หากจะพิจารณาถึงความเป็นมาการเมืองไทย ก็ต้องมีทั้งด้านดีและด้านไม่ดี ประการแรก ด้านดีคือ การเปลี่ยนแปลงการปกครองวันที่ 24 มิถุนายน 2475 นั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สงบที่สุดในโลกก็ว่าได้ เพราะไม่มีการต่อสู้ระหว่างพระมหากษัตริย์กับกลุ่มคณะราษฎร์ที่ก่อการปฏิวัติ ทั้งนี้เพราะพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชหฤทัยที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว ทั้งนี้เห็นได้จากแผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” อันเป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในห้วง พ.ศ. 2469-2475
การปกครองระบอบประชาธิปไตยมิใช่ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่จะสถาปนาขึ้นมาได้ภายในระยะเวลาสั้นๆ หรือเป็นหลักการ กฎเกณฑ์ และระเบียบปฏิบัติที่จะมอบให้แก่กันได้โดยมิได้อธิบายเนื้อหาทั้งมวล หรือแง่คิดทุกด้านจนเป็นที่เข้าใจเสียก่อน เพราะหลายประเทศที่มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองต้องเรียนรู้จากเลือดและเนื้อของคนในชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำนึกรู้ในความหฤโหดของสงครามกลางเมืองเป็นกลไกจิตวิทยาให้คนในชาตินั้นๆ ยุติความขัดแย้งลงแล้วนั่งปรึกษาหารือเพื่อได้ผลประโยชน์ร่วมกัน
ระบอบประชาธิปไตยจึงเป็นระบอบที่ต้องการเวลาพัฒนายาวนาน ประชาชนซึ่งเป็นรากฐานของการปกครองระบอบนี้จะต้องได้รับการศึกษา และต้องมีความสำนึกทางการเมืองและวินัยการเมืองที่เป็นหัวใจของประชาธิปไตยด้วย มิฉะนั้นหลักการของประชาธิปไตยที่ว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนก็จะเป็นเพียงแต่ในนามเท่านั้น
ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงความยากลำบากนี้ พระองค์จึงมีพระบรมราโชบายเตรียมการที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยอย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นขั้นเป็นตอน และที่สำคัญพระองค์ทรงมีพระราชดำริให้เกิดระบบการเมืองท้องถิ่นขึ้นก่อนในแบบเทศบาล (Municipality) เพื่อให้ประชาชนท้องถิ่นสามารถเข้าใจว่า “การเมือง” คือการสร้างความสุขสบาย อันเป็นผลประโยชน์ร่วมของชุมชนนั้นๆ ด้วยการเลือกหากลุ่มบุคคลมาบริหารสาธารณูปโภคพื้นฐานในเรื่องการจัดการสุขอนามัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของถนนหนทางซึ่งสามารถรองรับระบบสาธารณูปโภคที่มีความซับซ้อนได้ เมื่อนวัตกรรมนั้นๆ มาถึงท้องถิ่น ด้วยมีการสร้างระบบควบคุมเทศบาลและต้องให้เกิดระบบเสียสละความสุขและผลประโยชน์ส่วนตัว
โดยพื้นฐานการเมืองอังกฤษซึ่งมีการเมืองท้องถิ่นเป็นแบบฉบับของการเมืองมหภาคเกือบทุกตำรา British Constitution จะพูดถึงการเมืองท้องถิ่น (Local Government) ที่มีลักษณะการเสียสละเวลา และกำลังกายเข้าไปบริหารกิจการชุมชน แต่หัวใจอยู่ที่การเสียสละ ซึ่งทำให้ระบบการเมืองท้องถิ่นพัฒนาเป็นการเมืองระดับชาติได้
