เอเจนซี - นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล พอล ครุกแมน ชี้เมื่อวันจันทร์ (25) ว่าเศรษฐกิจโลกสามารถหลีกเลี่ยง "ความหายนะอย่างร้ายแรง" มาได้ และพวกประเทศอุตสาหกรรมก็จะมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้
"ผมจะไม่แปลกใจเลยถ้าหากการค้าโลกจะกลับมีเสถียรภาพ การผลิตด้านอุตสาหกรรมของโลกจะกลับมีเสถียรภาพ และเริ่มที่จะขยายตัวในช่วงสองเดือนนับจากนี้ไป" ครุกแมนกล่าวในการประชุมสัมมนาซึ่งจัดขึ้นที่อาบูดาบี
"และผมก็จะไม่แปลกใจเลยที่จะเห็นจีดีพีคงที่เท่าเดิมจนถึงเป็นบวกในสหรัฐฯ แม้กระทั่งในยุโรปด้วย ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้"
ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันและคอลัมนิสต์ของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ผู้นี้ ได้เคยแสดงความกังวลไว้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯอาจจะร่วงหล่นลงสู่ช่วงตกต่ำรุนแรงยาวนานหนึ่งทศวรรษ อย่างที่ญี่ปุ่นเคยประสบมาในช่วงทศวรรษ 1990
ครุกแมนยังวิพากษ์วิจารณ์มาตรการกอบกู้เศรษฐกิจของรัฐบาลสหรัฐฯอย่างรุนแรง โดยเฉพาะกรณีมีมาตรการจูงใจให้นักลงทุนเข้ามาช่วยเอาสินทรัพย์ที่เน่าเสียของภาคการธนาคารมูลค่าประมาณหนึ่งล้านล้านดอลลาร์ไปบริหาร เพราะเท่ากับว่ารัฐบาลอุดหนุนการซื้อสินทรัพย์เน่าเหล่านี้
เขาบอกด้วยว่า การแก้ไขปัญหาแบบญี่ปุ่น นั่นคือด้วยการกระตุ้นการส่งออกนั้น ขณะนี้ไม่น่าจะได้ผล เพราะว่าปัญหาเศรษฐกิจนั้นลุกลามไปทั่วโลกแล้ว
"ในด้านหนึ่งเราอาจจะผ่านพ้นช่วงที่เลวร้ายที่สุดไปแล้ว แต่ก็ต้องเข้าใจไว้ว่ามีความแตกต่างกันอย่างใหญ่หลวงระหว่างภาวะการกลับมีเสถียรภาพ และการฟื้นคืนกลับไปสู่สภาพก่อนหน้าการตกต่ำ" เขากล่าว
"เราสามารถหลีกเลี่ยงความหายนะอย่างร้ายแรงไปได้ แต่เราจะฟื้นตัวอย่างแท้จริงได้อย่างไร" ครุกแมนกล่าว
"เราไม่สามารถจะใช้การส่งออกเป็นตัวนำเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวได้ เพราะไม่มีโลกอื่นให้ค้าขายด้วย ดังนั้นเส้นทางที่ญี่ปุ่นเดินไม่น่าจะได้ผลสำหรับพวกเราทุกคน" ครุกแมนบอก
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก อาจมาจากการลงทุนใหม่ ๆจากบริษัทขนาดใหญ่ทั้งหลาย, การเกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ยิ่งใหญ่ระดับซึ่งสามารถเทียบเคียงกับการปฏิวัติไอทีในช่วงทศวรรษ 1990, หรืออาจจะมาจากความเคลื่อนไหวของรัฐบาลในเรื่องต่อสู้ภาวะโลกร้อนก็ได้
ครุกแมนยกตัวอย่างเรื่องการต่อสู้โลกร้อน โดยชี้ว่ารัฐสภาสหรัฐฯกำลังผลักดันกฎหมายที่จะใช้ระบบจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และให้บริษัทที่ปล่อยก๊าซน้อยกว่าเกณฑ์ ได้สิทธิที่จะนำส่วนที่ยังเหลืออยู่ไม่ครบเกณฑ์นี้ ไปขายให้แก่บริษัทที่ปล่อยก๊าซมากกว่าเกณฑ์
"จากนั้นแล้วยุโรปอาจจะเดินตาม ตามมาด้วยญี่ปุ่น รวมทั้งการเจรจากับประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่เพื่อรวมเอาประเทศเหล่านี้เข้ามาในระบบด้วย ซึ่งจะทำให้เกิดแรงจูงใจอย่างมหาศาลแก่ธุรกิจต่าง ๆที่จะลงทุนและเตรียมพร้อมสำหรับเศรษฐกิจใหม่ที่จะวางพื้นฐานอยู่บนการควบคุมการปล่อยก๊าซไอเสียของโลก ... แต่นี่ก็เป็นเพียงความหวัง ใช่ว่าจะเกิดขึ้นแน่นอนc\j'" ครุกแมนกล่าว
