เอเอฟพี -สหรัฐฯ จำเป็นต้องวางยุทธศาสตร์ให้ชัดเจน เพื่อรักษาความเป็นผู้นำในการแข่งขันทางอุตสาหกรรมและภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ท่ามกลางวิกฤตการณ์ที่เป็นอยู่ ทั้งนี้เป็นการแสดงความคิดเห็นของผู้นำทางธุรกิจหลายคน ณ การประชุมสุดยอดระดับชาติที่เปิดขึ้นเมื่อวันจันทร์(15)
"เป้าหมายของเราก็คือจัดทำรายการสิ่งที่ต้องลงมือปฏิบัติเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีชีวิตชีวาและฟื้นตัวขึ้นอีกครั้ง" บิล ฟอร์ด ประธานบริหารของฟอร์ด มอเตอร์ และประธานร่วมของการประชุมสุดยอดครั้งนี้กล่าวเปิดงาน ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน โดยมีกำหนดการ 3 วันด้วยกัน
ฟอร์ดบอกอีกว่าวิกฤตเศรษฐกิจโลก "มาช่วยเร่งให้เราต้องเริ่มต้นการสานเสวนาระดับชาติว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจ"
การประชุมคราวนี้สะท้อนให้เห็นถึงแรงขับดันที่กำลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งต้องการให้สหรัฐฯจัดทำ "นโยบายด้านอุตสาหกรรม" ที่คล้ายคลึงกับแนวทางที่ใช้ปฏิบัติอยู่ในเอเชียและภูมิภาคอื่นๆ โดยจะช่วยส่งเสริมธุรกิจต่างๆ ในภาวะที่ย่ำแย่ไปทั่วโลก
นอกจากนั้นที่ประชุมยังเตรียมที่จะกำหนดแนวนโยบายทางด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีให้ชัดเจนด้วย
แม้ในอดีตที่ผ่านมา ผู้คนทางสหรัฐฯมักมองเรื่องนโยบายด้านอุตสาหกรรม ว่าเป็นสิ่งเดียวกับลัทธิกีดกันทางการค้า แต่ฟอร์ดและผู้ขึ้นพูดในที่ประชุมคนอื่นๆ ก็เห็นว่าสหรัฐฯ จำเป็นต้องเข้มงวดกับประเทศคู่ค้าให้มากขึ้นเพื่อที่จะรักษาระดับความมั่งคั่งของตนไว้
"การไม่มีนโยบายถือว่าเป็นนโยบายที่แย่" ฟอร์ดบอก "ประเทศอื่นๆ เข้าใจเรื่องนี้และทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาฐานทางอุตสาหกรรมให้แข็งแกร่ง"
ฟอร์ดเสริมอีกว่า "พวกเขารู้จักปรับกฎเกณฑ์ต่างๆ หรือแม้กระทั่งยกเลิกมันไป เพื่อที่จะรักษาความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบกับสหรัฐฯ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องทำอะไรบางอย่างที่แตกต่างไปจากเดิม"
แอนดรูว์ ลีฟริส ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของดาว เคมิคอล ซึ่งเป็นประธานร่วมในที่ประชุมนี้ด้วย ก็แสดงความเห็นในทำนองเดียวกัน เขาเรียกร้องให้มี "นโยบายด้านอุตสาหกรรมสำหรับยุคสมัยใหม่ ซึ่งจัดทำขึ้นสำหรับศตวรรษที่ 21"
ลีฟริสอธิบายว่า "เราจะต้องสร้างความเข้มแข็งและพลังชีวิตสำหรับศตวรรษนี้ขึ้นมาใหม่" และบอกด้วยว่า "จะต้องสร้างขึ้นโดยอุตสาหกรรมอเมริกัน"
เขาบอกว่า "บางทีพวกเราอาจจะมัวหลงติดอยู่กับความคิดเรื่องการใช้เงินต่อเงินจนลืมไปว่าการสร้างสิ่งของจริงๆ เป็นนวัตกรรมที่แท้จริง ยังคงมีความสำคัญมาก"
