ASTV ผู้จัดการรายวัน – ดัชนีหุ้นไทยกลับมายืนแดนบวก เพิ่มขึ้น 7.70 จุด จากแรงซื้อกลุ่มพลังงาน แบงก์ และ สื่อสาร ที่เริ่มมีการเก็งกำไรรับข่าว 3G ดัน DTAC และ ADVANC ติด10 หลักทรัพย์มูลค่าซื้อขายสูงสุด ด้านต่างชาติขายสุทธิแล้ว 383 ล้าน ขณะที่โบรกเกอร์แนะจับตาทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศ ราคาน้ำ มันโลก แนะทยอยเก็บหุ้นกลุ่มพลังงาน – แบงก์ และขายทำกำไรระยะสั้นเมื่อดีดตัวขึ้น
ความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทยวานนี้ (9มิ.ย.) พบว่ามีการฟื้นตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ภายหลังจากที่ราคาน้ำมันไนเม็กซ์ได้ปรับตัวขึ้นมายืน 69 เหรียญฯ/บาร์เรลแล้ว จึงทำให้มีแรงซื้อกลับเข้ามาที่หุ้นในกลุ่มพลังงาน และได้ Sentiment ที่ดีหลังตลาดหุ้นในแถบยุโรปเปิดบวก โดยดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 607.73 จุด เพิ่มขึ้น 7.70 จุด หรือ +1.28% มูลค่าการซื้อขาย 20,336.90 ล้านบาท ระหว่างวันปรับตัวสูงสุดที่ 608.00 จุด และต่ำสุดที่ 598.62 จุด
ส่วนหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงวานนี้ เพิ่มขึ้น 245 หลักทรัพย์ ลดลง 94 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 105 หลักทรัพย์ และเมื่อแบ่งแยกเป็นประเภทนักลงทุนพบว่า นักลงทุนทั่วไปซื้อสุทธิ 895.43 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 383.04 ล้านบาท และ 512.40 ล้านบาท ซึ่งเป็นการขายสุทธิของสถาบัน
ขณะเดียวกันนอกเหนือจากหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มธนาคารที่มีแรงซื้อเข้ามาสูงแล้ว พบว่าหุ้นในกลุ่มสื่อสารมีแรงซื้อเพิ่มเข้ามาอย่างต่อเนื่องเป็นวันที่2 โดยเฉพาะ DTAC และ ADVANC ซึ่งเมื่อปิดตลาดทั้ง 2 หลักทรัพย์ได้เข้ามาอยู่ใน 10 อันดับหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าซื้อขายสูงสุดด้วย โดยDTAC ปิดที่ 30.75 บาท เพิ่มขึ้น 0.75 บาท มูลค่าการซื้อขาย 906.21 ล้านบาท ขณะที่ ADVANC ปิดที่ 86.00 บาท เพิ่มขึ้น 1.25 บาท มูลค่าซื้อขาย 827.21 ล้านบาท
นางสาวมยุรี โชวิกรานต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEST เปิดเผยว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยวานนี้ (9มิ.ย.) เคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวน โดยมีแรงเทขายออกช่วงเช้าตามดาวโจนส์ฟิวเจอร์สที่ปรับลดลง และเริ่มฟื้นตัวในช่วงบ่ายหลังราคาน้ำ มันโลกขยับขึ้นมาแตะ 69 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาเรลล์ ขณะที่ประเด็นการเมืองในประเทศไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการปรับขึ้นลงของดัชนี เพราะไม่มีปัจจัยบวกหรือลบต่อความเชื่อมันในการซื้อขายหุ้นในตลาด
สำหรับแนวโน้มดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯวันนี้คาดเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ แต่นักลงทุนควรรอดูทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศ ราคาน้ำมันโลก ดังนั้นจึงแนะนำให้ควรทยอยเก็บหุ้นกลุ่มพลังงาน เช่น PTT, PTTEP และกลุ่มธนาคารพาณิชย์ อาทิ BAY เมื่อดัชนีอ่อนตัวเข้าใกล้แนวรับ โดยประเมินแนวรับอยู่ที่ 600 จุด และแนวต้านอยู่ที่ 615 จุด
