รอยเตอร์/เอเอฟพี – ศาลสูงสุดสหรัฐฯ เปิดทางให้ไครส์เลอร์เดินหน้าควบรวมกิจการกับเฟียตแห่งอิตาลีได้แล้ว โดยเมื่อวันอังคาร(9)ได้ยกเลิกคำสั่งชั่วคราวที่ให้ระงับการดำเนินการไว้ก่อน ทางด้านเฟียตก็รีบออกมาแถลงว่ากระบวนการขายกิจการดีๆ ของไครสเลอร์เก่าให้แก่ทางไครสเลอร์ใหม่ที่เฟียตจะร่วมถือหุ้นด้วยนั้น จะเสร็จสิ้นในวันพุธ(10)
คำตัดสินของคณะผู้พิพากษาเต็มคณะของศาลสูงสุดสหรัฐฯคราวนี้ นับเป็นความสำเร็จสำหรับคณะรัฐบาลบารัค โอบามาที่เร่งผลักดันการปรับโครงสร้างกิจการของไครส์เลอร์ซึ่งกำลังอยู่ในภาวะล้มละลาย โดยเจ้าหน้าที่ผู้หนึ่งของทำเนียบขาวระบุว่า “เรารู้สึกยินดีที่การสร้างพันธมิตรระหว่างไครส์เลอร์กับเฟียตจะเดินหน้าต่อไป เพราะจะทำให้ไครส์เลอร์กลับมาเป็นกิจการผลิตรถยนต์ที่มีความสามารถในการแข่งขันได้อีกครั้ง”
ทว่า ริชาร์ด มูร์ด็อค ประธานฝ่ายการคลังของมลรัฐอินดีแอนา ซึ่งอยู่ในฝ่ายเดียวกับกลุ่มกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในมลรัฐอินดีแอนา ที่ยื่นคำร้องขอให้ศาลสูงสุดมีคำสั่งชั่วคราวระงับการขายกิจการไครส์เลอร์ในวันจันทร์ (9) ระบุว่า เขารู้สึกผิดหวังกับคำตัดสินของศาล
กลุ่มกองทุนสำรองเลี้ยงชีพยังระบุด้วยว่าศาลล้มละลายและศาลอุทธรณ์มีคำตัดสินในเรื่องนี้เร็วเกินไป และบอกอีกว่าแผนการขายกิจการไครส์เลอร์นั้นเป็นการปรับโครงสร้างกิจการโดยผิดกฎหมาย และเป็นการจัดสรรผลตอบแทนให้แก่เจ้าหนี้อย่างผิดหลักการ นอกจากนั้นกระทรวงการคลังก็ดำเนินการผิดขั้นตอน โดยนำเงินที่คองเกรสอนุมัติให้ใช้กอบกู้กิจการธนาคารที่ล้มละลายไปช่วยเหลือไครส์เลอร์ ถึงกว่า 12,000 ล้านดอลลาร์ และช่วยเหลือจีเอ็มอีกราว 50,000 ล้านดอลลาร์
ส่วนแกรี ปีเตอร์ ส.ส. จากมลรัฐมิชิแกน ซึ่งเป็นมลรัฐที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของไครส์เลอร์ ระบุว่า “คำตัดสินของศาลในวันนี้นับเป็นข่าวดีสำหรับประเทศ” เขายังบอกอีกว่าการที่ไครส์เลอร์พ้นจากภาวะล้มละลายได้โดยเร็วจะช่วยให้บริษัทกลับมาแข่งขันในตลาดโลกได้อีก
ทางด้านโฆษกเฟียตแถลงจากนครมิลานวานนี้ว่า กระบวนการปรับโครงสร้างไครสเลอร์ ซึ่งจะเป็นการนำเอาสินทรัพย์ดีๆ ของไครสเลอร์เก่า ออกมาขายให้แก่ไครสเลอร์ใหม่ที่ทางเฟียตจะร่วมถือหุ้นด้วยในขั้นแรก 20% นั้น จะสำเร็จเสร็จสิ้นได้ในวันพุธ(10)
แอริค แมร์เคิล นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมรถยนต์อิสระ ระบุว่าคำตัดสินของศาลสูงสุดครั้งนี้เป็นข่าวดีสำหรับจีเอ็มด้วยเช่นกัน เพราะจีเอ็มก็กำลังใช้ยุทธศาสตร์ทำนองเดียวกับไครส์เลอร์ในการพาตัวเองให้พ้นจากภาวะล้มละลาย
