xs
xsm
sm
md
lg

กกต.เขย่าขวัญส.ส.-ส.ว.ที่ปรึกษากชี้ถือหุ้นบ.สัมปทานขัดรธน.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายสมชาติ เจศรีชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แถลง หลังการประชุม กกต.ว่า ที่ประชุมได้รับทราบความเห็นของที่ปรึกษากฎหมายกกต.ที่มี นายสุพล นิติธาดา เป็นประธานกรณีนายศุภชัย ใจสมุทร ซึ่งปัจจุบันเป็น โฆษกพรรคภูมิใจไทย ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลร้องขอให้ กกต.ตรวจสอบกรณีส.ว. กระทำการเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 48 ประกอบมาตรา 265 (2) โดยเป็นเจ้าของ หรือถือหุ้นในกิจการวิทยุโทรทัศน์ หรือห้างหุ้นส่วน หรือ บริษัทที่ได้รับสัมปทาน หรือเข้าไปเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว ไม่ว่าโดยทางตรง หรือทางอ้อม ถือเป็นเหตุให้สมาชิกภาพสิ้นสุดลงตามมาตรา 119(5)
โดยคณะที่ปรึกษากฎหมายเห็นว่ารัฐธรรมนูญมาตรา 265 วรรค 2 มีเจตนารมณ์บังคับให้ ส.ส.และ ส.ว.ต้องไม่รับหรือคงถือไว้ ซึ่งสัมปทานหรือสัญญา หรือหุ้นส่วน หรือหุ้นในห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทที่รับสัมปทาน หรือเข้าเป็นคู่สัญญาไม่ว่าโดยตรงหรือทางอ้อม หากปรากฎข้อเท็จจริง ว่า ส.ส.หรือส.ว.ผู้ใดได้รับสัมปทานหรือเป็นหุ้นส่วนหรือหุ้นในห้างหุ้นส่วน มาก่อนเข้าดำรงตำแหน่ง ย่อมเป็นหน้าที่ที่ต้องปลดเปลื้องตัวเอง
การกระทำดังกล่าวถือเป็นกรณีที่ทำให้สมาชิกภาพ ส.ส. และ ส.ว.สิ้นสุดลงได้ แม้ไม่ต้องพิสูจน์ว่าถือหุ้นนั้นมาก่อนการดำรงตำแหน่งหรือไม่ แต่ถ้าได้ประโยชน์จากการถือหุ้นนั้นก็ถือว่าผิดกฎหมายแล้ว
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้อนุกรรมการสอบสวนกรณีคำร้องของนายศุภชัย เคยชี้แจงต่อกกต.ถึงความเห็นของอนุฯโดยในประเด็นข้อเท็จจริงชัดเจนว่าส.ว. ที่เป็นผู้ถูกร้องถือครองหุ้นจริง แต่มีปัญหาในประเด็นข้อกฎหมายที่อนุกรรมการฯ มีความเห็นเป็น 2 ฝ่าย ซึ่งเสียงข้างมากเห็นว่า การถือครองหุ้นดังกล่าวไม่เป็นเหตุให้ สมาชิกภาพความเป็นส.ว.สิ้นสุดลง แต่เสียงข้างน้อย มองว่าเป็นเหตุให้สมาชิกสภาพ สิ้นสุดลง กกต.จึงส่งเรื่องให้ที่ปรึกษากฎหมายพิจารณาและมีความเห็นออกมา เหมือนเสียงข้างน้อย โดยขั้นตอนจากนี้อนุกรรมการสอบสวนก็จะนำความเห็นของ คณะที่ปรึกษากฎหมายไปพิจารณา และสรุปผลการสอบสวนและเสนอความเห็นต่อที่ ประชุมกกต.เพื่อให้มีมติต่อไป
ทั้งนี้นายศุภชัย ได้ยื่นคำร้องนี้ต่อกกต.ขณะเป็นรองโฆษกพรรคพลังประชาชน เมื่อวันที่14 ก.ค.2551โดยขอให้กกต.ตรวจสอบทั้ง ส.ส.และส.ว. แต่เมื่อนายศุภชัย มาเป็นส.ส.ในสังกัดพรรคภูมิใจไทยและได้ร่วมรัฐบาล ก็ได้มาขอถอนเรื่องในส่วนที่ร้อง ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ออก แต่ กกต.เห็นว่านายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา และนายสมคิด หอมเนตร นักวิชาการอิสระ ได้ร้องในเรื่องเดียวกันนี้ จึงมีมติไม่ให้มีการ ถอนเรื่องออก ซึ่งหากที่สุด กกต.