ด้านนายอดิศักดิ์ ผู้พิพัฒน์หิรัญกุล ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า วานนี้บรรยากาศซื้อขายหุ้นไทยมีแรงยังสามารถยืนแดนบวกได้ หลังมีแรงซื้อกลับเข้ามาตามการฟื้นตัวของตลาดต่างประเทศ
ส่วนกรณีที่ราคาหุ้น ADVAVC ปรับเพิ่มติดต่อหลายวันเป็นผลจากการย้ายเม็ดเงินนักลงทุนจากการลงทุนหุ้นกลุ่มหลักซึ่งราคามีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากแล้ว หันมาลงทุนเป็นหุ้นดังกล่าวเพิ่มขึ้น เพราะราคาไม่ค่อยเคลื่อนไหวสะท้อนปัจจัยพื้นฐานที่ดี ขณะที่ปัญหาทางการเมืองในประเทศนั้นไม่ได้มีผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนมากนัก
“ตลาดหุ้นไทยวันนี้เชื่อว่าดัชนีคงแกว่งตัวในกรอบแคบ ตามตลาดหุ้นสหรัฐและราคาน้ำมันโลก เพราะฉะนั้นช่วงนี้นักลงทุนควรซื้อขายทำกำไรระยะสั้น ส่วนถ้าต้องการลงทุนระยะยาวควรชะลอการลงทุนไปก่อนเพื่อรอดูสถานการณ์ โดยมองแนวรับที่ 600 จุด และแนวต้านที่ 620 จุด”
นายสมชาย เอนกทวีผล ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ไซรัส จำกัด (มหาชน) หรือ SYRUS กล่าวถึงบรรยากาศตลาดหุ้นไทยวานนี้ดัชนียังคงบวกต่ออีกกว่า 7 จุดซึ่งเป็นไปทางเดียวกับตลาดหุ้นต่างประเทศและราคาน้ำโลกที่ใกล้เหยียบ 70 ดอลลาร์สหรัฐ/บาเรลล์
“แนวโน้มการซื้อขายหลักทรัพย์ไทยวันนี้ ดัชนีคงจะแกว่งตัวในกรอบแคบๆ โดยนักลงทุนควรจับตาทิศทางตลาดหุ้นสหรัฐ ราคาน้ำมันโลก และปัจจัยอื่นในต่างประเทศ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนแนะเทขายทำกำ ไรระยะสั้นเมื่อดัชนีปรับเพิ่มขึ้น โดยให้กรอบแนวรับอยู่ที่ 593-595 จุด และแนวต้านอยู่ที่ 610-620 จุด”
**หุ้นสื่อสารดีดรับข่าว3G
นักวิเคราะห์ บล.ทรีนิตี้ จำกัด ให้ความเห็นถึงการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น ADVANC และ DTAC ว่า ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการโยกย้ายหลักทรัพย์ของนักลงทุนมาจากหุ้นในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ เพื่อเข้าหุ้นในกลุ่มที่มีความปลอดภัย รวมถึงมีผลตอบแทนจากเงินปันผลในระดับสูง และสามารถคาดหวังได้แทนหุ้นในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ที่สร้างผลตอบแทนได้เพียงการขึ้นลงของราคา ซึ่งขณะนี้เหลือช่องว่างในการปรับขึ้นไม่มากนัก
ขณะเดียวกัน จากความคืบหน้าในเรื่องระบบ3G ของภาครัฐซึ่งจะมีการเซ็นสัญญาว่าจ้างที่ปรึกษาในการออกแบบประมูล3G ในเร็วๆนี้ถือเป็นความชดเจนที่เพิ่มความสนใจให้แก่ผู้ลงทุน ซึ่งคาดว่าการประมูลครั้งสำคัญนี้จะเกิดขึ้นได้จริงภายในไตรมาส3ปีนี้ ดังนั้นในช่วงเวลาที่เหลือต่อจากนี้ เชื่อว่าจะเริ่มมีข่าวความคืบในเรื่องดังกล่าวออกมาช่วยกระตุ้นราคาหุ้นในกลุ่มสื่อสารมากขึ้น
