ASTVผู้จัดการรายวัน – กิฟฟารีนปรับแผน ชูกลยุทธ์ขายสิทธิ์ เปิด “กิฟฟารีนไลเซ่นส์ชอป” หวังเพิ่มศูนย์รวดเร็วกว่าเดิมที่ขยายเอง เป้าหมาย 5 ปี 200 แห่ง พร้อมยกโมเดลนี้บุกตปท.
พญ.นลินี ไพบูลย์ ประธานกรรมการ บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ ผู้ดำเนินธุรกิจขายตรงกิฟฟารีน เปิดเผยว่า นโยบายการขยายสาขาจากนี้ไปจะมุ่งเน้นการขายสิทธิ์หรือการให้ไลเซ่นส์กับผู้ที่สนใจและพร้อมลงทุนในรูปแบบ “กิฟฟารีน ไลเซ่นส์ ชอป” ซึ่งจะเปิดตัวเป็นทางการ วันที่ 14 มิ.ย.นี้
รูปแบบดังกล่าว ใช้เงินลงทุนประมาณ 1-3 ล้านบาท โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ลงทุนจะต้องไม่เป็นสมาชิกกิฟฟารีน เพราะต้องการตัดปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนกัน และคาดว่าจะคืนทุนได้ 2-3 ปี ซึ่งบริษัทฯจะสนับสนุนทางด้าน ระบบต่างๆ การฝึกอบรม สินค้า และการตลาด
นโยบายการขายไลเซ่นส์นี้จะทำให้การขยายสาขารวดเร็วขึ้น จากเดิมที่ทำธุรกิจมานานกว่า 13 ปี เปิดสาขาได้เพียง 96 ศูนย์เท่านั้นเอง ซึ่งน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนสมาชิกที่มีมากกว่า 5 ล้านรหัสทั่วประเทศและนักธุรกิจอีกกว่า 3 แสนราย
อย่างไรก็ตามในช่วงแรกนี้บริษัทฯไม่มุ่งเน้นการให้ไลเซ่นส์มากนัก เพราะอยู่ในช่วงเริ่มต้น หากมีปัญหาอะไรจะได้ปรับเปลี่ยนทัน อีกทั้งยังต้องพิจารณาทำเลในการเปิดให้มากด้วย และต้องไม่ทับซ้อนกับสาขาเดิมของบริษัทฯที่มีอยู่เดิม โดยตั้งไว้เพียง 10 สาขาเท่านั้นในปีนี้
ส่วนในระยะยาว 4-5 ปีจากนี้ ตั้งเป้าหมายว่าจะเปิดศูนย์กิฟฟารีนไลเซ่นส์ชอปได้ประมาณ 200 แห่ง ซึ่งมันใจว่ารูปแบบใหม่นี้จะช่วยตอบสนองความต้องการผู้บริโภคและกระจายสินค้าได้รวดเร็วขึ้น และผลักดันรายได้รวมของบริษัทฯเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวเป็น 7,000-8,000 ล้านบาท จากเดิม 4,155 ล้านบาท
พญ.นลินีกล่าวต่อว่า ตลาดขายตรงในประเทศไทยขณะนี้เริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นแล้ว ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม หลังจากที่ช่วงเดือนเมษายนตลาดสะดุดเล็กน้อย แต่ภาพรวมบริษัทฯช่วง 4 เดือนแรกเติบโต 7% ขณะที่จำนวนสมาชิกใหม่เพี่ม 10% หรือประมาณเดือนละ 3.3 หมื่นราย ซึ่งตั้งเป้าหมายว่าปีนี้ทั้งปีจะมีรายได้เติบโต 10% หรือประมาณ 4,500 ล้านบาท
สำหรับในตลาดต่างประเทศนั้น มีแผนที่จะนำรูปแบบกิฟฟารีนไลเซ่นส์ชอปไปเปิดขยายเช่นกัน สำหรับตลดาประเทศใกล้เคียง ด้วยการให้ไลเซ่นส์กับผู้ที่สนใจ เช่นเดียวกับในเมืองไทย หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้เข้าไปลงทุนเองแล้วที่กัมพูชาเมื่อ 7 ปีก่อน แต่ภายหลังได้ยกเลิกไปเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา แต่ครั้งนี้สนใจตลาดประเทศมาเลเซียกับกัมพูชาอีกครั้ง
