การกลับมาอีกครั้งของพลพรรค”แดงเถื่อน”ที่นัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 27 มิถุนายน 2552 โดยแบ่งการเคลื่อนไหวออกเป็นสองช่วงคือ
ช่วงแรก 21-24 มิ.ย. จะมีการนัดชุมนุม เปิดเวทีปราศรัยย่อยเพื่อระดมพลและปลุกเร้าแนวร่วมไปเรื่อยๆ
จากนั้นจะมีการเคลื่อนไหวใหญ่อีกครั้ง 27 มิ.ย. ที่3 แกนนำเสื้อแดง คือวีระ มุกสิกพงศ์-ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ-จตุพร พรหมพันธุ์ กลับมาจับมือกันป่วนบ้านป่วนเมืองอีกครั้ง
โดยมีเป้าหมายคือ เพื่อกดดันรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้พ้นจากอำนาจ
การเคลื่อนไหวครั้งนี้ของคนเสื้อแดง แม้จะเหลือเวลาอีกนาน และหลายคนประเมินว่ากำลังของคนเสื้อแดงหดหาย และเสียแนวร่วมไปจำนวนมาก หลังผ่านพ้นเหตุการณ์สงกรานต์เลือด แต่ไม่ควรที่ ทหาร-ตำรวจ-ฝ่ายปกครองจะปรามาสการชุมนุมดังกล่าวของเสื้อแดง ว่าไร้น้ำยาโดยเด็ดขาด
เพราะบทเรียนการประเมินสถานการณ์ที่ผิดพลาดของรัฐบาลในการชุมนุมใหญ่เสื้อแดงเมื่อกลางเดือนเมษายน ที่ผ่านมา จนกลายเป็นสงกรานต์เลือด
แม้รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะชนะทักษิณ ชินวัตร-กองทัพเสื้อแดง-เพื่อไทย สามประสาน ที่ร่วมกันเผาบ้านเผาเมือง แต่ก็เป็นชัยชนะบนความเจ็บปวดของคนไทยทั้งชาติ อันเป็นบทเรียนครั้งเดียวก็เกินพอ
แน่นอนว่า เมื่อไม่ควรประมาทด้วยประการใดๆแล้ว หน้าที่ของรัฐบาลต้องเตรียมพร้อมรับสถานการณ์รอบด้านให้เต็มที่
ทั้งนี้ สัญญาณการเมืองต่างๆ บ่งชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่า คนอย่างทักษิณ ชินวัตร ยากจะยอมล้มความตั้งใจในการทำร้ายประเทศ และการทำร้ายประเทศรอบใหม่ ก็ต้องทำให้ได้
ยามนี้อาจจะเป็นจังหวะเหมาะของการรุกรบครั้งใหม่ก็ได้ เพราะ รัฐบาลอภิสิทธิ์ มีปัญหาความขัดแย้งอย่างรุนแรงทางการเมือง กับพรรคร่วมรัฐบาล อันเนื่องมาจากการขัดกันในเรื่องผลประโยชน์ของแต่ละพรรคการเมือง จนมีทีท่าว่าจะไม่ยอมยุติกันได้ง่ายๆ
แต่อย่างไรก็ดี สุดท้าย อาจเป็นไปได้ว่า หากพรรคร่วมไม่แตกหักจนเกิดการเปลี่ยนแปลงภายในพรรคร่วมรัฐบาล เชื่อว่าเมื่อใกล้ถึงวันที่เสื้อแดงนัดชุมนุมใหญ่ พรรคร่วมรัฐบาลทั้งหมด จะหันมาจับมือสงบศึกกันโดยทันที เพื่อตั้งรับกับศัตรูคนเดียวกัน
นั่นก็คือ “ทักษิณ –เสื้อแดง-เพื่อไทย”
และดูเหมือนครั้งนี้ ฝ่ายการข่าวของรัฐบาลและหน่วยข่าวความมั่นคง จะทำการบ้านมาอย่างหนัก จึงส่งข้อมูลให้นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รู้ความเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆว่า ยังมีความเคลื่อนไหวอยู่อย่างต่อเนื่อง
