ASTV ผู้จัดการรายวัน – กูรูเชื่อไตรมาส 2 กลุ่มโบรกเกอร์ฟันกำไรแน่ จากการซื้อขายทำกำไรระยะสั้นเพื่อดันงบการเงินให้ฟื้นตัว พบตั้งแต่ 1มกราคมสถาบันขายสุทธิไปแล้ว 16,643 ล้านบาท แต่เพียง 19 วันของเดือนมิถุนายนขายสุทธิถึง 8 พันล้านบาท พร้อมคาดสัปดาห์ที่เหลือแรงเทขายจากพอร์ตโบรกฯเริ่มมีน้อยลง แต่ให้ระวังต่างชาติอาจเป็นเจ้ามือเทขายแทน หลังใช้เวลาไม่ถึงเดือนซื้อสุทธิ 11,487 ล้านบาท ส่วนสัปดาห์นี้ แนะจับตาผลการประชุมเฟด และการเปิดซองประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่อง สัญญาที่ 3
นายรณกฤต สารินวงศ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ คันทรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CGS เปิดเผยว่า สำหรับพอร์ตการลงทุนในหุ้นของธุรกิจหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) หลังไตรมาส2/52 เบื้องต้นประเมินว่ามีแนวโน้มที่เติบโตขึ้นจากช่วงไตรมาส1/52 ที่มีมูลค่าพอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 2 หมื่นล้านบาทแน่ ซึ่งเป็นมูลค่าที่ได้มาจากกำไรที่เกิดจากการลงทุน อีกทั้งจากการซื้อขายของเม็ดเงินในตลาดที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นของวอลุ่มกว่า 1 ล้านล้านบาท ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา โดยจากเดิมที่มีมูลค่าอยู่ที่ 3.5 ล้านล้านบาท แต่ปัจจุบันมีมูลค่าอยู่ที่ 4.5 ล้านล้านบาท หรือมีการปรับเพิ่มขึ้นกว่า 50%
อย่างไรก็ตาม ประเมินว่าในสัปดาห์นี้ พอร์ตของโบรกเกอร์เอง คงไม่เห็นการขายทำกำไรออกมามาก เพราะในช่วงนี้อาจจะไม่สามารถทำกำไรได้มากนัก จากสถานการณ์หลายๆอย่างที่เข้ามากดดัน ซึ่งการเทขายที่ผ่านมาส่วนใหญ่เป็นในส่วนของพอร์ตกองทุน จากในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาพอร์ตกองทุนมีการขายไปแล้วมูลค่าประมาณ 8 พันล้านบาท อีกทั้งการเทขายของหุ้นกองทุนส่วนใหญ่ เป็นหุ้นที่นักลงทุนให้ความสนใจ และมีการซื้อขายกันค่อนข้างมาก ส่งผลให้ดัชนีช่วงนี้เกิดการสวิงตัวมากขึ้นจากการขายทำกำไร
นักวิเคราะห์ บล.ทรีนิตี้ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า ในช่วงปลายเดือนนี้ มีโอกาสที่ตลาดหุ้นไทยจะเกิดวินโดว์เดรสซิ่ง ซึ่งทำให้พอร์ตลงทุนของโบรกเกอร์ จะมีการล็อคProfit เอาไว้ และจากสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นมาเมื่อเร็วๆนี้ มองว่าจะส่งผลต่อเนื่องให้ดัชนีหลักทรัพย์อ่อนค่าลงจากปัจจุบันอีก โดยทางเทคนิคประเมินว่าหากไม่ลงไปต่ำกว่า 540 จุด ดัชนีก็มีโอกาสรีบาวน์กลับขึ้น เพราะภาพรวมแม้จะปรับตัวลดลงมาหลายวันแล้ว แต่ดัชนีหุ้นก็ยังอยู่ในช่วงขาขึ้นมากกว่า