จึงเห็นได้ว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสียสละพระราชอำนาจซึ่งเป็นของพระองค์มาก่อน อันเป็นตัวอย่างที่สุดยอดแล้ว เพราะพระราชอำนาจในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ก็ยังทรงมีอยู่ครบถ้วน และทรงสามารถต่อต้านคณะราษฎร์ได้ไม่ยากนัก ดังมีตำนานกล่าวว่า พระองค์ทรงสามารถที่จะแปรพระราชฐานลงใต้ เช่น ไปประทับที่สงขลา แล้วใช้กองทัพหัวเมืองชิงพระราชอำนาจคืนแต่ทรงไม่ยอมตัดสินพระทัยเช่นนั้น เพราะพระองค์ทรงตระหนักดีว่า อะไรจะเกิดกับประเทศชาติและประชาชนชาวไทย
ประการที่สอง คือ ด้านร้ายของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยที่เห็นได้ชัดเจนว่า เป็นการชิงสุกก่อนห่าม โดยการเมืองกระจุกตัวเฉพาะในเมืองหลวงมาตลอด แม้กระทั่งจนปัจจุบัน การเมืองท้องถิ่นก็ยังมีลักษณะเดิมคือ ผู้มีอิทธิพล ผู้มั่งคั่ง และนายทุนที่ยังคงครอบครองความยิ่งใหญ่ สามารถควบคุมการเมืองท้องถิ่นได้ แต่ที่สำคัญยิ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นตัวช่วยให้การผันเงิน Online กระทำได้รวดเร็วแนบเนียม
การสร้างกระแสข่าวลือต่างๆ กระทำได้ต่อเนื่องในลักษณะพหุสื่อ (Multi Media) มีหนังสือหลายเล่มที่พิสูจน์ว่า การเมืองไทยมีแต่ความวุ่นวาย การชิงอำนาจ การหักหลัง การโกงกันและกัน การทุจริตคอร์รัปชันในวงราชการ การหลอกลวง และการใช้เล่ห์เพทุบายเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจรัฐอันเป็นวงจรอุบาทว์ เช่น หนังสือ แผนชิงชาติไทยของอาจารย์สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ หรือซีรีส์ ลับ ลวง พราง ภาค 1 และ 2 ของ วาสนา นาน่วม หรือเล็กบางกอกโพสต์
ความวุ่นวายทางการเมืองในแต่ละช่วงมีแก่นการเมืองต่างกัน เช่น แก่นการเมืองเอียงซ้ายสู่สังคมนิยมจัด จนถึงระดับจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ระบบอนาธิปไตยที่ต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง โดยคิดล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์หรือระบอบธนาธิปไตย (Plutocracy) อันเป็นระบอบการเมืองที่อาจเรียกกันว่า ทุนนิยมสามานย์ หรือเป็นที่รู้กันว่าทุนนิยมสามานย์ก็คือ ระบอบทักษิณกัดกินประเทศนั่นเอง
ดังนั้นทุกช่วงแก่นการเมือง กองทัพมักจะถูกผลักดันเข้ากระแสการเมือง หรือจะโดดลงมาในกระแสด้วยตัวเองเพราะทหารไม่ไว้วางใจผลลัพธ์ของกระแสการเมืองที่เกิดขึ้น ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งเมื่อกระแสนั้นเกิดพลวัตโมเมนตัมแล้วจะไม่มีอำนาจใดมาต่อต้านได้นอกจากสงครามกลางเมือง เช่น สงครามกลางเมืองในอังกฤษ ค.ศ. 1642-1660 สงครามกลางเมืองสหรัฐฯ ค.ศ. 1861-1864 สงครามกลางเมืองสเปน ค.ศ. 1936-1939 และสงครามกลางเมืองอุบาทว์ในทวีแอฟริกาตั้งแต่ยุค 1960 จนปัจจุบัน
เฮนรี โจมินี (Henry Jomini) นักการทหารชาวสวิสยุคนโปเลียน เป็นคู่แข่งของเคลาสวิทซ์ ค.ศ. 1779-1869 เขียนไว้ในตำราพิชัยสงคราม (Art of War) ว่าสถาบันทหารเป็นสถาบันของชาติ จึงต้องมีระบบการจัดการกองทัพที่ดี โจมินีมองในแง่ของกองทัพแห่งชาติ และทหารอาชีพหมายถึงว่า นโยบายกองทัพก็คือ ธรรมชาติที่แท้จริงของสถาบันทหารที่มีไว้รักษาผลประโยชน์ของชาติ