แต่สิ่งที่นายกรัฐมนตรีดูจะหนักใจมากเป็นพิเศษก็คือ กลุ่มนักธุรกิจใหญ่ และกลุ่มทุน ผู้เสียผลประโยชน์จากนโยบายของรัฐบาล ออกอาการต้องการโค่นล้มรัฐบาล ให้ไปก่อนกำหนด
เมื่อวิเคราะห์รูปการแล้ว ฝ่ายผู้เสียประโยชน์จากการมีอยู่ของรัฐบาลประชาธิปัตย์ ที่หากอยู่ยาวก็อาจทำให้อะไรติดขัดไปหมด โดยเฉพาะผลประโยชน์ต่างๆ จึงอาจหันไปจับมือกับกลุ่มตรงข้ามรัฐบาล เช่น ฝ่ายเสื้อแดงด้วยการส่ง
กำลังบำรุงและน้ำมันหล่อลื่น
เพื่อหล่อเลี้ยงการชุมนุมใหญ่ของคนเสื้อแดง ที่แม้ตอนนี้แกนนำนปช. จะประกาศว่าการนัดชุมนุมใหญ่ที่สนามหลวง จะไม่มีการปักหลักค้างคืน และเคลื่อนย้ายมวลชน แต่ก็ยังไม่แน่นอน ต้องรอดูสถานการณ์อีกครั้งในยามนั้น
อันหมายความว่า สถานการณ์ย่อมเปลี่ยนแปลงได้ทุกเมื่อ และมีโอกาสเช่นกันหากว่าการชุมนุมครั้งนี้ คนเสื้อแดงมาร่วมชุมนุมกันจำนวนมาก จนแกนนำนปช. ฮึกเหิม ก็จะถือโอกาสเคลื่อนย้ายออกจากสนามหลวงไปปักหลักชุมนุมตามสถานที่ต่างๆ เช่นหน้าทำเนียบรัฐบาล หน้ารัฐสภา
โดยการเคลื่อนไหวของเสื้อแดงครั้งนี้ อาจถือเป็นโอกาสอันดีที่กลุ่มผู้เสียผลประโยชน์อาจจะผสมโรงร่วมกับเสื้อแดง กดดันรัฐบาลไปในตัว
จนมีคำเตือนออกมาจากนายกรัฐมนตรี ที่ไปพูดกับนักธุรกิจเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ณ โรงแรมพลาซ่าแอทธินี เหมือนกับจะต้องการดักคออยู่ในทีว่า รัฐบาลคอยมอนิเตอร์กลุ่มที่หนุนหลังฝ่ายล้มรัฐบาลอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากทำเกินขอบเขต ก็พร้อมจัดการแต่ต้นลม
"วันนี้อาจจะดูสงบ แต่คนที่ไม่ต้องการให้สงบยังมีอยู่และยังทำงานอยู่ และเดือนหน้าจะเริ่มต้นเห็นความพยายามอีกครั้งหนึ่ง เผาบ้านเผาเมือง ถ้ามีใครคิดที่จะไปสนับสนุนให้คนทำสิ่งต่างๆ ที่ไม่ถูกต้อง ถ้ามีหลักฐานผมดำเนินตามกฎหมาย"
แม้นายกรัฐมนตรีไม่ระบุให้ชัด และขยายความถึงเรื่องนี้ว่า เป็นกลุ่มไหน กลุ่มที่ทำมีเป้าหมายอย่างไร วิธีการทำอย่างไร
แต่การไปพูดกับกลุ่มนักธุรกิจ กลุ่มชนชั้นนำ ก็ย่อมเหมือนกับต้องการจะบอกว่า ใครคิดจะทำอะไร แค่ขยับรัฐบาลก็รู้ความเคลื่อนไหวแล้ว
แถมยิ่งการที่ สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ออกมาสำทับ แสดงความเป็นห่วงต่อสถานการณ์ความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศทั้งในการให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน และเตือนรัฐมนตรีของพรรคประชาธิปัตย์กลางโต๊ะจีน ที่โรงแรมคอนราด เมื่อ 31 พฤษภาคม ว่าให้ระวังตัวเวลาลงพื้นที่ เพราะกำลังมีความพยายามสร้างสถานการณ์ เพื่อทำให้เกิดเหตุวุ่นวายภายในประเทศ
