นางสดศรี สัตยธรรม กกต. ด้านกิจการพรรคการเมือง กล่าวว่า ในการประชุมกกต.วันนี้( 18 มิ.ย.)จะมีการพิจารณากรณี นายศุภชัย ใจสมุทร โฆษกพรรคภูมิใจไทย ร้องขอให้กกต.วินิจฉัยคุณสมบัติส.ว. 32 คน ที่ถือหุ้นสัมปทานรัฐว่าเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา265 จนเป็นเหตุให้สมาชิกภาพสิ้นสุดลงหรือไม่อย่างแน่นอน เพราะ เรื่องดังกล่าวประธานกกต. ได้สั่งให้บรรจุเป็นวาระพิจารณาในวันที่16 มิ.ย. ที่ผ่านมา แต่เนื่องจากเลขานุการของอนุกรรมการสอบสวนไม่สามารถจะย่อรายงานผลสรุปของอนุกรรมการฯ และที่ปรึกษากฎหมายของ กกต. แต่การประชุมเมื่อวานนี้ (17 มิ.ย.) ทางเลขาฯอนุฯก็ยืนยันว่า จะสามารเสนอต่อที่ประชุมและมาชี้แจงได้
ทั้งนี้กรณีการถือครองหุ้นที่เป็นคู่สัญญาหรือสัมปทานของรัฐ มีการร้องเข้ามาเป็นจำนวนมาก โดยกกต. ได้ตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณารวม 3 ชุด 1. พิจารณาคุณสมบัติ ส.ส. 2. พิจารณาคุณสมบัติส.ว. และ 3. พิจารณาคุณสมบัติของรัฐมนตรี แต่คณะของส.ว. ทำเสร็จตั้งแต่เดือนเม.ย. ที่ผ่านมา โดยในสำนวน จะมีการสอบปากคำ ส.ว. ที่ถูกกล่าวหาทั้งหมด มีผลของการไปขอข้อมูลจากบริษัทที่ส.ว. ถูกกล่าวหาว่าถือครองหุ้นอยู่ มีการขอหลักฐานการจดทะเบียนบริษัทดังกล่าว กับกรมทะเบียนการค้า ซึ่งถือว่ามีรายละเอียดที่ชัดเจน และเมื่อเข้าสู่การพิจารณาในครั้งที่แล้ว กกต. เห็นว่าเสียงของอนุกรรมการแบ่งเป็น 2 ฝ่าย ในประเด็นข้อกฎหมายดังนั้นเพื่อความรอบคอบจึงส่งเรื่องให้ที่ปรึกษากฎหมาย ซึ่งก็ไม่ใช่คนของกกต.เลย แต่เป็นบรรดานักกฎหมาย พิจารณาว่าเจตนารมณ์ของมาตรา 265 เกี่ยวกับการถือครองหุ้นเป็นอย่างไร
ดังนั้นการพิจารณาวันนี้ ( 18 มิ.ย.) กกต.จึงไม่จำเป็นต้องนำสำนวนกลับไปศึกษา และสามารถวินิจฉัยได้เลย และหากกกต. วินิจฉัยว่าการถือครองหุ้นของส.ว.ขัดรัฐธรมนูญ ก็จะเร่งยกร่างคำวินิจฉัยเพื่อเสนอไปยังประธานรัฐสภา เพื่อให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยเร็ว แต่ทั้งนี้ส.ว. ที่กกต.อาจจะชี้ว่าผิด ก็ไม่จำเป็นต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่
ผู้สื่อข่าวถามว่า ส.ว. ที่ถูกกล่าวหายืนยันว่าถือหุ้นก่อนเข้าดำรงตำแหน่งและเป็นหุ้นที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งไม่มีจำนวนมากจนสามารถเข้าไปบริหารกิจการได้จะถือว่ามีความผิดหรือไม่ นางสดศรี กล่าวว่า มาตรา 265 ใช้คำว่าห้ามมิให้ถือครองหุ้นที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐ ไม่ได้เขียนว่าก่อนหรือหลัง และในฐานะที่ตนเป็น ส.ส.ร. จำได้ว่า ตอนยกร่างมาตรานี้มีเจตนาว่า การจะเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ควรมีผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆทั้งสิ้น ซึ่งผู้ดำรงตำแหน่งจะไปถือหุ้นอะไรเหล่านี้ไม่ได้
