ASTVผู้จัดการรายวัน – สมาคมโบรกเกอร์ เตรียมรื้อค่าคอมมิชชันขั้นบันไดใหม่ หลังบรรดาสมาชิกลงมติให้แก้ไข เหตุพฤติกรรมการซื้อขายหุ้นของนักลงทุนเปลี่ยนไป ระบุ ขณะนี้อยู่ระหว่างรอสมาชิกส่งข้อมูลการซื้อขายลูกค้า เพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลของอุตสาหกรรมหลักทรัพย์ ก่อนนำเสนอบอร์ดสมาคมโบรกเกอร์ เพื่อนำไปหารือร่วมกับสำนักงานก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่อไป ด้าน“ภัทรียา” เผยเพิ่งได้รับหนังสือจากสมาคมขอปรับเปลี่ยนเกณฑ์ แจงขอดูเหตุผล กับความจำเป็นก่อน
นายจงรัก ระรวยทรง กรรมการผู้อำนวยการ สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ (สมาคมโบรกเกอร์)เปิดเผยว่า จากการประชุมสมาชิกสมาคมโบรกเกอร์ ได้มีความเห็นร่วมกันให้ปรับเปลี่ยนการคิดค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ (ค่าคอมมิชชั่น) แบบขั้นบันไดที่จะเริ่มใช้ปีหน้า เพื่อให้เกิดความเหมาะสม เพราะข้อกำหนดเดิมนั้นมีการกำหนดเมื่อ 4 ปีที่แล้ว และจำนวนนักลงทุนที่เปิดบัญชีมากขึ้น วงเงินในการใช้ซื้อขายหุ้น และวิธีการลงทุนมีการปรับเปลี่ยนไปจากเดิม
ส่วนการปรับปรุงค่าคอมมิชชั่นที่เหมาะสมนั้นจะเป็นลักษณะใด ถือเป็นประเด็นที่จะต้องมีการหารือว่าจะดำเนินการอย่างไร โดยทางสมาคมฯได้มีการให้ทางบล.ต่างๆทำการสำรวจข้อมูลการลงทุนของลูกค้าของแต่ละบริษัทว่ามีจำนวนนักลงทุนเท่าไร วงเงินที่ใช้ในการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของแต่ละรายมีมูลค่าเท่าไร ทั้งในช่วงที่ภาวะตลาดหุ้นดี และในช่วงภาวะตลาดไม่ดีมี และมีการประเมินเชิงลึก เช่น ลูกค้ามีการเทรดมูลค่า 0-1 ล้านบาทต่อวันมีกี่บัญชี มูลค่าเทรด 2-3 ล้านบาทต่อวัน มีจำนวนเท่าไร 4-5 ล้านบาทต่อวัน ฯลฯ
“จากการประชุมสมาชิกสมาคมโบรกเกอร์ในช่วงที่ผ่านมาสมาชิกมีมติให้มีการปรับเปลี่ยนการเก็บค่าคอมมิชชั่นแบบขั้นบันไดที่กำหนดเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ซึ่งกำหนดไว้ว่า 3 ปีแรก ให้คิดค่าคอมมิชชั่นที่ 0.25% และอีก 2 ปีหลัง จะคิดแบบขั้นบันได และปีที่6 จะเปิดเสรีค่าคอมมมิชั่น ซึ่งสาเหตุหลักที่จะมีการเปลี่ยน คือ จำนวนผู้เปิดบัญชีมากขึ้น วิธีการเล่นหุ้น และวงเงินเทรดหุ้นมีการเปลี่ยนไป ”นายจงรัก กล่าว
โดยสาเหตุที่บรรดาบล.ทำการสำรวจข้อมูลดังกล่าว เพื่อจัดส่งข้อมูลที่ได้มาให้ทางสมาคมฯรวบรวมเป็นข้อมูลของอุตสาหกรรม และประเมินออกมาว่าค่าคอมมิชชั่นขั้นบันไดที่จะมีการปรับเปลี่ยนนั้นจะเหมาะสม และเป็นที่ยอมรับของบล.ทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ หรือไม่ โดยคาดว่าภายในสิ้นเดือนนี้ทางบล.จะส่งข้อมูลมายังสมาคมฯเพื่อทำการรวบรวมไปเสนอให้คณะกรรมการบริหารสมาคมมีการพิจารณา และจะมีการเรียกประชุมสมาชิกอีกครั้งหนึ่งเพื่อหารือ