คนระดับนายกรัฐมนตรี-รองนายกรัฐมนตรี ที่เคยเกือบเอาชีวิตไม่รอด ต้องตายคารถในกระทรวงมหาดไทยมาแล้ว ออกมาแสดงความวิตกกังวลในการเคลื่อนไหวเพื่อล้มรัฐบาล แม้จะเป็นการพูดในช่วงที่รัฐบาลกำลังมีปัญหาความขัดแย้งภายในพรรคร่วมรัฐบาลอย่างรุนแรง แต่ดูจากลักษณะแล้ว
ย่อมไม่ใช่เพื่อหวังผลสร้างข่าวใหม่กลบข่าวความขัดแย้งภายในพรรคร่วมรัฐบาลแน่นอน
เลยทำให้เค้าลางความวุ่นวายในบ้านเมืองที่เกิดจากการเตือนล่วงหน้าของนายกฯ-รองนายกฯ มันจึงยิ่งเติมเชื้อไฟให้เห็นเค้าลางว่า รัฐบาลไม่ไว้ใจสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นเช่นกัน
สำหรับกลุ่มธุรกิจ-นายทุน ที่พบว่าอาจไม่พอใจรัฐบาลประชาธิปัตย์ในตอนนี้ พบว่ามี 3 กลุ่มหลักๆ แล้วที่เห็นเด่นชัด
1. กลุ่มบริษัทที่ทำธุรกิจด้านประมูลสินค้าเกษตรกรรม ที่อยู่ในโครงการรับจำนำสินค้าเกษตรของกระทรวงพาณิชย์ ที่กำลังไม่พอใจความล่าช้าของพรรคประชาธิปัตย์ ในการขวางโครงการ จนทำให้ยังไม่มีการส่งมอบสินค้าทั้งที่ทำสัญญาซื้อขายไปแล้ว
2. กลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับการประมูลจัดหารถเมล์ ขสมก. 4 พันคัน ของขสมก.ที่ประชาธิปัตย์ พยายามขวางทางปืนของพรรคภูมิใจไทย เพราะรู้ดีว่า โครงการนี้มีผลประโยชน์นับหมื่นล้านบาทรออยู่
และกลุ่มที่ 3. คือ
กลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจน้ำเมา เพราะการที่กระทรวงการคลังแก้ปัญหารัฐบาลถังแตก ด้วยการขึ้นภาษีสรรพสามิตเหล้า เบียร์ ทำให้ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกฮอล์สะเทือนไม่น้อย โดยเฉพาะกับยอดขายที่ต้องลดลง และทำให้บริษัทธุรกิจน้ำเมามีกำไรลดน้อยลงไปด้วย
แต่ประเด็นใหญ่ ที่ทำให้กลุ่มทุนผู้ประกอบการธุรกิจน้ำเมาไม่พอใจอย่างมากก็คือ การอ้างของคนในธุรกิจน้ำเมาว่า มีความเหลื่อมล้ำในการขึ้นภาษี
เพราะภาษีเหล้าขาวที่เสียอยู่ปัจจุบัน คือ 1.10 สตางค์ ปรับเพิ่มเป็น 1.20 สตางค์ อันเท่ากับว่ามีการปรับแค่ 10 สตางค์/ลิตร เท่านั้น ซึ่งน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับการขึ้นภาษีตัวอื่นๆ เช่น ภาษีเบียร์ที่ปรับเพิ่มจาก 55% เป็น 60% ภาษีสุราขาว ตามตัวเลขเพิ่มจาก 110 เป็น 120 ภาษีสุราผสมจาก 280 เป็น 300 ภาษีสุราพิเศษจาก 45 เป็น 48
จนผู้บริหารบริษัทน้ำเมาออกมาโวยวายรัฐบาลเสียยกใหญ่ แต่เมื่อไม่สามารถทำอะไรได้ ก็คงได้แต่เก็บความไม่พอใจเอาไว้ในอก และรอวันปลดปล่อยในไม่ช้า
มันจึงเป็นสภาวะ ศึกในระอุ ศึกนอกปะทุ ปัญหารุมเร้า ทั้งเกาเหลาในพรรคร่วมรัฐบาล ความไม่พอใจรัฐบาลของกลุ่มคนต่างๆ ที่ขยายวงออกไปเรื่อยๆ จากนักการเมืองก็เริ่มมีผู้เสียประโยชน์จากธุรกิจ
