เอเจนซี - บริษัทผลิตอาวุธต่างเบนเข็มมาแข่งขันทำโครงการขนาดเล็กให้รัฐบาลสหรัฐฯ แทนการทำ"เมกะโปรเจกต์"หลังเจอพิษเศรษฐกิจเล่นงานจนทำให้อาวุธระดับพันล้านขายไม่ออก ขณะที่รัฐบาลสหรัฐฯ เตรียมหั่นงบป้องกันประเทศปี2010ลงอีก3.5เปอร์เซ็นต์
วอลเตอร์ เจมส์ แม็คเนอร์นีย์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหารของโบอิ้ง ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ที่สุดของโลกและเป็นบริษัทที่รับสัมปทานผลิตชิ้นส่วนยานอวกาศ รวมทั้งเทคโนโลยีป้องกันประเทศอันดับ2ของโลกให้สัมภาษณ์ที่สำนักงานใหญ่ในชิคาโก มลรัฐอิลลินอยส์ โดยยอมรับว่าบริษัทผลิตอาวุธและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันประเทศหลายแห่งรวมทั้งโบอิ้ง ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯอย่างรุนแรง หลังจากรัฐบาลสหรัฐฯหันไปทุ่มงบแก้ปัญหาเศรษฐกิจมากขึ้นและลดความสำคัญของการเสริมเขี้ยวเล็บให้กองทัพลง
แม็คเนอร์นีย์ระบุว่าคงเป็นไปได้ยากที่โบอิ้งจะทำรายได้ถึง60.91พันล้านดอลลาร์ เหมือนปีที่แล้ว เนื่องจากโครงการอาวุธระดับ "เมกะโปรเจกต์" ที่ต้องใช้งบประมาณเกิน1,000ล้านดอลลาร์ขึ้นไปถูกประธานาธิบดีบารัค โอบามาสั่งชะลอไว้ทั้งหมด ทำให้โบอิ้งและบริษัทผลิตอาวุธทั้งหลายต้องดิ้นรนเอาตัวรอดด้วยการแย่งกันทำโครงการทางทหารที่ใช้งบต่ำระดับ 100-1,000ล้านดอลลาร์แทนเพื่อประคองตัวให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
พอล ไวส์บริช ผู้บริหารอาวุโสแห่งแม็คแกลเดรย์ แคปิตอล ในคอสตา เมซาที่แคลิฟอร์เนีย
ระบุว่า ประธานาธิบดีโอบามายืนยันจะไม่เพิ่มการลงทุนด้านเครื่องบินรบ รถถังหุ้มเกราะ รวมทั้งเทคโนโลยีไฮเทคในการทำสงครามในช่วงนี้ และมีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีเพื่อต่อต้านภัยคุกคามในโลกไซเบอร์และเทคโนโลยีด้านข่าวกรองแทน
ไวส์บริชยังชี้ว่าวิกฤตเศรษฐกิจทำให้ผู้ผลิตอาวุธรายเล็กจำนวนมากต้องปิดกิจการหรือไม่ก็ต้องยอมถูกเทคโอเวอร์โดยบริษัทยักษ์ใหญ่ เช่น กรณีบริษัท "อินซิทู" ผู้ผลิตเครื่องร่อนทางทหารที่ไม่ต้องใช้คนบังคับ ถูกโบอิ้งซื้อกิจการด้วยวงเงิน 400 ล้านดอลลาร์ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว
เดวิด แบ็คซ์ท ประธานสายการลงทุนด้านยานอวกาศและการป้องกันประเทศ ของเจฟเฟอรีส์ แอนด์ โค ซึ่งเป็นกิจการวาณิชธนกิจในนิวยอร์กระบุว่า งบของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯในปีงบประมาณ 2010ที่จะเริ่มต้นในวันที่1ตุลาคมนี้ จะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 4เท่านั้นโดยลดลงจากที่เพิ่มร้อยละ7.5ในปีงบประมาณปัจจุบันถึง3.5เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้น แบ็คซ์ท ยังระบุว่า รัฐบาลสหรัฐฯคงไม่ลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์ด้านการป้องกันประเทศอื่นๆอีกในช่วง2-3ปีนี้ และเป็นไปได้ที่โครงการผลิตเครื่องบินขับไล่เอฟ-22ที่บริษัทล็อคฮีด มาร์ตินเป็นผู้ชนะได้สัญญาไป และมีมูลค่าสูงถึง 65,000 ดอลลาร์อาจเป็นโครงการเมกะโปรเจกต์สุดท้ายของรัฐบาลสหรัฐฯในทศวรรษนี้
ด้านพอล นิสเบ็ต นักวิเคราะห์จากสถาบันวิจัยเจเอสเอในซาราโซตา มลรัฐฟลอริดาออกมาระบุว่า ถึงแม้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันประเทศ โดยเฉพาะการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ จะยังไม่มีแนวโน้มฟื้นตัวจนถึงปี 2011 เป็นอย่างน้อย แต่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอวกาศยังคงมีทิศทางที่สดใสและน่าจะช่วยให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องขยายตัวได้พอสมควร
ขณะที่ไบรอัน รัตเทนเบอร์ นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงจากมลรัฐเทนเนสซีระบุว่า แม้การลงทุนของรัฐบาลโอบามาด้านอาวุธจะลดลง แต่ก็มีสัญญาณจากหน่วยงานความมั่นคงของสหรัฐฯ ที่ต้องการเทคโนโลยีตัวใหม่ๆในการรักษาความปลอดภัยให้กับระบบสารสนเทศด้านข่าวกรองมากขึ้น ซึ่งถือเป็น "แสงแห่งความหวัง"ของบริษัทผลิตอาวุธและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันประเทศทั้งหลาย
