ASTV/ผู้จัดการรายวัน - กบข.ยังดิ้น กรมบัญชีกลางส่งเรื่องให้กฤษฎีกาตีความอำนาจเลขาธิการ ป.ป.ท. ชี้มีหน้าที่เพียงงานธุรการ ไม่มีอำนาจตรวจสอบการลงทุน กบข. ด้าน ป.ป.ท.เตรียมชี้แจงยันดำเนินการตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการที่มีอำนาจตรวจสอบการบริหารงานหน่วยราชการได้
วานนี้(15 มิ.ย.)รายงานข่าวจากกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า ภายหลังสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ส่งหนังสือลงวันที่ 8 มิ.ย.ที่ผ่านมา ถึงคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และนายวิสิฐ ตันติสุนทร อดีตเลขาธิการ กบข. ขอให้ส่งข้อมูลเอกสารเกี่ยวกับการบริหาร กบข.และให้เข้าชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการตัดสินใจลงทุน จนเป็นผลให้ กบข.ประสบภาวะขาดทุน โดยจนถึงขณะนี้ ป.ป.ท.ยังไม่ได้รับการติดต่อจากบอร์ดกบข.และนายวิสิฐว่าจะเข้าชี้แจงให้ข้อมูลตามที่ ป.ป.ท.ร้องขอหรือไม่ แต่กลับมีหนังสือจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ส่งถึงนายธาริต เพ็งดิษฐ์ เลขาธิการป.ป.ท. ขอให้เข้าชี้แจงอำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ท. ในวันที่ 17 มิ.ย. เวลา 14.00 น. ตามที่กรมบัญชีกลางทำหนังสือขอหารือไปยังกฤษฎีกา ที่ว่าเลขาธิการ ป.ป.ท.มีหน้าที่เพียงการบริหารงานธุรการ และไม่มีกฎหมายใดกำหนดให้เลขาธิการกระทำการแทนบอร์ด ป.ป.ท.
รายงานข่าวเปิดเผยด้วยว่า ก่อนหน้านี้มีความพยายามจะส่งเรื่องให้กฤษฎีกาตีความอำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ท. แต่ กบข.ไม่สามารถส่งเรื่องถึงกฤษฎีกาได้โดยตรง โดยจะต้องเสนอผ่านกระทรวงการคลังเท่านั้น แต่ปรากฏว่ากลับมีการส่งหนังสือขอหารือผ่านกรมบัญชีกลางแทน จึงเป็นประเด็นที่ต้องจับตามอง เนื่องจากผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานรัฐหลายแห่ง ต่างมีชื่อร่วมเป็นบอร์ด กบข. ไม่ว่าจะเป็นเลขาธิการกฤษฎีกา อัยการสูงสุด ปลัดกระทรวงการคลัง รวมถึงอธิบดีกรมบัญชีกลาง โดยข้าราชการที่เป็นสมาชิก กบข.ต่างวิตกกังวลว่าการตรวจสอบกบข.อาจติดขัดในประเด็นอำนาจตามกฎหมาย จนอาจกลายเป็นประเด็นที่เบี่ยงเบนไม่ให้มีการตรวจสอบและหาตัวผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการบริหารและการตัดสินใจลงทุนที่ไม่โปร่งใส
รายงานข่าวเปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย ป.ป.ท.เตรียมข้อมูลเข้าชี้แจงต่อกฤษฎีกา เพื่อยืนยันว่าการดำเนินการตรวจสอบ กบข.ที่ผ่านมา ไม่ใช่การสั่งการตามอำนาจสอบสวน แต่เป็นการขอความอนุเคราะห์ให้กบข.จัดส่งข้อมูลหรือเข้าให้ข้อมูลต่อ ป.ป.ท.ถึง 2 ครั้ง แต่ กบข.ไม่เคยให้ความอนุเคราะห์ตามที่ได้รับการร้องขอ อย่างไรก็ตาม การเข้าตรวจสอบ กบข.นั้น ป.ป.ท.ใช้อำนาจตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงาน ป.ป.ท. กระทรวงยุติธรรม พ.ศ.2551 ทั้งนี้ ป.ป.ท.ตะหนักดีว่าอำนาจการตรวจสอบกบข.เป็นของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดังนั้น หากครบกำหนดกบข.ไม่เข้าชี้แจงข้อมูลในประเด็นต่างๆ ป.ป.ท.จะส่งข้อมูลเบื้องต้นทั้งหมดให้ ป.ป.ช.ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
สำหรับกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ ป.ป.ท.กำหนดให้ ป.ป.ท.มีภารกิจเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยมาตรการฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในสำนักงาน ป.ป.ท.ให้มีกลุ่มตรวจสอบภายใน เพื่อทำหน้าที่ในการตรวจสอบการดำเนินงานภายในส่วนราชการ และสนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนักงาน รับผิดชอบงานขึ้นตรงต่อเลขาธิการ ป.ป.ท.โดยมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน การบัญชีของสำนักงาน และปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย และมีอำนาจดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน การกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการหรือเกี่ยวข้องกับการทุจริตในภาครัฐ หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเจ้าหน้าที่รัฐกระทำการทุจริตในภาครัฐ หรือที่มีการร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเนื่องมาจากการกระทำทุจริตในภาครัฐ หรือที่คณะกรรมการ ป.ป.ท.ส่งเรื่องให้ไต่สวนข้อเท็จจริง