สำหรับภาพรวมทางธุรกิจในระยะยาวของ ADVANC และDTAC นักวิเคราะห์จากบล.ทรีนิตี้ กล่าวว่า แม้ในช่วงแรกของการลงทุนระบบ3G จะมีต้นทุนที่สูงใน 2-3ปีแรก แต่หากบริษัทสามารถได้ใบอนุญาตใหม่จริง จะทำให้ต้นทุนต่างๆในการดำเนินงานลดลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องของการจ่ายส่วนแบ่งรายได้สัมปทานให้แก่ภาครัฐ ซึ่ง ADVANC อยู่ที่ 24% DTAC อยู่ที่ 27% และ TUR อยู่ที่ 23% จะถูกปรับลดลงไปเหลือเพียง 6.5% นับว่าจะเป็นการช่วยลดภาระในแง่ต้นทุนสัมปทานได้เป็นจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบในแง่ธุรกิจ ADVANC ยังมีความได้เปรียบได้คู่แข่งด้วยกันในเรื่องความแข็งแกร่งของบริษัท และประโยชน์จากโครงการข่ายที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ที่ทำให้บริษัทมีต้นทุนในการดำเนินงานต่อผู้ใช้1รายอยู่ในระดับที่ต่ำสุดในบรรดากลุ่มผู้ให้บริการด้วยกัน ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 24 บาท ขณะที่ DTAC อยู่ที่ 32 บาท และ TRUE อยู่ที่ 33 บาท ซึ่งจุดนี้จะช่วยทำให้บริษัทสามารถออกโปรโมชั่นได้ ต่ำกว่าคู่แข่ง และยังช่วยรักษาฐานลูกค้าในมือได้ง่ายขึ้น ขณะที่อัตราการจ่ายปันผลของบริษัทอยู่ที่ประมาณ 8% ซึ่งถือว่าสูงกว่า DTAC ที่มีอัตราการจ่ายปันผลประมาณ 3-4%
แต่ในส่วนของ DTAC สิ่งที่ควรพิจารณาอย่างมีนัยสำคัญคือ การจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้ภาครัฐสูงถึง 27%นี้ หากบริษัทจากสามารถได้ใบอนุญาตใหม่ ซึ่งจะทำให้เหลือต้นทุนการจ่ายส่วนแบ่งรายได้เพียง 6.5% จะช่วยให้บริษัทประหยัดต้นทุน และได้รับประโยชน์จากจุดนี้เป็นอย่างมาก จึงทำให้มีแรงซื้อเข้ามาในหุ้นพอสมควร
ส่วน TURE แม้พื้นฐานของบริษัทจะไม่มีความน่าสนใจเท่าใด แต่หากสามารถประมูล3G ได้ สิ่งที่น่าจับตาคือพาร์ทเนอร์จากต่างประเทศที่คาดว่าจะเข้ามาในลักษณะซื้อหุ้นของบริษัท เพื่อเข้ามาร่วมลงทุน จะเป็นกระแสที่ผลักดันให้ราคาหุ้นของบริษัทมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น
**ตลาดต่างประเทศผันผวนถ้วนหน้า
สำหรับตลาดหุ้นต่างประเทศวานนี้ พบว่า ดัชนีเวทเต็ดตลาดหุ้นไต้หวันปิดร่วงลงอย่างหนัก เนื่องจากนักลงทุนเทขายหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีภายหลังผิดหวังยอดขายเดือนพ.ค. ซึ่งปรับตัวลดลง 213.63 จุด หรือ 3.22% แตะ 6,414.39 จุด และเป็นระดับปิดต่ำสุดในรอบเกือบ 1 เดือน ด้านดัชนีคอมโพสิตตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดลดลง21.46 จุด หรือ 1.54% แตะที่ระดับ 1,371.84 จุด ปริมาณการซื้อขายที่ 472.78 ล้านหุ้น มูลค่า 5.78 ล้านล้านวอน (4.57 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยตลาดถูกปัจจัยลบกระหน่ำเข้ามาจากแรงเทขายของนักลงทุนสถาบันที่ส่งเข้ามาอย่างต่อเนื่องเป็นวันที่ 4
ขณะที่ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวปิดลดลง 78.81 จุด หรือ 0.80% แตะที่ 9,786.82 จุด หลังจากที่วันก่อนหน้า ดัชนีพุ่งปิดที่ระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือน ส่วนดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตตลาดหุ้นจีนปิดตลาดขยับขึ้นเล็กน้อย เพิ่มขึ้น 19.55 จุด หรือ 0.71% แตะ 2,787.89 จุด สวนทางกับดัชนีฮั่งเส็งตลาดหุ้นฮ่องกงที่ปิดปรับตัวลดลงเป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน เนื่องจากนักลงทุนต่างเทขายหุ้นที่ปรับตัวสูงขึ้นก่อนหน้านี้ โดยลบ 194.90 จุด หรือ 1.07% ปิดที่ 18,058.49 จุด มีมูลค่าการซื้อขาย 7.193 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกง
ความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทยวานนี้ (9มิ.ย.) พบว่ามีการฟื้นตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ภายหลังจากที่ราคาน้ำมันไนเม็กซ์ได้ปรับตัวขึ้นมายืน 69 เหรียญฯ/บาร์เรลแล้ว จึงทำให้มีแรงซื้อกลับเข้ามาที่หุ้นในกลุ่มพลังงาน และได้ Sentiment ที่ดีหลังตลาดหุ้นในแถบยุโรปเปิดบวก โดยดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 607.73 จุด เพิ่มขึ้น 7.70 จุด หรือ +1.28% มูลค่าการซื้อขาย 20,336.90 ล้านบาท ระหว่างวันปรับตัวสูงสุดที่ 608.00 จุด และต่ำสุดที่ 598.62 จุด
ส่วนหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงวานนี้ เพิ่มขึ้น 245 หลักทรัพย์ ลดลง 94 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 105 หลักทรัพย์ และเมื่อแบ่งแยกเป็นประเภทนักลงทุนพบว่า นักลงทุนทั่วไปซื้อสุทธิ 895.43 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 383.04 ล้านบาท และ 512.40 ล้านบาท ซึ่งเป็นการขายสุทธิของสถาบัน
ขณะเดียวกันนอกเหนือจากหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มธนาคารที่มีแรงซื้อเข้ามาสูงแล้ว พบว่าหุ้นในกลุ่มสื่อสารมีแรงซื้อเพิ่มเข้ามาอย่างต่อเนื่องเป็นวันที่2 โดยเฉพาะ DTAC และ ADVANC ซึ่งเมื่อปิดตลาดทั้ง 2 หลักทรัพย์ได้เข้ามาอยู่ใน 10 อันดับหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าซื้อขายสูงสุดด้วย โดยDTAC ปิดที่ 30.75 บาท เพิ่มขึ้น 0.75 บาท มูลค่าการซื้อขาย 906.21 ล้านบาท ขณะที่ ADVANC ปิดที่ 86.00 บาท เพิ่มขึ้น 1.25 บาท มูลค่าซื้อขาย 827.21 ล้านบาท
นางสาวมยุรี โชวิกรานต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEST เปิดเผยว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยวานนี้ (9มิ.ย.) เคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวน โดยมีแรงเทขายออกช่วงเช้าตามดาวโจนส์ฟิวเจอร์สที่ปรับลดลง และเริ่มฟื้นตัวในช่วงบ่ายหลังราคาน้ำ มันโลกขยับขึ้นมาแตะ 69 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาเรลล์ ขณะที่ประเด็นการเมืองในประเทศไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการปรับขึ้นลงของดัชนี เพราะไม่มีปัจจัยบวกหรือลบต่อความเชื่อมันในการซื้อขายหุ้นในตลาด
สำหรับแนวโน้มดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯวันนี้คาดเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ แต่นักลงทุนควรรอดูทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศ ราคาน้ำมันโลก ดังนั้นจึงแนะนำให้ควรทยอยเก็บหุ้นกลุ่มพลังงาน เช่น PTT, PTTEP และกลุ่มธนาคารพาณิชย์ อาทิ BAY เมื่อดัชนีอ่อนตัวเข้าใกล้แนวรับ โดยประเมินแนวรับอยู่ที่ 600 จุด และแนวต้านอยู่ที่ 615 จุด