ในประเทศที่เจริญทางการเมือง เช่น สหรัฐฯ อังกฤษ และสหภาพยุโรป ทหารเป็นองค์ประกอบสำคัญของรัฐในการรักษาผลประโยชน์ของชาติ ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ในอังกฤษซึ่งมีระบบการเมืองที่พัฒนาตามธรรมชาติสังคมวิทยาตั้งแต่ครั้ง แมคนาคาร์ตา ค.ศ. 1215 ผ่านสงครามกลางเมืองจนเกิดระบอบประชาธิปไตยที่กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญอย่างสมบูรณ์ใน ค.ศ. 1669 ซึ่งพัฒนาจากขนบธรรมเนียมประเพณีและกษัตริย์เป็นจอมทัพ
ส่วนสหรัฐฯ ก็นำเอาแมคนาคาร์ตามาประยุกต์ในรัฐธรรมนูญ มีประธานาธิบดีเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด มีนายทหารอาชีพทำหน้าที่เป็นเสนาธิการ และมีประธานคณะเสนาธิการร่วมเป็นหัวหน้าให้คำแนะนำทางทหารกับประธานาธิบดีในการรักษาผลประโยชน์ของชาติ
แต่ในประเทศไทยเกิดความระแวงขึ้นทั้งสองด้านประชาชนไม่ไว้ใจทหาร กลัวว่าทหารจะเป็นเผด็จการ มีความคิดคับแคบ เอาแต่พวกพ้อง และคำนึงถึงเฉพาะผลประโยชน์พวกตัวเอง ด้านฝ่ายทหารก็ระแวงระบอบการเมืองแบบอนาธิปไตย คอมมิวนิสต์ ธนาธิปไตย หรือขั้นร้ายแรงก็คือ ทุนนิยมสามานย์ที่จะเกาะกินประเทศชาติ จึงหาจุดสมดุลไม่ได้จนปัจจุบัน
ภาวะการเมืองในปัจจุบันเป็นห้วงเวลาหนึ่งที่วิกฤตขั้นอุกฤษฏ์ เกิดสถานการณ์ที่ทุนนิยมสามานย์ยังต้องการมีอำนาจรัฐ มีกลุ่มนักการเมืองเอียงสู่อนาธิปไตยต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ มีกลุ่มนักธุรกิจการเมืองที่ต้องการเล่นการเมืองเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า และลบล้างหนี้สินตัวเอง มีการใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือข่มขู่รัฐบาลและประชาชน รวมทั้งเศรษฐกิจโลกถดถอยอย่างรุนแรงเป็นลูกโซ่
เหตุการณ์ที่ต้องการล้มล้างรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ทำให้ภาพลักษณ์การเมืองไทยมีลักษณะการเมืองหฤโหดที่ปัญญาชนโลกรับไม่ได้ ภาพลักษณ์ที่ปรากฏในเว็บไซต์กระจายไปทั่วโลกจนความชัดเจนอยู่ที่จอแสดงผลคอมพิวเตอร์เป็นสีแดง ทั้งเสื้อและทั้งเลือดของผู้บริสุทธิ์
ความทั้งหมดนี้ทำให้มีกลุ่มคนต้องการก่อตั้งพรรคการเมืองอย่างน้อยสองกลุ่ม เพื่อเข้ามามีบทบาทในระบบรัฐสภาปกป้องผลประโยชน์ของชาติ และแก้ไขให้การเมืองไทยเข้มแข็ง สามารถขจัดความสามานย์ และอุบาทว์มนุษย์ออกจากวงจรการเมืองไทย กลุ่มแรกคือ กลุ่มทหารที่รู้จักกันในนามของกลุ่มเตรียมทหารรุ่น 6 ที่เป็นแกนนำก่อรัฐประหารขจัดทุนนิยมสามานย์ของระบอบทักษิณ ซึ่งสาธารณชนตั้งประเด็นไว้สองนัยคือ ปกป้องตัวเองหากระบอบทักษิณกลับแข็งแกร่งขึ้นอีก หรือเพื่อประโยชน์ของชาติตามอุดมการณ์ของทหารที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญได้แก่ ปกป้องชาติ รักษาราชบัลลังก์ และพัฒนาชาติ ยกฐานะคนจนให้ดีขึ้นตามอุดมการณ์เศรษฐกิจพอเพียง และสร้างความสมานฉันท์โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้
ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งคือ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ประกาศจุดยืนในเรื่อง “การเมืองใหม่” ที่ต้องการขจัดนักการเมืองอุบาทว์ และเล่นการเมืองเพื่อประโยชน์ของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือสรุปได้ว่า นักการเมืองต้องมีวินัยอยู่ในกรอบความชอบธรรมที่สังคมยอมรับ หรือไม่ประพฤติปฏิบัติตามแบบอย่างนักการเมืองเลวๆ ในอดีต และปัจจุบันซึ่งก็ยังเห็นกันอยู่
ระบบพรรคการเมืองเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งก่อให้เกิดความเปรียบเทียบในเรื่องนโยบาย วิธีการ และวินัยทางการเมืองที่ใช้ในการปกครองประเทศตามระบอบประชาธิปไตย
หลักการง่ายๆ ของระบบพรรคการเมืองที่มีลักษณะคล้ายกันในสังคมประเทศประชาธิปไตยคือ การควบคุมรัฐบาลซึ่งแม้เป็นพรรครัฐบาลก็ต้องควบคุมรัฐบาลในอาณัติของตัวเองให้ปฏิบัติตามนโยบายพรรค วิธีการ และวินัยทางการเมืองของพรรค และพื้นฐานอำนาจนี้ได้จากแรงสนับสนุนของมวลชนฐานเสียง ทำให้สามารถควบคุมเรื่องงบประมาณต่างๆ ทั้งของพรรคและของรัฐบาลได้
การข่าวกรอง การประชาสัมพันธ์ การหาเสียง และการกำหนดตัวบุคคลที่เหมาะสมในหน้าที่รับผิดชอบต่างๆ แนวคิดนี้เกิดจาก เจมส์ ไบรซ์ (James Bryce) นักการเมืองอังกฤษ ระบบพรรคการเมืองไทยเป็นระบอบพหุพรรค ซึ่งวินัยทางการเมืองจะเป็นตัวช่วยให้ระบบพหุพรรคร่วมรัฐบาลเกิดความสมดุล และตรวจสอบกันได้ ขณะที่ประชาชนได้ประโยชน์ตรงที่ว่ามีการตรวจสอบและสร้างความสมดุลโดยระบบพรรค แต่ถ้าเล่นการเมืองแบบเก่าคือผลประโยชน์ของตัวเองนำการเมืองบริสุทธิ์ก็หายไปทันที
หากไม่มีอคติกับพรรคทหารหรือพรรคพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแล้ว ภาวะความสมดุลทางการเมือง การสร้างการเมืองใหม่หรืออุดมการณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์แล้ว โฉมหน้าการเมืองไทยอาจจะดีขึ้นก็ได้ เพราะอย่างน้อยก็มีแนวร่วมต่อต้านระบอบทักษิณอยู่ให้เป็นทางเลือก จะไม่ได้เกิดการผูกขาดทางการเมืองดังที่เกิดขึ้นในห้วง พ.ศ. 2544-2549
nidd.riddhagni@gmail.com
การปกครองระบอบประชาธิปไตยมิใช่ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่จะสถาปนาขึ้นมาได้ภายในระยะเวลาสั้นๆ หรือเป็นหลักการ กฎเกณฑ์ และระเบียบปฏิบัติที่จะมอบให้แก่กันได้โดยมิได้อธิบายเนื้อหาทั้งมวล หรือแง่คิดทุกด้านจนเป็นที่เข้าใจเสียก่อน เพราะหลายประเทศที่มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองต้องเรียนรู้จากเลือดและเนื้อของคนในชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำนึกรู้ในความหฤโหดของสงครามกลางเมืองเป็นกลไกจิตวิทยาให้คนในชาตินั้นๆ ยุติความขัดแย้งลงแล้วนั่งปรึกษาหารือเพื่อได้ผลประโยชน์ร่วมกัน
ระบอบประชาธิปไตยจึงเป็นระบอบที่ต้องการเวลาพัฒนายาวนาน ประชาชนซึ่งเป็นรากฐานของการปกครองระบอบนี้จะต้องได้รับการศึกษา และต้องมีความสำนึกทางการเมืองและวินัยการเมืองที่เป็นหัวใจของประชาธิปไตยด้วย มิฉะนั้นหลักการของประชาธิปไตยที่ว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนก็จะเป็นเพียงแต่ในนามเท่านั้น
ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงความยากลำบากนี้ พระองค์จึงมีพระบรมราโชบายเตรียมการที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยอย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นขั้นเป็นตอน และที่สำคัญพระองค์ทรงมีพระราชดำริให้เกิดระบบการเมืองท้องถิ่นขึ้นก่อนในแบบเทศบาล (Municipality) เพื่อให้ประชาชนท้องถิ่นสามารถเข้าใจว่า “การเมือง” คือการสร้างความสุขสบาย อันเป็นผลประโยชน์ร่วมของชุมชนนั้นๆ ด้วยการเลือกหากลุ่มบุคคลมาบริหารสาธารณูปโภคพื้นฐานในเรื่องการจัดการสุขอนามัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของถนนหนทางซึ่งสามารถรองรับระบบสาธารณูปโภคที่มีความซับซ้อนได้ เมื่อนวัตกรรมนั้นๆ มาถึงท้องถิ่น ด้วยมีการสร้างระบบควบคุมเทศบาลและต้องให้เกิดระบบเสียสละความสุขและผลประโยชน์ส่วนตัว
โดยพื้นฐานการเมืองอังกฤษซึ่งมีการเมืองท้องถิ่นเป็นแบบฉบับของการเมืองมหภาคเกือบทุกตำรา British Constitution จะพูดถึงการเมืองท้องถิ่น (Local Government) ที่มีลักษณะการเสียสละเวลา และกำลังกายเข้าไปบริหารกิจการชุมชน แต่หัวใจอยู่ที่การเสียสละ ซึ่งทำให้ระบบการเมืองท้องถิ่นพัฒนาเป็นการเมืองระดับชาติได้
จึงเห็นได้ว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสียสละพระราชอำนาจซึ่งเป็นของพระองค์มาก่อน อันเป็นตัวอย่างที่สุดยอดแล้ว เพราะพระราชอำนาจในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ก็ยังทรงมีอยู่ครบถ้วน และทรงสามารถต่อต้านคณะราษฎร์ได้ไม่ยากนัก ดังมีตำนานกล่าวว่า พระองค์ทรงสามารถที่จะแปรพระราชฐานลงใต้ เช่น ไปประทับที่สงขลา แล้วใช้กองทัพหัวเมืองชิงพระราชอำนาจคืนแต่ทรงไม่ยอมตัดสินพระทัยเช่นนั้น เพราะพระองค์ทรงตระหนักดีว่า อะไรจะเกิดกับประเทศชาติและประชาชนชาวไทย
ประการที่สอง คือ ด้านร้ายของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยที่เห็นได้ชัดเจนว่า เป็นการชิงสุกก่อนห่าม โดยการเมืองกระจุกตัวเฉพาะในเมืองหลวงมาตลอด แม้กระทั่งจนปัจจุบัน การเมืองท้องถิ่นก็ยังมีลักษณะเดิมคือ ผู้มีอิทธิพล ผู้มั่งคั่ง และนายทุนที่ยังคงครอบครองความยิ่งใหญ่ สามารถควบคุมการเมืองท้องถิ่นได้ แต่ที่สำคัญยิ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นตัวช่วยให้การผันเงิน Online กระทำได้รวดเร็วแนบเนียม
การสร้างกระแสข่าวลือต่างๆ กระทำได้ต่อเนื่องในลักษณะพหุสื่อ (Multi Media) มีหนังสือหลายเล่มที่พิสูจน์ว่า การเมืองไทยมีแต่ความวุ่นวาย การชิงอำนาจ การหักหลัง การโกงกันและกัน การทุจริตคอร์รัปชันในวงราชการ การหลอกลวง และการใช้เล่ห์เพทุบายเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจรัฐอันเป็นวงจรอุบาทว์ เช่น หนังสือ แผนชิงชาติไทยของอาจารย์สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ หรือซีรีส์ ลับ ลวง พราง ภาค 1 และ 2 ของ วาสนา นาน่วม หรือเล็กบางกอกโพสต์
ความวุ่นวายทางการเมืองในแต่ละช่วงมีแก่นการเมืองต่างกัน เช่น แก่นการเมืองเอียงซ้ายสู่สังคมนิยมจัด จนถึงระดับจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ระบบอนาธิปไตยที่ต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง โดยคิดล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์หรือระบอบธนาธิปไตย (Plutocracy) อันเป็นระบอบการเมืองที่อาจเรียกกันว่า ทุนนิยมสามานย์ หรือเป็นที่รู้กันว่าทุนนิยมสามานย์ก็คือ ระบอบทักษิณกัดกินประเทศนั่นเอง