"ตอนยกร่างเราพูดกันว่า ไม่ให้มีผลประโยชน์ทับซ้อนอะไรทั้งสิ้น โดยที่ไม่ได้คิดไปลึกกว่านั้นว่าถือก่อนหลัง หรือถือแล้วต้องไม่มีอำนาจในการบริหาร หรือถือมากจนมีอำนาจในการบริหาร แต่ก็มีคนพูดว่า จะให้คนที่จะเข้ามาตัวเปล่าเล่าเปลือยเลยใช่หรือไม่ ซึ่งหากจะลึกกว่านั้นต้องเขียนในกฎหมายลูก แต่เมื่อเกิดปัญหาในลักษณะน่าจะให้ศาลวินิจฉัยเป็นบรรทัดฐานหรือเปล่า"
นางสดศรี ยังกล่าวอีกว่า ประเด็นที่ กกต.จะพิจารณาก็จะดูเรื่องตัวหุ้นเป็นหลัก ซึ่งในรายงานของอนุกรรมการก็แยกประเภทของหุ้นเอาไว้แล้วว่า ส.ว. คนใดถือหุ้นอะไร และหุ้นตัวใดถือว่าเข้าข่ายเป็นคู่สัญญากับรัฐ ส่วนประเด็นถือก่อนและหลังนั้น กกต. จะวินิจฉัย แต่ทั้งนี้ผู้ร้องได้นำข้อมูลเรื่องการถือหุ้นของ ส.ว. มาจากการรายงานบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. และเมื่อเรียกผู้ถูกกล่าวหามาชี้แจง ต่างก็ยืนยันว่าจนปัจจุบันก็ถือครองหุ้นนั้นอยู่
เมื่อถามต่อว่าการวินิจฉัยของ กกต.จะทำให้ถูกด่าจนหูชาหรือไม่ นางสดศรี กล่าวว่า มาใหม่ๆถูกด่าก็รู้สึกแต่ตอนนี้เริ่มชินแล้ว ในเมื่อเขาออกหมายจับเราได้ ทำไมเราจะออกหมายจับเขาไม่ได้ ส่วนถ้าวินิจฉัยว่าผิดต้องส่งเรื่องไปยังประธานส.ว. อาจมีการดึงเรื่องเพื่อช่วยเหลือพวกพ้องนั้น ถึงตรงนั้นถือว่า กกต.หมดหน้าที่แล้ว ดึงไม่ดึง ก็เป็นเรื่องที่สื่อต้องคอยตรวจสอบเอา
รายงานข่าวแจ้งว่าในชั้นพิจารณาของอนุกรรมการฯเบื้องต้นมีเสียงแตกเป็น 3 ต่อ 2 โดยเสียงส่วนใหญ่เห็นว่า หากถือมาก่อนดำรงตำแหน่งไม่ผิด กกต.จึงส่งเรื่องให้คณะที่ปรึกษากฎหมาย โดยคณะที่ปรึกษากฎหมายมองว่า ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังก็ขัดรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น หากได้รับผลประโยชน์จากการถือหุ้นนั้น และที่ผ่านมา กกต. ก็มักจะเชื่อที่ปรึกษา กฎหมาย เพราะเป็นนักกฎหมายที่มาจากคนภายนอก
ทั้งนี้กรณีการถือครองหุ้นที่เป็นคู่สัญญาหรือสัมปทานของรัฐ มีการร้องเข้ามาเป็นจำนวนมาก โดยกกต. ได้ตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณารวม 3 ชุด 1. พิจารณาคุณสมบัติ ส.ส. 2. พิจารณาคุณสมบัติส.ว. และ 3. พิจารณาคุณสมบัติของรัฐมนตรี แต่คณะของส.ว. ทำเสร็จตั้งแต่เดือนเม.ย. ที่ผ่านมา โดยในสำนวน จะมีการสอบปากคำ ส.ว. ที่ถูกกล่าวหาทั้งหมด มีผลของการไปขอข้อมูลจากบริษัทที่ส.ว. ถูกกล่าวหาว่าถือครองหุ้นอยู่ มีการขอหลักฐานการจดทะเบียนบริษัทดังกล่าว กับกรมทะเบียนการค้า ซึ่งถือว่ามีรายละเอียดที่ชัดเจน และเมื่อเข้าสู่การพิจารณาในครั้งที่แล้ว กกต. เห็นว่าเสียงของอนุกรรมการแบ่งเป็น 2 ฝ่าย ในประเด็นข้อกฎหมายดังนั้นเพื่อความรอบคอบจึงส่งเรื่องให้ที่ปรึกษากฎหมาย ซึ่งก็ไม่ใช่คนของกกต.เลย แต่เป็นบรรดานักกฎหมาย พิจารณาว่าเจตนารมณ์ของมาตรา 265 เกี่ยวกับการถือครองหุ้นเป็นอย่างไร