ทั้งนี้ สิ่งที่นักลงทุนควรจับตา อย่างใกล้ชิดนั่นคือการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ซึ่งหากผลการประชุมมีทิศทางออกมาในแง่ดีต่อสภาวะเศรษฐกิจ ก็จะส่งผลต่อตาดหุ้นให้ปรับขึ้นในแดนบวก และจะเป็นแรงผลักดันให้ช่วงปลายนี้จนถึงต้นเดือนกรกฎาคม ดัชนีปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นได้
**สถาบันเริ่มเบรก-ระวังตปท.เทขาย
ขณะที่นักวิเคราะห์รายหนึ่ง กล่าวว่า สิ่งที่น่าสังเกตในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คือราคาหุ้นที่ปรับตัวลดลงหนักนั้น ไม่ได้มีสาเหตุมาจากนักลงทุนต่างประเทศทำการเทขายหุ้นเพื่อทำกำไรมากนัก แต่เป็นเพราะนักลงทุนสถาบันทำการเทขายหุ้นเพื่อทำกำไรระยะสั้นมากกว่า ซึ่งกำไรในรอบนี้จะมีส่วนช่วยผลักดันให้ผลดำเนินงานในไตรมาส 2 ของกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์มีกำไรหรือให้ดีขึ้นกว่าไตรมาส 1 ที่มีผลดำเนินงานขาดทุน แน่นอน
อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวมองว่าเป็นเรื่องปกติที่สถาบันจะเข้าไปขายหุ้น เพื่อทำกำไร เพราะสิ่งที่ตลาดหลักทรัพย์และนักลงทุนจะกังวลมากกว่า คือกรณีราคาหุ้นมีการปรับตัวลดลงมาก และนักลงทุนต่างชาติเข้ามาช้อนซื้อจำนวน และพอราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้น นักลงทุนต่างชาติทำการเทขายออกมาแรง ซึ่งขณะนี้หากดูจากข้อมูลการของนักลงทุนต่างชาติแล้วก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดแรงเทขายออกมาหลังมียอดสุทธิสูงขึ้นแตะ 1.7 หมื่นล้านบาทแล้ว ขณะที่สถาบันไม่น่าจะมีแรงเทขายออกมามากในช่วงปลายเดือนหรือใกล้สิ้นไตรมาส 2 เพื่อ ล็อกกำไรสุทธิ และล่าสุด(19มิ.ย.)ก็ขายสุทธิเพียง 57.10 ล้านบาท
แต่ขณะนี้ต้องยอมรับว่า จากราคาหุ้นที่เริ่มปรับตัวขึ้นมาแล้วในช่วงวันศุกร์ที่ผ่านมา (19มิ.ย.) เชื่อว่าจะมีเม็ดเงินส่วนหนึ่งที่โยกออกมาจากธนาคาร ตราสารหนี้ที่ช่วงนี้ให้ผลตอบแทนในระดับต่ำ และทองคำ กลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น เพื่อรับโอกาสดีดตัวกลับมาของดัชนี
“ตอนนี้เราต้องบอกว่า ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นสูงเกินความจริงในหลายๆตัว และไม่ควรขึ้นมาได้ถึงขนาดนี้ หากเปรียบเทียบกับสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ ก็ยังไม่สัญญาณของการฟื้นตัวที่แท้จริงเท่าไร หรือไร้ข่าวดี แต่หุ้นกลับพุ่งกระฉูดอย่างน่าสงสัย ขนาดฮั่งเส็งปรับตัวลดลง แต่ตลาดหุ้นเรายังเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งเท่าที่คุยกับคนในวงการเดียวกัน บ้างก็เชื่อว่าเป็นการร่วมมือสร้างราคาของกลุ่มการเมือง เพื่อต้องการระดมทุนไว้สำหรับสถานการณ์การเมืองที่อาจปรับเปลี่ยนในอนาคตก็มีความเป็นไปได้ เช่นกัน”
