รอยเตอร์ – ตลาดการเงินวอลล์สตรีทของสหรัฐฯกำลังเผชิญหน้ากับการเพิ่มกฏระเบียบกำกับดูแลของทางการ ซึ่งจะทำให้การลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงและผลตอบแทนสูงเป็นไปไม่ได้อีกต่อไป โดยคณะรัฐบาลโอบามาเน้นว่า การปฏิรูปการกำกับดูแลภาคการเงิน จะสามารถป้องกันวิกฤตสินเชื่อมิให้กลับมาอีกได้
คณะรัฐบาลประธานาธิบดีบารัค โอบามา ออกมานำเสนอรายละเอียดการปฏิรูปการกำกับดูแลภาคการเงินของสหรัฐฯเมื่อวันพฤหัสบดี(26) สาระสำคัญก็คือการตั้งให้มีหน่วยงานเพียงแห่งเดียว ทำหน้าที่กำกับดูแลเฝ้าระวังพวกบริษัทซึ่งอยู่ในฐานะที่ว่าหากประสบความล้มเหลวแล้วจะส่งผลสั่นคลอนเสถียรภาพของระบบการเงินของประเทศ นอกจากนี้ ทางการสหรัฐฯยังจะเข้าคุมเข้มพฤติกรรมการลงทุนของเฮดจ์ฟันด์และบริษัทไพรเวตอิควิตี้ต่าง ๆ
ยิ่งกว่านั้น ข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปนี้ยังจะกำหนดให้พวกสถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่มีธุรกิจเชื่อมโยงต่อเนื่องกัน จะต้องมีเงินทุนถืออยู่ในมือเพิ่มมากขึ้น, ดูแลจัดเตรียมให้ตราสารอนุพันธ์ต่างๆ ต้องเข้าไปซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์, และให้อำนาจแก่รัฐบาลในการปิดสถาบันการเงินที่มีปัญหาหนัก
รัฐมนตรีคลังทิโมธี ไกธ์เนอร์ กล่าวในการให้ปากคำต่อคณะกรรมาธิการบริการทางการเงิน สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯเมื่อวันพฤหัสบดีว่า “การปฎิรูปอย่างถอนรากถอนโคน” นั้นเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อป้องกันไม่ให้วิกฤตสินเชื่ออย่างที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้สามารถเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต ไกธ์เนอร์ย้ำว่า “การปฏิรูปมิใช่การเปลี่ยนระเบียบไม่กี่อย่าง หากแต่เป็นเปลี่ยนกติกาการเล่นใหม่ทั้งหมด”
ความเคลื่อนไหวของสหรัฐฯครั้งนี้ ยังเป็นการเตรียมตัวสำหรับการประชุมระดับสุดยอดกลุ่มจี 20 ที่จะมีขึ้นในวันพฤหัสบดีหน้า(2 เม.ย.)ในกรุงลอนดอน โดยที่ประเด็นการปฏิรูปการกำกับดูแลระบบการเงินระหว่างประเทศจะเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่ต้องถูกหยิบยกมาหารือ ประธานาธิบดีโอบามาก็จะนำเอาความเคลื่อนไหวของทางการวอชิงตันครั้งนี้ไปนำเสนอ รวมทั้งจะเรียกร้องให้ประเทศอื่น ๆดำเนินการด้วยเช่นกัน
“ความหวังของเราก็คือ เราจะสามารถทำงานร่วมกับพวกยุโรปในการร่างกรอบระหว่างประเทศ ซึ่งจะมีการกำกับดูแลที่เหมาะสมกว่าเดิม และสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์และขนาดของปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม” ไกธ์เนอร์กล่าว
ในแผนการที่เขาเสนอต่อคณะกรรมาธิการบริการทางการเงินในคราวนี้ เรื่องสำคัญคือจะมีการตั้งให้หน่วยงานหนึ่งขึ้นมาเป็นผู้รับผิดชอบดูแลเสถียรภาพเชิงระบบ โดยจะทำหน้าที่สอดส่องดูแลทั้งสถาบันการเงินขนาดใหญ่ และทั้งระบบการชำระเงินและระบบการชำระบัญชีที่ทรงความสำคัญยิ่งั ทั้งนี้มีสมาชิกรัฐสภาจำนวนมากกำลังหารือกันว่าหน้าที่เช่นนี้ควรจะเป็นของธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)
