เอเอฟพี - บรรดาผู้บริหารกิจการด้านพลังงานทั่วโลก ซึ่งหารือกันที่มาเลเซียเมื่อวานนี้ (8) ต่างเรียกร้องให้มีการลงทุนเพิ่มในแหล่งพลังงานทั้งที่เป็นแหล่งดั้งเดิมและแหล่งทางเลือก เพื่อให้สามารถตอบสนองกับความต้องการในอนาคตได้ แม้ว่าในช่วงนี้เศรษฐกิจจะถดถอยอยู่ก็ตาม
"ความต้องการพลังงานของโลกนั้นมีมหาศาลนัก เราต้องการทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นพลังงานทางเลือก หรือดั้งเดิม หรือที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้และอื่น ๆ" เจเริน ฟาน เดียร์ เวียร์ ซีอีโอของรอยัล ดัทช์ เชลล์กล่าวในระหว่างการสัมมนาน้ำมันและก๊าซแห่งเอเชียประจำปี ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
"จากการคำนวณที่เราทำกันในเชลล์ เราพบว่าปัจจัยพื้นฐานต่างๆ กำลังก่อตัวซึ่งจะทำให้เกิดราคาพุ่งทะยานแรงในรอบต่อไป" เขากล่าว พร้อมกับเสริมว่า เป้าหมายที่พึงประสงค์นั้น คือการตอบสนองความต้องการใช้พลังงานของโลก และขณะเดียวกันก็ต้องลดระดับการปล่อยคาร์บอนด้วย
ทางด้าน โนบุโอะ ทานากะ กรรมการอำนายการของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ(ไออีเอ) กล่าวว่า การลดลงของความต้องการใช้น้ำมันในปี 2008 และ 2009 นั้น เป็นการหดตัวติดกันสองปีครั้งแรก นับตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา
เขาระบุว่าวิกฤตการเงินและเศรษฐกิจ ได้ทำให้การลงทุนในการผลิตพลังงานใหม่ ๆลดลงไปมาก ทั้งจากผู้ผลิตไปจนถึงการใช้ในผู้บริโภค ทั้งในพลังงานแบบเดิมและพลังงานทางเลือก
"การขาดแคลนเงินลงทุนนั้น จะทำให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงในด้านเสถียรภาพ และต่อภาวะโลกร้อนด้วย" เขากล่าว
ทานากะยังชี้ด้วยว่า ควรที่จะมองการชะลอตัวในเวลานี้ว่าเป็นโอกาสในการลงทุนใน "พลังงานสะอาด" เขายังแสดงการยกย่องชมเชยแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลต่างๆ ในช่วงนี้ที่บรรจุโครงการด้านการพัฒนาพลังงานทางเลือกเข้าไว้ด้วย
ในขณะเดียวกัน ฮัสซัน มาริกัน ประธานและซีอีโอรัฐวิสาหกิจเปโตรนาสแห่งมาเลเซีย กล่าวว่ามีสัญญาณหลายอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการก่อตัวขึ้นของความวูบวาบไร้เสถียรภาพในตลาดอีกครั้ง หลังจากที่ราคาน้ำมันดิบลดฮวบอย่างแรงจากที่เคยพุ่งพรวดพราดเมื่อกลางปี 2008 จนแตะระดับ 147 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล
เขาบอกว่า เพื่อทำให้ความวูบวาบในตลาดที่ผูกติดอยู่กับวงจรทางอุตสาหกรรมดังกล่าวนี้ มีความเบาบางลง จำเป็นจะต้องมีการพัฒนาบ่อน้ำมันและก๊าซธรรมชาติใหม่ ๆ
เขาบอกว่า "เพื่อที่จะบรรเทาความผันผวนที่เกิดขึ้นในวงจรของอุตสาหกรรมนี้ วิธีการที่ดีที่สุดก็คือการเดินหน้าพัฒนาบ่อน้ำมันและก๊าซต่อไปโดยไม่หยุดยั้งแม้ว่าสถานการณ์ในตลาดจะไม่อำนวยก็ตาม"
"ตอนนี้มีสัญญาณหลายอย่างที่บ่งบอกว่าตลาดกำลังเริ่มจะปรับตัว และราคาน้ำมันก็เพิ่มขึ้นเรื่อยในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา" ฮัสซันกล่าวแต่ก็บอกด้วยว่า ยังไม่ชัดเจนว่าการพุ่งขึ้นนี้มาจากเศรษฐกิจที่ดีขึ้นหรือเป็นการเก็งกำไร
ทั้งนี้ราคาน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของนิวยอร์ก เพื่อการส่งมอบเดือนกรกฎาคม ได้ทะลุระดับ 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่ตอนนี้อยู่ที่ราว 67-68 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเพราะนักลงทุนเทขายเพื่อทำกำไร
