ไม่น่าเชื่อว่าจะมีข้าราชการระดับอธิบดีคนไหนที่ไปท้าทายรัฐมนตรีทั้งคณะเหมือนกับอธิบดีกรมการค้าภายในอย่างนายยรรยง พวงราช ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อสัปดาห์ก่อน เพราะโดยปกติแล้ว ข้าราชการทั่วไป มักจะไม่อยากที่จะทำตัวมีปัญหากับนักการเมือง โดยเฉพาะนักการเมืองที่นั่งอยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจในการให้คุณให้โทษอย่างสมบูรณ์แบบ แม้แต่จะมองในแง่บวกอย่างถึงที่สุดว่า อาจจะมีข้าราชการน้ำดีที่กล้าที่จะต่อสู้กับนักการเมืองกังฉินก็ตาม
แต่เป้าหมายของอธิบดีกรมการค้าภายในในการต่อสู้กับ ครม.หรือกล่าวให้ถึงที่สุดกับนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้น คงยากที่จะมองไปในแง่ดีขนาดนั้นได้ เพราะเรื่องที่มีการนำไปถกเถียงกันในที่ประชุม ครม.จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ให้อธิบดีกรมการค้าภายในออกจากห้องประชุม ครม. อย่างกระทันหันนั้น คือ เรื่องของการประมูลขายข้าวโพดของัฐ ที่รัฐบาลก่อนได้เปิดโครงการรับจำนำมาจากเกษตรกรในราคาสูงกว่าท้องตลาดมาก ซึ่งไม่ต่างอะไรจากโครงการรับจำนำพืชผลทางการเกษตรอื่น ๆ ที่รัฐบาลก่อนนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการผันงบประมาณออกไปเพื่อหวังผลประโยชน์ทางการเมืองมากกว่าที่จะสร้างผลประโยชน์ให้กับชาวไร่ชาวนาจริง ๆ เพราะทุกโครงการล้วนมีปัญหาตามหลังมาทุกครั้ง ไม่ว่าข้าว มันสำปะหลัง หรือข้าวโพดเจ้าปัญหาล็อตนี้ เพราะนอกจากจะมีการรับซื้อในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดที่แท้จริงมากเกินไปแล้ว ซึ่งหมายถึงว่า รัฐต้องแบกรับภาระขาดทุนทันทีที่มีการขายออกไป และระหว่างขั้นตอนการับจำนำก็มีกรณีอื้อฉาว เมื่อพบว่า มีการลักลอบนำข้าวโพดจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีคุณภาพและราคาต่ำกว่าที่ปลูกภายในประเทศเข้ามาสวมสิทธิการรับจำนำ รับเงินจากรัฐไป ขณะที่เกษตรกรชาวไทยตัวจริงกลับไม่ได้รับประโยชน์อะไรรเลย
ที่น่าจับตามองคือ กระทรวงพาณิชย์โดยกระบวนการจัดการร่วมกันระหว่างข้าราชการกับนักการเมือง ได้สร้างกฎเกณฑ์การรับซื้อที่มีรูโหว่ขนาดใหญ่ให้รัฐเสียหายยังไม่พอ แต่ยังกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อต่อยอดความเสียหายนั้นต่อไปด้วย โดยการกำหนดให้มีคณะอนุกรรมการในการระบายข้าวโพดที่ตั้งมาตั้งแต่รัฐบาลก่อน และมีมติให้ระบายข้าวโพดในสต๊อกของรัฐจำนวน 4 แสนกว่าตันในราคาที่ขาดทุนกว่าเท่าตัว เพราะราคาที่ซื้อมาอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 8.50 บาท แต่คณะอนุกรรมการชุดนี้อนุมติให้ขายให้กับผู้ส่งออกรายใหญ่เพียง 4 รายในราคาเพียงกิโลกรัมละ 4-5 บาทเท่านั้น
ความพยายามแก้ไขปัญหาการขาดทุนของภาครัฐโดยรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ คือ การตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นมาเพื่อพิจารณาเรื่องการจำหน่ายข้าวโพดในสต๊อกของรัฐใหม่ โดยมีหลักการสำคัญ คือ ต้องให้ผ่านความเห็นชอบจาก ครม.ด้วย ไม่ใช่เป็นเพียงอำนาจของกระทรวงพาณิชย์เพียงกระทรวงเดียว ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับผู้เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ในกระทรวงพาณิชย์เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอธิบดีกรมการค้าภายใน ที่กล้าออกมาท้าชนกับนายกรัฐมนตรีถึงในห้องประชุม ครม.โดยยืนยันว่า กระทรวงพาณิชย์มีอำนาจในการขายข้าวโพดล็อตนี้ตามมติของคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดย รมว.พาณิชย์ในรัฐบาลก่อน มากกว่าคณะกรรมการชุดใหม่ที่แต่งตั้งโดย ครม.ชุดปัจจุบัน