ดังนั้นทุกช่วงแก่นการเมือง กองทัพมักจะถูกผลักดันเข้ากระแสการเมือง หรือจะโดดลงมาในกระแสด้วยตัวเองเพราะทหารไม่ไว้วางใจผลลัพธ์ของกระแสการเมืองที่เกิดขึ้น ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งเมื่อกระแสนั้นเกิดพลวัตโมเมนตัมแล้วจะไม่มีอำนาจใดมาต่อต้านได้นอกจากสงครามกลางเมือง เช่น สงครามกลางเมืองในอังกฤษ ค.ศ. 1642-1660 สงครามกลางเมืองสหรัฐฯ ค.ศ. 1861-1864 สงครามกลางเมืองสเปน ค.ศ. 1936-1939 และสงครามกลางเมืองอุบาทว์ในทวีแอฟริกาตั้งแต่ยุค 1960 จนปัจจุบัน
เฮนรี โจมินี (Henry Jomini) นักการทหารชาวสวิสยุคนโปเลียน เป็นคู่แข่งของเคลาสวิทซ์ ค.ศ. 1779-1869 เขียนไว้ในตำราพิชัยสงคราม (Art of War) ว่าสถาบันทหารเป็นสถาบันของชาติ จึงต้องมีระบบการจัดการกองทัพที่ดี โจมินีมองในแง่ของกองทัพแห่งชาติ และทหารอาชีพหมายถึงว่า นโยบายกองทัพก็คือ ธรรมชาติที่แท้จริงของสถาบันทหารที่มีไว้รักษาผลประโยชน์ของชาติ
ในประเทศที่เจริญทางการเมือง เช่น สหรัฐฯ อังกฤษ และสหภาพยุโรป ทหารเป็นองค์ประกอบสำคัญของรัฐในการรักษาผลประโยชน์ของชาติ ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ในอังกฤษซึ่งมีระบบการเมืองที่พัฒนาตามธรรมชาติสังคมวิทยาตั้งแต่ครั้ง แมคนาคาร์ตา ค.ศ. 1215 ผ่านสงครามกลางเมืองจนเกิดระบอบประชาธิปไตยที่กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญอย่างสมบูรณ์ใน ค.ศ. 1669 ซึ่งพัฒนาจากขนบธรรมเนียมประเพณีและกษัตริย์เป็นจอมทัพ
ส่วนสหรัฐฯ ก็นำเอาแมคนาคาร์ตามาประยุกต์ในรัฐธรรมนูญ มีประธานาธิบดีเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด มีนายทหารอาชีพทำหน้าที่เป็นเสนาธิการ และมีประธานคณะเสนาธิการร่วมเป็นหัวหน้าให้คำแนะนำทางทหารกับประธานาธิบดีในการรักษาผลประโยชน์ของชาติ
แต่ในประเทศไทยเกิดความระแวงขึ้นทั้งสองด้านประชาชนไม่ไว้ใจทหาร กลัวว่าทหารจะเป็นเผด็จการ มีความคิดคับแคบ เอาแต่พวกพ้อง และคำนึงถึงเฉพาะผลประโยชน์พวกตัวเอง ด้านฝ่ายทหารก็ระแวงระบอบการเมืองแบบอนาธิปไตย คอมมิวนิสต์ ธนาธิปไตย หรือขั้นร้ายแรงก็คือ ทุนนิยมสามานย์ที่จะเกาะกินประเทศชาติ จึงหาจุดสมดุลไม่ได้จนปัจจุบัน
ภาวะการเมืองในปัจจุบันเป็นห้วงเวลาหนึ่งที่วิกฤตขั้นอุกฤษฏ์ เกิดสถานการณ์ที่ทุนนิยมสามานย์ยังต้องการมีอำนาจรัฐ มีกลุ่มนักการเมืองเอียงสู่อนาธิปไตยต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ มีกลุ่มนักธุรกิจการเมืองที่ต้องการเล่นการเมืองเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า และลบล้างหนี้สินตัวเอง มีการใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือข่มขู่รัฐบาลและประชาชน รวมทั้งเศรษฐกิจโลกถดถอยอย่างรุนแรงเป็นลูกโซ่
เหตุการณ์ที่ต้องการล้มล้างรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ทำให้ภาพลักษณ์การเมืองไทยมีลักษณะการเมืองหฤโหดที่ปัญญาชนโลกรับไม่ได้ ภาพลักษณ์ที่ปรากฏในเว็บไซต์กระจายไปทั่วโลกจนความชัดเจนอยู่ที่จอแสดงผลคอมพิวเตอร์เป็นสีแดง ทั้งเสื้อและทั้งเลือดของผู้บริสุทธิ์
