นางธนนุช ตรีทิพยบุตร เลขาธิการสถิติแห่งชาติ เปิดเผยผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ประจำเดือน เม.ย.52 ว่า มีจำนวนของผู้ว่างงาน 820,000 คน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงาน 2.1 % เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเม.ย. 51 มีจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 270,000 คน คือ จาก 550,000 คน เป็น 820,000คน หรืออัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น 0.6% และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือนมี.ค. 52 มีผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 110,000 คน คือจาก 710,000 คน เป็น 820,000 คน หรืออัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น 0.2% โดยในจำนวนผู้ว่างงาน เป็นผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน 600,000คน เป็นผู้ว่างงานที่ว่างงานมาจากภาคการผลิตมากที่สุด 280,000 คน ภาคการบริการและการค้า 230,000 คน และภาคเกษตรกรรม 900,000 คน ส่วนผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อนมีจำนวน 220,000 คน
ทั้งนี้ หากพิจารณาการว่างงานในแต่ละกลุ่มอายุ พบว่า กลุ่มเยาวชน หรือผู้มีอายุระหว่าง 15-24 ปี เป็นกลุ่มที่มีอัตราการว่างงานค่อนข้างสูง 8.1% ส่วนกลุ่มวัยทำงาน อายุ 25 ปีขึ้นไป มีอัตราการว่างงาน 1.2 % เมื่อเปรียบเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันกับปี2551 กลุ่มเยาวชน มีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น1.8% คือจาก 6.3 %เป็น 8.1% และกลุ่มวัยทำงาน มีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น 0.5% คือ จาก 0.7 % เป็น 1.2%
สำหรับระดับการศึกษาที่สำเร็จของผู้ว่างงาน พบว่า ผู้ที่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีอัตราการว่างงานสูงที่สุด 3.5% เป็นผู้ที่จบการศึกษาในระดับ อุดมศึกษา 3.4% ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2.6% และประถมศึกษา 2.2% ตามลำดับ จะเห็นได้ว่า ผู้ที่มีการศึกษาสูงจะมีอัตราการว่างงานที่ค่อนข้างสูงกว่าผู้ที่มีการศึกษาไม่สูงนัก และเมื่อเปรียบเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2551 พบว่า ในทุกระดับการศึกษา มีผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
เลขาธิการสำนักงานสถิติแห่งชาติ กล่าวว่า หากพิจารณาการว่างงานเป็นรายภาค พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่มีจำนวนผู้ว่างงานมากที่สุด 360,000 คน รองลงมาเป็น ภาคกลาง 170,000 คน ภาคใต้ 120,000 คน ภาคเหนือ 100,000 คน และกรุงเทพมหานคร 70,000 คน ตามลำดับ หากเปรียบเทียบอัตราการว่างงานกับช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2551 พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นมากที่สุด 1.2% รองลงมาเป็นภาคใต้ 0.9% ภาคกลาง 0.8% ส่วนกรุงเทพมหานคร มีอัตราการว่างงานลดลง 0.1 %
ทั้งนี้ หากพิจารณาการว่างงานในแต่ละกลุ่มอายุ พบว่า กลุ่มเยาวชน หรือผู้มีอายุระหว่าง 15-24 ปี เป็นกลุ่มที่มีอัตราการว่างงานค่อนข้างสูง 8.1% ส่วนกลุ่มวัยทำงาน อายุ 25 ปีขึ้นไป มีอัตราการว่างงาน 1.2 % เมื่อเปรียบเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันกับปี2551 กลุ่มเยาวชน มีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น1.8% คือจาก 6.3 %เป็น 8.1% และกลุ่มวัยทำงาน มีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น 0.5% คือ จาก 0.7 % เป็น 1.2%
สำหรับระดับการศึกษาที่สำเร็จของผู้ว่างงาน พบว่า ผู้ที่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีอัตราการว่างงานสูงที่สุด 3.5% เป็นผู้ที่จบการศึกษาในระดับ อุดมศึกษา 3.4% ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2.6% และประถมศึกษา 2.2% ตามลำดับ จะเห็นได้ว่า ผู้ที่มีการศึกษาสูงจะมีอัตราการว่างงานที่ค่อนข้างสูงกว่าผู้ที่มีการศึกษาไม่สูงนัก และเมื่อเปรียบเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2551 พบว่า ในทุกระดับการศึกษา มีผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
เลขาธิการสำนักงานสถิติแห่งชาติ กล่าวว่า หากพิจารณาการว่างงานเป็นรายภาค พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่มีจำนวนผู้ว่างงานมากที่สุด 360,000 คน รองลงมาเป็น ภาคกลาง 170,000 คน ภาคใต้ 120,000 คน ภาคเหนือ 100,000 คน และกรุงเทพมหานคร 70,000 คน ตามลำดับ หากเปรียบเทียบอัตราการว่างงานกับช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2551 พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นมากที่สุด 1.2% รองลงมาเป็นภาคใต้ 0.9% ภาคกลาง 0.8% ส่วนกรุงเทพมหานคร มีอัตราการว่างงานลดลง 0.1 %