วอลล์สตรีทเจอร์นัลเอเชีย/เอเยนซีส์ - นายกรัฐมนตรีมาเลเซียระบุในระหว่างการเยือนปักกิ่งว่า จีนและมาเลเซียกำลังพิจารณาที่จะทำการค้ากันโดยใช้เงินสกุลหยวนและสกุลริงกิตแทนดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นแนวคิดเดียวกับอีกหลายประเทศที่กำลังจะเลิกใช้เงินดอลลาร์เป็นสกุลหลักทางธุรกิจ และทั้งสองประเทศยังได้ลงนามในกรอบข้อตกลงทางการค้าร่วมกันหลายฉบับ
"เราจะพิจารณากันว่าจะสามารถใช้สกุลเงินของทั้งสองประเทศในการค้าขายแลกเปลี่ยนระหว่างกันได้หรือไม่" นาจิบ อับดุล ราซัค นายกรัฐมนตรีของมาเลเซียแถลงสรุปภายหลังประชุมร่วมกับนายกรัฐมนตรีเวินเจียเป่าของจีนในวันพุธ (3)
"สิ่งที่เราเป็นห่วงก็คือว่าสหรัฐฯ จะแก้ปัญหาการขาดดุลการค้าด้วยการพิมพ์ธนบัตรเพิ่ม" นาจิบกล่าว "นั่นเป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น กระทรวงการคลังสหรัฐฯ กำลังจัดพิมพ์ธนบัตรเพิ่ม"
ส่วนจีนนั้นส่งเสริมแนวคิดการเลิกใช้ดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นสกุลเงินหลักของโลกมานานแล้ว และชี้ด้วยว่าระบบตะกร้าเงินหลายๆ สุกลน่าจะเป็นเรื่องที่มีเหตุผลมากกว่า
นอกจากนั้นจีนยังพูดถึงเรื่องการใช้เงินหยวนเป็นสกลเงินในการค้าขายด้วย โดยเริ่มในระดับภูมิภาคอย่างค่อยเป็นค่อยไปก่อนที่จะขยายไปสู่ระดับกว้างขึ้น และขณะนี้ บราซิลซึ่งเป็นประเทศคู่ค้ารายหนึ่งของจีนก็กำลังพิจารณาที่จะลดการใช้เงินดอลลาร์ลงโดยหันมาใช้เงินหยวนทำการค้ากับจีน
เมื่อวันจันทร์ (1) ทิโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีคลังของสหรัฐฯ ได้เรียกร้องให้จีนดำเนินการเพื่อให้เงินหยวนมีอัตราแลกเปลี่ยนที่ยืดหยุ่นมากขึ้น โดยชี้ว่าหากเงินหยวนแข็งค่าขึ้นจะเป็นการเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศและลดการพึ่งพิงการส่งออกด้วย
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากเห็นสอดคล้องกันว่า คงจะต้องใช้เวลาอีกนานทีเดียวกว่าที่จะใช้สกุลเงินของจีนในการค้าขายทั่วโลกได้ แม้ว่าจะมีหลายประเทศที่สนใจใช้เงินหยวนแทนดอลลาร์กันมากขึ้น เนื่องจากเห็นว่าจีนกำลังก้าวขึ้นมาเป็นยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจ และขณะเดียวกันก็มีความวิตกกังวลกันมากเกี่ยวกับตัวเลขงบประมาณขาดดุลอันมหาศาลของสหรัฐฯ
ทั้งนี้อุปสรรคสำคัญที่สุดที่เห็นชัดเจนก็คือ ขณะนี้การซื้อขายเงินสกุลหยวนนอกประเทศจีนยังเป็นเรื่องยุ่งยากมาก
คำกล่าวของนาจิบมีขึ้นในระหว่างเยือนปักกิ่งเป็นวันที่สองตามกำหนดการทั้งหมดสี่วัน และเป็นห้วงเวลาครบรอบ 35 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตของสองประเทศที่เริ่มในยุคที่ ตน อับดุล ราซัค บิดาของนาจิบเป็นนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย นอกจากนั้น นาจิบยังกล่าวด้วยว่าทั้งสองประเทศได้ลงนามในกรอบข้อตกลงร่วมกันหลายเรื่องด้วยกันซึ่งจะสนับสนุนในด้านการค้าและการลงทุน
นาจิบซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคลังด้วย ต้องดิ้นรนอย่างหนักเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของมาเลเซียซึ่งเป็นประเทศหนึ่งที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก และเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เขาได้ออกมาตรการต่างๆ ในการเปิดเสรีภาคธุรกิจการเงินของมาเลเซียมากขึ้น โดยเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น รวมทั้งยกเลิกนโยบายให้สิทธิพิเศษบางประการแก่ชาวมาเลย์มุสลิมเพื่อให้ชาวมุสลิมซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศสามารถแข่งขันกับชาวจีนได้มากขึ้น ซึ่งเป็นนโยบายเก่าที่ใช้มานานนับทศวรรษแล้ว
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รัฐบาลมาเลเซียได้ปรับลดตัวเลขการคาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ประจำปีนี้ลงจากเดิมอย่างมาก โดยระบุว่าจีดีพีจะหดตัวลงระหว่าง 4-5 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่ายอดการขาดดุลงบประมาณของมาเลเซียอาจเพิ่มขึ้นถึง 8 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี ซึ่งนับเป็นระดับสูงที่สุดในรอบทศวรรษ