**แค่19วันสถาบันขายสุทธิกว่า8พันล.
ทั้งนี้ จากการสำรวจข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งแยกตามกลุ่มนักลงทุน จะพบว่า ตั้งแต่วันที่ 1ม.ค. -18 มิ.ย. สถาบันในประเทศมีการขายสุทธิไปแล้วถึง 16,643.08 ล้านบาท และหากนับเฉพาะเพียงช่วงวันที่ 1 – 19 มิ.ย. จะพบว่ามีการขายสุทธิถึง 8,072.31 ล้านบาท หรือกว่า 50%ของยอดขายสุทธิตั้งแต่ต้นปี
ขณะที่ นักลงทุนต่างประเทศมีซื้อสุทธิไปแล้วตั้งแต่ต้นปีถึง 17,367.62 ล้านบาท และภายในช่วงวันที่ 1 -19 มิ.ย. มีการซื้อสุทธิรวม 11,487.89 ล้านบาท ด้านนักลงทุนทั่วไปตั้งแต่ต้นปีขายสุทธิ 724.54 ล้านบาท และช่วง 1 -19 มิ.ย.ขายสุทธิ 3,415.59 ล้านบาท
**ส่งท้ายสัปดาห์หุ้นดีดกลับ18จุด
ตลาดหุ้นไทย เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา(19มิ.ย.) ปิดที่ระดับ 588.98 จุด เพิ่มขึ้น 18.55 จุด หรือ +3.25% มูลค่าการซื้อขาย 16,298 ล้านบาท ภาพรวมปรับตัวขึ้นตามภูมิภาค ที่มีปัจจัยสดใสจากตีวเลขเศรษฐกิจของอเมริกาออกมาดี โดยระหว่างวันปรับตัวสูงสุด 588.98 จุด และต่ำสุดที่ 573.56 จุด
นายธนัท รังษีธนานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. กรุงศรีอยุธยา จำกัด เปิดเผยว่า สำหรับแนวโน้มของดัชนีตลาดหุ้นไทยในช่วงสัปดาห์หน้า (22-26 มิ.ย. 52) คงจะประเมินได้ยากลำบาก เพราะในวานนี้(19มิ.ย.)แม้ว่าดัชนีฯ จะปรับตัวเพิ่มขึ้นมาแรงกว่า 18 จุดแต่ไม่มีปริมาณการซื้อเข้ามารองรับ โดยมีวอลุ่มอยู่ที่ประมาณกว่าหมื่นล้านบาทเท่านั้น ซึ่งเชื่อว่าทิศทางของดัชนีฯ ขึ้นอยู่กับปัจจัยในต่างประเทศ อาทิ การประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจ และการติดตามถ้อยคำแถลงของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)ในการประชุมวันที่ 23-24 มิ.ย. นี้
ทั้งนี้มองว่าถ้อยคำแถลงของเฟด น่าจะออกมาเป็นมุมมองเชิงบวกเช่นเดียวกันกับที่ผ่านมา ส่วนเรื่องของอัตราดอกเบี้ยนั้น เชื่อว่าเฟดน่าจะคงไว้เช่นเดิม แม้ปัจจุบันจะเริ่มมีการพูดถึงความกังวลเรื่องเงินเฟ้ออยู่บ้าง จากการที่มีเงินถูกอัดฉีดไปในระบบจำนวนมาก รวมถึงต้องติดตามการเปิดซองประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงสัญญา ที่ 3 ซึ่งอาจจะมีผลในเชิงบวกต่อผู้เข้าร่วมเปิดซองประมูล แต่ทั้งนี้คงต้องขึ้นอยู่กับว่าตลาดในช่วงนั้นให้ความสำคัญไปกับข่าวสารในเชิงใด เพราะหากขณะนั้นข่าวสารต่างประเทศมีน้ำหนักมากกว่า ก็อาจจะทำให้ ข่าวการเปิดซองดูไม่น่าสนใจ