"ผมจะไม่แปลกใจเลยถ้าหากการค้าโลกจะกลับมีเสถียรภาพ การผลิตด้านอุตสาหกรรมของโลกจะกลับมีเสถียรภาพ และเริ่มที่จะขยายตัวในช่วงสองเดือนนับจากนี้ไป" ครุกแมนกล่าวในการประชุมสัมมนาซึ่งจัดขึ้นที่อาบูดาบี
"และผมก็จะไม่แปลกใจเลยที่จะเห็นจีดีพีคงที่เท่าเดิมจนถึงเป็นบวกในสหรัฐฯ แม้กระทั่งในยุโรปด้วย ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้"
ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันและคอลัมนิสต์ของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ผู้นี้ ได้เคยแสดงความกังวลไว้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯอาจจะร่วงหล่นลงสู่ช่วงตกต่ำรุนแรงยาวนานหนึ่งทศวรรษ อย่างที่ญี่ปุ่นเคยประสบมาในช่วงทศวรรษ 1990
ครุกแมนยังวิพากษ์วิจารณ์มาตรการกอบกู้เศรษฐกิจของรัฐบาลสหรัฐฯอย่างรุนแรง โดยเฉพาะกรณีมีมาตรการจูงใจให้นักลงทุนเข้ามาช่วยเอาสินทรัพย์ที่เน่าเสียของภาคการธนาคารมูลค่าประมาณหนึ่งล้านล้านดอลลาร์ไปบริหาร เพราะเท่ากับว่ารัฐบาลอุดหนุนการซื้อสินทรัพย์เน่าเหล่านี้
เขาบอกด้วยว่า การแก้ไขปัญหาแบบญี่ปุ่น นั่นคือด้วยการกระตุ้นการส่งออกนั้น ขณะนี้ไม่น่าจะได้ผล เพราะว่าปัญหาเศรษฐกิจนั้นลุกลามไปทั่วโลกแล้ว
"ในด้านหนึ่งเราอาจจะผ่านพ้นช่วงที่เลวร้ายที่สุดไปแล้ว แต่ก็ต้องเข้าใจไว้ว่ามีความแตกต่างกันอย่างใหญ่หลวงระหว่างภาวะการกลับมีเสถียรภาพ และการฟื้นคืนกลับไปสู่สภาพก่อนหน้าการตกต่ำ" เขากล่าว
"เราสามารถหลีกเลี่ยงความหายนะอย่างร้ายแรงไปได้ แต่เราจะฟื้นตัวอย่างแท้จริงได้อย่างไร" ครุกแมนกล่าว
"เราไม่สามารถจะใช้การส่งออกเป็นตัวนำเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวได้ เพราะไม่มีโลกอื่นให้ค้าขายด้วย ดังนั้นเส้นทางที่ญี่ปุ่นเดินไม่น่าจะได้ผลสำหรับพวกเราทุกคน" ครุกแมนบอก
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก อาจมาจากการลงทุนใหม่ ๆจากบริษัทขนาดใหญ่ทั้งหลาย, การเกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ยิ่งใหญ่ระดับซึ่งสามารถเทียบเคียงกับการปฏิวัติไอทีในช่วงทศวรรษ 1990, หรืออาจจะมาจากความเคลื่อนไหวของรัฐบาลในเรื่องต่อสู้ภาวะโลกร้อนก็ได้
ครุกแมนยกตัวอย่างเรื่องการต่อสู้โลกร้อน โดยชี้ว่ารัฐสภาสหรัฐฯกำลังผลักดันกฎหมายที่จะใช้ระบบจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และให้บริษัทที่ปล่อยก๊าซน้อยกว่าเกณฑ์ ได้สิทธิที่จะนำส่วนที่ยังเหลืออยู่ไม่ครบเกณฑ์นี้ ไปขายให้แก่บริษัทที่ปล่อยก๊าซมากกว่าเกณฑ์
"จากนั้นแล้วยุโรปอาจจะเดินตาม ตามมาด้วยญี่ปุ่น รวมทั้งการเจรจากับประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่เพื่อรวมเอาประเทศเหล่านี้เข้ามาในระบบด้วย ซึ่งจะทำให้เกิดแรงจูงใจอย่างมหาศาลแก่ธุรกิจต่าง ๆที่จะลงทุนและเตรียมพร้อมสำหรับเศรษฐกิจใหม่ที่จะวางพื้นฐานอยู่บนการควบคุมการปล่อยก๊าซไอเสียของโลก ... แต่นี่ก็เป็นเพียงความหวัง ใช่ว่าจะเกิดขึ้นแน่นอนc\j'" ครุกแมนกล่าว