ASTVผู้จัดการรายวัน-"พาณิชย์"เผยญี่ปุ่นยกเลิกภาษีสินค้า 90% เหลือ 0% ทันที หลังเอฟทีเออาเซียน-ญี่ปุ่น มีผลบังคับใช้ 1 มิ.ย.ที่ผ่านมา พบสินค้าเกษตรไทย ทั้งผลไม้ กุ้ง ปู ปลา สิ่งทอ อัญมณี รองเท้า เครื่องหนัง มีโอกาสส่งออกเพิ่มขึ้น และยังได้สิทธิ์มากกว่า JTEPA ในส่วนของปลาแซลมอน ปลาหมึก ผลิตภัณฑ์ ปิโตรเคมี มะเขือยาว รวมทั้งสะสมแหล่งกำเนิดสินค้าได้แนะผู้ประกอบการศึกษาให้ดี เหตุใช้ประโยชน์เอฟทีเอได้ถึง 2 ฉบับ
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ขณะนี้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) ได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งอาเซียนและญี่ปุ่นได้ตกลงที่จะลดภาษีนำเข้าสินค้าจำนวนมากกว่า 90% ของรายการสินค้าและมูลค่าการนำเข้าให้เหลือ 0% ภายใน 10 ปี ขณะที่ญี่ปุ่นจะยกเลิกภาษีนำเข้าสินค้า 90% ทันที และเมื่อเสร็จสิ้นการลดภาษีระหว่างกัน ญี่ปุ่นได้ตกลงที่จะยกเลิกภาษีนำเข้าสินค้าจากอาเซียนในจำนวนมากกว่า 92% ขึ้นไป
สำหรับสินค้าส่งออกที่ไทยจะได้ประโยชน์จากการลดภาษีของญี่ปุ่น แยกเป็นสินค้าเกษตร เช่น มะพร้าว กล้วย มะม่วง ฝรั่ง ทุเรียน มะละกอ กุ้ง ปู ปลาหมึกยักษ์แช่แข็ง แมงกะพรุน ปลาปรุงแต่ง ผลไม้กระป๋อง เป็นต้น และสินค้าอุตสาหกรรม เช่น สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อัญมณีและเครื่องประดับ ไม้และผลิตภัณฑ์ รองเท้าและชิ้นส่วน เครื่องหนัง และชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบข้อตกลง AJCEP กับความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) พบว่า ญี่ปุ่นเปิดตลาดให้แก่ไทยเพิ่มขึ้นจำนวน 70 รายการ คิดเป็นมูลค่าการนำเข้าของญี่ปุ่นจากไทยประมาณ 51 ล้านเหรียญสหรัฐ เช่น เนื้อปลาแซลมอน หอยนางรม น้ำปลาและสิ่งสกัดที่ได้จากเนื้อสัตว์และสัตว์น้ำ ขิงอ่อน และไม้อัด ความตกลง JTEPA จะไม่ลดภาษีจนกว่าจะได้เริ่มการเจรจาใหม่ในปี 2554แต่ว่าความตกลง AJCEP จะลดภาษีลงจากอัตราฐานร้อยละ 15-40 โดยญี่ปุ่นนำเข้าจากไทยมูลค่าประมาณ 32.25 ล้านเหรียญสหรัฐ
ปลาหมึกอบกรอบ พิซซ่าแช่แข็ง เพสทรีและขนมจำพวกเบเกอรี่อื่นๆ ความตกลง JTEPA จะไม่ลดภาษี แต่ว่าความตกลง AJCEP จะลดภาษีลงจากอัตราฐานร้อยละ 4-50 โดยญี่ปุ่นนำเข้าจากไทยมูลค่าประมาณ 16.66 ล้านเหรียญสหรัฐ มะเขือยาว ความตกลง JTEPA จะยกเลิกภาษีนำเข้าปี 2564 แต่ความตกลง AJCEP จะยกเลิกภาษีนำเข้าในปี 2560
นอกจากนี้ ไทยยังจะได้ประโยชน์ในการสะสมกฎถิ่นกำเนิดสินค้าที่เปิดโอกาสให้ผู้ผลิต ผู้ส่งออกสามารถนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศภาคีความตกลง AJCEP มาใช้ผลิตเป็นสินค้าส่งออก โดยได้รับการลดภาษีภายใต้ความตกลงนี้ด้วย เช่น สินค้าที่ได้จากการทำ Contract Farming กับประเทศเพื่อนบ้านก็สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเพื่อส่งออกและได้รับการลดภาษีภายใต้ความตกลงได้อย่างเต็มที่ จึงถือเป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ส่งออกในการค้ากับญี่ปุ่นและประเทศสมาชิกอาเซียน