อย่างไรก็ตาม มีนักวิเคราะห์บางคนมองว่าแม้ไครส์เลอร์และจีเอ็มจะได้รับความช่วยเหลือในการกอบกู้กิจการขึ้นมาใหม่ แต่ก็ยังไม่แน่ว่าบริษัททั้งสองจะไปรอดในระยะยาว ยิ่งกว่านั้นไครส์เลอร์เองก็จะมีฐานะที่เล็กลงเมื่อเข้าไปอยู่ภายใต้การบริหารของเฟียต ส่วนอนาคตของจีเอ็มนั้นก็ยากที่จะคาดการณ์ได้ในขณะนี้
ในวันอังคาร(9)นี้เอง ทางด้านจีเอ็มได้ประกาศวางตัว เอ็ด ไวท์เอเคอร์ ขึ้นเป็นประธานกรรมการคนใหม่ของบริษัทจีเอ็มใหม่ หลังจากที่จีเอ็มปรับโครงสร้างกิจการให้พ้นจากภาวะล้มละลายแล้ว
ทั้งนี้ ไวท์เอเคอร์จบการศึกษาด้านวิศวรรม และเคยเป็นหัวเรือใหญ่ของกิจการเซาท์เวสเทิร์นเบลล์แห่งเทกซัส ในช่วงสิบปีที่บริษัทอยู่ในระหว่างการควบรวมกิจการหลายๆ ระลอก
“เขาจะเข้ามาสู่อุตสาหกรรมที่เต็มไปด้วยระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ แต่เขารู้ว่าจะนำบริษัทให้เติบโตได้อย่างอย่างไร และเขาจะทำให้การปรับโครงสร้างของจีเอ็มเป็นที่น่าเชื่อถือ” สตีเฟน สปิวีย์ นักวิเคราะห์จากฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวนให้ความเห็น
อนึ่ง การแต่งตั้งประธานกรรมการคนใหม่ของจีเอ็มครั้งนี้ มีขึ้นพร้อมกับการปลดกรรมการบริษัทรุ่นเก่าอีกหลายคน หลังจากที่ริก วาโกเนอร์ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนก่อนถูกรัฐบาลให้ออกจากตำแหน่งไปเมื่อปลายเดือนมีนาคม
คำตัดสินของคณะผู้พิพากษาเต็มคณะของศาลสูงสุดสหรัฐฯคราวนี้ นับเป็นความสำเร็จสำหรับคณะรัฐบาลบารัค โอบามาที่เร่งผลักดันการปรับโครงสร้างกิจการของไครส์เลอร์ซึ่งกำลังอยู่ในภาวะล้มละลาย โดยเจ้าหน้าที่ผู้หนึ่งของทำเนียบขาวระบุว่า “เรารู้สึกยินดีที่การสร้างพันธมิตรระหว่างไครส์เลอร์กับเฟียตจะเดินหน้าต่อไป เพราะจะทำให้ไครส์เลอร์กลับมาเป็นกิจการผลิตรถยนต์ที่มีความสามารถในการแข่งขันได้อีกครั้ง”
ทว่า ริชาร์ด มูร์ด็อค ประธานฝ่ายการคลังของมลรัฐอินดีแอนา ซึ่งอยู่ในฝ่ายเดียวกับกลุ่มกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในมลรัฐอินดีแอนา ที่ยื่นคำร้องขอให้ศาลสูงสุดมีคำสั่งชั่วคราวระงับการขายกิจการไครส์เลอร์ในวันจันทร์ (9) ระบุว่า เขารู้สึกผิดหวังกับคำตัดสินของศาล
กลุ่มกองทุนสำรองเลี้ยงชีพยังระบุด้วยว่าศาลล้มละลายและศาลอุทธรณ์มีคำตัดสินในเรื่องนี้เร็วเกินไป และบอกอีกว่าแผนการขายกิจการไครส์เลอร์นั้นเป็นการปรับโครงสร้างกิจการโดยผิดกฎหมาย และเป็นการจัดสรรผลตอบแทนให้แก่เจ้าหนี้อย่างผิดหลักการ นอกจากนั้นกระทรวงการคลังก็ดำเนินการผิดขั้นตอน โดยนำเงินที่คองเกรสอนุมัติให้ใช้กอบกู้กิจการธนาคารที่ล้มละลายไปช่วยเหลือไครส์เลอร์ ถึงกว่า 12,000 ล้านดอลลาร์ และช่วยเหลือจีเอ็มอีกราว 50,000 ล้านดอลลาร์
