ASTVผู้จัดการรายวัน- จับตาร.ฟ.ท.ไปไม่รอด แม้มีแผนฟื้นฟูฯ คนร.ฟ.ท.เผยการทำงานผู้ว่าฯ รถไฟในรอบ 1 ปี ไม่เห็นการพัฒนา ประสิทธิภาพการให้บริการลดลงทุกด้าน ถูกผู้โดยสารร้องเรียน ทั้ง ล่าช้า สกปรก แต่ไม่ได้รับการปรับปรุง แฉซ้ำพฤติกรรมแต่งตั้งคนใกล้ชิด ทำโครงสร้างองค์กรมีปัญหา ขาดคนทำงานในระดับล่าง แต่คนระดับบนเงินเดือนสูงมีมากล้นงาน
แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า จากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มิ.ย. 2552 เห็นชอบแผนปรับโครงสร้างและฟื้นฟูการรถไฟฯ ซึ่งจะมีการตั้ง 2 บริษัทลูกคือ บริษัท เดินรถ และบริษัท บริหารทรัพย์สิน นอกจากนี้จะมีการปรับโครงสร้างทางการเงินโดยภาครัฐรับภาระจากปัญหาหนี้และขาดทุนสะสมในอดีต วงเงิน 72,850 ล้านบาท และแก้ปัญหาภาระเงินบำนาญของพนักงานร.ฟ.ท.จำนวน 25,749 คน วงเงิน 156,000 ล้านบาทเพื่อให้ร.ฟ.ท.จะสามารถแก้ไขภาระหนี้ และนำเงินรายได้มาปรับปรุงบริการในอนาคต
ทั้งนี้แผนฟื้นฟูฯ จะช่วยปลดล็อคปัญหาการขาดทุนสะสมจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การรับภาระบริการเชิงสังคม และ 2 บริษัทลูกจะทำให้การบริหารงานมีความคล่องตัวและทำให้รายได้เพิ่มขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ร.ฟ.ท.จะต้องมีการปรับปรุงวิธีการบริหารงานภายในด้วย ซึ่งตั้งแต่เดือนก.ค.2551 ที่นายยุทธนา ทัพเจริญ ได้เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.อย่างเป็นทางการเป็นต้นมานั้นตามมาตรฐานการสรรหาฯ ผู้บริหารจะต้องพัฒนาองค์กรให้มีการคุณภาพมากขึ้น แต่ในความเป็นจริงพบว่าผลการดำเนินงานของร.ฟ.ท. ตกต่ำลง ในทุกๆ ด้านโดยเฉพาะส่วนงานด้านบริการ และมีการโยกย้ายแต่งตั้งบุคคลที่ไม่เหมาะสมและไม่ก่อประโยชน์ให้แก่องค์กรจำนวนมาก จนเป็นที่ครหาของพนักงานอย่างมาก
แหล่งข่าวกล่าวว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว มีการร้องเรียนเกี่ยวกับการบริการของรถไฟอย่างมาก ทั้ง ขบวนรถไม่ตรงเวลา ล่าช้ากว่ากำหนดมาก ห้องน้ำไม่สะอาด อาหารที่จำหน่ายบนรถราคาแพง เป็นต้น ซึ่งผลการดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลงประเมินผลการดำเนินงานปี 2552 (ต.ค. 51-มี.ค. 52) ด้านคุณภาพการให้บริการเดินรถในเรื่องความตรงต่อเวลาของขบวนรถเชิงสังคม เชิงพาณิชย์ ขนส่งสินค้าอยู่ในเกณฑ์ที่ตกต่ำลงเมื่อเทียบกับปี 2551
โดยความตรงต่อเวลาของขบวนรถเชิงสังคมทำได้เพียง 51.54% ซึ่งถือว่าตก เกณฑ์วัดระดับ 1 ที่ต้องมีความตรงต่อเวลา 53% ในขณะที่เกณฑ์ชี้วัดถือว่าเข้ามาตรฐานคือระดับ 3 หรือไม่ต่ำกว่า 76.50% ขณะที่ปี 2551 ความตรงต่อเวลาอยู่ที่ 59.67%
