ASTVผู้จัดการรายวัน-เงินเฟ้อพ.ค.หัวทิ่มหัวตำ ติดลบถึง 3.3% ต่ำสุดเกิน 10 ปี “พาณิชย์”อ้างเหตุเพราะราคาสินค้าโดยรวมลดจากราคาน้ำมัน และได้อานิสงค์จากนโยบายเรียนฟรี 15 ปี ช่วยลดค่าใช้จ่ายผู้ปกครอง และผลพวงจากรัฐลดค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ฟันธงยังไม่เกิดเงินฝืด คาดตั้งแต่ส.ค. เงินเฟ้อพลิกกลับมาเป็นบวกแน่ หลังหมดมาตรการช่วยของรัฐ ข้าวของเริ่มแพงขึ้น ส่วนเป้าทั้งปียืน 0.5% เหมือนเดิม
นางพิมพาพรรณ ชาญศิลป์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) เดือนพ.ค.2552 ที่สำรวจจากสินค้าและบริการจำนวน 417 รายการ ลดลง 3.3% เมื่อเทียบกับเดือนพ.ค.2551 ซึ่งเป็นการลดลงติดต่อกัน 5 เดือน และเป็นยอดลดลงสูงสุดเกิน 10 ปี เมื่อเทียบกับเดือนเม.ย.2552 ลดลง 0.3% ทำให้ยอดเฉลี่ยเงินเฟ้อ 5 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-พ.ค.) เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลง 1.1%
สาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อเดือนพ.ค.ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มาจากการลดลงของหมวดน้ำมันเชื้อเพลิงและค่าโดยสารสาธารณะ 15.2% หมวดค่าเล่าเรียน ค่าธรรมเนียมการศึกษา หนังสือและอุปกรณ์การศึกษาลดลง 10.0% ค่ากระแสไฟฟ้าและน้ำประปาลด 4.9% และค่าเครื่องแบบนักเรียนอนุบาลและมัธยมชาย หญิง ลด 3.4% ส่วนหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เช่น ข้าว เนื้อสัตว์ ปลาและสัตว์น้ำไข่ ผักและผลไม้ เครื่องประกอบอาหาร อาหารสำเร็จรูป และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอลล์เพิ่มขึ้น 4.2% ค่าผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์เพิ่มขึ้น 5.5% ค่ายาและเวชภัณฑ์และค่าของใช้ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 1.4% หมวดบันเทิงและการอ่านเพิ่มขึ้น 0.8% ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอลล์เพิ่มขึ้น 0.5%
สำหรับสาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อเดือนพ.ค.ลดลง เมื่อเทียบกับเดือนเม.ย.2552 มาจากการปรับขึ้นดัชนีหมวดอื่นที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลง 0.5% แยกเป็นค่าเล่าเรียน ค่าธณรมเนียมศึกษา หนังสือและอุปกรณ์ศึกษาลดลง 20.6% เรื่องแบบนักเรียนอนุบาล มัธยมชาย หญิงลดลง 3.6% ค่าผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการทำความสะอาด เช่น ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาล้างจาน น้ำยารีดผ้า ลดลง 0.5%
ขณะที่สินค้าที่สูงขึ้น ได้แก่ ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศเพิ่มขึ้น 3.4% บุหรี่และสุราเพิ่มขึ้น 4.9% น้ำประปาเพิ่มขึ้น 2.6% เนื่องจากรัฐบาลลดการสนับสนุนมาตรการเกี่ยวกับสาธารณูปโภค ทำให้ประชาชนบางจังหวัดต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องเพิ่มขึ้น 0.1% โดยราคาอาหารหลายชนิดยังปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ เนื้อสุกรเพิ่มขึ้น 5.2% ไก่สดเพิ่มขึ้น 2.7% ไข่และผลิตภัณฑ์นมเพิ่มชึ้น 1.0% ปลาและสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น 0.2% และเครื่องปรุงอาหารเพิ่มขึ้น 0.1% ส่วนราคาสินค้าที่ลดลง ได้แก่ ผักและผลไม้ลดลง 2.9% เช่น ผักคะน้า ผักชี มะนาว ต้นหอมพริกสด มะม่วง เงาะ มังคุด ลิ้นจี่ และลองกอง เนื่องจากขณะนี้เข้าสู่หน้าฝน และเข้าสู่ฤดูกาลผลไม้หลายชนิดทำให้ผักและผลไม้ออกสู่ตลาดมาก รวมถึงข้าวสารเจ้าด้วย
