ASTVผู้จัดการรายวัน - สแตนชาร์ดฯประเมินแนวโน้มธุรกรรมระหว่างประเทศมีปริมาณเพิ่มขึ้น หลังภาคส่งออก-นำเข้าเริ่มกระเตื้อง ตั้งเป้าธุรกิจ"ทรานเซ็กชั่น แบงก์กิ้ง"ทั้งปีโต 20% ล่าสุดพัฒนาระบบ Straight2Bank เพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการ เผยขณะนี้มีผู้ใช้บริการกว่า 3.7 หมื่นรายทั่วโลก โดยเป็นลูกค้าไทย 5%
นายยุทธเดช ปัทมานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายธุรกรรมการเงิน สถาบันธนกิจ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ SCBT เปิดเผยว่า ในปีนี้ธนาคารตั้งเป้าหมายการเติบโตยอดการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินของลูกค้ารายใหญ่(ทรานเซ็กชั่น แบงก์กิ้ง) ไว้ที่ 20% จากปีผ่านมามียอดการเติบโตอยู่ที่ 15% ขณะที่ยอดการทำธุรกรรมดังกล่าวของกลุ่มธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดทั่วโลกมีการเติบโตอยู่ที่ 31%
โดยธนาคารมั่นใจว่า เป้าหมายที่ตั้งไว้ 20% นั้น ธนาคารจะสามารถทำได้ตามเป้าหมาย เนื่องจากธนาคารประเมินว่า ภาพรวมการนำเข้าและการส่งออกในช่วงที่เหลือของปีนี้จะฟื้นตัวขึ้น โดยดูได้จากความต้องการซื้อตลาดคู่ค้าของไทยเริ่มกลับมาดีขึ้น ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในตลาดสหรัฐฯดีขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ธนาคารมีจุดแข็งเรื่องการให้บริการด้านการเงิน และจะยังมีบริการออกมานำเสนอเพิ่มเติมอีก
ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ยอดทรานเซ็กชั่น แบงก์กิ้งเติบโตเพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ยอดธุรกรรมดังกล่าวคาดว่าจะดีขึ้นกว่าไตรมาสแรกเนื่องจากตลาดมีแนวโน้มดีขึ้น ประกอบกันนักลงทุนต่างประเทศเริ่มมีการกลับเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น
นายยุทธเดชกล่าวว่า ล่าสุดธนาคารได้เพิ่มขีดความสามารถของ Straight2Bank ซึ่งเป็นช่องทางบริหารเงินทุนหมุนเวียนทางอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับลูกค้าบริษัทและสถาบัน ด้วยบริการใหม่ๆ ได้แก่ คำสั่งอนุมติผ่านโทรศัพท์มือถือ,ระบบจัดการข้อมูล และการทำงานบน Straight2Bank โดยไม่เชื่อมต่อกับเครือข่าย โดยปัจจุบัน Straight2Bank ของธนาคารมีลูกค้าที่ใช้บริการ 37,700 ราย ทั่วโลก ซึ่งสามารถรองรับธุรกรรมการเงินถึง 100,000 รายการต่อวัน ขณะที่ลูกค้าที่ใช้บริการดังกล่าวเป็นลูกค้าที่อยู่ในไทยประมาณ 5%
"ความรวดเร็วต่อความเปลี่ยนแปลงทางกาตลาดเป็นเรื่องสำคัญในการดำเนินธุรกิจปัจจุบันองค์กรที่มีความสามารถในการบริหารจัดการทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยสร้างกำไรได้สูงสุด
บริการธนาคารผ่านมือถือนี้จะช่วยให้ลูกค้าองค์กรเข้าถึงข้อมูลล่าสุดของธุรกรรมได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ ความคล่องตัวนี้จะช่วยลดความล่าช้าในการดำเนินธุรกรรมการเงิน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือการบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียนและสภาพคล่องให้เกิดประโยชน์สูงสุดและความสะดวกในการดำเนินงาน"
นายยุทธเดช ปัทมานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายธุรกรรมการเงิน สถาบันธนกิจ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ SCBT เปิดเผยว่า ในปีนี้ธนาคารตั้งเป้าหมายการเติบโตยอดการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินของลูกค้ารายใหญ่(ทรานเซ็กชั่น แบงก์กิ้ง) ไว้ที่ 20% จากปีผ่านมามียอดการเติบโตอยู่ที่ 15% ขณะที่ยอดการทำธุรกรรมดังกล่าวของกลุ่มธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดทั่วโลกมีการเติบโตอยู่ที่ 31%
โดยธนาคารมั่นใจว่า เป้าหมายที่ตั้งไว้ 20% นั้น ธนาคารจะสามารถทำได้ตามเป้าหมาย เนื่องจากธนาคารประเมินว่า ภาพรวมการนำเข้าและการส่งออกในช่วงที่เหลือของปีนี้จะฟื้นตัวขึ้น โดยดูได้จากความต้องการซื้อตลาดคู่ค้าของไทยเริ่มกลับมาดีขึ้น ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในตลาดสหรัฐฯดีขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ธนาคารมีจุดแข็งเรื่องการให้บริการด้านการเงิน และจะยังมีบริการออกมานำเสนอเพิ่มเติมอีก
ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ยอดทรานเซ็กชั่น แบงก์กิ้งเติบโตเพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ยอดธุรกรรมดังกล่าวคาดว่าจะดีขึ้นกว่าไตรมาสแรกเนื่องจากตลาดมีแนวโน้มดีขึ้น ประกอบกันนักลงทุนต่างประเทศเริ่มมีการกลับเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น
นายยุทธเดชกล่าวว่า ล่าสุดธนาคารได้เพิ่มขีดความสามารถของ Straight2Bank ซึ่งเป็นช่องทางบริหารเงินทุนหมุนเวียนทางอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับลูกค้าบริษัทและสถาบัน ด้วยบริการใหม่ๆ ได้แก่ คำสั่งอนุมติผ่านโทรศัพท์มือถือ,ระบบจัดการข้อมูล และการทำงานบน Straight2Bank โดยไม่เชื่อมต่อกับเครือข่าย โดยปัจจุบัน Straight2Bank ของธนาคารมีลูกค้าที่ใช้บริการ 37,700 ราย ทั่วโลก ซึ่งสามารถรองรับธุรกรรมการเงินถึง 100,000 รายการต่อวัน ขณะที่ลูกค้าที่ใช้บริการดังกล่าวเป็นลูกค้าที่อยู่ในไทยประมาณ 5%
"ความรวดเร็วต่อความเปลี่ยนแปลงทางกาตลาดเป็นเรื่องสำคัญในการดำเนินธุรกิจปัจจุบันองค์กรที่มีความสามารถในการบริหารจัดการทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยสร้างกำไรได้สูงสุด
บริการธนาคารผ่านมือถือนี้จะช่วยให้ลูกค้าองค์กรเข้าถึงข้อมูลล่าสุดของธุรกรรมได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ ความคล่องตัวนี้จะช่วยลดความล่าช้าในการดำเนินธุรกรรมการเงิน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือการบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียนและสภาพคล่องให้เกิดประโยชน์สูงสุดและความสะดวกในการดำเนินงาน"