รักษาการผู้อำนวยการ สพท.ตื้อของบปี 53 พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 4,000 ล้านบาท และโรดโชว์งานฟิล์มโลเกชั่นอีก 5 ล้านบาท ยันมีความจำเป็นและสอดคล้องกับการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทย พร้อมวางนโยบายทำงานร่วมกับ ททท.แบบบูรณาการ
นายเสกสรร นาควงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะรักษาราชการแทนผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.) เปิดเผยว่า สพท.ยังยืนยันที่จะยื่นเสนอของบประมาณประจำปี 2553 เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในวงเงิน 4,000 ล้านบาท แม้ว่าจะถูกคณะรัฐมนตรี(ครม.) ตัดทิ้งงบในส่วนนี้ออกไปทั้งหมดเหลือเพียง 18 ล้านบาทเพื่อใช้พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
โดยจะชี้แจง ต่อนายชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และ น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เพราะเป็นสินค้าสำคัญที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) จะนำออกไปเสนอขายต่อนักท่องเที่ยวในต่างประเทศ หากททท.ได้ส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวเดินทางมายังแหล่งท่องเที่ยว แต่กลับพบความเสื่อโทรมของแหล่งท่องเที่ยว หรือหากต้องการให้นักท่องเที่ยวมาซ้ำก็ต้องมีแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆไปนำเสนอ
นอกจากนั้นยังได้วางรูปแบบการทำงานของ สพท.ไว้ว่า นับจากนี้ไปจะต้องทำงานร่วมกันกับ ททท.ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านส่งเสริมการตลาดให้มากขึ้น เน้นเรื่องการบูรณาการร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทย
ตื้อของบเพิ่มขยายตลาดถ่ายหนัง
นอกจากนั้นในส่วนของกองกิจการภาพยนตร์ ซึ่งดูแลงานด้านการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย ก็จะต้องชี้แจงทำความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงบประมาณ และกรมสรรพากร ให้เข้าใจในวงกว้างขึ้นว่าอุตสาหกรรมถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย มีประโยชน์และเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทย เพราะการที่โลเกชั่นของประเทศไทย ได้ออกไปปรากฎบนแผ่นฟิล์มของภาพยนตร์ต่างประเทศ โดยเฉพาะภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่จากฮอลีวู้ด ย่อมเท่ากับการได้ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวของประเทศ
ดังนั้นแผนการทำงานของกองกิจการภาพยนตร์ ก็จะให้ความสำคัญกับการเปิดตลาดใหม่ ด้วยการเดินสายออกร่วมในงานเทศกาลภาพยนตร์และงานด้านฟิล์มโลเกชั่นในต่างประเทศให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะในตลาดใหม่ๆอย่างยุโรป รัสเซีย และ อินเดีย ขณะที่ตลาดเก่าที่เคยไปร่วมงานแล้วอย่างเช่น งาน AFCI โลเกชั่นเทรด์โชว์ ซึ่งจัดโดย สมาคมกรรมการภาพยนตร์นานาชาติ หรือAFCI(Association of Film Commissioners International) ,งานเทศกาลหนังเมืองคานส์ ที่ ฝรั่งเศส ก็ยังต้องรักษาไว้ ซึ่งในปีงบประมาณ 2553 ได้รับจัดสรรงบประมาณมาในเบื้องต้นที่ 2.8 ล้านบาท เฉพาะที่ใช้เพื่อเดินทางไปร่วมงานในต่างประเทศ จากที่เสนอขอไปเกือบ 10 ล้านบาท
ดังนั้นจะหารือกับปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและนายชุมพล ศิลปอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยว เพื่อขอให้มีการปรับเพิ่มงบประมาณในส่วนนี้เป็น 5 ล้านบาทเป็นอย่างต่ำ เพื่อให้เพียงพอกับจำนวนงานที่จะออกไปเข้าร่วมในต่างประเทศ โดยจะนำสถิติจำนวนของภาพยนตร์ต่างประเทศที่เข้ามาถ่ายทำที่ประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมาโดยปี 2551 มีจำนวนกว่า 500 เรื่องทั้งภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่ ภาพยนตร์โฆษณา ละครโทรทัศน์ และสารคดี สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 2,000 ล้านบาท
นอกจากนั้นจากการที่กองกิจการภาพยนตร์ ได้เข้าร่วมงาน AFCI โลเกชั่นเทรด์โชว์ 2009 ที่สหรัฐอเมริกา และเทศกาลหนังเมืองคานส์ ที่ฝรั่งเศส พบว่า มีประเทศใหม่ ที่มาเปิดบูท นำเสนอโลเกชั่นถ่ายหนังเพิ่มขึ้น เช่น ที่งาน AFCI มีประเทศ จอร์แดน และฟิลิปปินส์ เป็นต้น มาเปิดบูท นำเสนอโลเกชั่นแก่ผู้สร้างภาพยนตร์ที่เข้ามาร่วมชมงาน สะท้อนให้เห็นว่า ทุกประเทศต่างตื่นตัวที่จะสร้างรายได้จากอุตสาหกรรมถ่ายทำภาพยนตร์ และยังได้ประโยชน์ในเรื่องของการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว ดังนั้นแม้ประเทศไทยจะมีโลเกชั่นที่สวยงามเป็นที่ชื่นชอบของผู้สร้างภาพยนตร์ แต่หากต้องการแข่งขันก็จำเป็นต้องให้อินเซนทีฟแก่บริษัทผู้สร้าง เพื่อช่วยเขาลดต้นทุนการผลิตในยุคที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว
นายเสกสรร นาควงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะรักษาราชการแทนผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.) เปิดเผยว่า สพท.ยังยืนยันที่จะยื่นเสนอของบประมาณประจำปี 2553 เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในวงเงิน 4,000 ล้านบาท แม้ว่าจะถูกคณะรัฐมนตรี(ครม.) ตัดทิ้งงบในส่วนนี้ออกไปทั้งหมดเหลือเพียง 18 ล้านบาทเพื่อใช้พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
โดยจะชี้แจง ต่อนายชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และ น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เพราะเป็นสินค้าสำคัญที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) จะนำออกไปเสนอขายต่อนักท่องเที่ยวในต่างประเทศ หากททท.ได้ส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวเดินทางมายังแหล่งท่องเที่ยว แต่กลับพบความเสื่อโทรมของแหล่งท่องเที่ยว หรือหากต้องการให้นักท่องเที่ยวมาซ้ำก็ต้องมีแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆไปนำเสนอ
นอกจากนั้นยังได้วางรูปแบบการทำงานของ สพท.ไว้ว่า นับจากนี้ไปจะต้องทำงานร่วมกันกับ ททท.ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านส่งเสริมการตลาดให้มากขึ้น เน้นเรื่องการบูรณาการร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทย
ตื้อของบเพิ่มขยายตลาดถ่ายหนัง
นอกจากนั้นในส่วนของกองกิจการภาพยนตร์ ซึ่งดูแลงานด้านการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย ก็จะต้องชี้แจงทำความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงบประมาณ และกรมสรรพากร ให้เข้าใจในวงกว้างขึ้นว่าอุตสาหกรรมถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย มีประโยชน์และเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทย เพราะการที่โลเกชั่นของประเทศไทย ได้ออกไปปรากฎบนแผ่นฟิล์มของภาพยนตร์ต่างประเทศ โดยเฉพาะภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่จากฮอลีวู้ด ย่อมเท่ากับการได้ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวของประเทศ
ดังนั้นแผนการทำงานของกองกิจการภาพยนตร์ ก็จะให้ความสำคัญกับการเปิดตลาดใหม่ ด้วยการเดินสายออกร่วมในงานเทศกาลภาพยนตร์และงานด้านฟิล์มโลเกชั่นในต่างประเทศให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะในตลาดใหม่ๆอย่างยุโรป รัสเซีย และ อินเดีย ขณะที่ตลาดเก่าที่เคยไปร่วมงานแล้วอย่างเช่น งาน AFCI โลเกชั่นเทรด์โชว์ ซึ่งจัดโดย สมาคมกรรมการภาพยนตร์นานาชาติ หรือAFCI(Association of Film Commissioners International) ,งานเทศกาลหนังเมืองคานส์ ที่ ฝรั่งเศส ก็ยังต้องรักษาไว้ ซึ่งในปีงบประมาณ 2553 ได้รับจัดสรรงบประมาณมาในเบื้องต้นที่ 2.8 ล้านบาท เฉพาะที่ใช้เพื่อเดินทางไปร่วมงานในต่างประเทศ จากที่เสนอขอไปเกือบ 10 ล้านบาท
ดังนั้นจะหารือกับปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและนายชุมพล ศิลปอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยว เพื่อขอให้มีการปรับเพิ่มงบประมาณในส่วนนี้เป็น 5 ล้านบาทเป็นอย่างต่ำ เพื่อให้เพียงพอกับจำนวนงานที่จะออกไปเข้าร่วมในต่างประเทศ โดยจะนำสถิติจำนวนของภาพยนตร์ต่างประเทศที่เข้ามาถ่ายทำที่ประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมาโดยปี 2551 มีจำนวนกว่า 500 เรื่องทั้งภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่ ภาพยนตร์โฆษณา ละครโทรทัศน์ และสารคดี สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 2,000 ล้านบาท
นอกจากนั้นจากการที่กองกิจการภาพยนตร์ ได้เข้าร่วมงาน AFCI โลเกชั่นเทรด์โชว์ 2009 ที่สหรัฐอเมริกา และเทศกาลหนังเมืองคานส์ ที่ฝรั่งเศส พบว่า มีประเทศใหม่ ที่มาเปิดบูท นำเสนอโลเกชั่นถ่ายหนังเพิ่มขึ้น เช่น ที่งาน AFCI มีประเทศ จอร์แดน และฟิลิปปินส์ เป็นต้น มาเปิดบูท นำเสนอโลเกชั่นแก่ผู้สร้างภาพยนตร์ที่เข้ามาร่วมชมงาน สะท้อนให้เห็นว่า ทุกประเทศต่างตื่นตัวที่จะสร้างรายได้จากอุตสาหกรรมถ่ายทำภาพยนตร์ และยังได้ประโยชน์ในเรื่องของการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว ดังนั้นแม้ประเทศไทยจะมีโลเกชั่นที่สวยงามเป็นที่ชื่นชอบของผู้สร้างภาพยนตร์ แต่หากต้องการแข่งขันก็จำเป็นต้องให้อินเซนทีฟแก่บริษัทผู้สร้าง เพื่อช่วยเขาลดต้นทุนการผลิตในยุคที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว