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นเป็นร้อยละ 7.5 จากที่เคยคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.1
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน ได้สร้างภาระหนี้สาธารณะจำนวนมากโดยเฉพาะแก่รัฐบาลท้องถิ่น เนื่องจากรัฐบาลกลางจะจัดหางบประมาณส่วนหนึ่งให้รัฐบาลท้องถิ่นและที่เหลือรัฐบาลท้องถิ่นเป็นผู้จัดหาเอง ขณะที่รายได้งบประมาณเกือบทั้งหมดจะเป็นของรัฐบาลกลาง รัฐบาลท้องถิ่นมีรายได้จำกัดจึงต้องหาเพิ่มโดยการกู้เป็นหลัก สำนักวิจัยเกี่ยวกับรายได้ของแผ่นดินของจีนประเมินว่า หนี้สาธารณะที่รัฐบาลท้องถิ่นก่อไว้จากการกระตุ้นเศรษฐกิจและอื่นๆเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 4 ล้านล้านหยวน หรือร้อยละ 16.5 ของ GDP นอกจากนี้ ธนาคารโลกยังชี้ว่า ภาคอุตสาหกรรมของจีนยังมีกำลังการผลิตส่วนเกินจำนวนมาก และภาคอสังหาริมทรัพย์ยังมีอุปทานส่วนเกินจำนวนมากเช่นเดียวกัน ดังนั้นภาระหนี้ที่พุ่งขึ้นและปัญหาภาคการผลิตจะยังเป็นตัวถ่วงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน
แม้ว่าจะมีปัญหาดังกล่าว แต่การที่จีนยังมียอดหนี้สาธารณะต่ำเพียงประมาณร้อยละ20 ของ GDP และเป็นประเทศที่มีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมาก ทำให้มีความสามารถที่จะรองรับภาระหนี้สาธารณะที่ขยายตัวขึ้นได้ ขณะเดียวกัน จีนมีความจำเป็นที่จะต้องกระตุ้นให้เศรษฐกิจขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8 เพื่อรองรับแรงงานประมาณ 100 ล้านคนที่กำลังหางาน และไม่ให้มีการว่างงานมากเกินไปจนกลายเป็นวิกฤติการเมืองและสังคม รัฐบาลจึงต้องใช้จ่ายเพิ่มขึ้นแม้ว่าจะเป็นการเพิ่มหนี้ขึ้นมากก็ตาม
ผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ทำให้เศรษฐกิจจีนมีสัญญานการฟื้นตัวที่ดีขึ้น แม้ว่ามาตรการดังกล่าวจะเพิ่มภาระหนี้สาธารณะจำนวนมาก ขณะเดียวกับที่ภาคการผลิตและภาคอสังหาริมทรัพย์ก็ยังมีปัญหากำลังการผลิตและอุปทานส่วนเกินก็ตาม ทว่ารัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างงานให้เพียงพอจึงไม่มีทางเลือกนอกจากกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไปตามแผนที่วางไว้ ถ้าไม่คิดว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในวันนี้อาจจะสร้างปัญหาในอนาคต ก็นับว่าเป็นความสำเร็จของรัฐบาลจีนในการที่จะทำให้เศรษฐกิจในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2552 ขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นกว่าในไตรมาส 1 ที่ผ่านมา
bunluasak.p@cimbthai.com