ส่วนตลาดต่างประเทศที่ไกลออกไปนั้น จะใช้วิธีการส่งออกผลิตภัณฑ์แบรนด์แพทรีนา และรับจ้างผลิตหรือโออีเอ็ม
****
พญ.นลินี ไพบูลย์ ประธานกรรมการ บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ ผู้ดำเนินธุรกิจขายตรงกิฟฟารีน เปิดเผยว่า นโยบายการขยายสาขาจากนี้ไปจะมุ่งเน้นการขายสิทธิ์หรือการให้ไลเซ่นส์กับผู้ที่สนใจและพร้อมลงทุนในรูปแบบ “กิฟฟารีน ไลเซ่นส์ ชอป” ซึ่งจะเปิดตัวเป็นทางการ วันที่ 14 มิ.ย.นี้
รูปแบบดังกล่าว ใช้เงินลงทุนประมาณ 1-3 ล้านบาท โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ลงทุนจะต้องไม่เป็นสมาชิกกิฟฟารีน เพราะต้องการตัดปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนกัน และคาดว่าจะคืนทุนได้ 2-3 ปี ซึ่งบริษัทฯจะสนับสนุนทางด้าน ระบบต่างๆ การฝึกอบรม สินค้า และการตลาด
นโยบายการขายไลเซ่นส์นี้จะทำให้การขยายสาขารวดเร็วขึ้น จากเดิมที่ทำธุรกิจมานานกว่า 13 ปี เปิดสาขาได้เพียง 96 ศูนย์เท่านั้นเอง ซึ่งน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนสมาชิกที่มีมากกว่า 5 ล้านรหัสทั่วประเทศและนักธุรกิจอีกกว่า 3 แสนราย
อย่างไรก็ตามในช่วงแรกนี้บริษัทฯไม่มุ่งเน้นการให้ไลเซ่นส์มากนัก เพราะอยู่ในช่วงเริ่มต้น หากมีปัญหาอะไรจะได้ปรับเปลี่ยนทัน อีกทั้งยังต้องพิจารณาทำเลในการเปิดให้มากด้วย และต้องไม่ทับซ้อนกับสาขาเดิมของบริษัทฯที่มีอยู่เดิม โดยตั้งไว้เพียง 10 สาขาเท่านั้นในปีนี้
ส่วนในระยะยาว 4-5 ปีจากนี้ ตั้งเป้าหมายว่าจะเปิดศูนย์กิฟฟารีนไลเซ่นส์ชอปได้ประมาณ 200 แห่ง ซึ่งมันใจว่ารูปแบบใหม่นี้จะช่วยตอบสนองความต้องการผู้บริโภคและกระจายสินค้าได้รวดเร็วขึ้น และผลักดันรายได้รวมของบริษัทฯเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวเป็น 7,000-8,000 ล้านบาท จากเดิม 4,155 ล้านบาท
พญ.นลินีกล่าวต่อว่า ตลาดขายตรงในประเทศไทยขณะนี้เริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นแล้ว ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม หลังจากที่ช่วงเดือนเมษายนตลาดสะดุดเล็กน้อย แต่ภาพรวมบริษัทฯช่วง 4 เดือนแรกเติบโต 7% ขณะที่จำนวนสมาชิกใหม่เพี่ม 10% หรือประมาณเดือนละ 3.3 หมื่นราย ซึ่งตั้งเป้าหมายว่าปีนี้ทั้งปีจะมีรายได้เติบโต 10% หรือประมาณ 4,500 ล้านบาท
สำหรับในตลาดต่างประเทศนั้น มีแผนที่จะนำรูปแบบกิฟฟารีนไลเซ่นส์ชอปไปเปิดขยายเช่นกัน สำหรับตลดาประเทศใกล้เคียง ด้วยการให้ไลเซ่นส์กับผู้ที่สนใจ เช่นเดียวกับในเมืองไทย หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้เข้าไปลงทุนเองแล้วที่กัมพูชาเมื่อ 7 ปีก่อน แต่ภายหลังได้ยกเลิกไปเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา แต่ครั้งนี้สนใจตลาดประเทศมาเลเซียกับกัมพูชาอีกครั้ง
ส่วนตลาดต่างประเทศที่ไกลออกไปนั้น จะใช้วิธีการส่งออกผลิตภัณฑ์แบรนด์แพทรีนา และรับจ้างผลิตหรือโออีเอ็ม
****