ASTVผู้จัดการรายวัน - นายกรัฐมนตรี ยอมรับกลุ่มทุนเชื่อมโยงแก๊งยาเสพติด หนุนหลังก่อความไม่สงบในภาคใต้ มั่นใจแนวทางดับไฟใต้เดินถูกทาง โดยเน้นการพัฒนาพื้นที่ คาด ส.ค.งบฯลงพื้นที่ได้
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงหลังการประชุมแนวทางการ แก้ไขปัญหาความไม่สงบ 3 จังหวัดชายแดนภารใต้ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า ที่ประชุมได้กำหนดแนวทางในการบูรณาการระหว่างผู้รับผิดชอบด้านความมันคงและการพัฒนา ซึ่งจากการพูดคุยกันเชื่อว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาความไม่สงบได้ ซึ่งในช่วงต่อไปเราจะเน้นการพัฒนาซึ่งกำลังทำแผนและวางงบประมาณที่จะเข้าไปดำเนินการ โดยจะเจียดงบมาจากปีงบประมาณ 2552 และในส่วนงบกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 คิดว่าในเดือน ส.ค.จะชัดเจน
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า สถานการณ์ทั่วไปแม้จะมีการลอบทำร้ายประชาชนและเจ้าหน้าที่ แต่หากเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาถือว่าลดลง แต่เราก็ยังไม่พอใจ และแนวทางการก่อเหตุก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ฝ่ายความมั่นคงก็ต้องไปดู
ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้มีการพูดถึงกลุ่มทุนที่สนับสนุนการก่อเหตุในพื้นที่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้กำลังดูข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งเป็นกลุ่มทุนที่อยู่ในประเทศ ที่มีการเชื่อมโยงกับปัญหาอื่นๆ ทั้งกลุ่มอิทธิพล อาชญากรรมต่างๆ เราไม่ได้พูดถึง การก่อความไม่สงบในพื้นที่อื่น เป็นการพูดถึงภาพรวม เช่น กระบวนการยาเสพติด
ผู้สื่อข่าวถามว่ากลุ่มทุนเกี่ยวข้องกับฝ่ายการเมืองระดับชาติด้วยหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ได้พูดถึงเรื่องการเมือง โดยกลุ่มทุนที่สนับสนุนนั้น เป็นลักษณะการเชื่อมโยงกัน ทั้งเรื่องความไม่สงบ ยาเสพติด แต่คงไม่สามารถบอกตัวเลขได้ แต่มันก็มีความสำคัญ ถ้าเราสกัดกั้นจุดนี้ได้จะช่วยให้แก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น
ส่วนข้อมูลล่าสุดของกอ.รมน.และกองทัพบกเกี่ยวกับแกนนำในพื้นที่ภาคใต้ที่ยังก่อเหตุรวมถึงแนวร่วมลดลงหรือเพิ่มขึ้นอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือ มวลชนซึ่งคนส่วนใหญ่คือคนบริสุทธิ์ และหัวใจสำคัญของเราในการทำงานเราต้องพัฒนาและสามารถทำให้คนเหล่านี้มีความมั่นใจฝ่ายตรงกันข้าม เขาก็ต้องการใช้ ความกลัวเข้าไปครอบงำ ซึ่งการใช้ความกลัวเข้าไปครอบงำทำโดยคนส่วนน้อย ฉะนั้นคงไม่ได้วัดกันที่จำนวน ตรงนี้เป็นจุดที่เป็นแนวทางที่เราทำงานและต่อสู้อยู่
ผู้สื่อข่าวถามว่าขณะนี้เท่ากับว่าภาครัฐประเมินว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจาก กลุ่มทุนมากกว่าเป็นเรื่องของอุดมการณ์ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าคงพูดอย่างนั้นไม่ได้ ยุคนี้ใครเคลื่อนไหว เกินอุดมการณ์ก็ต้องอาศัยทุน คนที่เคลื่อนไหวก็หล่อเลี้ยงด้วยทั้งสองอย่าง