ด้านนายอดิศักดิ์ ผู้พิพัฒน์หิรัญกุล ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า วานนี้บรรยากาศซื้อขายหุ้นไทยมีแรงยังสามารถยืนแดนบวกได้ หลังมีแรงซื้อกลับเข้ามาตามการฟื้นตัวของตลาดต่างประเทศ
ส่วนกรณีที่ราคาหุ้น ADVAVC ปรับเพิ่มติดต่อหลายวันเป็นผลจากการย้ายเม็ดเงินนักลงทุนจากการลงทุนหุ้นกลุ่มหลักซึ่งราคามีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากแล้ว หันมาลงทุนเป็นหุ้นดังกล่าวเพิ่มขึ้น เพราะราคาไม่ค่อยเคลื่อนไหวสะท้อนปัจจัยพื้นฐานที่ดี ขณะที่ปัญหาทางการเมืองในประเทศนั้นไม่ได้มีผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนมากนัก
“ตลาดหุ้นไทยวันนี้เชื่อว่าดัชนีคงแกว่งตัวในกรอบแคบ ตามตลาดหุ้นสหรัฐและราคาน้ำมันโลก เพราะฉะนั้นช่วงนี้นักลงทุนควรซื้อขายทำกำไรระยะสั้น ส่วนถ้าต้องการลงทุนระยะยาวควรชะลอการลงทุนไปก่อนเพื่อรอดูสถานการณ์ โดยมองแนวรับที่ 600 จุด และแนวต้านที่ 620 จุด”
นายสมชาย เอนกทวีผล ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ไซรัส จำกัด (มหาชน) หรือ SYRUS กล่าวถึงบรรยากาศตลาดหุ้นไทยวานนี้ดัชนียังคงบวกต่ออีกกว่า 7 จุดซึ่งเป็นไปทางเดียวกับตลาดหุ้นต่างประเทศและราคาน้ำโลกที่ใกล้เหยียบ 70 ดอลลาร์สหรัฐ/บาเรลล์
“แนวโน้มการซื้อขายหลักทรัพย์ไทยวันนี้ ดัชนีคงจะแกว่งตัวในกรอบแคบๆ โดยนักลงทุนควรจับตาทิศทางตลาดหุ้นสหรัฐ ราคาน้ำมันโลก และปัจจัยอื่นในต่างประเทศ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนแนะเทขายทำกำ ไรระยะสั้นเมื่อดัชนีปรับเพิ่มขึ้น โดยให้กรอบแนวรับอยู่ที่ 593-595 จุด และแนวต้านอยู่ที่ 610-620 จุด”
**หุ้นสื่อสารดีดรับข่าว3G
นักวิเคราะห์ บล.ทรีนิตี้ จำกัด ให้ความเห็นถึงการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น ADVANC และ DTAC ว่า ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการโยกย้ายหลักทรัพย์ของนักลงทุนมาจากหุ้นในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ เพื่อเข้าหุ้นในกลุ่มที่มีความปลอดภัย รวมถึงมีผลตอบแทนจากเงินปันผลในระดับสูง และสามารถคาดหวังได้แทนหุ้นในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ที่สร้างผลตอบแทนได้เพียงการขึ้นลงของราคา ซึ่งขณะนี้เหลือช่องว่างในการปรับขึ้นไม่มากนัก
ขณะเดียวกัน จากความคืบหน้าในเรื่องระบบ3G ของภาครัฐซึ่งจะมีการเซ็นสัญญาว่าจ้างที่ปรึกษาในการออกแบบประมูล3G ในเร็วๆนี้ถือเป็นความชดเจนที่เพิ่มความสนใจให้แก่ผู้ลงทุน ซึ่งคาดว่าการประมูลครั้งสำคัญนี้จะเกิดขึ้นได้จริงภายในไตรมาส3ปีนี้ ดังนั้นในช่วงเวลาที่เหลือต่อจากนี้ เชื่อว่าจะเริ่มมีข่าวความคืบในเรื่องดังกล่าวออกมาช่วยกระตุ้นราคาหุ้นในกลุ่มสื่อสารมากขึ้น
สำหรับภาพรวมทางธุรกิจในระยะยาวของ ADVANC และDTAC นักวิเคราะห์จากบล.