ความตรงต่อเวลาของขบวนรถโดยสารเชิงพาณิชย์อยู่ที่ 52.42% ขณะที่เกณฑ์ชี้วัดถือว่าเข้ามาตรฐานต้องไม่ต่ำกว่า 73.70% ขณะที่ปี 2551 ทำได้ที่ระดับ 65.88 % และความตรงต่อเวลาของขบวนรถขนส่งสินค้า ประเภทตู้คอนเทนเนอร์ อยู่ที่ 16.56% ตกเกณฑ์วัดระดับต่ำสุดที่ต้องไม่ต่ำกว่า 30% ขณะที่เกณฑ์ชี้วัดถือว่าเข้ามาตรฐานต้องไม่ต่ำกว่า 40% ส่วนปี 2551 ทำได้ที่ระดับ 26.21 %
ในส่วนของการแต่งตั้งโยกย้ายพนักงานนั้น เกิดข้อครหาภายในร.ฟ.ท.อย่างมากในรอบปีที่ผ่านมา เนื่องจากร.ฟ.ท.มีปัญหาการขาดแคลนบุคลากรโดยเฉพาะส่วนงานด้านปฎิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ เช่น ฝ่ายเดินรถ เพราะติดเงื่อนไขมติครม.ที่ให้รับพนักงานเพิ่มในแต่ละปีไม่เกิน 5% ของจำนวนพนักงานที่เกษียณ แต่ผู้ว่าฯร.ฟ.ท.มีการแต่งตั้งเลื่อนระดับพนักงานตั้งแต่ระดับ 7- ระดับ 11 เป็นจำนวนมาก โดยยืมอัตราจากส่วนอื่นๆ มารองรับ เช่น สำนักงานแพทย์ เป็นต้น ทำให้โครงสร้างพนักงานไม่เหมาะสมกับความต้องการจริง
แหล่งข่าวกล่าวว่า มีการแต่งตั้งตั้งบุคคลในตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์ประจำการรถไฟ ฯ (ระดับ 11) ถึง 10 อัตรา ตำแหน่งหัวหน้ากองประจำการรถไฟฯ(ระดับ 10) 10 อัตราจากปกติที่ตำแหน่งดังกล่าวมีเพียง 1- 2 อัตรา เท่านั้นเนื่องจากเป็นส่วนงานฝ่ายสนับสนุนไม่จำเป็นต้องมีบุคลากรมาก และขึ้นกับสำนักงานผู้ว่าฯ ซึ่งโครงสร้างประกอบด้วยหัวหน้าสำนักงาน 1 คน คุม 2 กองและ 5 แผนก ดังนั้นตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ประจำการรถไฟ ฯ (ระดับ 11) และหัวหน้ากองประจำการรถไฟฯ(ระดับ 10) จึงเป็นตำแหน่งลอย ที่ไม่มีเนื้องานดูแลที่ชัดเจน และยังเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านเงินเดือนของร.ฟ.ท.อีกเพราะเป็นระดับสูง
นอกจากนี้ยังทำให้เกิดปัญหากับโครงสร้างร.ฟ.ท.ที่มีระดับบริหารหรือฝ่ายสนับสนุนมากเกินความจำเป็น แต่เนื้องานมีน้อย และการแต่งตั้งตำแหน่งลอยดังกล่าวทำให้การรับพนักงานในระดับล่างซึ่งเป็นฝ่ายปฎิบัติการเพิ่มไม่ได้ เพราะเหลืออัตราจ้างน้อยลง ตามเงื่อนไขรับพนักงานได้ไม่เกิน 5% ของพนักงานที่เกษียณในแต่ละปี ร.ฟ.ท.จึงมีปัญหาคนทำงานไม่พอโดยเฉพาะในส่วนงานที่ต้องใช้ความรับผิดชอบสูงเช่น พนักงานกั้นทางตัดถนน พนักงานสับประแจ ที่ต้องรับเป็นลูกจ้างชั่วคราวเข้ามาทำงานแทน ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเนื่องจากรายได้และสวัสดิการต่างจากพนักงาน
“ขณะนี้ โครงสร้างร.ฟ.ท.บิดเบี้ยว และการแต่งตั้งตำแหน่งลอยโดยเฉพาะในระดับ 11 ขององค์กร ถือว่าเป็นตำแหน่งที่ต้องขออนุมัติบอร์ด เพราะเป็นอัตราเพิ่มเพื่อรองรับกรณีบุคคลถูกสอบสวน จำเป็นต้องออกจากหน้าที่ปกติ ก็ให้มาแขวนในตำแหน่งนี้ เป็นปัญหาที่หากไม่แก้ไข แผนฟื้นฟูร.ฟ.ท.ก็คงไม่สามารถเป็นไปตามเป้าหมายได้ เนื่องจากไม่มีคนทำงาน”แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า ลักษณะการแต่งตั้งจะใช้อำนาจผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.ลงนามคำสั่ง ซึ่งมีข้อสังเกตุที่ไม่ปกติ เช่น บางคนได้รับการแต่งตั้งในคราวเดียวขึ้น 2 ระดับจาก ระดับ 8 เป็น ระดับ 10 ภายในเวลาชั่วข้ามวัน ทั้งๆ ที่การแต่งตั้งเลื่อนระดับพนักงานตามระเบียบรถไฟฯ ข้อ 1.1 จะต้องตั้งคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองเพื่อคัดเลือกบุคคลที่มีความเหมาะสมซึ่งจะต้องใช้เวลาในการพิจารณา มากกว่า 1 วันแน่นอน
ทางคู่แหลมฉบัง-ศรีราชา ล่าช้ากว่า 10 %
นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวถึงความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่แหลมฉบัง-ศรีราชา ที่มีระยะทาง 78 กิโลเมตร ว่าขณะนี้มีความล่าช้ากว่าแผนประมาณ 10 % เนื่องจากการรับมอบและส่งงานล่าช้า เช่น ปัญหาการขนส่งไม้หมอนคอนกรีต และการส่งมอบงานบางจุดแล้วไม่มีการรายงานเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม คาดว่าจากนี้อีก 2 เดือนจะเรียบร้อย
แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า จากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มิ.ย. 2552 เห็นชอบแผนปรับโครงสร้างและฟื้นฟูการรถไฟฯ ซึ่งจะมีการตั้ง 2 บริษัทลูกคือ บริษัท เดินรถ และบริษัท บริหารทรัพย์สิน นอกจากนี้จะมีการปรับโครงสร้างทางการเงินโดยภาครัฐรับภาระจากปัญหาหนี้และขาดทุนสะสมในอดีต วงเงิน 72,850 ล้านบาท และแก้ปัญหาภาระเงินบำนาญของพนักงานร.ฟ.ท.จำนวน 25,749 คน วงเงิน 156,000 ล้านบาทเพื่อให้ร.ฟ.ท.จะสามารถแก้ไขภาระหนี้ และนำเงินรายได้มาปรับปรุงบริการในอนาคต
ทั้งนี้แผนฟื้นฟูฯ จะช่วยปลดล็อคปัญหาการขาดทุนสะสมจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การรับภาระบริการเชิงสังคม และ 2 บริษัทลูกจะทำให้การบริหารงานมีความคล่องตัวและทำให้รายได้เพิ่มขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ร.ฟ.ท.จะต้องมีการปรับปรุงวิธีการบริหารงานภายในด้วย ซึ่งตั้งแต่เดือนก.ค.2551 ที่นายยุทธนา ทัพเจริญ ได้เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.อย่างเป็นทางการเป็นต้นมานั้นตามมาตรฐานการสรรหาฯ ผู้บริหารจะต้องพัฒนาองค์กรให้มีการคุณภาพมากขึ้น แต่ในความเป็นจริงพบว่าผลการดำเนินงานของร.ฟ.ท. ตกต่ำลง ในทุกๆ ด้านโดยเฉพาะส่วนงานด้านบริการ และมีการโยกย้ายแต่งตั้งบุคคลที่ไม่เหมาะสมและไม่ก่อประโยชน์ให้แก่องค์กรจำนวนมาก จนเป็นที่ครหาของพนักงานอย่างมาก