ส่วนว่า 5-6 เดือนของรัฐบาลคิดว่าการแก้ไขปัญหาภาคใต้ทิศทางดีขึ้นหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ทิศทางที่ปรับเปลี่ยนมามั่นใจว่าเป็นทิศทางที่ถูกต้อง แต่ยังไม่พอใจ ต้องทำให้ดีกว่านี้ และตนก็พูดตั้งแต่วันที่ไปสัมมนาร่วมกับสภาว่าเรื่องนี้จะหวังผลเร็วไม่ได้ และแนวทางที่ถูกต้อง เป็นแนวทางที่ต้องใช้ความอดทน อย่างที่เราพยายามเอากระบวนการพัฒนาเข้าไปให้ถึงประชาชน เราก็รู้ว่าฝ่ายตรงข้าม ต้องต้านตรงนี้มากที่สุด ทั้งนี้เมื่อฝ่ายตรงนี้ต้านแรงเราต้องไม่เขว ไม่หลงทาง เพราะแนวทางการพัฒนา คือแนวทางที่ถูกต้องและต้องทำให้ได้ ถ้าเราไปเขวแล้วคิดว่า พอเกิดการต้านแรงแล้วเราหมุนกลับคิดไปใช้ความรุนแรง อันนั้นจะเป็นความผิดพลาดและเข้าทางเขา
ส่วนกฎหมายที่จะทำให้องค์กรต่างๆที่ดูแลภาคใต้จะเข้าการพิจารณาสภาสมัยนิติบัญญัติด้วยหรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า นายถาวร เสนเนียม รมช.มหาดไทย กำลังดูอยู่ อย่างไรก็ตามสาเหตุที่ล่าช้าเป็นปัญหาคือเคยมีการเสนอ กฎหมายแบบนี้ สมัยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)และไปพันกับเรื่องกฎหมายความมั่นคง บัดนี้สิ่งที่พบอย่างหนึ่งคือกฎหมายความมั่นคง ตอนผลักดันเข้า สนช. โดยฝ่ายบริหาร ออกมาเป็นอีกแบบหนึ่งและเมื่อนำไปปฏิบัติจริงก็เจอข้อจำกัดอยู่หลายอย่าง ฉะนั้นตรงนี้เป็นจุดที่ทำให้ต้องมาทบทวนอีกครั้งว่าโครงสร้างของหน่วยงานที่รับผิดชอบการบริหารงานในภาคใต้ ควรจะทำกันอย่างไรเพื่อไม่เจอปัญหาและข้อจำกัดเหมือนกับที่เคยผลักดันคู่กันไปในสมัย สนช.
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงหลังการประชุมแนวทางการ แก้ไขปัญหาความไม่สงบ 3 จังหวัดชายแดนภารใต้ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า ที่ประชุมได้กำหนดแนวทางในการบูรณาการระหว่างผู้รับผิดชอบด้านความมันคงและการพัฒนา ซึ่งจากการพูดคุยกันเชื่อว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาความไม่สงบได้ ซึ่งในช่วงต่อไปเราจะเน้นการพัฒนาซึ่งกำลังทำแผนและวางงบประมาณที่จะเข้าไปดำเนินการ โดยจะเจียดงบมาจากปีงบประมาณ 2552 และในส่วนงบกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 คิดว่าในเดือน ส.ค.จะชัดเจน
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า สถานการณ์ทั่วไปแม้จะมีการลอบทำร้ายประชาชนและเจ้าหน้าที่ แต่หากเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาถือว่าลดลง แต่เราก็ยังไม่พอใจ และแนวทางการก่อเหตุก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ฝ่ายความมั่นคงก็ต้องไปดู
ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้มีการพูดถึงกลุ่มทุนที่สนับสนุนการก่อเหตุในพื้นที่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้กำลังดูข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งเป็นกลุ่มทุนที่อยู่ในประเทศ ที่มีการเชื่อมโยงกับปัญหาอื่นๆ ทั้งกลุ่มอิทธิพล อาชญากรรมต่างๆ เราไม่ได้พูดถึง การก่อความไม่สงบในพื้นที่อื่น เป็นการพูดถึงภาพรวม เช่น กระบวนการยาเสพติด