ปัจจุบันนี้ สหรัฐฯมีหน่วยงานกำกับภาคการธนาคารอยู่หลายหน่วยงาน ซึ่งแบ่งสรรหน้าที่ในการดูแลเป็นส่วนๆ ไป นอกจากนั้นยังมีบริษัทที่อยู่ในภาคการประกันภัยและภาคอื่นๆ ที่ดำเนินกิจการซึ่งคาบเกี่ยวอยู่ระหว่างความรับผิดชอบของบรรดาหน่วยงานกำกับ จึงทำให้ไม่มีหน่วยงานใดมีอำนาจกำกับตรวจสอบได้อย่างเต็มที่
“ตอนนี้เรามีโอกาสแล้ว เราจะต้องไม่ทำให้โอกาสนี้สูญเสียไปอีก” ไกธ์เนอร์กล่าว “เราจะต้องลงมือทำกันแล้ว”
รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯบอกว่า ที่ปรึกษาของพวกเฮดจ์ฟันด์ รวมทั้งผู้ที่ควบคุมเงินกองทุนจำนวนมหาศาลอย่างเช่นกองทุนไพรเวต อิควิตี้ และบริษัทเวนเจอร์ แคปิตอบ ก็ควรจะถูกบีบให้มาจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ(เอสอีซี)
อันที่จริงก่อนหน้านี้ รัฐบาลหลายแห่งในยุโรปโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เยอรมนี ก็ได้พยายามหาวิธีการให้เฮดจ์ฟันด์ และผู้ประกอบการเฮดจ์ฟันด์ของสหรัฐฯเข้ามาจดทะเบียนภายใต้องค์กรใดองค์กรหนึ่ง เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการไหลของเม็ดเงินและพฤติกรรมการลงทุนของกองทุนพวกนี้
ไกธ์เนอร์อ้างตัวอย่างของอเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป(เอไอจี) ว่าบริษัทประกันภัยยักษ์ใหญ่แห่งนี้ดำเนินธุรกิจอย่างมีความเสี่ยงสูงจากการออกแบบและใช้ผลิตภัณฑ์การเงินที่ซับซ้อน อย่างเช่น เครดิต ดีฟอลต์ สวอป ซึ่งไม่ค่อยมีใครเข้าใจกลไกของมันมากนัก
“ผมขอประกาศไว้ตรงนี้เลยว่า วันเวลาที่บรรดาบริษัทประกันภัยใหญ่ที่เสี่ยงกับเครดิต ดีฟอลต์ สวอป โดยที่ไม่มีใครตรวจสอบ และไม่มีการป้องกันความเสียหายของบริษัทและของผู้เสียภาษีจากการขาดทุนมหาศาลนั้นจะต้องจบลง”
คณะรัฐบาลประธานาธิบดีบารัค โอบามา ออกมานำเสนอรายละเอียดการปฏิรูปการกำกับดูแลภาคการเงินของสหรัฐฯเมื่อวันพฤหัสบดี(26) สาระสำคัญก็คือการตั้งให้มีหน่วยงานเพียงแห่งเดียว ทำหน้าที่กำกับดูแลเฝ้าระวังพวกบริษัทซึ่งอยู่ในฐานะที่ว่าหากประสบความล้มเหลวแล้วจะส่งผลสั่นคลอนเสถียรภาพของระบบการเงินของประเทศ นอกจากนี้ ทางการสหรัฐฯยังจะเข้าคุมเข้มพฤติกรรมการลงทุนของเฮดจ์ฟันด์และบริษัทไพรเวตอิควิตี้ต่าง ๆ
ยิ่งกว่านั้น ข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปนี้ยังจะกำหนดให้พวกสถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่มีธุรกิจเชื่อมโยงต่อเนื่องกัน จะต้องมีเงินทุนถืออยู่ในมือเพิ่มมากขึ้น, ดูแลจัดเตรียมให้ตราสารอนุพันธ์ต่างๆ ต้องเข้าไปซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์, และให้อำนาจแก่รัฐบาลในการปิดสถาบันการเงินที่มีปัญหาหนัก
รัฐมนตรีคลังทิโมธี ไกธ์เนอร์ กล่าวในการให้ปากคำต่อคณะกรรมาธิการบริการทางการเงิน สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯเมื่อวันพฤหัสบดีว่า “การปฎิรูปอย่างถอนรากถอนโคน” นั้นเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อป้องกันไม่ให้วิกฤตสินเชื่ออย่างที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้สามารถเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต ไกธ์เนอร์ย้ำว่า “การปฏิรูปมิใช่การเปลี่ยนระเบียบไม่กี่อย่าง หากแต่เป็นเปลี่ยนกติกาการเล่นใหม่ทั้งหมด”