ทางด้าน คาร์ล เลวิน วุฒิสมาชิกมลรัฐมิชิแกน กล่าวว่าที่ผ่านมาแนวคิดเรื่องนโยบายอุตสาหกรรมนั้นเป็นสิ่งที่หลายคนรู้สึกรังเกียจ แต่ยิ่งวันรัฐบาลก็ยิ่งจำเป็นต้องเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจมากขึ้น เพราะ "การแข่งขันในเวทีโลกของเราไม่ได้เป็นการแข่งขันกับบริษัทต่างๆ เท่านั้น แต่ยังเป็นการแข่งกับรัฐบาลของประเทศต่างๆ ที่ให้การสนับสนุนกิจการเหล่านั้นด้วย"
อนึ่ง การประชุมสุดยอดครั้งนี้มีจุดเริ่มต้นจากการพูดคุยกันของสโมสรเศรษฐกิจดีทรอยต์เกี่ยวกับอนาคตเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว และคาดว่าต่อไปอาจมีการจัดต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
ผู้แสดงปาฐกถาในเวทีนี้ยังประกอบด้วยผู้บริหารชั้นนำอีกหลายคน อาทิ ริชาร์ด แอนเดอร์สัน แห่งเดลต้า แอร์ไลน์ สตีฟ บัลเมอร์ แห่งไมโครซอฟต์ คอร์ป วิกรัม บัณฑิตแห่งซิตีคอร์ป ฟริตซ์ เฮนเดอร์สัน แห่งเจเนอรัล มอเตอร์ และอลัน มุลลาลีแห่งฟอร์ด มอเตอร์
ส่วนตัวแทนจากภาครัฐ ได้แก่ อานีช โชปรา ประธานเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยีคนใหม่ของสหรัฐฯ และแกรี ล็อค รัฐมนตรีพาณิชย์
อย่างไรก็ตาม มีผู้ประท้วงราว 200 คนมาชุมนุมอยู่ที่สวนสาธารณะใกล้กับที่จัดประชุม และมีการจัด "ประชุมสุดยอดประชาชน" เป็นเวทีเงาคู่กันด้วย โดยหวังจะดึงความสนใจจากผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจที่ทำให้สหรัฐฯ มีผู้ตกงานสูงถึง 6 ล้านคนแล้ว
"เป้าหมายของเราก็คือจัดทำรายการสิ่งที่ต้องลงมือปฏิบัติเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีชีวิตชีวาและฟื้นตัวขึ้นอีกครั้ง" บิล ฟอร์ด ประธานบริหารของฟอร์ด มอเตอร์ และประธานร่วมของการประชุมสุดยอดครั้งนี้กล่าวเปิดงาน ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน โดยมีกำหนดการ 3 วันด้วยกัน
ฟอร์ดบอกอีกว่าวิกฤตเศรษฐกิจโลก "มาช่วยเร่งให้เราต้องเริ่มต้นการสานเสวนาระดับชาติว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจ"
การประชุมคราวนี้สะท้อนให้เห็นถึงแรงขับดันที่กำลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งต้องการให้สหรัฐฯจัดทำ "นโยบายด้านอุตสาหกรรม" ที่คล้ายคลึงกับแนวทางที่ใช้ปฏิบัติอยู่ในเอเชียและภูมิภาคอื่นๆ โดยจะช่วยส่งเสริมธุรกิจต่างๆ ในภาวะที่ย่ำแย่ไปทั่วโลก
นอกจากนั้นที่ประชุมยังเตรียมที่จะกำหนดแนวนโยบายทางด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีให้ชัดเจนด้วย
แม้ในอดีตที่ผ่านมา ผู้คนทางสหรัฐฯมักมองเรื่องนโยบายด้านอุตสาหกรรม ว่าเป็นสิ่งเดียวกับลัทธิกีดกันทางการค้า แต่ฟอร์ดและผู้ขึ้นพูดในที่ประชุมคนอื่นๆ ก็เห็นว่าสหรัฐฯ จำเป็นต้องเข้มงวดกับประเทศคู่ค้าให้มากขึ้นเพื่อที่จะรักษาระดับความมั่งคั่งของตนไว้