"เราจะพิจารณากันว่าจะสามารถใช้สกุลเงินของทั้งสองประเทศในการค้าขายแลกเปลี่ยนระหว่างกันได้หรือไม่" นาจิบ อับดุล ราซัค นายกรัฐมนตรีของมาเลเซียแถลงสรุปภายหลังประชุมร่วมกับนายกรัฐมนตรีเวินเจียเป่าของจีนในวันพุธ (3)
"สิ่งที่เราเป็นห่วงก็คือว่าสหรัฐฯ จะแก้ปัญหาการขาดดุลการค้าด้วยการพิมพ์ธนบัตรเพิ่ม" นาจิบกล่าว "นั่นเป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น กระทรวงการคลังสหรัฐฯ กำลังจัดพิมพ์ธนบัตรเพิ่ม"
ส่วนจีนนั้นส่งเสริมแนวคิดการเลิกใช้ดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นสกุลเงินหลักของโลกมานานแล้ว และชี้ด้วยว่าระบบตะกร้าเงินหลายๆ สุกลน่าจะเป็นเรื่องที่มีเหตุผลมากกว่า
นอกจากนั้นจีนยังพูดถึงเรื่องการใช้เงินหยวนเป็นสกลเงินในการค้าขายด้วย โดยเริ่มในระดับภูมิภาคอย่างค่อยเป็นค่อยไปก่อนที่จะขยายไปสู่ระดับกว้างขึ้น และขณะนี้ บราซิลซึ่งเป็นประเทศคู่ค้ารายหนึ่งของจีนก็กำลังพิจารณาที่จะลดการใช้เงินดอลลาร์ลงโดยหันมาใช้เงินหยวนทำการค้ากับจีน
เมื่อวันจันทร์ (1) ทิโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีคลังของสหรัฐฯ ได้เรียกร้องให้จีนดำเนินการเพื่อให้เงินหยวนมีอัตราแลกเปลี่ยนที่ยืดหยุ่นมากขึ้น โดยชี้ว่าหากเงินหยวนแข็งค่าขึ้นจะเป็นการเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศและลดการพึ่งพิงการส่งออกด้วย
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากเห็นสอดคล้องกันว่า คงจะต้องใช้เวลาอีกนานทีเดียวกว่าที่จะใช้สกุลเงินของจีนในการค้าขายทั่วโลกได้ แม้ว่าจะมีหลายประเทศที่สนใจใช้เงินหยวนแทนดอลลาร์กันมากขึ้น เนื่องจากเห็นว่าจีนกำลังก้าวขึ้นมาเป็นยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจ และขณะเดียวกันก็มีความวิตกกังวลกันมากเกี่ยวกับตัวเลขงบประมาณขาดดุลอันมหาศาลของสหรัฐฯ
ทั้งนี้อุปสรรคสำคัญที่สุดที่เห็นชัดเจนก็คือ ขณะนี้การซื้อขายเงินสกุลหยวนนอกประเทศจีนยังเป็นเรื่องยุ่งยากมาก
คำกล่าวของนาจิบมีขึ้นในระหว่างเยือนปักกิ่งเป็นวันที่สองตามกำหนดการทั้งหมดสี่วัน และเป็นห้วงเวลาครบรอบ 35 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตของสองประเทศที่เริ่มในยุคที่ ตน อับดุล ราซัค บิดาของนาจิบเป็นนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย นอกจากนั้น นาจิบยังกล่าวด้วยว่าทั้งสองประเทศได้ลงนามในกรอบข้อตกลงร่วมกันหลายเรื่องด้วยกันซึ่งจะสนับสนุนในด้านการค้าและการลงทุน
นาจิบซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคลังด้วย ต้องดิ้นรนอย่างหนักเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของมาเลเซียซึ่งเป็นประเทศหนึ่งที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก และเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เขาได้ออกมาตรการต่างๆ ในการเปิดเสรีภาคธุรกิจการเงินของมาเลเซียมากขึ้น โดยเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น รวมทั้งยกเลิกนโยบายให้สิทธิพิเศษบางประการแก่ชาวมาเลย์มุสลิมเพื่อให้ชาวมุสลิมซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศสามารถแข่งขันกับชาวจีนได้มากขึ้น ซึ่งเป็นนโยบายเก่าที่ใช้มานานนับทศวรรษแล้ว
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รัฐบาลมาเลเซียได้ปรับลดตัวเลขการคาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ประจำปีนี้ลงจากเดิมอย่างมาก โดยระบุว่าจีดีพีจะหดตัวลงระหว่าง 4-5 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่ายอดการขาดดุลงบประมาณของมาเลเซียอาจเพิ่มขึ้นถึง 8 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี ซึ่งนับเป็นระดับสูงที่สุดในรอบทศวรรษ