ดังนั้นการพิจารณาวันนี้ ( 18 มิ.ย.) กกต.จึงไม่จำเป็นต้องนำสำนวนกลับไปศึกษา และสามารถวินิจฉัยได้เลย และหากกกต. วินิจฉัยว่าการถือครองหุ้นของส.ว.ขัดรัฐธรมนูญ ก็จะเร่งยกร่างคำวินิจฉัยเพื่อเสนอไปยังประธานรัฐสภา เพื่อให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยเร็ว แต่ทั้งนี้ส.ว. ที่กกต.อาจจะชี้ว่าผิด ก็ไม่จำเป็นต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่
ผู้สื่อข่าวถามว่า ส.ว. ที่ถูกกล่าวหายืนยันว่าถือหุ้นก่อนเข้าดำรงตำแหน่งและเป็นหุ้นที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งไม่มีจำนวนมากจนสามารถเข้าไปบริหารกิจการได้จะถือว่ามีความผิดหรือไม่ นางสดศรี กล่าวว่า มาตรา 265 ใช้คำว่าห้ามมิให้ถือครองหุ้นที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐ ไม่ได้เขียนว่าก่อนหรือหลัง และในฐานะที่ตนเป็น ส.ส.ร. จำได้ว่า ตอนยกร่างมาตรานี้มีเจตนาว่า การจะเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ควรมีผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆทั้งสิ้น ซึ่งผู้ดำรงตำแหน่งจะไปถือหุ้นอะไรเหล่านี้ไม่ได้
"ตอนยกร่างเราพูดกันว่า ไม่ให้มีผลประโยชน์ทับซ้อนอะไรทั้งสิ้น โดยที่ไม่ได้คิดไปลึกกว่านั้นว่าถือก่อนหลัง หรือถือแล้วต้องไม่มีอำนาจในการบริหาร หรือถือมากจนมีอำนาจในการบริหาร แต่ก็มีคนพูดว่า จะให้คนที่จะเข้ามาตัวเปล่าเล่าเปลือยเลยใช่หรือไม่ ซึ่งหากจะลึกกว่านั้นต้องเขียนในกฎหมายลูก แต่เมื่อเกิดปัญหาในลักษณะน่าจะให้ศาลวินิจฉัยเป็นบรรทัดฐานหรือเปล่า"
นางสดศรี ยังกล่าวอีกว่า ประเด็นที่ กกต.จะพิจารณาก็จะดูเรื่องตัวหุ้นเป็นหลัก ซึ่งในรายงานของอนุกรรมการก็แยกประเภทของหุ้นเอาไว้แล้วว่า ส.ว. คนใดถือหุ้นอะไร และหุ้นตัวใดถือว่าเข้าข่ายเป็นคู่สัญญากับรัฐ ส่วนประเด็นถือก่อนและหลังนั้น กกต. จะวินิจฉัย แต่ทั้งนี้ผู้ร้องได้นำข้อมูลเรื่องการถือหุ้นของ ส.ว. มาจากการรายงานบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. และเมื่อเรียกผู้ถูกกล่าวหามาชี้แจง ต่างก็ยืนยันว่าจนปัจจุบันก็ถือครองหุ้นนั้นอยู่
เมื่อถามต่อว่าการวินิจฉัยของ กกต.จะทำให้ถูกด่าจนหูชาหรือไม่ นางสดศรี กล่าวว่า มาใหม่ๆถูกด่าก็รู้สึกแต่ตอนนี้เริ่มชินแล้ว ในเมื่อเขาออกหมายจับเราได้ ทำไมเราจะออกหมายจับเขาไม่ได้ ส่วนถ้าวินิจฉัยว่าผิดต้องส่งเรื่องไปยังประธานส.ว. อาจมีการดึงเรื่องเพื่อช่วยเหลือพวกพ้องนั้น ถึงตรงนั้นถือว่า กกต.หมดหน้าที่แล้ว ดึงไม่ดึง ก็เป็นเรื่องที่สื่อต้องคอยตรวจสอบเอา
รายงานข่าวแจ้งว่าในชั้นพิจารณาของอนุกรรมการฯเบื้องต้นมีเสียงแตกเป็น 3 ต่อ 2 โดยเสียงส่วนใหญ่เห็นว่า หากถือมาก่อนดำรงตำแหน่งไม่ผิด กกต.จึงส่งเรื่องให้คณะที่ปรึกษากฎหมาย โดยคณะที่ปรึกษากฎหมายมองว่า ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังก็ขัดรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น หากได้รับผลประโยชน์จากการถือหุ้นนั้น และที่ผ่านมา กกต. ก็มักจะเชื่อที่ปรึกษา กฎหมาย เพราะเป็นนักกฎหมายที่มาจากคนภายนอก