วอลเตอร์ เจมส์ แม็คเนอร์นีย์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหารของโบอิ้ง ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ที่สุดของโลกและเป็นบริษัทที่รับสัมปทานผลิตชิ้นส่วนยานอวกาศ รวมทั้งเทคโนโลยีป้องกันประเทศอันดับ2ของโลกให้สัมภาษณ์ที่สำนักงานใหญ่ในชิคาโก มลรัฐอิลลินอยส์ โดยยอมรับว่าบริษัทผลิตอาวุธและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันประเทศหลายแห่งรวมทั้งโบอิ้ง ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯอย่างรุนแรง หลังจากรัฐบาลสหรัฐฯหันไปทุ่มงบแก้ปัญหาเศรษฐกิจมากขึ้นและลดความสำคัญของการเสริมเขี้ยวเล็บให้กองทัพลง
แม็คเนอร์นีย์ระบุว่าคงเป็นไปได้ยากที่โบอิ้งจะทำรายได้ถึง60.91พันล้านดอลลาร์ เหมือนปีที่แล้ว เนื่องจากโครงการอาวุธระดับ "เมกะโปรเจกต์" ที่ต้องใช้งบประมาณเกิน1,000ล้านดอลลาร์ขึ้นไปถูกประธานาธิบดีบารัค โอบามาสั่งชะลอไว้ทั้งหมด ทำให้โบอิ้งและบริษัทผลิตอาวุธทั้งหลายต้องดิ้นรนเอาตัวรอดด้วยการแย่งกันทำโครงการทางทหารที่ใช้งบต่ำระดับ 100-1,000ล้านดอลลาร์แทนเพื่อประคองตัวให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
พอล ไวส์บริช ผู้บริหารอาวุโสแห่งแม็คแกลเดรย์ แคปิตอล ในคอสตา เมซาที่แคลิฟอร์เนีย
ระบุว่า ประธานาธิบดีโอบามายืนยันจะไม่เพิ่มการลงทุนด้านเครื่องบินรบ รถถังหุ้มเกราะ รวมทั้งเทคโนโลยีไฮเทคในการทำสงครามในช่วงนี้ และมีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีเพื่อต่อต้านภัยคุกคามในโลกไซเบอร์และเทคโนโลยีด้านข่าวกรองแทน
ไวส์บริชยังชี้ว่าวิกฤตเศรษฐกิจทำให้ผู้ผลิตอาวุธรายเล็กจำนวนมากต้องปิดกิจการหรือไม่ก็ต้องยอมถูกเทคโอเวอร์โดยบริษัทยักษ์ใหญ่ เช่น กรณีบริษัท "อินซิทู" ผู้ผลิตเครื่องร่อนทางทหารที่ไม่ต้องใช้คนบังคับ ถูกโบอิ้งซื้อกิจการด้วยวงเงิน 400 ล้านดอลลาร์ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว
เดวิด แบ็คซ์ท ประธานสายการลงทุนด้านยานอวกาศและการป้องกันประเทศ ของเจฟเฟอรีส์ แอนด์ โค ซึ่งเป็นกิจการวาณิชธนกิจในนิวยอร์กระบุว่า งบของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯในปีงบประมาณ 2010ที่จะเริ่มต้นในวันที่1ตุลาคมนี้ จะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 4เท่านั้นโดยลดลงจากที่เพิ่มร้อยละ7.5ในปีงบประมาณปัจจุบันถึง3.5เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้น แบ็คซ์ท ยังระบุว่า รัฐบาลสหรัฐฯคงไม่ลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์ด้านการป้องกันประเทศอื่นๆอีกในช่วง2-3ปีนี้ และเป็นไปได้ที่โครงการผลิตเครื่องบินขับไล่เอฟ-22ที่บริษัทล็อคฮีด มาร์ตินเป็นผู้ชนะได้สัญญาไป และมีมูลค่าสูงถึง 65,000 ดอลลาร์อาจเป็นโครงการเมกะโปรเจกต์สุดท้ายของรัฐบาลสหรัฐฯในทศวรรษนี้
ด้านพอล นิสเบ็ต นักวิเคราะห์จากสถาบันวิจัยเจเอสเอในซาราโซตา มลรัฐฟลอริดาออกมาระบุว่า ถึงแม้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันประเทศ โดยเฉพาะการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ จะยังไม่มีแนวโน้มฟื้นตัวจนถึงปี 2011 เป็นอย่างน้อย แต่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอวกาศยังคงมีทิศทางที่สดใสและน่าจะช่วยให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องขยายตัวได้พอสมควร
ขณะที่ไบรอัน รัตเทนเบอร์ นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงจากมลรัฐเทนเนสซีระบุว่า แม้การลงทุนของรัฐบาลโอบามาด้านอาวุธจะลดลง แต่ก็มีสัญญาณจากหน่วยงานความมั่นคงของสหรัฐฯ ที่ต้องการเทคโนโลยีตัวใหม่ๆในการรักษาความปลอดภัยให้กับระบบสารสนเทศด้านข่าวกรองมากขึ้น ซึ่งถือเป็น "แสงแห่งความหวัง"ของบริษัทผลิตอาวุธและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันประเทศทั้งหลาย