ส่วนแกรี ปีเตอร์ ส.ส. จากมลรัฐมิชิแกน ซึ่งเป็นมลรัฐที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของไครส์เลอร์ ระบุว่า “คำตัดสินของศาลในวันนี้นับเป็นข่าวดีสำหรับประเทศ” เขายังบอกอีกว่าการที่ไครส์เลอร์พ้นจากภาวะล้มละลายได้โดยเร็วจะช่วยให้บริษัทกลับมาแข่งขันในตลาดโลกได้อีก
ทางด้านโฆษกเฟียตแถลงจากนครมิลานวานนี้ว่า กระบวนการปรับโครงสร้างไครสเลอร์ ซึ่งจะเป็นการนำเอาสินทรัพย์ดีๆ ของไครสเลอร์เก่า ออกมาขายให้แก่ไครสเลอร์ใหม่ที่ทางเฟียตจะร่วมถือหุ้นด้วยในขั้นแรก 20% นั้น จะสำเร็จเสร็จสิ้นได้ในวันพุธ(10)
แอริค แมร์เคิล นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมรถยนต์อิสระ ระบุว่าคำตัดสินของศาลสูงสุดครั้งนี้เป็นข่าวดีสำหรับจีเอ็มด้วยเช่นกัน เพราะจีเอ็มก็กำลังใช้ยุทธศาสตร์ทำนองเดียวกับไครส์เลอร์ในการพาตัวเองให้พ้นจากภาวะล้มละลาย
อย่างไรก็ตาม มีนักวิเคราะห์บางคนมองว่าแม้ไครส์เลอร์และจีเอ็มจะได้รับความช่วยเหลือในการกอบกู้กิจการขึ้นมาใหม่ แต่ก็ยังไม่แน่ว่าบริษัททั้งสองจะไปรอดในระยะยาว ยิ่งกว่านั้นไครส์เลอร์เองก็จะมีฐานะที่เล็กลงเมื่อเข้าไปอยู่ภายใต้การบริหารของเฟียต ส่วนอนาคตของจีเอ็มนั้นก็ยากที่จะคาดการณ์ได้ในขณะนี้
ในวันอังคาร(9)นี้เอง ทางด้านจีเอ็มได้ประกาศวางตัว เอ็ด ไวท์เอเคอร์ ขึ้นเป็นประธานกรรมการคนใหม่ของบริษัทจีเอ็มใหม่ หลังจากที่จีเอ็มปรับโครงสร้างกิจการให้พ้นจากภาวะล้มละลายแล้ว
ทั้งนี้ ไวท์เอเคอร์จบการศึกษาด้านวิศวรรม และเคยเป็นหัวเรือใหญ่ของกิจการเซาท์เวสเทิร์นเบลล์แห่งเทกซัส ในช่วงสิบปีที่บริษัทอยู่ในระหว่างการควบรวมกิจการหลายๆ ระลอก
“เขาจะเข้ามาสู่อุตสาหกรรมที่เต็มไปด้วยระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ แต่เขารู้ว่าจะนำบริษัทให้เติบโตได้อย่างอย่างไร และเขาจะทำให้การปรับโครงสร้างของจีเอ็มเป็นที่น่าเชื่อถือ” สตีเฟน สปิวีย์ นักวิเคราะห์จากฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวนให้ความเห็น
อนึ่ง การแต่งตั้งประธานกรรมการคนใหม่ของจีเอ็มครั้งนี้ มีขึ้นพร้อมกับการปลดกรรมการบริษัทรุ่นเก่าอีกหลายคน หลังจากที่ริก วาโกเนอร์ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนก่อนถูกรัฐบาลให้ออกจากตำแหน่งไปเมื่อปลายเดือนมีนาคม