อย่างไรก็ตาม ทางสมาคมฯจะมีการนำผลการหารือกับทางบล.สมาชิก ไปหารือกับทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพราะ ตลท.เป็นผู้ดูแลในเรื่องของเกณฑ์ข้อบังคับ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากก.ล.ต.เช่นกัน
นายจงรัก กล่าวว่า ค่าคอมมิชชั่นแบบขั้นบันไดใหม่นั้น อาจจะมีช่วงการคิดที่ถี่และแคบมากขึ้น และอาจจะมีจำนวนขั้นที่มากขึ้น จากข้อกำหนดที่มีไว้ว่า วอลุ่มเทรดต้องแต่ 0-1 ล้านบาท คิดค่าคอมมิชชั่น ที่0.25% วอลุ่มเทรด 1-10 ล้านบาท คิดค่าคอมมิชชั่นที่ 0.22% วอลุ่มเทรด 10-20 ล้านบาทคิดค่าคอมมิชชั่นที่0.18% และหากมากกว่า 20 ล้านบาทขึ้นไป ต่อรองได้เสรี
ด้านนางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯพึ่งได้รับจดหมายจากทางสมาคมเพื่อขอให้มีการพิจารณาในเรื่องค่าคอมมิชชั่นขั้นบันไดที่จะมีการบังคับใช้ในปีหน้า ซึ่งส่วนตัวยังไม่ได้อ่านรายละเอียดจึงขอดูรายละเอียดก่อนว่าทางสมาคมหลักทรัพย์ฯมีการร้องขออะไรบ้าง หรืออาจจะมีการปรับบ้างจากกรอบเดิมที่กำหนดไว้ แต่ขอดูในเรื่องเหตุผล ความจำเป็น และทิศทางการดำเนินงานในอนาคต และความสามารถในการแข่งขันของโบรกเกอร์ในอนาคตที่จะมีการแข่งขันกับต่างประเทศ รวมถึงผลดีต่อนักลงทุนประกอบด้วย
“ตลาดหลักทรัพย์ฯเพิ่งได้หนังสือจากทางสมาคมบล.ซึ่งขอดูรายละเอียดก่อนว่าทางสมาคมบล.ขออะไรมาบ้าง จากกรอบเดิมที่มีการกำหนดไว้แล้ว ซึ่งอาจจะมีการปรับเปลี่ยนบ้าง แต่ต้องดูว่าเหตุผลในการขอ ความจำเป็น ทิศทางในอนาคตจะเป็นอย่างไร และทำให้บล.ทำงานเชิงรุกสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้หรือไม่ รวมถึง จะเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนด้วยหรือไม่”นางภัทรียา กล่าว
นายจงรัก ระรวยทรง กรรมการผู้อำนวยการ สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ (สมาคมโบรกเกอร์)เปิดเผยว่า จากการประชุมสมาชิกสมาคมโบรกเกอร์ ได้มีความเห็นร่วมกันให้ปรับเปลี่ยนการคิดค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ (ค่าคอมมิชชั่น) แบบขั้นบันไดที่จะเริ่มใช้ปีหน้า เพื่อให้เกิดความเหมาะสม เพราะข้อกำหนดเดิมนั้นมีการกำหนดเมื่อ 4 ปีที่แล้ว และจำนวนนักลงทุนที่เปิดบัญชีมากขึ้น วงเงินในการใช้ซื้อขายหุ้น และวิธีการลงทุนมีการปรับเปลี่ยนไปจากเดิม
ส่วนการปรับปรุงค่าคอมมิชชั่นที่เหมาะสมนั้นจะเป็นลักษณะใด ถือเป็นประเด็นที่จะต้องมีการหารือว่าจะดำเนินการอย่างไร โดยทางสมาคมฯได้มีการให้ทางบล.ต่างๆทำการสำรวจข้อมูลการลงทุนของลูกค้าของแต่ละบริษัทว่ามีจำนวนนักลงทุนเท่าไร วงเงินที่ใช้ในการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของแต่ละรายมีมูลค่าเท่าไร ทั้งในช่วงที่ภาวะตลาดหุ้นดี และในช่วงภาวะตลาดไม่ดีมี และมีการประเมินเชิงลึก เช่น ลูกค้ามีการเทรดมูลค่า 0-1 ล้านบาทต่อวันมีกี่บัญชี มูลค่าเทรด 2-3 ล้านบาทต่อวัน มีจำนวนเท่าไร 4-5 ล้านบาทต่อวัน ฯลฯ
“จากการประชุมสมาชิกสมาคมโบรกเกอร์ในช่วงที่ผ่านมาสมาชิกมีมติให้มีการปรับเปลี่ยนการเก็บค่าคอมมิชชั่นแบบขั้นบันไดที่กำหนดเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ซึ่งกำหนดไว้ว่า 3 ปีแรก ให้คิดค่าคอมมิชชั่นที่ 0.25% และอีก 2 ปีหลัง จะคิดแบบขั้นบันได และปีที่6 จะเปิดเสรีค่าคอมมมิชั่น ซึ่งสาเหตุหลักที่จะมีการเปลี่ยน คือ จำนวนผู้เปิดบัญชีมากขึ้น วิธีการเล่นหุ้น และวงเงินเทรดหุ้นมีการเปลี่ยนไป ”นายจงรัก กล่าว
โดยสาเหตุที่บรรดาบล.ทำการสำรวจข้อมูลดังกล่าว เพื่อจัดส่งข้อมูลที่ได้มาให้ทางสมาคมฯรวบรวมเป็นข้อมูลของอุตสาหกรรม และประเมินออกมาว่าค่าคอมมิชชั่นขั้นบันไดที่จะมีการปรับเปลี่ยนนั้นจะเหมาะสม และเป็นที่ยอมรับของบล.ทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ หรือไม่ โดยคาดว่าภายในสิ้นเดือนนี้ทางบล.จะส่งข้อมูลมายังสมาคมฯเพื่อทำการรวบรวมไปเสนอให้คณะกรรมการบริหารสมาคมมีการพิจารณา และจะมีการเรียกประชุมสมาชิกอีกครั้งหนึ่งเพื่อหารือ
อย่างไรก็ตาม ทางสมาคมฯจะมีการนำผลการหารือกับทางบล.สมาชิก ไปหารือกับทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพราะ ตลท.เป็นผู้ดูแลในเรื่องของเกณฑ์ข้อบังคับ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากก.ล.ต.เช่นกัน
นายจงรัก กล่าวว่า ค่าคอมมิชชั่นแบบขั้นบันไดใหม่นั้น อาจจะมีช่วงการคิดที่ถี่และแคบมากขึ้น และอาจจะมีจำนวนขั้นที่มากขึ้น จากข้อกำหนดที่มีไว้ว่า วอลุ่มเทรดต้องแต่ 0-1 ล้านบาท คิดค่าคอมมิชชั่น ที่0.25% วอลุ่มเทรด 1-10 ล้านบาท คิดค่าคอมมิชชั่นที่ 0.22% วอลุ่มเทรด 10-20 ล้านบาทคิดค่าคอมมิชชั่นที่0.18% และหากมากกว่า 20 ล้านบาทขึ้นไป ต่อรองได้เสรี
ด้านนางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯพึ่งได้รับจดหมายจากทางสมาคมเพื่อขอให้มีการพิจารณาในเรื่องค่าคอมมิชชั่นขั้นบันไดที่จะมีการบังคับใช้ในปีหน้า ซึ่งส่วนตัวยังไม่ได้อ่านรายละเอียดจึงขอดูรายละเอียดก่อนว่าทางสมาคมหลักทรัพย์ฯมีการร้องขออะไรบ้าง หรืออาจจะมีการปรับบ้างจากกรอบเดิมที่กำหนดไว้ แต่ขอดูในเรื่องเหตุผล ความจำเป็น และทิศทางการดำเนินงานในอนาคต และความสามารถในการแข่งขันของโบรกเกอร์ในอนาคตที่จะมีการแข่งขันกับต่างประเทศ รวมถึงผลดีต่อนักลงทุนประกอบด้วย
“ตลาดหลักทรัพย์ฯเพิ่งได้หนังสือจากทางสมาคมบล.ซึ่งขอดูรายละเอียดก่อนว่าทางสมาคมบล.ขออะไรมาบ้าง จากกรอบเดิมที่มีการกำหนดไว้แล้ว ซึ่งอาจจะมีการปรับเปลี่ยนบ้าง แต่ต้องดูว่าเหตุผลในการขอ ความจำเป็น ทิศทางในอนาคตจะเป็นอย่างไร และทำให้บล.ทำงานเชิงรุกสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้หรือไม่ รวมถึง จะเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนด้วยหรือไม่”นางภัทรียา กล่าว