xs
xsm
sm
md
lg

มาตรการสำคัญๆ ในแผนปฏิรูป

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

เอเอฟพี - รายละเอียดบางส่วนของแผนการยกเครื่องการกำกับดูแลภาคเงินที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามาเปิดเผยออกมาเมื่อวันพุธ (17) ซึ่งนับเป็นการเปลี่ยนแปลงภาคการเงินครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ทศวรรษ 1930 เป็นต้นมา

--ก่อตั้งสภาหน่วยงานกำกับดูแลภาคบริการทางการเงิน นำโดยกระทรวงการคลัง เพื่อติดตามชี้ความเสี่ยงเชิงระบบที่กำลังปรากฏขึ้นมา รวมทั้งปรับปรุงความร่วมมือประสานงานกันระหว่างหน่วยงานกำกับตรวจสอบต่าง ๆ

--ธนาคารกลางสหรัฐฯจะมีอำนาจหน้าที่เพิ่มขึ้น ในการกำกับดูแลพวกสถาบันการเงินที่หากล้มครืนลงแล้วจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อภาคการเงิน โดยสถาบันการเงินเหล่านี้ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นธนาคารเท่านั้น

--เพิ่มมาตรฐานทางด้านเงินทุนและมาตรฐานทางการปฏิบัติงานด้วยความสุขุมรอบคอบอย่างอื่นๆ สำหรับสถาบันการเงินทุกแห่ง และโดยเฉพาะพวกสถาบันการเงินขนาดใหญ่ จะต้องมีมาตรฐานที่สูงขึ้นอีก

--ก่อตั้งหน่วยงานกำกับดูแลการธนาคารแห่งชาติ เพื่อมาดูแลธนาคารที่จดทะเบียนกับรัฐบาลกลางทั้งหมด

--ยกเลิกข้อกฎหมายว่าด้วยสถาบันออมทรัพย์แห่งสหรัฐฯ และช่องโหว่อื่น ๆ ที่ทำให้มีการจัดตั้งสถาบันรับฝากเงิน โดยไม่ต้องมีฐานะเป็นบริษัทโฮลดิ้งคอมปานีของธนาคาร ซึ่งจะต้องอยู่ใต้การกำกับดูแลของธนาคารกลาง

--กำหนดให้พวกที่ปรึกษาของกองทุนเฮดจ์ฟันด์ และของกองทุนเพื่อการลงทุนที่ระดมจากภาคเอกชนรูปแบบอื่นๆ ต้องจดทะเบียนไว้กับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (เอสอีซี)
--ออกระเบียบกฎเกณฑ์ใหม่ๆ ที่จะทำให้เกิดความโปร่งใสในตลาด, มีการกำกับดูแลพวกบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือให้เข้มแข็งมากขึ้น, และออกระเบียบกฎเกณฑ์ให้พวกที่ออกตราสารหนี้หรือพวกที่เป็นเจ้าหนี้รายแรกของตราสารหนี้เหล่านี้ ต้องรักษาการมีส่วนได้เสียกับตราสารหนี้ดังกล่าวเอาไว้

--ออกระเบียบกฎเกณฑ์ที่ครอบคลุมพวกตราสารอนุพันธ์ทุกชนิดที่ซื้อขายกันนอกตลาดหลักทรัพย์

--ให้อำนาจใหม่แก่เฟดในการกำกับตรวจสอบระบบการชำระเงิน, ระบบเคลียริ่ง, และระบบการชำระบัญชี

--จัดตั้งสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคในภาคการเงิน เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคมิให้ตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวง, การให้ข้อมูลที่บิดเบือน, และความไม่ยุติธรรมอื่นๆ ทางภาคการเงิน

--จัดตั้งระบบวิธีการใหม่ที่จะรับมือกับพวกสถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคาร ซึ่งหากล้มครืนจะส่งผลกระทบต่อระบบทั้งระบบอย่างร้ายแรง

--ศึกษาทบทวนอำนาจในการปล่อยกู้ฉุกเฉินของเฟด เพื่อให้มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ดียิ่งขึ้น
กำลังโหลดความคิดเห็น