ผู้สื่อข่าวถามว่ากลุ่มทุนเกี่ยวข้องกับฝ่ายการเมืองระดับชาติด้วยหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ได้พูดถึงเรื่องการเมือง โดยกลุ่มทุนที่สนับสนุนนั้น เป็นลักษณะการเชื่อมโยงกัน ทั้งเรื่องความไม่สงบ ยาเสพติด แต่คงไม่สามารถบอกตัวเลขได้ แต่มันก็มีความสำคัญ ถ้าเราสกัดกั้นจุดนี้ได้จะช่วยให้แก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น
ส่วนข้อมูลล่าสุดของกอ.รมน.และกองทัพบกเกี่ยวกับแกนนำในพื้นที่ภาคใต้ที่ยังก่อเหตุรวมถึงแนวร่วมลดลงหรือเพิ่มขึ้นอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือ มวลชนซึ่งคนส่วนใหญ่คือคนบริสุทธิ์ และหัวใจสำคัญของเราในการทำงานเราต้องพัฒนาและสามารถทำให้คนเหล่านี้มีความมั่นใจฝ่ายตรงกันข้าม เขาก็ต้องการใช้ ความกลัวเข้าไปครอบงำ ซึ่งการใช้ความกลัวเข้าไปครอบงำทำโดยคนส่วนน้อย ฉะนั้นคงไม่ได้วัดกันที่จำนวน ตรงนี้เป็นจุดที่เป็นแนวทางที่เราทำงานและต่อสู้อยู่
ผู้สื่อข่าวถามว่าขณะนี้เท่ากับว่าภาครัฐประเมินว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจาก กลุ่มทุนมากกว่าเป็นเรื่องของอุดมการณ์ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าคงพูดอย่างนั้นไม่ได้ ยุคนี้ใครเคลื่อนไหว เกินอุดมการณ์ก็ต้องอาศัยทุน คนที่เคลื่อนไหวก็หล่อเลี้ยงด้วยทั้งสองอย่าง
ส่วนว่า 5-6 เดือนของรัฐบาลคิดว่าการแก้ไขปัญหาภาคใต้ทิศทางดีขึ้นหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ทิศทางที่ปรับเปลี่ยนมามั่นใจว่าเป็นทิศทางที่ถูกต้อง แต่ยังไม่พอใจ ต้องทำให้ดีกว่านี้ และตนก็พูดตั้งแต่วันที่ไปสัมมนาร่วมกับสภาว่าเรื่องนี้จะหวังผลเร็วไม่ได้ และแนวทางที่ถูกต้อง เป็นแนวทางที่ต้องใช้ความอดทน อย่างที่เราพยายามเอากระบวนการพัฒนาเข้าไปให้ถึงประชาชน เราก็รู้ว่าฝ่ายตรงข้าม ต้องต้านตรงนี้มากที่สุด ทั้งนี้เมื่อฝ่ายตรงนี้ต้านแรงเราต้องไม่เขว ไม่หลงทาง เพราะแนวทางการพัฒนา คือแนวทางที่ถูกต้องและต้องทำให้ได้ ถ้าเราไปเขวแล้วคิดว่า พอเกิดการต้านแรงแล้วเราหมุนกลับคิดไปใช้ความรุนแรง อันนั้นจะเป็นความผิดพลาดและเข้าทางเขา
ส่วนกฎหมายที่จะทำให้องค์กรต่างๆที่ดูแลภาคใต้จะเข้าการพิจารณาสภาสมัยนิติบัญญัติด้วยหรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า นายถาวร เสนเนียม รมช.มหาดไทย กำลังดูอยู่ อย่างไรก็ตามสาเหตุที่ล่าช้าเป็นปัญหาคือเคยมีการเสนอ กฎหมายแบบนี้ สมัยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)และไปพันกับเรื่องกฎหมายความมั่นคง บัดนี้สิ่งที่พบอย่างหนึ่งคือกฎหมายความมั่นคง ตอนผลักดันเข้า สนช. โดยฝ่ายบริหาร ออกมาเป็นอีกแบบหนึ่งและเมื่อนำไปปฏิบัติจริงก็เจอข้อจำกัดอยู่หลายอย่าง ฉะนั้นตรงนี้เป็นจุดที่ทำให้ต้องมาทบทวนอีกครั้งว่าโครงสร้างของหน่วยงานที่รับผิดชอบการบริหารงานในภาคใต้ ควรจะทำกันอย่างไรเพื่อไม่เจอปัญหาและข้อจำกัดเหมือนกับที่เคยผลักดันคู่กันไปในสมัย สนช.