นางพิมพาพรรณกล่าวว่า แม้เงินเฟ้อติดลบต่อเนื่อง 5 เดือน แต่ยังไม่ส่งสัญญาณว่าจะเกิดปัญหาเงินฝืด เพราะเงินเฟ้อที่ลงมาจากการลดของราคาน้ำมันที่เดือนนี้อยู่ที่ 63 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ต่ำกว่าปีก่อนที่เคยเพิ่มขึ้นสูงถึง 140 เหรียญสหรัฐ ประกอบกับในเดือนพ.ค. รัฐบาลได้ออกนโยบายลดค่าเรียนฟรี 15 ปี ทำให้ประชาชนลดค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา ซึ่งปกติเป็นรายจ่ายสำคัญของผู้ปกครองในช่วงเปิดเทอมในทุกปี
“ยังยืนยันเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 0.5% เหมือนเดิม แม้เงินเฟ้อโดยรวมในช่วง 5 เดือนแรก จะลดลงถึง 1.1% แต่เชื่อว่าหากถึงเดือนส.ค. ที่นโยบายลดค่าครองชีพทั้งการอุดหนุนค่าสาธารณูปโภค น้ำประปา ไฟฟ้า รถเมล์ รถไฟฟรี รวมถึงนโยบายเรียนฟรี 15 ปี สิ้นสุดลง จะทำให้เงินเฟ้อกลับมาเป็นบวกได้อีกครั้ง เพราะเวลานี้ราคาน้ำมันในตลาดโลกและราคาขายปลีกในประเทศปรับขึ้นแล้ว
ประกอบกับรัฐได้ขึ้นภาษีสรรพสามิตบุหรี่ และสุรา ทำให้ประชาชนมีรายจ่ายเพิ่ม และเงินเฟ้อน่าจะกลับเข้าสู่กอบเป้าหมายได้”นางพิมพาพรรณกล่าว
สำหรับเงินเฟ้อพื้นฐานเดือนพ.ค. คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 300 รายการ โดยหักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสดและกลุ่มพลังงาน ที่คิดเป็นสัดส่วน 24% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดออก เทียบกับเดือนเม.ย.2552 ลดลง 0.6% เทียบกับเดือนพ.ค.2551 ลดลง 0.3% แต่ยอดเฉลี่ย 5 เดือนแรกปีนี้ (ม.ค.-พ.ค.) เทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ยังสูงขึ้น 1.1% โดยราคาสินค้าที่ลดลงได้แก่ ค่าเล่าเรียนเครื่องแบบนักเรียน หนังสือและอุปกรณ์การเรียน ขณะที่สินค้าที่สูงขึ้น ได้แก่ ค่าน้ำประปา และเครื่องประกอบอาหาร
นางพิมพาพรรณ ชาญศิลป์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) เดือนพ.ค.2552 ที่สำรวจจากสินค้าและบริการจำนวน 417 รายการ ลดลง 3.3% เมื่อเทียบกับเดือนพ.ค.2551 ซึ่งเป็นการลดลงติดต่อกัน 5 เดือน และเป็นยอดลดลงสูงสุดเกิน 10 ปี เมื่อเทียบกับเดือนเม.ย.2552 ลดลง 0.3% ทำให้ยอดเฉลี่ยเงินเฟ้อ 5 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-พ.ค.) เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลง 1.1%
สาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อเดือนพ.ค.ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มาจากการลดลงของหมวดน้ำมันเชื้อเพลิงและค่าโดยสารสาธารณะ 15.2% หมวดค่าเล่าเรียน ค่าธรรมเนียมการศึกษา หนังสือและอุปกรณ์การศึกษาลดลง 10.0% ค่ากระแสไฟฟ้าและน้ำประปาลด 4.9% และค่าเครื่องแบบนักเรียนอนุบาลและมัธยมชาย หญิง ลด 3.4% ส่วนหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เช่น ข้าว เนื้อสัตว์ ปลาและสัตว์น้ำไข่ ผักและผลไม้ เครื่องประกอบอาหาร อาหารสำเร็จรูป และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอลล์เพิ่มขึ้น 4.2% ค่าผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์เพิ่มขึ้น 5.5% ค่ายาและเวชภัณฑ์และค่าของใช้ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 1.4% หมวดบันเทิงและการอ่านเพิ่มขึ้น 0.8% ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอลล์เพิ่มขึ้น 0.5%
สำหรับสาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อเดือนพ.ค.ลดลง เมื่อเทียบกับเดือนเม.ย.2552 มาจากการปรับขึ้นดัชนีหมวดอื่นที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลง 0.5% แยกเป็นค่าเล่าเรียน ค่าธณรมเนียมศึกษา หนังสือและอุปกรณ์ศึกษาลดลง 20.6% เรื่องแบบนักเรียนอนุบาล มัธยมชาย หญิงลดลง 3.6% ค่าผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการทำความสะอาด เช่น ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาล้างจาน น้ำยารีดผ้า ลดลง 0.5%
ขณะที่สินค้าที่สูงขึ้น ได้แก่ ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศเพิ่มขึ้น 3.4% บุหรี่และสุราเพิ่มขึ้น 4.9% น้ำประปาเพิ่มขึ้น 2.6% เนื่องจากรัฐบาลลดการสนับสนุนมาตรการเกี่ยวกับสาธารณูปโภค ทำให้ประชาชนบางจังหวัดต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องเพิ่มขึ้น 0.1% โดยราคาอาหารหลายชนิดยังปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ เนื้อสุกรเพิ่มขึ้น 5.2% ไก่สดเพิ่มขึ้น 2.7% ไข่และผลิตภัณฑ์นมเพิ่มชึ้น 1.0% ปลาและสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น 0.2% และเครื่องปรุงอาหารเพิ่มขึ้น 0.1% ส่วนราคาสินค้าที่ลดลง ได้แก่ ผักและผลไม้ลดลง 2.9% เช่น ผักคะน้า ผักชี มะนาว ต้นหอมพริกสด มะม่วง เงาะ มังคุด ลิ้นจี่ และลองกอง เนื่องจากขณะนี้เข้าสู่หน้าฝน และเข้าสู่ฤดูกาลผลไม้หลายชนิดทำให้ผักและผลไม้ออกสู่ตลาดมาก รวมถึงข้าวสารเจ้าด้วย
นางพิมพาพรรณกล่าวว่า แม้เงินเฟ้อติดลบต่อเนื่อง 5 เดือน แต่ยังไม่ส่งสัญญาณว่าจะเกิดปัญหาเงินฝืด เพราะเงินเฟ้อที่ลงมาจากการลดของราคาน้ำมันที่เดือนนี้อยู่ที่ 63 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ต่ำกว่าปีก่อนที่เคยเพิ่มขึ้นสูงถึง 140 เหรียญสหรัฐ ประกอบกับในเดือนพ.ค. รัฐบาลได้ออกนโยบายลดค่าเรียนฟรี 15 ปี ทำให้ประชาชนลดค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา ซึ่งปกติเป็นรายจ่ายสำคัญของผู้ปกครองในช่วงเปิดเทอมในทุกปี
“ยังยืนยันเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 0.5% เหมือนเดิม แม้เงินเฟ้อโดยรวมในช่วง 5 เดือนแรก จะลดลงถึง 1.1% แต่เชื่อว่าหากถึงเดือนส.ค. ที่นโยบายลดค่าครองชีพทั้งการอุดหนุนค่าสาธารณูปโภค น้ำประปา ไฟฟ้า รถเมล์ รถไฟฟรี รวมถึงนโยบายเรียนฟรี 15 ปี สิ้นสุดลง จะทำให้เงินเฟ้อกลับมาเป็นบวกได้อีกครั้ง เพราะเวลานี้ราคาน้ำมันในตลาดโลกและราคาขายปลีกในประเทศปรับขึ้นแล้ว
ประกอบกับรัฐได้ขึ้นภาษีสรรพสามิตบุหรี่ และสุรา ทำให้ประชาชนมีรายจ่ายเพิ่ม และเงินเฟ้อน่าจะกลับเข้าสู่กอบเป้าหมายได้”นางพิมพาพรรณกล่าว
สำหรับเงินเฟ้อพื้นฐานเดือนพ.ค. คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 300 รายการ โดยหักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสดและกลุ่มพลังงาน ที่คิดเป็นสัดส่วน 24% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดออก เทียบกับเดือนเม.ย.2552 ลดลง 0.6% เทียบกับเดือนพ.ค.2551 ลดลง 0.3% แต่ยอดเฉลี่ย 5 เดือนแรกปีนี้ (ม.ค.-พ.ค.) เทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ยังสูงขึ้น 1.1% โดยราคาสินค้าที่ลดลงได้แก่ ค่าเล่าเรียนเครื่องแบบนักเรียน หนังสือและอุปกรณ์การเรียน ขณะที่สินค้าที่สูงขึ้น ได้แก่ ค่าน้ำประปา และเครื่องประกอบอาหาร