"ผู้ประกอบการควรศึกษาในรายละเอียดของความตกลง AJCEP และความตกลง JTEPA ว่ามีพันธกรณี ข้อบังคับ และสิทธิประโยชน์แตกต่างกันอย่างไร รวมถึงกฎถิ่นกำเนิดสินค้า ขั้นตอนหรือกระบวนการในการขอรับสิทธิประโยชน์ดังกล่าว เนื่องจากผู้ประกอบการไทยมีทางเลือกในการส่งออกไปญี่ปุ่นภายใต้ความตกลงการค้าเสรีถึงสองฉบับ ซึ่งความตกลงแต่ละฉบับจะมีความแตกต่างและเหมาะสมกับผู้ประกอบการไม่เหมือนกัน" นางนันทวัลย์กล่าว
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ขณะนี้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) ได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งอาเซียนและญี่ปุ่นได้ตกลงที่จะลดภาษีนำเข้าสินค้าจำนวนมากกว่า 90% ของรายการสินค้าและมูลค่าการนำเข้าให้เหลือ 0% ภายใน 10 ปี ขณะที่ญี่ปุ่นจะยกเลิกภาษีนำเข้าสินค้า 90% ทันที และเมื่อเสร็จสิ้นการลดภาษีระหว่างกัน ญี่ปุ่นได้ตกลงที่จะยกเลิกภาษีนำเข้าสินค้าจากอาเซียนในจำนวนมากกว่า 92% ขึ้นไป
สำหรับสินค้าส่งออกที่ไทยจะได้ประโยชน์จากการลดภาษีของญี่ปุ่น แยกเป็นสินค้าเกษตร เช่น มะพร้าว กล้วย มะม่วง ฝรั่ง ทุเรียน มะละกอ กุ้ง ปู ปลาหมึกยักษ์แช่แข็ง แมงกะพรุน ปลาปรุงแต่ง ผลไม้กระป๋อง เป็นต้น และสินค้าอุตสาหกรรม เช่น สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อัญมณีและเครื่องประดับ ไม้และผลิตภัณฑ์ รองเท้าและชิ้นส่วน เครื่องหนัง และชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบข้อตกลง AJCEP กับความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) พบว่า ญี่ปุ่นเปิดตลาดให้แก่ไทยเพิ่มขึ้นจำนวน 70 รายการ คิดเป็นมูลค่าการนำเข้าของญี่ปุ่นจากไทยประมาณ 51 ล้านเหรียญสหรัฐ เช่น เนื้อปลาแซลมอน หอยนางรม น้ำปลาและสิ่งสกัดที่ได้จากเนื้อสัตว์และสัตว์น้ำ ขิงอ่อน และไม้อัด ความตกลง JTEPA จะไม่ลดภาษีจนกว่าจะได้เริ่มการเจรจาใหม่ในปี 2554แต่ว่าความตกลง AJCEP จะลดภาษีลงจากอัตราฐานร้อยละ 15-40 โดยญี่ปุ่นนำเข้าจากไทยมูลค่าประมาณ 32.25 ล้านเหรียญสหรัฐ
ปลาหมึกอบกรอบ พิซซ่าแช่แข็ง เพสทรีและขนมจำพวกเบเกอรี่อื่นๆ ความตกลง JTEPA จะไม่ลดภาษี แต่ว่าความตกลง AJCEP จะลดภาษีลงจากอัตราฐานร้อยละ 4-50 โดยญี่ปุ่นนำเข้าจากไทยมูลค่าประมาณ 16.66 ล้านเหรียญสหรัฐ มะเขือยาว ความตกลง JTEPA จะยกเลิกภาษีนำเข้าปี 2564 แต่ความตกลง AJCEP จะยกเลิกภาษีนำเข้าในปี 2560
นอกจากนี้ ไทยยังจะได้ประโยชน์ในการสะสมกฎถิ่นกำเนิดสินค้าที่เปิดโอกาสให้ผู้ผลิต ผู้ส่งออกสามารถนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศภาคีความตกลง AJCEP มาใช้ผลิตเป็นสินค้าส่งออก โดยได้รับการลดภาษีภายใต้ความตกลงนี้ด้วย เช่น สินค้าที่ได้จากการทำ Contract Farming กับประเทศเพื่อนบ้านก็สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเพื่อส่งออกและได้รับการลดภาษีภายใต้ความตกลงได้อย่างเต็มที่ จึงถือเป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ส่งออกในการค้ากับญี่ปุ่นและประเทศสมาชิกอาเซียน
"ผู้ประกอบการควรศึกษาในรายละเอียดของความตกลง AJCEP และความตกลง JTEPA ว่ามีพันธกรณี ข้อบังคับ และสิทธิประโยชน์แตกต่างกันอย่างไร รวมถึงกฎถิ่นกำเนิดสินค้า ขั้นตอนหรือกระบวนการในการขอรับสิทธิประโยชน์ดังกล่าว เนื่องจากผู้ประกอบการไทยมีทางเลือกในการส่งออกไปญี่ปุ่นภายใต้ความตกลงการค้าเสรีถึงสองฉบับ ซึ่งความตกลงแต่ละฉบับจะมีความแตกต่างและเหมาะสมกับผู้ประกอบการไม่เหมือนกัน" นางนันทวัลย์กล่าว