วานนี้(15 มิ.ย.)รายงานข่าวจากกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า ภายหลังสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ส่งหนังสือลงวันที่ 8 มิ.ย.ที่ผ่านมา ถึงคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และนายวิสิฐ ตันติสุนทร อดีตเลขาธิการ กบข. ขอให้ส่งข้อมูลเอกสารเกี่ยวกับการบริหาร กบข.และให้เข้าชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการตัดสินใจลงทุน จนเป็นผลให้ กบข.ประสบภาวะขาดทุน โดยจนถึงขณะนี้ ป.ป.ท.ยังไม่ได้รับการติดต่อจากบอร์ดกบข.และนายวิสิฐว่าจะเข้าชี้แจงให้ข้อมูลตามที่ ป.ป.ท.ร้องขอหรือไม่ แต่กลับมีหนังสือจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ส่งถึงนายธาริต เพ็งดิษฐ์ เลขาธิการป.ป.ท. ขอให้เข้าชี้แจงอำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ท. ในวันที่ 17 มิ.ย. เวลา 14.00 น. ตามที่กรมบัญชีกลางทำหนังสือขอหารือไปยังกฤษฎีกา ที่ว่าเลขาธิการ ป.ป.ท.มีหน้าที่เพียงการบริหารงานธุรการ และไม่มีกฎหมายใดกำหนดให้เลขาธิการกระทำการแทนบอร์ด ป.ป.ท.
รายงานข่าวเปิดเผยด้วยว่า ก่อนหน้านี้มีความพยายามจะส่งเรื่องให้กฤษฎีกาตีความอำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ท. แต่ กบข.ไม่สามารถส่งเรื่องถึงกฤษฎีกาได้โดยตรง โดยจะต้องเสนอผ่านกระทรวงการคลังเท่านั้น แต่ปรากฏว่ากลับมีการส่งหนังสือขอหารือผ่านกรมบัญชีกลางแทน จึงเป็นประเด็นที่ต้องจับตามอง เนื่องจากผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานรัฐหลายแห่ง ต่างมีชื่อร่วมเป็นบอร์ด กบข. ไม่ว่าจะเป็นเลขาธิการกฤษฎีกา อัยการสูงสุด ปลัดกระทรวงการคลัง รวมถึงอธิบดีกรมบัญชีกลาง โดยข้าราชการที่เป็นสมาชิก กบข.ต่างวิตกกังวลว่าการตรวจสอบกบข.อาจติดขัดในประเด็นอำนาจตามกฎหมาย จนอาจกลายเป็นประเด็นที่เบี่ยงเบนไม่ให้มีการตรวจสอบและหาตัวผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการบริหารและการตัดสินใจลงทุนที่ไม่โปร่งใส
รายงานข่าวเปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย ป.ป.ท.เตรียมข้อมูลเข้าชี้แจงต่อกฤษฎีกา เพื่อยืนยันว่าการดำเนินการตรวจสอบ กบข.ที่ผ่านมา ไม่ใช่การสั่งการตามอำนาจสอบสวน แต่เป็นการขอความอนุเคราะห์ให้กบข.จัดส่งข้อมูลหรือเข้าให้ข้อมูลต่อ ป.ป.ท.ถึง 2 ครั้ง แต่ กบข.ไม่เคยให้ความอนุเคราะห์ตามที่ได้รับการร้องขอ อย่างไรก็ตาม การเข้าตรวจสอบ กบข.นั้น ป.ป.ท.ใช้อำนาจตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงาน ป.ป.ท. กระทรวงยุติธรรม พ.ศ.2551 ทั้งนี้ ป.ป.ท.ตะหนักดีว่าอำนาจการตรวจสอบกบข.เป็นของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดังนั้น หากครบกำหนดกบข.ไม่เข้าชี้แจงข้อมูลในประเด็นต่างๆ ป.ป.ท.จะส่งข้อมูลเบื้องต้นทั้งหมดให้ ป.ป.ช.ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
สำหรับกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ ป.ป.ท.กำหนดให้ ป.ป.ท.มีภารกิจเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยมาตรการฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในสำนักงาน ป.ป.ท.ให้มีกลุ่มตรวจสอบภายใน เพื่อทำหน้าที่ในการตรวจสอบการดำเนินงานภายในส่วนราชการ และสนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนักงาน รับผิดชอบงานขึ้นตรงต่อเลขาธิการ ป.ป.ท.โดยมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน การบัญชีของสำนักงาน และปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย และมีอำนาจดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน การกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการหรือเกี่ยวข้องกับการทุจริตในภาครัฐ หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเจ้าหน้าที่รัฐกระทำการทุจริตในภาครัฐ หรือที่มีการร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเนื่องมาจากการกระทำทุจริตในภาครัฐ หรือที่คณะกรรมการ ป.ป.ท.ส่งเรื่องให้ไต่สวนข้อเท็จจริง