แหล่งข่าวกล่าวว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว มีการร้องเรียนเกี่ยวกับการบริการของรถไฟอย่างมาก ทั้ง ขบวนรถไม่ตรงเวลา ล่าช้ากว่ากำหนดมาก ห้องน้ำไม่สะอาด อาหารที่จำหน่ายบนรถราคาแพง เป็นต้น ซึ่งผลการดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลงประเมินผลการดำเนินงานปี 2552 (ต.ค. 51-มี.ค. 52) ด้านคุณภาพการให้บริการเดินรถในเรื่องความตรงต่อเวลาของขบวนรถเชิงสังคม เชิงพาณิชย์ ขนส่งสินค้าอยู่ในเกณฑ์ที่ตกต่ำลงเมื่อเทียบกับปี 2551
โดยความตรงต่อเวลาของขบวนรถเชิงสังคมทำได้เพียง 51.54% ซึ่งถือว่าตก เกณฑ์วัดระดับ 1 ที่ต้องมีความตรงต่อเวลา 53% ในขณะที่เกณฑ์ชี้วัดถือว่าเข้ามาตรฐานคือระดับ 3 หรือไม่ต่ำกว่า 76.50% ขณะที่ปี 2551 ความตรงต่อเวลาอยู่ที่ 59.67%
ความตรงต่อเวลาของขบวนรถโดยสารเชิงพาณิชย์อยู่ที่ 52.42% ขณะที่เกณฑ์ชี้วัดถือว่าเข้ามาตรฐานต้องไม่ต่ำกว่า 73.70% ขณะที่ปี 2551 ทำได้ที่ระดับ 65.88 % และความตรงต่อเวลาของขบวนรถขนส่งสินค้า ประเภทตู้คอนเทนเนอร์ อยู่ที่ 16.56% ตกเกณฑ์วัดระดับต่ำสุดที่ต้องไม่ต่ำกว่า 30% ขณะที่เกณฑ์ชี้วัดถือว่าเข้ามาตรฐานต้องไม่ต่ำกว่า 40% ส่วนปี 2551 ทำได้ที่ระดับ 26.21 %
ในส่วนของการแต่งตั้งโยกย้ายพนักงานนั้น เกิดข้อครหาภายในร.ฟ.ท.อย่างมากในรอบปีที่ผ่านมา เนื่องจากร.ฟ.ท.มีปัญหาการขาดแคลนบุคลากรโดยเฉพาะส่วนงานด้านปฎิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ เช่น ฝ่ายเดินรถ เพราะติดเงื่อนไขมติครม.ที่ให้รับพนักงานเพิ่มในแต่ละปีไม่เกิน 5% ของจำนวนพนักงานที่เกษียณ แต่ผู้ว่าฯร.ฟ.ท.มีการแต่งตั้งเลื่อนระดับพนักงานตั้งแต่ระดับ 7- ระดับ 11 เป็นจำนวนมาก โดยยืมอัตราจากส่วนอื่นๆ มารองรับ เช่น สำนักงานแพทย์ เป็นต้น ทำให้โครงสร้างพนักงานไม่เหมาะสมกับความต้องการจริง