ก่อนหน้านี้ นายกวี ชูกิจเกษม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบล. กสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า แนวโน้มตลาดหุ้นไทยช่วงไตรมาส 3/52 จะยังเคลื่อนไหวในลักษณะพักฐานประกอบกับไม่มีปัจจัยอะไรที่เข้ามากระตุ้นการลงทุน จึงทำให้อาจเห็นแรงเทขายทำกำไรจากนักลงทุนสถาบันจนฉุดดัชนีร่วงลงอย่างรุนแรง ซึ่งจากการสำรวจพอร์ตการลงทุนในหลักทรัพย์ของธุรกิจโบรกเกอร์ ทั้งหมดในไตรมาส 1 พบว่ามูลค่าพอร์ตฯประมาณ 2 หมื่นล้านบาท แต่เนื่องจากมีการซื้อขายของเม็ดเงินดังกล่าวเป็นประจำส่งผลให้วอลุ่มปรับเพิ่มขึ้นเป็น 1-1.5 แสนล้านบาทในช่วงที่ดัชนีหุ้นไทยปรับเพิ่มขึ้น 40% ซึ่งหากคิดเป็นกำไรของพอร์ตแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 6-7 พันล้านบาท
นอกจากนี้ สัดส่วนของพอร์ตการลงทุนของโบรกเกอร์ในนักลงทุนสถาบันขยับเพิ่มขึ้นมาเป็น 60% และ 40% จากกองทุนต่างๆ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบระหว่างสัดส่วนทั้งสองปรากฏว่าพอร์ตโบรกเกอร์ยังมูลค่าที่น้อยกว่ามูลค่าพอร์ตกองทุนฯ แต่ถ้าวัดกันในเรื่องของวอลุ่มแล้วพอร์ตของธุรกิจหลักทรัพย์ถือว่ามีวอลุ่มที่สูงกว่าพอร์ตกองทุนฯ ค่อนข้างมาก
ขณะที่ นายสุชีล นารูลา กรรมการผู้จัดการ บล. กสิกรไทย เคยให้ความเห็นว่ามูลค่าการซื้อขายหุ้น (วอลุ่ม)ที่มีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในไตรมาส2/52นั้น เกิดจากวอลุ่มที่เกิดจากการซื้อขายพอร์ตการลงทุนของโบรกเกอร์ที่จะเข้ามากำไรระยะสั้น เพื่อทำให้งบการเงินในไตรมาสนี้มีกำไร หลังจากไตรมาส1ที่ผ่านมามีผลขาดทุน และส่วนตัวคาดว่ากำไรไตรมาส2นี้ โบรกเกอร์ที่มีพอร์ตการลงทุนจะมีกำไรจากพอร์ตลงทุน 30% แต่ก็อาจมีกำไรที่สูงกว่า 30% เมื่อเทียบกับไตรมาส1ที่ผ่านมา
นายรณกฤต สารินวงศ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ คันทรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CGS เปิดเผยว่า สำหรับพอร์ตการลงทุนในหุ้นของธุรกิจหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) หลังไตรมาส2/52 เบื้องต้นประเมินว่ามีแนวโน้มที่เติบโตขึ้นจากช่วงไตรมาส1/52 ที่มีมูลค่าพอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 2 หมื่นล้านบาทแน่ ซึ่งเป็นมูลค่าที่ได้มาจากกำไรที่เกิดจากการลงทุน อีกทั้งจากการซื้อขายของเม็ดเงินในตลาดที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นของวอลุ่มกว่า 1 ล้านล้านบาท ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา โดยจากเดิมที่มีมูลค่าอยู่ที่ 3.5 ล้านล้านบาท แต่ปัจจุบันมีมูลค่าอยู่ที่ 4.5 ล้านล้านบาท หรือมีการปรับเพิ่มขึ้นกว่า 50%