น่าสังเกตุว่า ที่ผ่านมา อธิบดีกรมการค้าภายในท่านนี้ จะให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องโครงการรับจำนำพืชผลทางการเกษตรมากกว่าปกติ ทั้ง ๆ ที่ภารกิจหลักของกรมการค้าภายในในเรื่องของการควบคุมราคาสินค้า กลับถูกละเลยอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นกรณีข้าวสารแพง เนื้อหมูขึ้นราคา หรือบุหรี่ขาดตลาด ทางกรมการค้าภายใน ทำเพียงแค่ออกประกาศบนกระดาษเตือนพ่อค้าอย่างว่า อย่ากักตุน อย่าขึ้นราคา แต่ไม่เคยเกิดผลในทางปฎิบัติจริง แต่กลับกัน เมื่อใดที่มีภารกิจที่เกี่ยวข้องกับโครงการรับจำนำพืชผลทางการเกษตร อธิบดีกรมการค้าภายใน ดูเหมือนจะทุ่มสุดตัวเพื่อภารกิจนี้ ไม่ว่าจะเป็นเมื่อครั้งที่ได้ เสนอของบประมาณในโครงการรับจำนำต่อที่ประชุม ครม.ในช่วงสูญญากาศทางการเมือง ระหว่างรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวชกับนายสมชาย วงสวัสดิ์ จนถูกเลขาธิการ ครม.ตีกลับมาครั้งหนึ่งแล้ว หรือการปรากฎตัวเพื่อโต้ข้อโต้แย้งของนักวิชาการหลายสถาบันทุกครั้งที่มีการบ่งชี้ว่า โครงการรับจำนำพืชผลการเกษตรเป็นโครงการที่มีปัญหา จนกระทั่งล่าสุด ยอมเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายกับตำแหน่ง โดยยอมชนกับรัฐมนตรีทั้งคณะ ทั้ง ๆ ที่เห็นอยู่อย่างชัดเจนว่า ครม.ชุดนี้พยายามที่จะปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติ ด้วยการไม่ยอมให้เกิดการขายที่รัฐขาดทุนอย่างโจ้งแจ้งขนาดนี้ แต่ผลประโยชน์ที่อธิบดีกรมการค้าภายใน พยายามที่จะปกป้องนี้ คือ อะไร วานรัฐมนตรีพรทิวา ช่วยตอบที
แต่เป้าหมายของอธิบดีกรมการค้าภายในในการต่อสู้กับ ครม.หรือกล่าวให้ถึงที่สุดกับนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้น คงยากที่จะมองไปในแง่ดีขนาดนั้นได้ เพราะเรื่องที่มีการนำไปถกเถียงกันในที่ประชุม ครม.จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ให้อธิบดีกรมการค้าภายในออกจากห้องประชุม ครม. อย่างกระทันหันนั้น คือ เรื่องของการประมูลขายข้าวโพดของัฐ ที่รัฐบาลก่อนได้เปิดโครงการรับจำนำมาจากเกษตรกรในราคาสูงกว่าท้องตลาดมาก ซึ่งไม่ต่างอะไรจากโครงการรับจำนำพืชผลทางการเกษตรอื่น ๆ ที่รัฐบาลก่อนนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการผันงบประมาณออกไปเพื่อหวังผลประโยชน์ทางการเมืองมากกว่าที่จะสร้างผลประโยชน์ให้กับชาวไร่ชาวนาจริง ๆ เพราะทุกโครงการล้วนมีปัญหาตามหลังมาทุกครั้ง ไม่ว่าข้าว มันสำปะหลัง หรือข้าวโพดเจ้าปัญหาล็อตนี้ เพราะนอกจากจะมีการรับซื้อในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดที่แท้จริงมากเกินไปแล้ว ซึ่งหมายถึงว่า รัฐต้องแบกรับภาระขาดทุนทันทีที่มีการขายออกไป และระหว่างขั้นตอนการับจำนำก็มีกรณีอื้อฉาว เมื่อพบว่า มีการลักลอบนำข้าวโพดจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีคุณภาพและราคาต่ำกว่าที่ปลูกภายในประเทศเข้ามาสวมสิทธิการรับจำนำ รับเงินจากรัฐไป ขณะที่เกษตรกรชาวไทยตัวจริงกลับไม่ได้รับประโยชน์อะไรรเลย
ที่น่าจับตามองคือ กระทรวงพาณิชย์โดยกระบวนการจัดการร่วมกันระหว่างข้าราชการกับนักการเมือง ได้สร้างกฎเกณฑ์การรับซื้อที่มีรูโหว่ขนาดใหญ่ให้รัฐเสียหายยังไม่พอ แต่ยังกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อต่อยอดความเสียหายนั้นต่อไปด้วย โดยการกำหนดให้มีคณะอนุกรรมการในการระบายข้าวโพดที่ตั้งมาตั้งแต่รัฐบาลก่อน และมีมติให้ระบายข้าวโพดในสต๊อกของรัฐจำนวน 4 แสนกว่าตันในราคาที่ขาดทุนกว่าเท่าตัว เพราะราคาที่ซื้อมาอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 8.50 บาท แต่คณะอนุกรรมการชุดนี้อนุมติให้ขายให้กับผู้ส่งออกรายใหญ่เพียง 4 รายในราคาเพียงกิโลกรัมละ 4-5 บาทเท่านั้น
ความพยายามแก้ไขปัญหาการขาดทุนของภาครัฐโดยรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ คือ การตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นมาเพื่อพิจารณาเรื่องการจำหน่ายข้าวโพดในสต๊อกของรัฐใหม่ โดยมีหลักการสำคัญ คือ ต้องให้ผ่านความเห็นชอบจาก ครม.ด้วย ไม่ใช่เป็นเพียงอำนาจของกระทรวงพาณิชย์เพียงกระทรวงเดียว ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับผู้เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ในกระทรวงพาณิชย์เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอธิบดีกรมการค้าภายใน ที่กล้าออกมาท้าชนกับนายกรัฐมนตรีถึงในห้องประชุม ครม.โดยยืนยันว่า กระทรวงพาณิชย์มีอำนาจในการขายข้าวโพดล็อตนี้ตามมติของคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดย รมว.พาณิชย์ในรัฐบาลก่อน มากกว่าคณะกรรมการชุดใหม่ที่แต่งตั้งโดย ครม.ชุดปัจจุบัน
น่าสังเกตุว่า ที่ผ่านมา อธิบดีกรมการค้าภายในท่านนี้ จะให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องโครงการรับจำนำพืชผลทางการเกษตรมากกว่าปกติ ทั้ง ๆ ที่ภารกิจหลักของกรมการค้าภายในในเรื่องของการควบคุมราคาสินค้า กลับถูกละเลยอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นกรณีข้าวสารแพง เนื้อหมูขึ้นราคา หรือบุหรี่ขาดตลาด ทางกรมการค้าภายใน ทำเพียงแค่ออกประกาศบนกระดาษเตือนพ่อค้าอย่างว่า อย่ากักตุน อย่าขึ้นราคา แต่ไม่เคยเกิดผลในทางปฎิบัติจริง แต่กลับกัน เมื่อใดที่มีภารกิจที่เกี่ยวข้องกับโครงการรับจำนำพืชผลทางการเกษตร อธิบดีกรมการค้าภายใน ดูเหมือนจะทุ่มสุดตัวเพื่อภารกิจนี้ ไม่ว่าจะเป็นเมื่อครั้งที่ได้ เสนอของบประมาณในโครงการรับจำนำต่อที่ประชุม ครม.ในช่วงสูญญากาศทางการเมือง ระหว่างรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวชกับนายสมชาย วงสวัสดิ์ จนถูกเลขาธิการ ครม.ตีกลับมาครั้งหนึ่งแล้ว หรือการปรากฎตัวเพื่อโต้ข้อโต้แย้งของนักวิชาการหลายสถาบันทุกครั้งที่มีการบ่งชี้ว่า โครงการรับจำนำพืชผลการเกษตรเป็นโครงการที่มีปัญหา จนกระทั่งล่าสุด ยอมเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายกับตำแหน่ง โดยยอมชนกับรัฐมนตรีทั้งคณะ ทั้ง ๆ ที่เห็นอยู่อย่างชัดเจนว่า ครม.ชุดนี้พยายามที่จะปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติ ด้วยการไม่ยอมให้เกิดการขายที่รัฐขาดทุนอย่างโจ้งแจ้งขนาดนี้ แต่ผลประโยชน์ที่อธิบดีกรมการค้าภายใน พยายามที่จะปกป้องนี้ คือ อะไร วานรัฐมนตรีพรทิวา ช่วยตอบที