ทรีนิตี้ กล่าวว่า แม้ในช่วงแรกของการลงทุนระบบ3G จะมีต้นทุนที่สูงใน 2-3ปีแรก แต่หากบริษัทสามารถได้ใบอนุญาตใหม่จริง จะทำให้ต้นทุนต่างๆในการดำเนินงานลดลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องของการจ่ายส่วนแบ่งรายได้สัมปทานให้แก่ภาครัฐ ซึ่ง ADVANC อยู่ที่ 24% DTAC อยู่ที่ 27% และ TUR อยู่ที่ 23% จะถูกปรับลดลงไปเหลือเพียง 6.5% นับว่าจะเป็นการช่วยลดภาระในแง่ต้นทุนสัมปทานได้เป็นจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบในแง่ธุรกิจ ADVANC ยังมีความได้เปรียบได้คู่แข่งด้วยกันในเรื่องความแข็งแกร่งของบริษัท และประโยชน์จากโครงการข่ายที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ที่ทำให้บริษัทมีต้นทุนในการดำเนินงานต่อผู้ใช้1รายอยู่ในระดับที่ต่ำสุดในบรรดากลุ่มผู้ให้บริการด้วยกัน ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 24 บาท ขณะที่ DTAC อยู่ที่ 32 บาท และ TRUE อยู่ที่ 33 บาท ซึ่งจุดนี้จะช่วยทำให้บริษัทสามารถออกโปรโมชั่นได้ ต่ำกว่าคู่แข่ง และยังช่วยรักษาฐานลูกค้าในมือได้ง่ายขึ้น ขณะที่อัตราการจ่ายปันผลของบริษัทอยู่ที่ประมาณ 8% ซึ่งถือว่าสูงกว่า DTAC ที่มีอัตราการจ่ายปันผลประมาณ 3-4%
แต่ในส่วนของ DTAC สิ่งที่ควรพิจารณาอย่างมีนัยสำคัญคือ การจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้ภาครัฐสูงถึง 27%นี้ หากบริษัทจากสามารถได้ใบอนุญาตใหม่ ซึ่งจะทำให้เหลือต้นทุนการจ่ายส่วนแบ่งรายได้เพียง 6.5% จะช่วยให้บริษัทประหยัดต้นทุน และได้รับประโยชน์จากจุดนี้เป็นอย่างมาก จึงทำให้มีแรงซื้อเข้ามาในหุ้นพอสมควร
ส่วน TURE แม้พื้นฐานของบริษัทจะไม่มีความน่าสนใจเท่าใด แต่หากสามารถประมูล3G ได้ สิ่งที่น่าจับตาคือพาร์ทเนอร์จากต่างประเทศที่คาดว่าจะเข้ามาในลักษณะซื้อหุ้นของบริษัท เพื่อเข้ามาร่วมลงทุน จะเป็นกระแสที่ผลักดันให้ราคาหุ้นของบริษัทมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น
**ตลาดต่างประเทศผันผวนถ้วนหน้า
สำหรับตลาดหุ้นต่างประเทศวานนี้ พบว่า ดัชนีเวทเต็ดตลาดหุ้นไต้หวันปิดร่วงลงอย่างหนัก เนื่องจากนักลงทุนเทขายหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีภายหลังผิดหวังยอดขายเดือนพ.ค. ซึ่งปรับตัวลดลง 213.63 จุด หรือ 3.22% แตะ 6,414.39 จุด และเป็นระดับปิดต่ำสุดในรอบเกือบ 1 เดือน ด้านดัชนีคอมโพสิตตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดลดลง21.46 จุด หรือ 1.54% แตะที่ระดับ 1,371.84 จุด ปริมาณการซื้อขายที่ 472.78 ล้านหุ้น มูลค่า 5.78 ล้านล้านวอน (4.57 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยตลาดถูกปัจจัยลบกระหน่ำเข้ามาจากแรงเทขายของนักลงทุนสถาบันที่ส่งเข้ามาอย่างต่อเนื่องเป็นวันที่ 4
ขณะที่ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวปิดลดลง 78.81 จุด หรือ 0.80% แตะที่ 9,786.82 จุด หลังจากที่วันก่อนหน้า ดัชนีพุ่งปิดที่ระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือน ส่วนดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตตลาดหุ้นจีนปิดตลาดขยับขึ้นเล็กน้อย เพิ่มขึ้น 19.55 จุด หรือ 0.71% แตะ 2,787.89 จุด สวนทางกับดัชนีฮั่งเส็งตลาดหุ้นฮ่องกงที่ปิดปรับตัวลดลงเป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน เนื่องจากนักลงทุนต่างเทขายหุ้นที่ปรับตัวสูงขึ้นก่อนหน้านี้ โดยลบ 194.90 จุด หรือ 1.07% ปิดที่ 18,058.49 จุด มีมูลค่าการซื้อขาย 7.193 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกง