การที่ ครม.ประกาศตั้งนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมตรีฝ่ายความมั่นคง เข้ามาดูแลเรื่องการระบายสินค้าทางการเกษตร โดยการตั้งให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการยุทธศาสตร์กำกับดูแลสินค้าเกษตร จากเดิมที่เรื่องนี้อยู่ในความรับผิดชอบของรองนายกฯฝ่ายเศรษฐกิจ นายกอรปศักดิ์ สภาวสุ และกระทรวงพาณิชย์ โดยมีกรมการค้าภายในเป็นหน่วยงานหลักในกำดำเนินการตามนโยบาย ยิ่งเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงความขัดแย้งระหว่างพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลทั้ง 2 พรรคให้เด่นชัดขึ้น ซึ่งจะเป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างยิ่ง หากปัญหานี้ถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นปัญหาทางการเมือง และใช้แนวทางทางการเมืองมาแก้ปัญหาเพื่อความมั่นคงของรัฐบาลแทนแนวทางแก้ปัญหาที่ถูกต้องโดยยึดผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก
ปัญหาในเรื่องของการรับจำนำและระบายสินค้าการเกษตรนั้น ที่จริงแล้ว เป็นเรื่องของการกำหนดนโยบายของนักการเมือง เพื่อหวังผลทางการเมืองมากกว่าที่จะช่วยเหลือเกษตรกรจริง ๆ เพราะรูปแบบของนโยบายนั้น มีด้านลบที่ชัดเจนว่า จะทำให้เกษตรกรหวังพึ่งภาครัฐมากจนเกินไป ทำให้ขาดการพัฒนาคุณภาพของผลผลิต เพราะเห็นว่าไม่ว่าผลผลิตจะมีคุณภาพเช่นไร สุดท้ายก็สามารถนำมาจำนำกับโครงการของรัฐบาลได้ และเมื่อนำมาปฎิบัติแล้ว ยังเปิดช่องว่างให้มีการลักลอบนำพืชผลจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาสวมสิทธิจำนำในโครงการ จนทำให้เกษตรกรของไทยจริง ๆ ไม่ได้รับสิทธิที่ควรจะได้
เมื่อนโยบายมีข้อบกพร่อง ก็ควรที่จะมีการปรับเปลี่ยน หรือยกเลิกไปโดยทันที เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายซ้ำซากขึ้นอีก และยังงมีแนวนโยบายอีกมากที่สามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้ โดยที่รัฐไม่ต้องสูญเสียผลประโยชน์ และไม่ก่อให้เกิดช่องว่างในการทุจริตคอร์รัปชั่นขนาดนี้ ซึ่งนโยบายนี้ โดยข้อเท็จจริง ไม่ได้เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลของนายกฯอภิสิทธิ์ จึงไม่น่าเป็นเรื่องใหญ่ ที่รัฐบาลนี้จะทำการปรับเปลี่ยนนโยบายเกี่ยวกับการช่วยเหลือเกษตรกรเสียใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องทางการเมือง ทางการบริหาร ที่รัฐบาลทั้งคณะต้องร่วมรับผิดชอบ ไม่ใช่เป็นเรื่องของกระทรวงพาณิชย์เท่านั้น
แต่ทั้งนี้ ต้องไม่หลงลืมด้วยว่า ระหว่างการนำนโยบายการรับจำนำพืชผลทางการเกษตรไปปฎิบัตินั้น มีนักการเมือง และข้าราชการรวมถึงภาคเอกชนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยจำนวนหนึ่ง และถึงวันนี้ก็เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า การดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวได้สร้างความเสียหายให้กับรัฐอย่างมหาศาล ควรหรือไม่ที่จะต้องมีการตรวจสอบหาคนรับผิดชอบด้วย ไม่ใช่ปล่อยให้หลงลืมหายกันไป เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทั้ง ๆ นี่คือการเตรียมการปล้นชาติครั้งมโหฬาร ซึ่งหากผ่านไปได้ ภาษีอากรของคนไทยจะสูญหายไปทันทีกว่า 2 หมื่นล้านบาท