"ความต้องการพลังงานของโลกนั้นมีมหาศาลนัก เราต้องการทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นพลังงานทางเลือก หรือดั้งเดิม หรือที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้และอื่น ๆ" เจเริน ฟาน เดียร์ เวียร์ ซีอีโอของรอยัล ดัทช์ เชลล์กล่าวในระหว่างการสัมมนาน้ำมันและก๊าซแห่งเอเชียประจำปี ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
"จากการคำนวณที่เราทำกันในเชลล์ เราพบว่าปัจจัยพื้นฐานต่างๆ กำลังก่อตัวซึ่งจะทำให้เกิดราคาพุ่งทะยานแรงในรอบต่อไป" เขากล่าว พร้อมกับเสริมว่า เป้าหมายที่พึงประสงค์นั้น คือการตอบสนองความต้องการใช้พลังงานของโลก และขณะเดียวกันก็ต้องลดระดับการปล่อยคาร์บอนด้วย
ทางด้าน โนบุโอะ ทานากะ กรรมการอำนายการของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ(ไออีเอ) กล่าวว่า การลดลงของความต้องการใช้น้ำมันในปี 2008 และ 2009 นั้น เป็นการหดตัวติดกันสองปีครั้งแรก นับตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา
เขาระบุว่าวิกฤตการเงินและเศรษฐกิจ ได้ทำให้การลงทุนในการผลิตพลังงานใหม่ ๆลดลงไปมาก ทั้งจากผู้ผลิตไปจนถึงการใช้ในผู้บริโภค ทั้งในพลังงานแบบเดิมและพลังงานทางเลือก
"การขาดแคลนเงินลงทุนนั้น จะทำให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงในด้านเสถียรภาพ และต่อภาวะโลกร้อนด้วย" เขากล่าว
ทานากะยังชี้ด้วยว่า ควรที่จะมองการชะลอตัวในเวลานี้ว่าเป็นโอกาสในการลงทุนใน "พลังงานสะอาด" เขายังแสดงการยกย่องชมเชยแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลต่างๆ ในช่วงนี้ที่บรรจุโครงการด้านการพัฒนาพลังงานทางเลือกเข้าไว้ด้วย
ในขณะเดียวกัน ฮัสซัน มาริกัน ประธานและซีอีโอรัฐวิสาหกิจเปโตรนาสแห่งมาเลเซีย กล่าวว่ามีสัญญาณหลายอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการก่อตัวขึ้นของความวูบวาบไร้เสถียรภาพในตลาดอีกครั้ง หลังจากที่ราคาน้ำมันดิบลดฮวบอย่างแรงจากที่เคยพุ่งพรวดพราดเมื่อกลางปี 2008 จนแตะระดับ 147 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล
เขาบอกว่า เพื่อทำให้ความวูบวาบในตลาดที่ผูกติดอยู่กับวงจรทางอุตสาหกรรมดังกล่าวนี้ มีความเบาบางลง จำเป็นจะต้องมีการพัฒนาบ่อน้ำมันและก๊าซธรรมชาติใหม่ ๆ
เขาบอกว่า "เพื่อที่จะบรรเทาความผันผวนที่เกิดขึ้นในวงจรของอุตสาหกรรมนี้ วิธีการที่ดีที่สุดก็คือการเดินหน้าพัฒนาบ่อน้ำมันและก๊าซต่อไปโดยไม่หยุดยั้งแม้ว่าสถานการณ์ในตลาดจะไม่อำนวยก็ตาม"
"ตอนนี้มีสัญญาณหลายอย่างที่บ่งบอกว่าตลาดกำลังเริ่มจะปรับตัว และราคาน้ำมันก็เพิ่มขึ้นเรื่อยในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา" ฮัสซันกล่าวแต่ก็บอกด้วยว่า ยังไม่ชัดเจนว่าการพุ่งขึ้นนี้มาจากเศรษฐกิจที่ดีขึ้นหรือเป็นการเก็งกำไร
ทั้งนี้ราคาน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของนิวยอร์ก เพื่อการส่งมอบเดือนกรกฎาคม ได้ทะลุระดับ 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่ตอนนี้อยู่ที่ราว 67-68 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเพราะนักลงทุนเทขายเพื่อทำกำไร