อย่างไรก็ตาม ประเมินว่าในสัปดาห์นี้ พอร์ตของโบรกเกอร์เอง คงไม่เห็นการขายทำกำไรออกมามาก เพราะในช่วงนี้อาจจะไม่สามารถทำกำไรได้มากนัก จากสถานการณ์หลายๆอย่างที่เข้ามากดดัน ซึ่งการเทขายที่ผ่านมาส่วนใหญ่เป็นในส่วนของพอร์ตกองทุน จากในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาพอร์ตกองทุนมีการขายไปแล้วมูลค่าประมาณ 8 พันล้านบาท อีกทั้งการเทขายของหุ้นกองทุนส่วนใหญ่ เป็นหุ้นที่นักลงทุนให้ความสนใจ และมีการซื้อขายกันค่อนข้างมาก ส่งผลให้ดัชนีช่วงนี้เกิดการสวิงตัวมากขึ้นจากการขายทำกำไร
นักวิเคราะห์ บล.ทรีนิตี้ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า ในช่วงปลายเดือนนี้ มีโอกาสที่ตลาดหุ้นไทยจะเกิดวินโดว์เดรสซิ่ง ซึ่งทำให้พอร์ตลงทุนของโบรกเกอร์ จะมีการล็อคProfit เอาไว้ และจากสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นมาเมื่อเร็วๆนี้ มองว่าจะส่งผลต่อเนื่องให้ดัชนีหลักทรัพย์อ่อนค่าลงจากปัจจุบันอีก โดยทางเทคนิคประเมินว่าหากไม่ลงไปต่ำกว่า 540 จุด ดัชนีก็มีโอกาสรีบาวน์กลับขึ้น เพราะภาพรวมแม้จะปรับตัวลดลงมาหลายวันแล้ว แต่ดัชนีหุ้นก็ยังอยู่ในช่วงขาขึ้นมากกว่า
ทั้งนี้ สิ่งที่นักลงทุนควรจับตา อย่างใกล้ชิดนั่นคือการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ซึ่งหากผลการประชุมมีทิศทางออกมาในแง่ดีต่อสภาวะเศรษฐกิจ ก็จะส่งผลต่อตาดหุ้นให้ปรับขึ้นในแดนบวก และจะเป็นแรงผลักดันให้ช่วงปลายนี้จนถึงต้นเดือนกรกฎาคม ดัชนีปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นได้
**สถาบันเริ่มเบรก-ระวังตปท.เทขาย
ขณะที่นักวิเคราะห์รายหนึ่ง กล่าวว่า สิ่งที่น่าสังเกตในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คือราคาหุ้นที่ปรับตัวลดลงหนักนั้น ไม่ได้มีสาเหตุมาจากนักลงทุนต่างประเทศทำการเทขายหุ้นเพื่อทำกำไรมากนัก แต่เป็นเพราะนักลงทุนสถาบันทำการเทขายหุ้นเพื่อทำกำไรระยะสั้นมากกว่า ซึ่งกำไรในรอบนี้จะมีส่วนช่วยผลักดันให้ผลดำเนินงานในไตรมาส 2 ของกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์มีกำไรหรือให้ดีขึ้นกว่าไตรมาส 1 ที่มีผลดำเนินงานขาดทุน แน่นอน
อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวมองว่าเป็นเรื่องปกติที่สถาบันจะเข้าไปขายหุ้น เพื่อทำกำไร เพราะสิ่งที่ตลาดหลักทรัพย์และนักลงทุนจะกังวลมากกว่า คือกรณีราคาหุ้นมีการปรับตัวลดลงมาก และนักลงทุนต่างชาติเข้ามาช้อนซื้อจำนวน และพอราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้น นักลงทุนต่างชาติทำการเทขายออกมาแรง ซึ่งขณะนี้หากดูจากข้อมูลการของนักลงทุนต่างชาติแล้วก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดแรงเทขายออกมาหลังมียอดสุทธิสูงขึ้นแตะ 1.7 หมื่นล้านบาทแล้ว ขณะที่สถาบันไม่น่าจะมีแรงเทขายออกมามากในช่วงปลายเดือนหรือใกล้สิ้นไตรมาส 2 เพื่อ ล็อกกำไรสุทธิ และล่าสุด(19มิ.ย.)ก็ขายสุทธิเพียง 57.10 ล้านบาท