ถือเป็นบททดสอบครั้งสำคัญจริงๆ สำหรับอภิสิทธิ์ในยามนี้
ช่วงแรก 21-24 มิ.ย. จะมีการนัดชุมนุม เปิดเวทีปราศรัยย่อยเพื่อระดมพลและปลุกเร้าแนวร่วมไปเรื่อยๆ
จากนั้นจะมีการเคลื่อนไหวใหญ่อีกครั้ง 27 มิ.ย. ที่3 แกนนำเสื้อแดง คือวีระ มุกสิกพงศ์-ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ-จตุพร พรหมพันธุ์ กลับมาจับมือกันป่วนบ้านป่วนเมืองอีกครั้ง
โดยมีเป้าหมายคือ เพื่อกดดันรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้พ้นจากอำนาจ
การเคลื่อนไหวครั้งนี้ของคนเสื้อแดง แม้จะเหลือเวลาอีกนาน และหลายคนประเมินว่ากำลังของคนเสื้อแดงหดหาย และเสียแนวร่วมไปจำนวนมาก หลังผ่านพ้นเหตุการณ์สงกรานต์เลือด แต่ไม่ควรที่ ทหาร-ตำรวจ-ฝ่ายปกครองจะปรามาสการชุมนุมดังกล่าวของเสื้อแดง ว่าไร้น้ำยาโดยเด็ดขาด
เพราะบทเรียนการประเมินสถานการณ์ที่ผิดพลาดของรัฐบาลในการชุมนุมใหญ่เสื้อแดงเมื่อกลางเดือนเมษายน ที่ผ่านมา จนกลายเป็นสงกรานต์เลือด
แม้รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะชนะทักษิณ ชินวัตร-กองทัพเสื้อแดง-เพื่อไทย สามประสาน ที่ร่วมกันเผาบ้านเผาเมือง แต่ก็เป็นชัยชนะบนความเจ็บปวดของคนไทยทั้งชาติ อันเป็นบทเรียนครั้งเดียวก็เกินพอ
แน่นอนว่า เมื่อไม่ควรประมาทด้วยประการใดๆแล้ว หน้าที่ของรัฐบาลต้องเตรียมพร้อมรับสถานการณ์รอบด้านให้เต็มที่
ทั้งนี้ สัญญาณการเมืองต่างๆ บ่งชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่า คนอย่างทักษิณ ชินวัตร ยากจะยอมล้มความตั้งใจในการทำร้ายประเทศ และการทำร้ายประเทศรอบใหม่ ก็ต้องทำให้ได้
ยามนี้อาจจะเป็นจังหวะเหมาะของการรุกรบครั้งใหม่ก็ได้ เพราะ รัฐบาลอภิสิทธิ์ มีปัญหาความขัดแย้งอย่างรุนแรงทางการเมือง กับพรรคร่วมรัฐบาล อันเนื่องมาจากการขัดกันในเรื่องผลประโยชน์ของแต่ละพรรคการเมือง จนมีทีท่าว่าจะไม่ยอมยุติกันได้ง่ายๆ
แต่อย่างไรก็ดี สุดท้าย อาจเป็นไปได้ว่า หากพรรคร่วมไม่แตกหักจนเกิดการเปลี่ยนแปลงภายในพรรคร่วมรัฐบาล เชื่อว่าเมื่อใกล้ถึงวันที่เสื้อแดงนัดชุมนุมใหญ่ พรรคร่วมรัฐบาลทั้งหมด จะหันมาจับมือสงบศึกกันโดยทันที เพื่อตั้งรับกับศัตรูคนเดียวกัน
นั่นก็คือ “ทักษิณ –เสื้อแดง-เพื่อไทย”
และดูเหมือนครั้งนี้ ฝ่ายการข่าวของรัฐบาลและหน่วยข่าวความมั่นคง จะทำการบ้านมาอย่างหนัก จึงส่งข้อมูลให้นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รู้ความเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆว่า ยังมีความเคลื่อนไหวอยู่อย่างต่อเนื่อง