การดำเนินการเพื่อเอาผิดกับผู้อยู่ในกระบวนการปฎิบัติตามนโยบายนี้ ควรที่ผู้รับผิดชอบจะต้องยื่นเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ หรือ ปปช.เข้ามาตรวจสอบนักการเมืองและข้าราชการในกระทรวงพาณิชย์ โดยเฉพาะกรมการค้าภายในอย่างละเอียด เพราะการลงนามในสัญญาค้าข้าวในสต๊อกของรัฐออกไป โดยไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการที่คณะรัฐมนตรีครั้งขึ้น โดยการอ้าง ว่า ครม.ไม่ใช่นิติบุคคล การกระทำนี้ สะท้อนให้เห็นว่า ข้าราชการในกระทรวงนี้ยิ่งใหญ่ กล้าทำในสิ่งที่ท้าทายทั้งรัฐบาลและในฐานะผู้บังคับบัญชาโดยตรง และท้าทายต่อกฎหมาย จึงควรอย่างยิ่งที่รัฐบาลของนายกฯ อภิสิทธิ์จะต้องใช้ไม้แข็งเข้าดำเนินการ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของรัฐไว้ ไม่ใช่เพียงแค่ตั้งคณะกรรมการที่ส่อว่าจะเจรจาประนีประนอมกันโดยยึดหลักของผลประโยชน์ทางการเมืองระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลเดียวกันเท่านั้น
ปัญหาในเรื่องของการรับจำนำและระบายสินค้าการเกษตรนั้น ที่จริงแล้ว เป็นเรื่องของการกำหนดนโยบายของนักการเมือง เพื่อหวังผลทางการเมืองมากกว่าที่จะช่วยเหลือเกษตรกรจริง ๆ เพราะรูปแบบของนโยบายนั้น มีด้านลบที่ชัดเจนว่า จะทำให้เกษตรกรหวังพึ่งภาครัฐมากจนเกินไป ทำให้ขาดการพัฒนาคุณภาพของผลผลิต เพราะเห็นว่าไม่ว่าผลผลิตจะมีคุณภาพเช่นไร สุดท้ายก็สามารถนำมาจำนำกับโครงการของรัฐบาลได้ และเมื่อนำมาปฎิบัติแล้ว ยังเปิดช่องว่างให้มีการลักลอบนำพืชผลจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาสวมสิทธิจำนำในโครงการ จนทำให้เกษตรกรของไทยจริง ๆ ไม่ได้รับสิทธิที่ควรจะได้
เมื่อนโยบายมีข้อบกพร่อง ก็ควรที่จะมีการปรับเปลี่ยน หรือยกเลิกไปโดยทันที เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายซ้ำซากขึ้นอีก และยังงมีแนวนโยบายอีกมากที่สามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้ โดยที่รัฐไม่ต้องสูญเสียผลประโยชน์ และไม่ก่อให้เกิดช่องว่างในการทุจริตคอร์รัปชั่นขนาดนี้ ซึ่งนโยบายนี้ โดยข้อเท็จจริง ไม่ได้เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลของนายกฯอภิสิทธิ์ จึงไม่น่าเป็นเรื่องใหญ่ ที่รัฐบาลนี้จะทำการปรับเปลี่ยนนโยบายเกี่ยวกับการช่วยเหลือเกษตรกรเสียใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องทางการเมือง ทางการบริหาร ที่รัฐบาลทั้งคณะต้องร่วมรับผิดชอบ ไม่ใช่เป็นเรื่องของกระทรวงพาณิชย์เท่านั้น
แต่ทั้งนี้ ต้องไม่หลงลืมด้วยว่า ระหว่างการนำนโยบายการรับจำนำพืชผลทางการเกษตรไปปฎิบัตินั้น มีนักการเมือง และข้าราชการรวมถึงภาคเอกชนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยจำนวนหนึ่ง และถึงวันนี้ก็เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า การดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวได้สร้างความเสียหายให้กับรัฐอย่างมหาศาล ควรหรือไม่ที่จะต้องมีการตรวจสอบหาคนรับผิดชอบด้วย ไม่ใช่ปล่อยให้หลงลืมหายกันไป เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทั้ง ๆ นี่คือการเตรียมการปล้นชาติครั้งมโหฬาร ซึ่งหากผ่านไปได้ ภาษีอากรของคนไทยจะสูญหายไปทันทีกว่า 2 หมื่นล้านบาท
การดำเนินการเพื่อเอาผิดกับผู้อยู่ในกระบวนการปฎิบัติตามนโยบายนี้ ควรที่ผู้รับผิดชอบจะต้องยื่นเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ หรือ ปปช.เข้ามาตรวจสอบนักการเมืองและข้าราชการในกระทรวงพาณิชย์ โดยเฉพาะกรมการค้าภายในอย่างละเอียด เพราะการลงนามในสัญญาค้าข้าวในสต๊อกของรัฐออกไป โดยไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการที่คณะรัฐมนตรีครั้งขึ้น โดยการอ้าง ว่า ครม.ไม่ใช่นิติบุคคล การกระทำนี้ สะท้อนให้เห็นว่า ข้าราชการในกระทรวงนี้ยิ่งใหญ่ กล้าทำในสิ่งที่ท้าทายทั้งรัฐบาลและในฐานะผู้บังคับบัญชาโดยตรง และท้าทายต่อกฎหมาย จึงควรอย่างยิ่งที่รัฐบาลของนายกฯ อภิสิทธิ์จะต้องใช้ไม้แข็งเข้าดำเนินการ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของรัฐไว้ ไม่ใช่เพียงแค่ตั้งคณะกรรมการที่ส่อว่าจะเจรจาประนีประนอมกันโดยยึดหลักของผลประโยชน์ทางการเมืองระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลเดียวกันเท่านั้น