ASTVผู้จัดการรายวัน - กระทรวงการคลังเผยภาวะเศรษฐกิจเม.ย.สัญญาณด้านภาคการผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น แต่ยังจับตาอีก 1 เดือนหวั่นดีแค่ชั่วคราว เชื่อไตรมาส 2 ติดลบน้อยลงเร่งเดินหน้าลงทุนดันจีดีพีไตรมาส 4 เป็นบวก ชี้การเมือง-พ.ร.ก.กู้เงินตัวแปรทำเศรษฐกิจทรุดต่อเนื่องเกิน 4 ไตรมาส ขณะที่กรมศุลฯเผยส่งออกพ.ค.ยังติดลบ 30%
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจช่วงเดือนเม.ย.ที่ผ่านมาว่า เศรษฐกิจไทยเริ่มมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นเห็นได้จากการหดตัวที่ลดลงในการผลิตภาคอุตสาหกรรม โดยได้รับแรงสนับสนุนจากอุตสาหกรรมอาหารและเคมีภัณฑ์ที่สามารถส่งออกไปยังตลาดในภูมิภาคได้เพิ่มขึ้น เช่น จีน อินเดีย ที่เป็นตัวนำของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขการนำเข้าวัตถุดิบที่เริ่มหดตัวลดลงเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม สัญญาณที่ดีขึ้นนั้นอาจเป็นการปรับตัวดีขึ้นชั่วคราว จึงต้องรอดูตัวเลขของเดือนพ.ค.อีกเดือนเพื่อประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไตรมาส 2 อีกครั้ง แต่จากเครื่องชี้วัดอื่นๆ ทั้งการผลิตในภาคเกษตรและบริการที่หดตัวมากขึ้น ขณะที่การใช้จ่ายของภาคเอกชนทั้งการบริโภคและการลงทุนยังอ่อนแอ และผลกระทบจากเหตุการณ์วุ่นวายทางการเมืองเดือนเม.ย.ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงจากเดือนก่อนหน้า จึงมองว่าจีดีพีไตรมาส 2 ยังคงหดตัวต่อเนื่องจากไตรมาสแรกแต่น่าจะต่ำว่า 7.1% ดังนั้นภาครัฐจำเป็นต้องเร่งใช้จ่ายและลงทุนในประเทศผ่านงบประมาณต่อไป
ส่วนไตรมาส 3 มองว่ามาตรการต่างๆของภาครัฐน่าจะเริ่มเห็นผล ทั้งการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณและหากการเมืองยังนิ่ง เชื่อว่าจีดีพีน่าจะหดตัวลดลง และน่าจะขยายตัวเป็นบวกได้ในไตรมาส 4 แต่สิ่งสำคัญคือร่างพ.ร.ก.ที่ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 4 แสนล้านบาทต้องผ่านสภาและมีผลบังคับใช้ในทางปฎิบัติ เพราะเป็นช่วงเวลาที่รัฐมีความจำเป็นต้องใช้เงินงบประมาณพยุงเศรษฐกิจต่อเนื่อง และเป็นช่วงที่งบประมาณปี 2553 เริ่มมีผลแต่การจัดเก็บรายได้ยังไม่มีเข้ามาจึงต้องใช้เงินกู้ดังกล่าว
"การประเมินดังกล่าวอยู่ภายใต้สถานการณ์ว่าการเมืองในประเทศต้องนิ่ง เพราะปัจจัยดังกล่าวมีน้ำหนักต่อเศรษฐกิจไทยมากกว่าวิกฤติการเงินโลกด้วยซ้ำ ประกอบกับร่างพ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้านบาทต้องมีผล หากชะลอออกไปไม่เป็นไปตามแผนการใช้จ่ายเงิน ก็อาจส่งผลให้จีดีพีไตรมาส 4 ยังติดลบต่อเนื่อง หลังจากที่คาดว่าจะติดลบต่อเนื่อง 4 ไตรมาสตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปีก่อน ซึ่งยอมรับว่าการติดลบแค่ 2 ไตรมาสก็ถือว่าเศรษฐกิจก็เข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว" นายสมชัยกล่าวและว่าการใช้เงินกู้ทุก 1 แสนล้านบาทมีผลต่อการกระตุ้นจีดีพีได้ 1%
สำหรับการดำเนินนโยบายการคลังถือว่ารัฐบาลทำเต็มที่แล้ว รอเพียงพ.ร.ก.กู้เงิน ส่วนนโยบายการเงินเห็นว่าธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ก็ทำหน้าที่ได้ดีในระดับหนึ่งทั้งการส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยและการดูแลค่าเงิน แต่หากจำเป็นในการใช้เป็นเครื่องมือช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็สามารถทำได้โดยต้องบริหารค่าเงินให้สอดคล้องกับประเทศเพื่อนบ้านและช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงสร้างเสถียรภาพให้เศรษฐกิจในระยะยาว แต่คงไม่เหมาะสมหากจะแยกค่าเงินออกเป็น 2 ตลาดสำหรับกระตุ้นการส่งออกโดยเฉพาะตามที่ภาคเอกชนเสนอมา
นายอุทิศ ธรรมวาทิน อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า แนวโน้มการส่งออกเดือนพ.ค.ยังคงติดลบต่อเนื่องจากเดือนเม.ย. โดยอาจจะติดลบประมาณ 30% เทียบกับเดือนเม.ย.ที่ติดลบ 26.1% เนื่องจากเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกยังไม่มีสัญญาณที่ดีขึ้น ขณะที่การนำเข้าก็อยู่ในภาวะติดลบเช่นเดียวกันทำให้ 7 เดือนที่ผ่านมารายได้ของกรมศุลกากรต่ำกว่าเป้าหมายแล้วประมาณ 1 หมื่นล้านบาท