แต่สิ่งที่นายกรัฐมนตรีดูจะหนักใจมากเป็นพิเศษก็คือ กลุ่มนักธุรกิจใหญ่ และกลุ่มทุน ผู้เสียผลประโยชน์จากนโยบายของรัฐบาล ออกอาการต้องการโค่นล้มรัฐบาล ให้ไปก่อนกำหนด
เมื่อวิเคราะห์รูปการแล้ว ฝ่ายผู้เสียประโยชน์จากการมีอยู่ของรัฐบาลประชาธิปัตย์ ที่หากอยู่ยาวก็อาจทำให้อะไรติดขัดไปหมด โดยเฉพาะผลประโยชน์ต่างๆ จึงอาจหันไปจับมือกับกลุ่มตรงข้ามรัฐบาล เช่น ฝ่ายเสื้อแดงด้วยการส่ง
กำลังบำรุงและน้ำมันหล่อลื่น
เพื่อหล่อเลี้ยงการชุมนุมใหญ่ของคนเสื้อแดง ที่แม้ตอนนี้แกนนำนปช. จะประกาศว่าการนัดชุมนุมใหญ่ที่สนามหลวง จะไม่มีการปักหลักค้างคืน และเคลื่อนย้ายมวลชน แต่ก็ยังไม่แน่นอน ต้องรอดูสถานการณ์อีกครั้งในยามนั้น
อันหมายความว่า สถานการณ์ย่อมเปลี่ยนแปลงได้ทุกเมื่อ และมีโอกาสเช่นกันหากว่าการชุมนุมครั้งนี้ คนเสื้อแดงมาร่วมชุมนุมกันจำนวนมาก จนแกนนำนปช. ฮึกเหิม ก็จะถือโอกาสเคลื่อนย้ายออกจากสนามหลวงไปปักหลักชุมนุมตามสถานที่ต่างๆ เช่นหน้าทำเนียบรัฐบาล หน้ารัฐสภา
โดยการเคลื่อนไหวของเสื้อแดงครั้งนี้ อาจถือเป็นโอกาสอันดีที่กลุ่มผู้เสียผลประโยชน์อาจจะผสมโรงร่วมกับเสื้อแดง กดดันรัฐบาลไปในตัว
จนมีคำเตือนออกมาจากนายกรัฐมนตรี ที่ไปพูดกับนักธุรกิจเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ณ โรงแรมพลาซ่าแอทธินี เหมือนกับจะต้องการดักคออยู่ในทีว่า รัฐบาลคอยมอนิเตอร์กลุ่มที่หนุนหลังฝ่ายล้มรัฐบาลอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากทำเกินขอบเขต ก็พร้อมจัดการแต่ต้นลม
"วันนี้อาจจะดูสงบ แต่คนที่ไม่ต้องการให้สงบยังมีอยู่และยังทำงานอยู่ และเดือนหน้าจะเริ่มต้นเห็นความพยายามอีกครั้งหนึ่ง เผาบ้านเผาเมือง ถ้ามีใครคิดที่จะไปสนับสนุนให้คนทำสิ่งต่างๆ ที่ไม่ถูกต้อง ถ้ามีหลักฐานผมดำเนินตามกฎหมาย"
แม้นายกรัฐมนตรีไม่ระบุให้ชัด และขยายความถึงเรื่องนี้ว่า เป็นกลุ่มไหน กลุ่มที่ทำมีเป้าหมายอย่างไร วิธีการทำอย่างไร
แต่การไปพูดกับกลุ่มนักธุรกิจ กลุ่มชนชั้นนำ ก็ย่อมเหมือนกับต้องการจะบอกว่า ใครคิดจะทำอะไร แค่ขยับรัฐบาลก็รู้ความเคลื่อนไหวแล้ว
แถมยิ่งการที่ สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ออกมาสำทับ แสดงความเป็นห่วงต่อสถานการณ์ความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศทั้งในการให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน และเตือนรัฐมนตรีของพรรคประชาธิปัตย์กลางโต๊ะจีน ที่โรงแรมคอนราด เมื่อ 31 พฤษภาคม ว่าให้ระวังตัวเวลาลงพื้นที่ เพราะกำลังมีความพยายามสร้างสถานการณ์ เพื่อทำให้เกิดเหตุวุ่นวายภายในประเทศ