แหล่งข่าวกล่าวว่า มีการแต่งตั้งตั้งบุคคลในตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์ประจำการรถไฟ ฯ (ระดับ 11) ถึง 10 อัตรา ตำแหน่งหัวหน้ากองประจำการรถไฟฯ(ระดับ 10) 10 อัตราจากปกติที่ตำแหน่งดังกล่าวมีเพียง 1- 2 อัตรา เท่านั้นเนื่องจากเป็นส่วนงานฝ่ายสนับสนุนไม่จำเป็นต้องมีบุคลากรมาก และขึ้นกับสำนักงานผู้ว่าฯ ซึ่งโครงสร้างประกอบด้วยหัวหน้าสำนักงาน 1 คน คุม 2 กองและ 5 แผนก ดังนั้นตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ประจำการรถไฟ ฯ (ระดับ 11) และหัวหน้ากองประจำการรถไฟฯ(ระดับ 10) จึงเป็นตำแหน่งลอย ที่ไม่มีเนื้องานดูแลที่ชัดเจน และยังเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านเงินเดือนของร.ฟ.ท.อีกเพราะเป็นระดับสูง
นอกจากนี้ยังทำให้เกิดปัญหากับโครงสร้างร.ฟ.ท.ที่มีระดับบริหารหรือฝ่ายสนับสนุนมากเกินความจำเป็น แต่เนื้องานมีน้อย และการแต่งตั้งตำแหน่งลอยดังกล่าวทำให้การรับพนักงานในระดับล่างซึ่งเป็นฝ่ายปฎิบัติการเพิ่มไม่ได้ เพราะเหลืออัตราจ้างน้อยลง ตามเงื่อนไขรับพนักงานได้ไม่เกิน 5% ของพนักงานที่เกษียณในแต่ละปี ร.ฟ.ท.จึงมีปัญหาคนทำงานไม่พอโดยเฉพาะในส่วนงานที่ต้องใช้ความรับผิดชอบสูงเช่น พนักงานกั้นทางตัดถนน พนักงานสับประแจ ที่ต้องรับเป็นลูกจ้างชั่วคราวเข้ามาทำงานแทน ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเนื่องจากรายได้และสวัสดิการต่างจากพนักงาน
“ขณะนี้ โครงสร้างร.ฟ.ท.บิดเบี้ยว และการแต่งตั้งตำแหน่งลอยโดยเฉพาะในระดับ 11 ขององค์กร ถือว่าเป็นตำแหน่งที่ต้องขออนุมัติบอร์ด เพราะเป็นอัตราเพิ่มเพื่อรองรับกรณีบุคคลถูกสอบสวน จำเป็นต้องออกจากหน้าที่ปกติ ก็ให้มาแขวนในตำแหน่งนี้ เป็นปัญหาที่หากไม่แก้ไข แผนฟื้นฟูร.ฟ.ท.ก็คงไม่สามารถเป็นไปตามเป้าหมายได้ เนื่องจากไม่มีคนทำงาน”แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า ลักษณะการแต่งตั้งจะใช้อำนาจผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.ลงนามคำสั่ง ซึ่งมีข้อสังเกตุที่ไม่ปกติ เช่น บางคนได้รับการแต่งตั้งในคราวเดียวขึ้น 2 ระดับจาก ระดับ 8 เป็น ระดับ 10 ภายในเวลาชั่วข้ามวัน ทั้งๆ ที่การแต่งตั้งเลื่อนระดับพนักงานตามระเบียบรถไฟฯ ข้อ 1.1 จะต้องตั้งคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองเพื่อคัดเลือกบุคคลที่มีความเหมาะสมซึ่งจะต้องใช้เวลาในการพิจารณา มากกว่า 1 วันแน่นอน
ทางคู่แหลมฉบัง-ศรีราชา ล่าช้ากว่า 10 %
นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวถึงความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่แหลมฉบัง-ศรีราชา ที่มีระยะทาง 78 กิโลเมตร ว่าขณะนี้มีความล่าช้ากว่าแผนประมาณ 10 % เนื่องจากการรับมอบและส่งงานล่าช้า เช่น ปัญหาการขนส่งไม้หมอนคอนกรีต และการส่งมอบงานบางจุดแล้วไม่มีการรายงานเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม คาดว่าจากนี้อีก 2 เดือนจะเรียบร้อย