ความทั้งหมดนี้ทำให้มีกลุ่มคนต้องการก่อตั้งพรรคการเมืองอย่างน้อยสองกลุ่ม เพื่อเข้ามามีบทบาทในระบบรัฐสภาปกป้องผลประโยชน์ของชาติ และแก้ไขให้การเมืองไทยเข้มแข็ง สามารถขจัดความสามานย์ และอุบาทว์มนุษย์ออกจากวงจรการเมืองไทย กลุ่มแรกคือ กลุ่มทหารที่รู้จักกันในนามของกลุ่มเตรียมทหารรุ่น 6 ที่เป็นแกนนำก่อรัฐประหารขจัดทุนนิยมสามานย์ของระบอบทักษิณ ซึ่งสาธารณชนตั้งประเด็นไว้สองนัยคือ ปกป้องตัวเองหากระบอบทักษิณกลับแข็งแกร่งขึ้นอีก หรือเพื่อประโยชน์ของชาติตามอุดมการณ์ของทหารที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญได้แก่ ปกป้องชาติ รักษาราชบัลลังก์ และพัฒนาชาติ ยกฐานะคนจนให้ดีขึ้นตามอุดมการณ์เศรษฐกิจพอเพียง และสร้างความสมานฉันท์โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้
ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งคือ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ประกาศจุดยืนในเรื่อง “การเมืองใหม่” ที่ต้องการขจัดนักการเมืองอุบาทว์ และเล่นการเมืองเพื่อประโยชน์ของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือสรุปได้ว่า นักการเมืองต้องมีวินัยอยู่ในกรอบความชอบธรรมที่สังคมยอมรับ หรือไม่ประพฤติปฏิบัติตามแบบอย่างนักการเมืองเลวๆ ในอดีต และปัจจุบันซึ่งก็ยังเห็นกันอยู่
ระบบพรรคการเมืองเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งก่อให้เกิดความเปรียบเทียบในเรื่องนโยบาย วิธีการ และวินัยทางการเมืองที่ใช้ในการปกครองประเทศตามระบอบประชาธิปไตย
หลักการง่ายๆ ของระบบพรรคการเมืองที่มีลักษณะคล้ายกันในสังคมประเทศประชาธิปไตยคือ การควบคุมรัฐบาลซึ่งแม้เป็นพรรครัฐบาลก็ต้องควบคุมรัฐบาลในอาณัติของตัวเองให้ปฏิบัติตามนโยบายพรรค วิธีการ และวินัยทางการเมืองของพรรค และพื้นฐานอำนาจนี้ได้จากแรงสนับสนุนของมวลชนฐานเสียง ทำให้สามารถควบคุมเรื่องงบประมาณต่างๆ ทั้งของพรรคและของรัฐบาลได้
การข่าวกรอง การประชาสัมพันธ์ การหาเสียง และการกำหนดตัวบุคคลที่เหมาะสมในหน้าที่รับผิดชอบต่างๆ แนวคิดนี้เกิดจาก เจมส์ ไบรซ์ (James Bryce) นักการเมืองอังกฤษ ระบบพรรคการเมืองไทยเป็นระบอบพหุพรรค ซึ่งวินัยทางการเมืองจะเป็นตัวช่วยให้ระบบพหุพรรคร่วมรัฐบาลเกิดความสมดุล และตรวจสอบกันได้ ขณะที่ประชาชนได้ประโยชน์ตรงที่ว่ามีการตรวจสอบและสร้างความสมดุลโดยระบบพรรค แต่ถ้าเล่นการเมืองแบบเก่าคือผลประโยชน์ของตัวเองนำการเมืองบริสุทธิ์ก็หายไปทันที
หากไม่มีอคติกับพรรคทหารหรือพรรคพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแล้ว ภาวะความสมดุลทางการเมือง การสร้างการเมืองใหม่หรืออุดมการณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์แล้ว โฉมหน้าการเมืองไทยอาจจะดีขึ้นก็ได้ เพราะอย่างน้อยก็มีแนวร่วมต่อต้านระบอบทักษิณอยู่ให้เป็นทางเลือก จะไม่ได้เกิดการผูกขาดทางการเมืองดังที่เกิดขึ้นในห้วง พ.ศ. 2544-2549
nidd.riddhagni@gmail.com