คนระดับนายกรัฐมนตรี-รองนายกรัฐมนตรี ที่เคยเกือบเอาชีวิตไม่รอด ต้องตายคารถในกระทรวงมหาดไทยมาแล้ว ออกมาแสดงความวิตกกังวลในการเคลื่อนไหวเพื่อล้มรัฐบาล แม้จะเป็นการพูดในช่วงที่รัฐบาลกำลังมีปัญหาความขัดแย้งภายในพรรคร่วมรัฐบาลอย่างรุนแรง แต่ดูจากลักษณะแล้ว
ย่อมไม่ใช่เพื่อหวังผลสร้างข่าวใหม่กลบข่าวความขัดแย้งภายในพรรคร่วมรัฐบาลแน่นอน
เลยทำให้เค้าลางความวุ่นวายในบ้านเมืองที่เกิดจากการเตือนล่วงหน้าของนายกฯ-รองนายกฯ มันจึงยิ่งเติมเชื้อไฟให้เห็นเค้าลางว่า รัฐบาลไม่ไว้ใจสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นเช่นกัน
สำหรับกลุ่มธุรกิจ-นายทุน ที่พบว่าอาจไม่พอใจรัฐบาลประชาธิปัตย์ในตอนนี้ พบว่ามี 3 กลุ่มหลักๆ แล้วที่เห็นเด่นชัด
1. กลุ่มบริษัทที่ทำธุรกิจด้านประมูลสินค้าเกษตรกรรม ที่อยู่ในโครงการรับจำนำสินค้าเกษตรของกระทรวงพาณิชย์ ที่กำลังไม่พอใจความล่าช้าของพรรคประชาธิปัตย์ ในการขวางโครงการ จนทำให้ยังไม่มีการส่งมอบสินค้าทั้งที่ทำสัญญาซื้อขายไปแล้ว
2. กลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับการประมูลจัดหารถเมล์ ขสมก. 4 พันคัน ของขสมก.ที่ประชาธิปัตย์ พยายามขวางทางปืนของพรรคภูมิใจไทย เพราะรู้ดีว่า โครงการนี้มีผลประโยชน์นับหมื่นล้านบาทรออยู่
และกลุ่มที่ 3. คือ
กลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจน้ำเมา เพราะการที่กระทรวงการคลังแก้ปัญหารัฐบาลถังแตก ด้วยการขึ้นภาษีสรรพสามิตเหล้า เบียร์ ทำให้ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกฮอล์สะเทือนไม่น้อย โดยเฉพาะกับยอดขายที่ต้องลดลง และทำให้บริษัทธุรกิจน้ำเมามีกำไรลดน้อยลงไปด้วย
แต่ประเด็นใหญ่ ที่ทำให้กลุ่มทุนผู้ประกอบการธุรกิจน้ำเมาไม่พอใจอย่างมากก็คือ การอ้างของคนในธุรกิจน้ำเมาว่า มีความเหลื่อมล้ำในการขึ้นภาษี
เพราะภาษีเหล้าขาวที่เสียอยู่ปัจจุบัน คือ 1.10 สตางค์ ปรับเพิ่มเป็น 1.20 สตางค์ อันเท่ากับว่ามีการปรับแค่ 10 สตางค์/ลิตร เท่านั้น ซึ่งน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับการขึ้นภาษีตัวอื่นๆ เช่น ภาษีเบียร์ที่ปรับเพิ่มจาก 55% เป็น 60% ภาษีสุราขาว ตามตัวเลขเพิ่มจาก 110 เป็น 120 ภาษีสุราผสมจาก 280 เป็น 300 ภาษีสุราพิเศษจาก 45 เป็น 48
จนผู้บริหารบริษัทน้ำเมาออกมาโวยวายรัฐบาลเสียยกใหญ่ แต่เมื่อไม่สามารถทำอะไรได้ ก็คงได้แต่เก็บความไม่พอใจเอาไว้ในอก และรอวันปลดปล่อยในไม่ช้า
มันจึงเป็นสภาวะ ศึกในระอุ ศึกนอกปะทุ ปัญหารุมเร้า ทั้งเกาเหลาในพรรคร่วมรัฐบาล ความไม่พอใจรัฐบาลของกลุ่มคนต่างๆ ที่ขยายวงออกไปเรื่อยๆ จากนักการเมืองก็เริ่มมีผู้เสียประโยชน์จากธุรกิจ
ถือเป็นบททดสอบครั้งสำคัญจริงๆ สำหรับอภิสิทธิ์ในยามนี้