รายงานข่าวจาก บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศอันดับเครดิตให้แก่หุ้นกู้ไม่มีประกันชุดใหม่ในวงเงินไม่เกิน 300 ล้านบาทของ บริษัท ภัทรลิสซิ่ง จำกัด(มหาชน)PL ที่ระดับ “A-” พร้อมทั้งยืนยันอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่มีประกันชุดปัจจุบันของบริษัทคงเดิมที่ระดับ “A-” ด้วยแนวโน้ม “Stable” หรือ “คงที่” โดยอันดับ
เครดิตดังกล่าวสะท้อนถึงความสามารถของผู้บริหารในการรักษาสถานะผู้นำตลาดที่แข็งแกร่งในธุรกิจให้เช่าดำเนินงานรถยนต์ (Operating Lease) แม้การแข่งขันจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นและภาวะแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจจะเอื้ออำนวยน้อยลงก็ตาม
อันดับเครดิตยังสะท้อนถึงคณะผู้บริหารที่มีประสบการณ์ ระบบการบริหารความเสี่ยงและการบริหารมูลค่าคงเหลือของสินทรัพย์ให้เช่า (Residual Value) ที่ดี รวมทั้งขั้นตอนการพิจารณาสินเชื่อที่เข้มงวด ซึ่งทำให้บริษัทสามารถรักษาคุณภาพสินทรัพย์ในระดับที่ดีเอาไว้ได้ในช่วงการขยายตัวของสินทรัพย์ให้เช่า ในการจัดอันดับเครดิตยังพิจารณาถึงความต้องการใช้บริการรถเช่าที่เพิ่มขึ้นของบริษัทเอกชนด้วย ทั้งนี้ ความไม่แน่นอนของภาวะแวดล้อมทางธุรกิจจะยังเป็นปัจจัยสำคัญที่จำกัดความสามารถในการทำกำไรและการขยายธุรกิจของบริษัท
แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” สะท้อนถึงความสามารถของบริษัทในการรักษาตำแหน่งผู้นำในธุรกิจให้เช่าดำเนินงานรถยนต์และมีผลประกอบการในระยะปานกลางตามคาด โดยบริษัทน่าจะสามารถรักษาฐานลูกค้าสำคัญกลุ่มเดิมไปพร้อมกับการขยายฐานลูกค้าใหม่ ในขณะที่ยังคงรักษาคุณภาพสินทรัพย์ที่ดี
เอาไว้ได้ อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการทำกำไรของบริษัทยังคงได้รับแรงกดดันจากการแข่งขันที่รุนแรงและการขาดทุนที่คาดไม่ถึงอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทภัทรลิสซิ่งสามารถรักษาฐานะผู้นำในตลาดเช่าดำเนินงานรถยนต์เอาไว้ได้ โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดในปี 2550 มากกว่า 20% ของสินทรัพย์ให้เช่ารวมของผู้ประกอบการรายใหญ่ 25 รายในฐานข้อมูลของทริสเรทติ้ง บริษัทให้บริการเช่าดำเนินงานและเช่าทางการเงินแก่ลูกค้านิติบุคคลที่เป็นบริษัทขนาดกลางถึงใหญ่ ณ เดือนมีนาคม 2552 บริษัทมีสินทรัพย์จำนวน 5,600 ล้านบาท ซึ่ง 83% เป็นสินทรัพย์ให้เช่า การมีเครือข่ายบริการที่ครอบคลุมทั่วประเทศและการมีฐานเงินทุนที่สูงเมื่อเทียบกับผู้ประกอบการรายอื่นช่วยเพิ่มระดับความสามารถของบริษัทในการให้บริการแก่ลูกค้ารายใหญ่ แต่ก็ทำให้บริษัทมีความเสี่ยงสูงจากการกระจุกตัวของลูกค้ารายใหญ่
อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงดังกล่าวได้รับการชดเชยจากปริมาณการค้างชำระค่าเช่าของลูกค้าที่อยู่ในระดับต่ำเพราะลูกค้ารายใหญ่ส่วนใหญ่มีฐานะทางการเงินที่น่าเชื่อถือ การมีระบบบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพทำให้บริษัทมีคุณภาพสินทรัพย์ที่ดี โดย ณ เดือนมีนาคม 2552 จำนวนค่าเช่าค้างชำระของบริษัทมีเพียง 2.5 ล้านบาท หรือคิดเป็นเพียง 0.05% ของสินทรัพย์ให้เช่ารวม
ความเชี่ยวชาญในธุรกิจ รวมทั้งผลงานที่ได้รับการยอมรับ และความมีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจให้เช่าดำเนินงานช่วยเสริมให้บริษัทสามารถขยายฐานลูกค้าใหม่ โดยยอดสินทรัพย์ให้เช่าใหม่ของบริษัทเพิ่มขึ้นจาก 1,054 ล้านบาทในปีงบประมาณ 2549 เป็น 1,631 ล้านบาทในปีงบประมาณ 2550 และ 2,198 ล้านบาทในปีงบประมาณ 2551
ในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2552 บริษัทมียอดสินทรัพย์ให้เช่าใหม่ 863 ล้านบาท ลดลงจากจำนวน 1,166 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2551 สินทรัพย์ให้เช่าเฉลี่ยต่อไตรมาสลดลงจาก 549 ล้านบาทใน