"การไม่มีนโยบายถือว่าเป็นนโยบายที่แย่" ฟอร์ดบอก "ประเทศอื่นๆ เข้าใจเรื่องนี้และทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาฐานทางอุตสาหกรรมให้แข็งแกร่ง"
ฟอร์ดเสริมอีกว่า "พวกเขารู้จักปรับกฎเกณฑ์ต่างๆ หรือแม้กระทั่งยกเลิกมันไป เพื่อที่จะรักษาความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบกับสหรัฐฯ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องทำอะไรบางอย่างที่แตกต่างไปจากเดิม"
แอนดรูว์ ลีฟริส ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของดาว เคมิคอล ซึ่งเป็นประธานร่วมในที่ประชุมนี้ด้วย ก็แสดงความเห็นในทำนองเดียวกัน เขาเรียกร้องให้มี "นโยบายด้านอุตสาหกรรมสำหรับยุคสมัยใหม่ ซึ่งจัดทำขึ้นสำหรับศตวรรษที่ 21"
ลีฟริสอธิบายว่า "เราจะต้องสร้างความเข้มแข็งและพลังชีวิตสำหรับศตวรรษนี้ขึ้นมาใหม่" และบอกด้วยว่า "จะต้องสร้างขึ้นโดยอุตสาหกรรมอเมริกัน"
เขาบอกว่า "บางทีพวกเราอาจจะมัวหลงติดอยู่กับความคิดเรื่องการใช้เงินต่อเงินจนลืมไปว่าการสร้างสิ่งของจริงๆ เป็นนวัตกรรมที่แท้จริง ยังคงมีความสำคัญมาก"
ทางด้าน คาร์ล เลวิน วุฒิสมาชิกมลรัฐมิชิแกน กล่าวว่าที่ผ่านมาแนวคิดเรื่องนโยบายอุตสาหกรรมนั้นเป็นสิ่งที่หลายคนรู้สึกรังเกียจ แต่ยิ่งวันรัฐบาลก็ยิ่งจำเป็นต้องเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจมากขึ้น เพราะ "การแข่งขันในเวทีโลกของเราไม่ได้เป็นการแข่งขันกับบริษัทต่างๆ เท่านั้น แต่ยังเป็นการแข่งกับรัฐบาลของประเทศต่างๆ ที่ให้การสนับสนุนกิจการเหล่านั้นด้วย"
อนึ่ง การประชุมสุดยอดครั้งนี้มีจุดเริ่มต้นจากการพูดคุยกันของสโมสรเศรษฐกิจดีทรอยต์เกี่ยวกับอนาคตเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว และคาดว่าต่อไปอาจมีการจัดต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
ผู้แสดงปาฐกถาในเวทีนี้ยังประกอบด้วยผู้บริหารชั้นนำอีกหลายคน อาทิ ริชาร์ด แอนเดอร์สัน แห่งเดลต้า แอร์ไลน์ สตีฟ บัลเมอร์ แห่งไมโครซอฟต์ คอร์ป วิกรัม บัณฑิตแห่งซิตีคอร์ป ฟริตซ์ เฮนเดอร์สัน แห่งเจเนอรัล มอเตอร์ และอลัน มุลลาลีแห่งฟอร์ด มอเตอร์
ส่วนตัวแทนจากภาครัฐ ได้แก่ อานีช โชปรา ประธานเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยีคนใหม่ของสหรัฐฯ และแกรี ล็อค รัฐมนตรีพาณิชย์
อย่างไรก็ตาม มีผู้ประท้วงราว 200 คนมาชุมนุมอยู่ที่สวนสาธารณะใกล้กับที่จัดประชุม และมีการจัด "ประชุมสุดยอดประชาชน" เป็นเวทีเงาคู่กันด้วย โดยหวังจะดึงความสนใจจากผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจที่ทำให้สหรัฐฯ มีผู้ตกงานสูงถึง 6 ล้านคนแล้ว