นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ วานนี้ (14 มิ.ย.) ถึงการเดินทางเยือนกัมพูชาว่า มีโครงการความร่วมมือ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องถนนหนทาง การสร้างเขื่อนในฝั่งของกัมพูชา เพื่อส่งน้ำมายังประเทศไทย และการผลิตไฟฟ้า
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการที่จะเริ่มต้นกระบวนการของการเจรจาเกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ซึ่งมีทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะเรื่องแก๊สอยู่มากมาย ซึ่งล้วนแล้วแต่เห็นตรงกันระหว่างผู้นำทั้งสองว่าเป็นเรื่องที่จะช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของเราทั้งสองดีขึ้น และผลประโยชน์ของประชาชนได้รับการดูแล ซึ่งจะต้องมีการส่งเสริมในเรื่องของการเพิ่มพูนการค้า การค้าชายแดน รวมทั้งเรื่องของการเปิดจุดผ่านแดนมากยิ่งขึ้น
ส่วนปัญหาการกระทบกระทั่งกันที่บริเวณเขาพระวิหารนั้น เรื่องนี้มีทั้งข้อตกลง รวมทั้งกลไกที่ต้องทำหน้าที่ในการแก้ไขปัญหานี้อยู่แล้ว ตนกับ สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาเห็นตรงกันว่าการแก้ปัญหานี้ต้องแก้ด้วยสันติวิธี และเป็นเรื่องที่กลไก ต่าง ๆ จะต้องทำงานต่อเนื่องต่อไป และเราจะไม่ให้ปัญหานี้มาเป็นอุปสรรคต่อการที่จะพัฒนาความร่วมมือในด้านอื่น ๆ
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความระมัดระวัง ความรัดกุม ไม่ให้เกิดการกระทบกระทั่งนั้น ก็จะเพิ่มพูนในเรื่องของการประชุมปรึกษาหารือของทุกระดับไม่เพียงเฉพาะกลไกที่มีอยู่ในแง่ของกรรมการชายแดน แต่จะครอบคลุมไปถึงเรื่องของการพบปะระหว่างกองทัพ การพบปะระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดในทั้งสองฟาก ซึ่งสิ่งเหล่านี้เชื่อว่า จะช่วยทำให้สถานการณ์นั้นคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น
วันเดียวกัน นายนพดล ปัทมะ อดีต รมว.ต่างประเทศ และอดีตทนายความ ส่วนตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ออกแถลงการณ์ถึงการแก้ปัญหาพรมแดนบริเวณ ปราสาทเขาพระวิหาร ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่า เมื่อตอนที่นายอภิสิทธิ์ เป็นผู้นำฝ่ายค้านฯ นายอภิสิทธิ์ และสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์หลายคน เช่น นายอลงกรณ์ พลบุตร ได้อภิปรายไม่ไว้วางใจตน ในฐานะ รมว.ต่างประเทศ เกี่ยวกับกรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก และมีหลายประเด็นที่เป็นความเท็จ และเป็นความเห็นที่บิดเบือน แต่หลังจากที่นายอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์ได้เข้ามาบริหารประเทศ และหลังจากการเดินทางไปเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 มิ.ย.ที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ไม่ได้ดำเนินการใดๆ ตามสิ่งที่ได้เคยพูดและโจมตีตนไว้ ดังนี้
1.นายอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์ เคยอภิปรายว่า เส้นเขตแดนระหว่างไทยและกัมพูชายังใช้สันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดน ทั้งๆ ที่กองทัพ กรมแผนที่ทหาร และกระทรวงการต่างประเทศยึดถือเส้นเขตแดนที่ขีดตามแผนที่ชุด แอล7017 ที่ใช้สันปันน้ำเหมือนกัน ยกเว้นปริเวณปราสาทพระวิหารที่ขีดเส้นและยกให้กัมพูชาตามคำตัดสินศาลโลก แต่สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์และนายอภิสิทธิ์ มีความเห็นว่า ที่ดินใต้ปราสาทและ ที่ดินบริเวณปราสาทยังเป็นของไทย ดังนั้น นายอภิสิทธิ์และรัฐบาลต้องไปเจรจากัมกัมพูชาขอ ที่ดินใต้ปราสาทและที่ดินบริเวณปราสาทคืนมา แต่รัฐบาลกลับไม่ดำเนินการใดๆ ตามที่เคยโจมตีตนในสภาเลย
2. นายอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์เคยอภิปรายไม่ไว้วางใจตนว่า เส้นเขตแดนตามแผนที่ชุดแอล 7017ตรงบริเวณปราสาทพระวิหารไม่ใช่เส้นเขตแดน ระหว่างไทยและกัมพูชา ทั้งๆ ที่กระทรวงการต่างประเทศ กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กองทัพไทยและกรมแผนที่ทหาร ระบุว่าเป็นเส้นเขตแดนระหว่างไทยและกัมพูชา ที่ไทยยึดถือ และเป็นท่าทีของประเทศไทยมาโดยตลอด
แต่นายอภิสิทธิ์ได้บิดเบือนข้อมูลเพราะลืมไปว่า ตัวนายอภิสิทธิ์เอง ที่นั่งอยู่ใน ครม.ในรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ในปี 2541 ได้เคยอนุมัติพระราชกฤษฎีกาที่ประกาศเขตอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร เมื่อ ปี 2541 และจัดทำแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกา โดยในแผนที่ดังกล่าว รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ได้ใช้และทำตามแผนที่ชุด แอล7017 ทุกประการ นอกจากนั้นยังระบุใต้แผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาว่า เส้นเขตแดนบริเวณปราสาทพระวิหาร คือ เขตเส้นพรมแดน ตามกฎหมาย ระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชาประชาธิปไตย ซึ่งตรงข้ามกับสิ่งที่ นายอภิสิทธิ์และพรรค ประชาธิปัตย์อภิปรายในสภาอย่างสิ้นเชิงว่า ไม่ใช่เส้นเขตแดนระหว่างประเทศ
และในการทำแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาของนายอภิสิทธิ์ดังกล่าวนั้น ถ้าคดีขึ้นศาลโลก ไทยอาจจะถูกกฏหมายปิดปากอีกครั้ง เพราะนายอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์ไปออกกฏหมายภายในเป็นพระราชกฤษฎีกา ซึ่งทำตามแผนที่ ชุด แอล 7017 ไปแล้ว
3. สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์หลายคน โดยเฉพาะนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ และนายอลงกรณ์ พลบุตร ได้โจมตีว่า การลงนาม ในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาตาม มติ ครม. ในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวชนั้นกระทำไปเพื่อแลกกับสัมปทานน้ำมันและแก๊ซธรรมชาติในกัมพูชา หรือเพื่อแลกกับโครงการการลงทุนในเกาะกงของกัมพูชา โดยเฉพาะกล่าวหาว่ากระทำไปเพื่อให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้รับสัมปทานหรือได้รับประโยชน์ ซึ่งเป็นความเท็จ ดังนั้นในการเดินทางไปกัมพูชาที่ผ่านมา ทำไมนายอภิสิทธิ์ ไม่สั่งการ ให้รัฐบาลไปตรวจสอบว่าการการลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา กระทำไปเพราะมีผลประโยชน์ตอบแทนดังกล่าว โดยไม่ทำความจริงให้ปรากฎ
4. นายนายกษิต ภิรมย์ ก่อนมาเป็น รมว.ต่างประเทศก็ประกาศบนเวทีพันธมิตรฯ ว่าจะทวงปราสาทพระวิหารคืนจากกัมพูชา และนายอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์มีความเห็นว่าไทยยังสงวนสิทธิทวงคืนปราสาทพระวิหาร เพราะอาจค้นพบหลักฐานใหม่ และสามารถทวงคืนได้ตลอดเวลา ดังนั้นในการเดินทางไปพบ นายกฯ ฮุนเซ็น นายอภิสิทธิ์ทำไมไม่ได้แจ้งต่อนายกฯกัมพูชาว่าไทยยังสงวนสิทธิทวงปราสาท พระวิหารคืน และขอถามว่านายอภิสิทธิ์จะดำเนินกระบวนการยื่นเรื่อง ทวงคืนประสาทพระวิหารต่อศาลโลกเมื่อใด เพื่อพิสูจน์ว่าความเห็นของนายอภิสิทธิ์ถูกต้อง