แต่ขณะนี้ต้องยอมรับว่า จากราคาหุ้นที่เริ่มปรับตัวขึ้นมาแล้วในช่วงวันศุกร์ที่ผ่านมา (19มิ.ย.) เชื่อว่าจะมีเม็ดเงินส่วนหนึ่งที่โยกออกมาจากธนาคาร ตราสารหนี้ที่ช่วงนี้ให้ผลตอบแทนในระดับต่ำ และทองคำ กลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น เพื่อรับโอกาสดีดตัวกลับมาของดัชนี
“ตอนนี้เราต้องบอกว่า ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นสูงเกินความจริงในหลายๆตัว และไม่ควรขึ้นมาได้ถึงขนาดนี้ หากเปรียบเทียบกับสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ ก็ยังไม่สัญญาณของการฟื้นตัวที่แท้จริงเท่าไร หรือไร้ข่าวดี แต่หุ้นกลับพุ่งกระฉูดอย่างน่าสงสัย ขนาดฮั่งเส็งปรับตัวลดลง แต่ตลาดหุ้นเรายังเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งเท่าที่คุยกับคนในวงการเดียวกัน บ้างก็เชื่อว่าเป็นการร่วมมือสร้างราคาของกลุ่มการเมือง เพื่อต้องการระดมทุนไว้สำหรับสถานการณ์การเมืองที่อาจปรับเปลี่ยนในอนาคตก็มีความเป็นไปได้ เช่นกัน”
**แค่19วันสถาบันขายสุทธิกว่า8พันล.
ทั้งนี้ จากการสำรวจข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งแยกตามกลุ่มนักลงทุน จะพบว่า ตั้งแต่วันที่ 1ม.ค. -18 มิ.ย. สถาบันในประเทศมีการขายสุทธิไปแล้วถึง 16,643.08 ล้านบาท และหากนับเฉพาะเพียงช่วงวันที่ 1 – 19 มิ.ย. จะพบว่ามีการขายสุทธิถึง 8,072.31 ล้านบาท หรือกว่า 50%ของยอดขายสุทธิตั้งแต่ต้นปี
ขณะที่ นักลงทุนต่างประเทศมีซื้อสุทธิไปแล้วตั้งแต่ต้นปีถึง 17,367.62 ล้านบาท และภายในช่วงวันที่ 1 -19 มิ.ย. มีการซื้อสุทธิรวม 11,487.89 ล้านบาท ด้านนักลงทุนทั่วไปตั้งแต่ต้นปีขายสุทธิ 724.54 ล้านบาท และช่วง 1 -19 มิ.ย.ขายสุทธิ 3,415.59 ล้านบาท
**ส่งท้ายสัปดาห์หุ้นดีดกลับ18จุด
ตลาดหุ้นไทย เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา(19มิ.ย.) ปิดที่ระดับ 588.98 จุด เพิ่มขึ้น 18.55 จุด หรือ +3.25% มูลค่าการซื้อขาย 16,298 ล้านบาท ภาพรวมปรับตัวขึ้นตามภูมิภาค ที่มีปัจจัยสดใสจากตีวเลขเศรษฐกิจของอเมริกาออกมาดี โดยระหว่างวันปรับตัวสูงสุด 588.98 จุด และต่ำสุดที่ 573.56 จุด
นายธนัท รังษีธนานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. กรุงศรีอยุธยา จำกัด เปิดเผยว่า สำหรับแนวโน้มของดัชนีตลาดหุ้นไทยในช่วงสัปดาห์หน้า (22-26 มิ.ย. 52) คงจะประเมินได้ยากลำบาก เพราะในวานนี้(19มิ.ย.)แม้ว่าดัชนีฯ จะปรับตัวเพิ่มขึ้นมาแรงกว่า 18 จุดแต่ไม่มีปริมาณการซื้อเข้ามารองรับ โดยมีวอลุ่มอยู่ที่ประมาณกว่าหมื่นล้านบาทเท่านั้น ซึ่งเชื่อว่าทิศทางของดัชนีฯ ขึ้นอยู่กับปัจจัยในต่างประเทศ อาทิ การประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจ และการติดตามถ้อยคำแถลงของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)ในการประชุมวันที่ 23-24 มิ.ย. นี้