ความเคลื่อนไหวของสหรัฐฯครั้งนี้ ยังเป็นการเตรียมตัวสำหรับการประชุมระดับสุดยอดกลุ่มจี 20 ที่จะมีขึ้นในวันพฤหัสบดีหน้า(2 เม.ย.)ในกรุงลอนดอน โดยที่ประเด็นการปฏิรูปการกำกับดูแลระบบการเงินระหว่างประเทศจะเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่ต้องถูกหยิบยกมาหารือ ประธานาธิบดีโอบามาก็จะนำเอาความเคลื่อนไหวของทางการวอชิงตันครั้งนี้ไปนำเสนอ รวมทั้งจะเรียกร้องให้ประเทศอื่น ๆดำเนินการด้วยเช่นกัน
“ความหวังของเราก็คือ เราจะสามารถทำงานร่วมกับพวกยุโรปในการร่างกรอบระหว่างประเทศ ซึ่งจะมีการกำกับดูแลที่เหมาะสมกว่าเดิม และสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์และขนาดของปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม” ไกธ์เนอร์กล่าว
ในแผนการที่เขาเสนอต่อคณะกรรมาธิการบริการทางการเงินในคราวนี้ เรื่องสำคัญคือจะมีการตั้งให้หน่วยงานหนึ่งขึ้นมาเป็นผู้รับผิดชอบดูแลเสถียรภาพเชิงระบบ โดยจะทำหน้าที่สอดส่องดูแลทั้งสถาบันการเงินขนาดใหญ่ และทั้งระบบการชำระเงินและระบบการชำระบัญชีที่ทรงความสำคัญยิ่งั ทั้งนี้มีสมาชิกรัฐสภาจำนวนมากกำลังหารือกันว่าหน้าที่เช่นนี้ควรจะเป็นของธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)
ปัจจุบันนี้ สหรัฐฯมีหน่วยงานกำกับภาคการธนาคารอยู่หลายหน่วยงาน ซึ่งแบ่งสรรหน้าที่ในการดูแลเป็นส่วนๆ ไป นอกจากนั้นยังมีบริษัทที่อยู่ในภาคการประกันภัยและภาคอื่นๆ ที่ดำเนินกิจการซึ่งคาบเกี่ยวอยู่ระหว่างความรับผิดชอบของบรรดาหน่วยงานกำกับ จึงทำให้ไม่มีหน่วยงานใดมีอำนาจกำกับตรวจสอบได้อย่างเต็มที่
“ตอนนี้เรามีโอกาสแล้ว เราจะต้องไม่ทำให้โอกาสนี้สูญเสียไปอีก” ไกธ์เนอร์กล่าว “เราจะต้องลงมือทำกันแล้ว”
รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯบอกว่า ที่ปรึกษาของพวกเฮดจ์ฟันด์ รวมทั้งผู้ที่ควบคุมเงินกองทุนจำนวนมหาศาลอย่างเช่นกองทุนไพรเวต อิควิตี้ และบริษัทเวนเจอร์ แคปิตอบ ก็ควรจะถูกบีบให้มาจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ(เอสอีซี)
อันที่จริงก่อนหน้านี้ รัฐบาลหลายแห่งในยุโรปโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เยอรมนี ก็ได้พยายามหาวิธีการให้เฮดจ์ฟันด์ และผู้ประกอบการเฮดจ์ฟันด์ของสหรัฐฯเข้ามาจดทะเบียนภายใต้องค์กรใดองค์กรหนึ่ง เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการไหลของเม็ดเงินและพฤติกรรมการลงทุนของกองทุนพวกนี้
ไกธ์เนอร์อ้างตัวอย่างของอเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป(เอไอจี) ว่าบริษัทประกันภัยยักษ์ใหญ่แห่งนี้ดำเนินธุรกิจอย่างมีความเสี่ยงสูงจากการออกแบบและใช้ผลิตภัณฑ์การเงินที่ซับซ้อน อย่างเช่น เครดิต ดีฟอลต์ สวอป ซึ่งไม่ค่อยมีใครเข้าใจกลไกของมันมากนัก
“ผมขอประกาศไว้ตรงนี้เลยว่า วันเวลาที่บรรดาบริษัทประกันภัยใหญ่ที่เสี่ยงกับเครดิต ดีฟอลต์ สวอป โดยที่ไม่มีใครตรวจสอบ และไม่มีการป้องกันความเสียหายของบริษัทและของผู้เสียภาษีจากการขาดทุนมหาศาลนั้นจะต้องจบลง”