ปีงบประมาณ 2551 เป็น 432 ล้านบาทต่อไตรมาสในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2552 ปัจจุบันสินทรัพย์ให้เช่าของบริษัทมีการกระจายตัวมากขึ้น โดยบริษัทมียอดบัญชีที่ให้บริการแก่ลูกค้ามากกว่า 500 บัญชีทั่วประเทศ บริษัทยังมีความพยายามในการผสานประโยชน์ทางธุรกิจกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่คือ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต
จำกัด (มหาชน) อย่างไรก็ตาม ผลสำเร็จยังไม่ปรากฏชัดเจนในขณะนี้
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า บริษัทภัทรลิสซิ่งมีกำไรสุทธิในครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2552 เท่ากับ 105 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นจาก 91 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2551 ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของกำไรจากการขายสินทรัพย์ให้เช่า บริษัทขยายสินทรัพย์ด้วยการใช้เงินกู้ยืมเป็นส่วนใหญ่ซึ่งทำให้มีระดับการก่อหนี้สูง ณ ครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2552 (มีนาคม 2552) อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทอยู่ในระดับ 2.31 เท่า เพิ่มขึ้นจากระดับ 2.23 เท่า ณ สิ้นปีงบประมาณ 2551 (กันยายน 2550) และระดับ 1.93 เท่า ณ สิ้นปีงบประมาณ 2550
บริษัทพยายามบริหารอายุของหนี้ผ่านการกู้ยืมระยะยาวเพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาของสัญญาเช่าสินทรัพย์ (ส่วนใหญ่อายุ 3-4 ปี) ผู้บริหารของบริษัทได้ลดความเสี่ยงด้านสภาพคล่องโดยการกู้ยืมระยะยาวจากธนาคารพาณิชย์ในเดือนมีนาคม 2552 จึงมีผลให้สัดส่วนเงินกู้ยืมระยะสั้นต่อหนี้ของบริษัทลดลงมาอยู่ในระดับ 43.4% ณ เดือนมีนาคม 2552 จากระดับ 49.5% ณ เดือนกันยายน 2551 การออกหุ้นกู้ไม่มีประกันในวงเงินไม่เกิน 300 ล้านบาทอายุ 3 ปีในครั้งนี้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้สินให้มีความสอดคล้องกับโครงสร้างสินทรัพย์ของบริษัททั้งในส่วนของระยะเวลาและอัตราดอกเบี้ย
เครดิตดังกล่าวสะท้อนถึงความสามารถของผู้บริหารในการรักษาสถานะผู้นำตลาดที่แข็งแกร่งในธุรกิจให้เช่าดำเนินงานรถยนต์ (Operating Lease) แม้การแข่งขันจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นและภาวะแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจจะเอื้ออำนวยน้อยลงก็ตาม
อันดับเครดิตยังสะท้อนถึงคณะผู้บริหารที่มีประสบการณ์ ระบบการบริหารความเสี่ยงและการบริหารมูลค่าคงเหลือของสินทรัพย์ให้เช่า (Residual Value) ที่ดี รวมทั้งขั้นตอนการพิจารณาสินเชื่อที่เข้มงวด ซึ่งทำให้บริษัทสามารถรักษาคุณภาพสินทรัพย์ในระดับที่ดีเอาไว้ได้ในช่วงการขยายตัวของสินทรัพย์ให้เช่า ในการจัดอันดับเครดิตยังพิจารณาถึงความต้องการใช้บริการรถเช่าที่เพิ่มขึ้นของบริษัทเอกชนด้วย ทั้งนี้ ความไม่แน่นอนของภาวะแวดล้อมทางธุรกิจจะยังเป็นปัจจัยสำคัญที่จำกัดความสามารถในการทำกำไรและการขยายธุรกิจของบริษัท
แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” สะท้อนถึงความสามารถของบริษัทในการรักษาตำแหน่งผู้นำในธุรกิจให้เช่าดำเนินงานรถยนต์และมีผลประกอบการในระยะปานกลางตามคาด โดยบริษัทน่าจะสามารถรักษาฐานลูกค้าสำคัญกลุ่มเดิมไปพร้อมกับการขยายฐานลูกค้าใหม่ ในขณะที่ยังคงรักษาคุณภาพสินทรัพย์ที่ดี