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการที่จะเริ่มต้นกระบวนการของการเจรจาเกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ซึ่งมีทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะเรื่องแก๊สอยู่มากมาย ซึ่งล้วนแล้วแต่เห็นตรงกันระหว่างผู้นำทั้งสองว่าเป็นเรื่องที่จะช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของเราทั้งสองดีขึ้น และผลประโยชน์ของประชาชนได้รับการดูแล ซึ่งจะต้องมีการส่งเสริมในเรื่องของการเพิ่มพูนการค้า การค้าชายแดน รวมทั้งเรื่องของการเปิดจุดผ่านแดนมากยิ่งขึ้น
ส่วนปัญหาการกระทบกระทั่งกันที่บริเวณเขาพระวิหารนั้น เรื่องนี้มีทั้งข้อตกลง รวมทั้งกลไกที่ต้องทำหน้าที่ในการแก้ไขปัญหานี้อยู่แล้ว ตนกับ สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาเห็นตรงกันว่าการแก้ปัญหานี้ต้องแก้ด้วยสันติวิธี และเป็นเรื่องที่กลไก ต่าง ๆ จะต้องทำงานต่อเนื่องต่อไป และเราจะไม่ให้ปัญหานี้มาเป็นอุปสรรคต่อการที่จะพัฒนาความร่วมมือในด้านอื่น ๆ
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความระมัดระวัง ความรัดกุม ไม่ให้เกิดการกระทบกระทั่งนั้น ก็จะเพิ่มพูนในเรื่องของการประชุมปรึกษาหารือของทุกระดับไม่เพียงเฉพาะกลไกที่มีอยู่ในแง่ของกรรมการชายแดน แต่จะครอบคลุมไปถึงเรื่องของการพบปะระหว่างกองทัพ การพบปะระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดในทั้งสองฟาก ซึ่งสิ่งเหล่านี้เชื่อว่า จะช่วยทำให้สถานการณ์นั้นคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น
วันเดียวกัน นายนพดล ปัทมะ อดีต รมว.ต่างประเทศ และอดีตทนายความ ส่วนตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ออกแถลงการณ์ถึงการแก้ปัญหาพรมแดนบริเวณ ปราสาทเขาพระวิหาร ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่า เมื่อตอนที่นายอภิสิทธิ์ เป็นผู้นำฝ่ายค้านฯ นายอภิสิทธิ์ และสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์หลายคน เช่น นายอลงกรณ์ พลบุตร ได้อภิปรายไม่ไว้วางใจตน ในฐานะ รมว.ต่างประเทศ เกี่ยวกับกรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก และมีหลายประเด็นที่เป็นความเท็จ และเป็นความเห็นที่บิดเบือน แต่หลังจากที่นายอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์ได้เข้ามาบริหารประเทศ และหลังจากการเดินทางไปเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 มิ.ย.ที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ไม่ได้ดำเนินการใดๆ ตามสิ่งที่ได้เคยพูดและโจมตีตนไว้ ดังนี้
1.นายอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์ เคยอภิปรายว่า เส้นเขตแดนระหว่างไทยและกัมพูชายังใช้สันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดน ทั้งๆ ที่กองทัพ กรมแผนที่ทหาร และกระทรวงการต่างประเทศยึดถือเส้นเขตแดนที่ขีดตามแผนที่ชุด แอล7017 ที่ใช้สันปันน้ำเหมือนกัน ยกเว้นปริเวณปราสาทพระวิหารที่ขีดเส้นและยกให้กัมพูชาตามคำตัดสินศาลโลก แต่สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์และนายอภิสิทธิ์ มีความเห็นว่า ที่ดินใต้ปราสาทและ ที่ดินบริเวณปราสาทยังเป็นของไทย ดังนั้น นายอภิสิทธิ์และรัฐบาลต้องไปเจรจากัมกัมพูชาขอ ที่ดินใต้ปราสาทและที่ดินบริเวณปราสาทคืนมา แต่รัฐบาลกลับไม่ดำเนินการใดๆ ตามที่เคยโจมตีตนในสภาเลย
2. นายอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์เคยอภิปรายไม่ไว้วางใจตนว่า เส้นเขตแดนตามแผนที่ชุดแอล 7017ตรงบริเวณปราสาทพระวิหารไม่ใช่เส้นเขตแดน ระหว่างไทยและกัมพูชา ทั้งๆ ที่กระทรวงการต่างประเทศ กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กองทัพไทยและกรมแผนที่ทหาร ระบุว่าเป็นเส้นเขตแดนระหว่างไทยและกัมพูชา ที่ไทยยึดถือ และเป็นท่าทีของประเทศไทยมาโดยตลอด
แต่นายอภิสิทธิ์ได้บิดเบือนข้อมูลเพราะลืมไปว่า ตัวนายอภิสิทธิ์เอง ที่นั่งอยู่ใน ครม.ในรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ในปี 2541 ได้เคยอนุมัติพระราชกฤษฎีกาที่ประกาศเขตอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร เมื่อ ปี 2541 และจัดทำแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกา โดยในแผนที่ดังกล่าว รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ได้ใช้และทำตามแผนที่ชุด แอล7017 ทุกประการ นอกจากนั้นยังระบุใต้แผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาว่า เส้นเขตแดนบริเวณปราสาทพระวิหาร คือ เขตเส้นพรมแดน ตามกฎหมาย ระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชาประชาธิปไตย ซึ่งตรงข้ามกับสิ่งที่ นายอภิสิทธิ์และพรรค ประชาธิปัตย์อภิปรายในสภาอย่างสิ้นเชิงว่า ไม่ใช่เส้นเขตแดนระหว่างประเทศ
และในการทำแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาของนายอภิสิทธิ์ดังกล่าวนั้น ถ้าคดีขึ้นศาลโลก ไทยอาจจะถูกกฏหมายปิดปากอีกครั้ง เพราะนายอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์ไปออกกฏหมายภายในเป็นพระราชกฤษฎีกา ซึ่งทำตามแผนที่ ชุด แอล 7017 ไปแล้ว
3. สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์หลายคน โดยเฉพาะนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ และนายอลงกรณ์ พลบุตร ได้โจมตีว่า การลงนาม ในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาตาม มติ ครม. ในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวชนั้นกระทำไปเพื่อแลกกับสัมปทานน้ำมันและแก๊ซธรรมชาติในกัมพูชา หรือเพื่อแลกกับโครงการการลงทุนในเกาะกงของกัมพูชา โดยเฉพาะกล่าวหาว่ากระทำไปเพื่อให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้รับสัมปทานหรือได้รับประโยชน์ ซึ่งเป็นความเท็จ ดังนั้นในการเดินทางไปกัมพูชาที่ผ่านมา ทำไมนายอภิสิทธิ์ ไม่สั่งการ ให้รัฐบาลไปตรวจสอบว่าการการลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา กระทำไปเพราะมีผลประโยชน์ตอบแทนดังกล่าว โดยไม่ทำความจริงให้ปรากฎ
4. นายนายกษิต ภิรมย์ ก่อนมาเป็น รมว.ต่างประเทศก็ประกาศบนเวทีพันธมิตรฯ ว่าจะทวงปราสาทพระวิหารคืนจากกัมพูชา และนายอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์มีความเห็นว่าไทยยังสงวนสิทธิทวงคืนปราสาทพระวิหาร เพราะอาจค้นพบหลักฐานใหม่ และสามารถทวงคืนได้ตลอดเวลา ดังนั้นในการเดินทางไปพบ นายกฯ ฮุนเซ็น นายอภิสิทธิ์ทำไมไม่ได้แจ้งต่อนายกฯกัมพูชาว่าไทยยังสงวนสิทธิทวงปราสาท พระวิหารคืน และขอถามว่านายอภิสิทธิ์จะดำเนินกระบวนการยื่นเรื่อง ทวงคืนประสาทพระวิหารต่อศาลโลกเมื่อใด เพื่อพิสูจน์ว่าความเห็นของนายอภิสิทธิ์ถูกต้อง