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจช่วงเดือนเม.ย.ที่ผ่านมาว่า เศรษฐกิจไทยเริ่มมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นเห็นได้จากการหดตัวที่ลดลงในการผลิตภาคอุตสาหกรรม โดยได้รับแรงสนับสนุนจากอุตสาหกรรมอาหารและเคมีภัณฑ์ที่สามารถส่งออกไปยังตลาดในภูมิภาคได้เพิ่มขึ้น เช่น จีน อินเดีย ที่เป็นตัวนำของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขการนำเข้าวัตถุดิบที่เริ่มหดตัวลดลงเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม สัญญาณที่ดีขึ้นนั้นอาจเป็นการปรับตัวดีขึ้นชั่วคราว จึงต้องรอดูตัวเลขของเดือนพ.ค.อีกเดือนเพื่อประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไตรมาส 2 อีกครั้ง แต่จากเครื่องชี้วัดอื่นๆ ทั้งการผลิตในภาคเกษตรและบริการที่หดตัวมากขึ้น ขณะที่การใช้จ่ายของภาคเอกชนทั้งการบริโภคและการลงทุนยังอ่อนแอ และผลกระทบจากเหตุการณ์วุ่นวายทางการเมืองเดือนเม.ย.ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงจากเดือนก่อนหน้า จึงมองว่าจีดีพีไตรมาส 2 ยังคงหดตัวต่อเนื่องจากไตรมาสแรกแต่น่าจะต่ำว่า 7.1% ดังนั้นภาครัฐจำเป็นต้องเร่งใช้จ่ายและลงทุนในประเทศผ่านงบประมาณต่อไป
ส่วนไตรมาส 3 มองว่ามาตรการต่างๆของภาครัฐน่าจะเริ่มเห็นผล ทั้งการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณและหากการเมืองยังนิ่ง เชื่อว่าจีดีพีน่าจะหดตัวลดลง และน่าจะขยายตัวเป็นบวกได้ในไตรมาส 4 แต่สิ่งสำคัญคือร่างพ.ร.ก.ที่ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 4 แสนล้านบาทต้องผ่านสภาและมีผลบังคับใช้ในทางปฎิบัติ เพราะเป็นช่วงเวลาที่รัฐมีความจำเป็นต้องใช้เงินงบประมาณพยุงเศรษฐกิจต่อเนื่อง และเป็นช่วงที่งบประมาณปี 2553 เริ่มมีผลแต่การจัดเก็บรายได้ยังไม่มีเข้ามาจึงต้องใช้เงินกู้ดังกล่าว
"การประเมินดังกล่าวอยู่ภายใต้สถานการณ์ว่าการเมืองในประเทศต้องนิ่ง เพราะปัจจัยดังกล่าวมีน้ำหนักต่อเศรษฐกิจไทยมากกว่าวิกฤติการเงินโลกด้วยซ้ำ ประกอบกับร่างพ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้านบาทต้องมีผล หากชะลอออกไปไม่เป็นไปตามแผนการใช้จ่ายเงิน ก็อาจส่งผลให้จีดีพีไตรมาส 4 ยังติดลบต่อเนื่อง หลังจากที่คาดว่าจะติดลบต่อเนื่อง 4 ไตรมาสตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปีก่อน ซึ่งยอมรับว่าการติดลบแค่ 2 ไตรมาสก็ถือว่าเศรษฐกิจก็เข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว" นายสมชัยกล่าวและว่าการใช้เงินกู้ทุก 1 แสนล้านบาทมีผลต่อการกระตุ้นจีดีพีได้ 1%
สำหรับการดำเนินนโยบายการคลังถือว่ารัฐบาลทำเต็มที่แล้ว รอเพียงพ.ร.ก.กู้เงิน ส่วนนโยบายการเงินเห็นว่าธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ก็ทำหน้าที่ได้ดีในระดับหนึ่งทั้งการส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยและการดูแลค่าเงิน แต่หากจำเป็นในการใช้เป็นเครื่องมือช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็สามารถทำได้โดยต้องบริหารค่าเงินให้สอดคล้องกับประเทศเพื่อนบ้านและช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงสร้างเสถียรภาพให้เศรษฐกิจในระยะยาว แต่คงไม่เหมาะสมหากจะแยกค่าเงินออกเป็น 2 ตลาดสำหรับกระตุ้นการส่งออกโดยเฉพาะตามที่ภาคเอกชนเสนอมา
นายอุทิศ ธรรมวาทิน อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า แนวโน้มการส่งออกเดือนพ.ค.ยังคงติดลบต่อเนื่องจากเดือนเม.ย. โดยอาจจะติดลบประมาณ 30% เทียบกับเดือนเม.ย.ที่ติดลบ 26.1% เนื่องจากเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกยังไม่มีสัญญาณที่ดีขึ้น ขณะที่การนำเข้าก็อยู่ในภาวะติดลบเช่นเดียวกันทำให้ 7 เดือนที่ผ่านมารายได้ของกรมศุลกากรต่ำกว่าเป้าหมายแล้วประมาณ 1 หมื่นล้านบาท