เอาไว้ได้ อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการทำกำไรของบริษัทยังคงได้รับแรงกดดันจากการแข่งขันที่รุนแรงและการขาดทุนที่คาดไม่ถึงอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทภัทรลิสซิ่งสามารถรักษาฐานะผู้นำในตลาดเช่าดำเนินงานรถยนต์เอาไว้ได้ โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดในปี 2550 มากกว่า 20% ของสินทรัพย์ให้เช่ารวมของผู้ประกอบการรายใหญ่ 25 รายในฐานข้อมูลของทริสเรทติ้ง บริษัทให้บริการเช่าดำเนินงานและเช่าทางการเงินแก่ลูกค้านิติบุคคลที่เป็นบริษัทขนาดกลางถึงใหญ่ ณ เดือนมีนาคม 2552 บริษัทมีสินทรัพย์จำนวน 5,600 ล้านบาท ซึ่ง 83% เป็นสินทรัพย์ให้เช่า การมีเครือข่ายบริการที่ครอบคลุมทั่วประเทศและการมีฐานเงินทุนที่สูงเมื่อเทียบกับผู้ประกอบการรายอื่นช่วยเพิ่มระดับความสามารถของบริษัทในการให้บริการแก่ลูกค้ารายใหญ่ แต่ก็ทำให้บริษัทมีความเสี่ยงสูงจากการกระจุกตัวของลูกค้ารายใหญ่
อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงดังกล่าวได้รับการชดเชยจากปริมาณการค้างชำระค่าเช่าของลูกค้าที่อยู่ในระดับต่ำเพราะลูกค้ารายใหญ่ส่วนใหญ่มีฐานะทางการเงินที่น่าเชื่อถือ การมีระบบบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพทำให้บริษัทมีคุณภาพสินทรัพย์ที่ดี โดย ณ เดือนมีนาคม 2552 จำนวนค่าเช่าค้างชำระของบริษัทมีเพียง 2.5 ล้านบาท หรือคิดเป็นเพียง 0.05% ของสินทรัพย์ให้เช่ารวม
ความเชี่ยวชาญในธุรกิจ รวมทั้งผลงานที่ได้รับการยอมรับ และความมีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจให้เช่าดำเนินงานช่วยเสริมให้บริษัทสามารถขยายฐานลูกค้าใหม่ โดยยอดสินทรัพย์ให้เช่าใหม่ของบริษัทเพิ่มขึ้นจาก 1,054 ล้านบาทในปีงบประมาณ 2549 เป็น 1,631 ล้านบาทในปีงบประมาณ 2550 และ 2,198 ล้านบาทในปีงบประมาณ 2551
ในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2552 บริษัทมียอดสินทรัพย์ให้เช่าใหม่ 863 ล้านบาท ลดลงจากจำนวน 1,166 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2551 สินทรัพย์ให้เช่าเฉลี่ยต่อไตรมาสลดลงจาก 549 ล้านบาทใน
ปีงบประมาณ 2551 เป็น 432 ล้านบาทต่อไตรมาสในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2552 ปัจจุบันสินทรัพย์ให้เช่าของบริษัทมีการกระจายตัวมากขึ้น โดยบริษัทมียอดบัญชีที่ให้บริการแก่ลูกค้ามากกว่า 500 บัญชีทั่วประเทศ บริษัทยังมีความพยายามในการผสานประโยชน์ทางธุรกิจกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่คือ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต
จำกัด (มหาชน) อย่างไรก็ตาม ผลสำเร็จยังไม่ปรากฏชัดเจนในขณะนี้
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า บริษัทภัทรลิสซิ่งมีกำไรสุทธิในครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2552 เท่ากับ 105 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นจาก 91 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2551 ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของกำไรจากการขายสินทรัพย์ให้เช่า บริษัทขยายสินทรัพย์ด้วยการใช้เงินกู้ยืมเป็นส่วนใหญ่ซึ่งทำให้มีระดับการก่อหนี้สูง ณ ครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2552 (มีนาคม 2552) อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทอยู่ในระดับ 2.31 เท่า เพิ่มขึ้นจากระดับ 2.23 เท่า ณ สิ้นปีงบประมาณ 2551 (กันยายน 2550) และระดับ 1.93 เท่า ณ สิ้นปีงบประมาณ 2550
บริษัทพยายามบริหารอายุของหนี้ผ่านการกู้ยืมระยะยาวเพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาของสัญญาเช่าสินทรัพย์ (ส่วนใหญ่อายุ 3-4 ปี) ผู้บริหารของบริษัทได้ลดความเสี่ยงด้านสภาพคล่องโดยการกู้ยืมระยะยาวจากธนาคารพาณิชย์ในเดือนมีนาคม 2552 จึงมีผลให้สัดส่วนเงินกู้ยืมระยะสั้นต่อหนี้ของบริษัทลดลงมาอยู่ในระดับ 43.4% ณ เดือนมีนาคม 2552 จากระดับ 49.5% ณ เดือนกันยายน 2551 การออกหุ้นกู้ไม่มีประกันในวงเงินไม่เกิน 300 ล้านบาทอายุ 3 ปีในครั้งนี้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้สินให้มีความสอดคล้องกับโครงสร้างสินทรัพย์ของบริษัททั้งในส่วนของระยะเวลาและอัตราดอกเบี้ย