ทั้งนี้มองว่าถ้อยคำแถลงของเฟด น่าจะออกมาเป็นมุมมองเชิงบวกเช่นเดียวกันกับที่ผ่านมา ส่วนเรื่องของอัตราดอกเบี้ยนั้น เชื่อว่าเฟดน่าจะคงไว้เช่นเดิม แม้ปัจจุบันจะเริ่มมีการพูดถึงความกังวลเรื่องเงินเฟ้ออยู่บ้าง จากการที่มีเงินถูกอัดฉีดไปในระบบจำนวนมาก รวมถึงต้องติดตามการเปิดซองประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงสัญญา ที่ 3 ซึ่งอาจจะมีผลในเชิงบวกต่อผู้เข้าร่วมเปิดซองประมูล แต่ทั้งนี้คงต้องขึ้นอยู่กับว่าตลาดในช่วงนั้นให้ความสำคัญไปกับข่าวสารในเชิงใด เพราะหากขณะนั้นข่าวสารต่างประเทศมีน้ำหนักมากกว่า ก็อาจจะทำให้ ข่าวการเปิดซองดูไม่น่าสนใจ
ก่อนหน้านี้ นายกวี ชูกิจเกษม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบล. กสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า แนวโน้มตลาดหุ้นไทยช่วงไตรมาส 3/52 จะยังเคลื่อนไหวในลักษณะพักฐานประกอบกับไม่มีปัจจัยอะไรที่เข้ามากระตุ้นการลงทุน จึงทำให้อาจเห็นแรงเทขายทำกำไรจากนักลงทุนสถาบันจนฉุดดัชนีร่วงลงอย่างรุนแรง ซึ่งจากการสำรวจพอร์ตการลงทุนในหลักทรัพย์ของธุรกิจโบรกเกอร์ ทั้งหมดในไตรมาส 1 พบว่ามูลค่าพอร์ตฯประมาณ 2 หมื่นล้านบาท แต่เนื่องจากมีการซื้อขายของเม็ดเงินดังกล่าวเป็นประจำส่งผลให้วอลุ่มปรับเพิ่มขึ้นเป็น 1-1.5 แสนล้านบาทในช่วงที่ดัชนีหุ้นไทยปรับเพิ่มขึ้น 40% ซึ่งหากคิดเป็นกำไรของพอร์ตแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 6-7 พันล้านบาท
นอกจากนี้ สัดส่วนของพอร์ตการลงทุนของโบรกเกอร์ในนักลงทุนสถาบันขยับเพิ่มขึ้นมาเป็น 60% และ 40% จากกองทุนต่างๆ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบระหว่างสัดส่วนทั้งสองปรากฏว่าพอร์ตโบรกเกอร์ยังมูลค่าที่น้อยกว่ามูลค่าพอร์ตกองทุนฯ แต่ถ้าวัดกันในเรื่องของวอลุ่มแล้วพอร์ตของธุรกิจหลักทรัพย์ถือว่ามีวอลุ่มที่สูงกว่าพอร์ตกองทุนฯ ค่อนข้างมาก
ขณะที่ นายสุชีล นารูลา กรรมการผู้จัดการ บล. กสิกรไทย เคยให้ความเห็นว่ามูลค่าการซื้อขายหุ้น (วอลุ่ม)ที่มีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในไตรมาส2/52นั้น เกิดจากวอลุ่มที่เกิดจากการซื้อขายพอร์ตการลงทุนของโบรกเกอร์ที่จะเข้ามากำไรระยะสั้น เพื่อทำให้งบการเงินในไตรมาสนี้มีกำไร หลังจากไตรมาส1ที่ผ่านมามีผลขาดทุน และส่วนตัวคาดว่ากำไรไตรมาส2นี้ โบรกเกอร์ที่มีพอร์ตการลงทุนจะมีกำไรจากพอร์ตลงทุน 30% แต่ก็อาจมีกำไรที่สูงกว่า 30% เมื่อเทียบกับไตรมาส1ที่ผ่านมา