มีมติว่าการถือครองหุ้นในกิจการที่เข้าข่ายเป็นคู่สัญญาหรือสัมปทานกับรัฐขัดรัฐธรรมนูญเป็นเหตุให้สมาชิกสภาพความเป็นส.ว. สิ้นสุดลง ก็จะเป็นบรรทัดฐานที่สามารถใช้กับ ส.ส.ได้เช่นกัน โดยกกต.จะต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 ส่งเรื่องไปยังประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกเพื่อให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นสิ้นสุดลงหรือไม่
สำหรับรายชื่อส.ส.ที่นายศุภชัยยื่นให้ตรวจสอบรวม 28 คนประกอบด้วย 1.นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรค และส.ส.สุราษฎร์ธานี 2.นายอนุชา บุรพชัยศร 3. นายสมเกียรติ ฉันทวานิช 4.นายสกลธี ภัทิยกุล 5.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช 6.นายชนินทร์ รุ่งแสง 7. น.ส.รัชดา ธนาดิเรก 8.นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ทั้งหมดเป็น ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์
9.นายสราวุธ อ่อนละมัย ส.ส.ชุมพร10.นายเธียรชัย สุวรรณเพ็ญ ส.ส.ตาก 11.นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ส.ส.นครนายก 12.น.ส.นริศา อดิเทพวรพันธุ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช13.นายสัมพันธ์ ทองสมัคร ส.ส.นครศรีธรรมราช 14.นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช 15.นายสงกรานต์ จิตสุทธิภากร ส.ส.นครสวรรค์ 16.นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน ส.ส.ประจวบคีรีขันธ์ 17.นางกันตวรรณ ตันเถียร กุลจรรยาวิวัฒน์ ส.ส.พังงา
18.นายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก 19.นายวิชัย ล้ำสุทธิ ส.ส.ระยอง 20.นายเจือ ราชสีห์ ส.ส.สงขลา 21.นายวินัย เสนเนียม ส.ส.สงขลา 22.นายลาภศักดิ์ ลาภาโรจน์กิจ ส.ส.สงขลา 23.นางนิภา พริ้งศุลกะ ส.ส.สุราษฎร์ธานี ทั้งหมดเป็น ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์
24.พล.อ.พิชาญเมธ ม่วงมณี ส 25.นายประกอบ จิรกิต 27.นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี และ28.น.ส.เฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์ ทั้งหมดเป็น ส.ส.สัดส่วนพรรคประชาธิปัตย์
สำหรับ ส.ว.ทั้งสรรหา และเลือกตั้งมีทั้งหมด 32 คน ประกอบด้วย 1.รศ.กอบกุล พันธ์เจริญวรกุล 2.นางตรึงใจ บูรณสมภพ 3.นายธนู กุลชล 4.นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย 5.นายวิรัติ พาณิชพงษ์ 6.นายฐิระวัตร กุละวณิชย์ 7.นายพิเชต สุนทรพิพิธ 8.พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช 9.นายถาวร ลีนุตพงษ์ 10. นายพิชัย อุตมาภินันท์
11.นายวรินทร์ เทียมจรัส 12.นายบุญชัย โชควัฒนา 13.นางอุไร คุณานันทกุล 15.พล.ต.ต.เกริก กัลยาณมิตร 16.นางพรพันธุ์ บุณยรัตนพันธุ์ 17.นายสมชาย แสวงการ 18.นางทิพย์วัลย์ สมุทรักษ์ 19.นายวรวุฒิ โรจนพานิช ทั้งหมดเป็น ส.ส.สรรหา
20 นายสุรพงษ์ ตันธนศรีกุล ส.ว.กาญจนบุรี 21.นายมงคล ศรีคำแหง ส.ว.จันทบุรี 22.นายชูชัย เลิศพงศ์อดิศร ส.ว.เชียงใหม่ 23.นายสิทธิศักดิ์ ยนตร์ตระกูล ส.ว.กาฬสินธุ์ 24.นายสุพจน์ เลียดประถม ส.ว.ตราด 25.พล.ท.พงศ์เอก อภิรักษ์โยธิน ส.ว.พะเยา 26.นางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ ส.ว.พิษณุโลก 27. นายประวัติ ทองสมบูรณ์ ส.ว.มหาสารคาม 28.นายจรัล จึงยิ่งรุ่งเรือง ส.ว.สระบุรี 29.พล.ต.ท.มาโนช ไกรวงศ์ ส.ว.สุราษฎร์ธานี 30.พล.ต.อ.โกวิท ภักดีภูมิ ส.ว.อ่างทอง 31.นางนฤมล ศิริวัฒน์ ส.ว.อุตรดิตถ์ และ32.นางพรทิพย์ จันทร์รัตนปรีดา ส.ว.ชัยภูมิ
ส่วนส.ส.ที่นายเรืองไกรยื่นนั้นรวม 57 คนแต่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและลาออก ทำให้เหลือที่ยังดำรงตำแหน่งอยู่ 39 คน ประกอบด้วย 1นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ พรรคกิจสังคม 2.นางมะลิวัลย์ ธัญญสกุลกิจ 3.นายวัลลภ ไทยเหนือ 4.พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก 5.นายอนุวัฒน์ วิเศษจินดาวัฒน์ 6.ม.ร.ว.กิติวัฒนา(ไชยันต์)ปกมนตรี 7.นายประนอม โพธิ์คำ 8.นายอนุวัฒน์ วิเศษจินดาวัฒน์ ทั้งหมดสังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน
9.นายสุนัย จุลพงศธร 10.นายสมพล เกยุราพันธุ์ 11.พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย 12.นายปวีณ แซ่จึง 13.นายอิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์ 14.นางปานหทัย เสรีรักษ์ 15.นายเอี่ยม ทองใจสด 16.นายไพโรจน์ ตันบรรจง 17.นายนิทัศน์ ศรีนนท์ 18.นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ 19.น.ส.ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ 20.นายอิทธิเดช แก้วหลวง 21.นายรังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ 22.ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช 23.นางดวงแข อรรณนพพร 24.นายภูมิ สาระผล 25.พล.อ.สมชาย วิษณุวงศ์ 26.นายวิชาญ มีนชัยนันท์ 27.น.ส.กฤษณา สีหลักษณ์ 28.นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ สังกัดพรรคเพื่อไทย
29 นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รมช.คมนาคม 30.นายอัศวิน วิภาศิริ 31.พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา
32.นายเสนาะ เทียนทอง 33.นางอุไรวรรณ เทียนทอง 34.น.ส.ตรีนุช เทียนทอง 35.นายสมชัย เจริญชัยฤทธิ์ สังกัดพรรคประชาราช
36.นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย 36.นายมานิต นพอมรบดี รมช.สาธารณสุข 37.นายชัย ชิดชอบ สังกัดพรรคภูมิใจไทย
38.นายสมชัย ฉัตรพัฒนศิริ 39.นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล สังกัด พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา
กำลังโหลดความคิดเห็น