นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล พอล ครุกแมน ชี้เมื่อวันจันทร์ (25) ว่าเศรษฐกิจโลกสามารถหลีกเลี่ยง "ความหายนะอย่างร้ายแรง" มาได้ และพวกประเทศอุตสาหกรรมก็จะมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้
"ผมจะไม่แปลกใจเลยถ้าหากการค้าโลกจะกลับมีเสถียรภาพ การผลิตด้านอุตสาหกรรมของโลกจะกลับมีเสถียรภาพ และเริ่มที่จะขยายตัวในช่วงสองเดือนนับจากนี้ไป" ครุกแมนกล่าวในการประชุมสัมมนาซึ่งจัดขึ้นที่อาบูดาบี
"และผมก็จะไม่แปลกใจเลยที่จะเห็นจีดีพีคงที่เท่าเดิมจนถึงเป็นบวกในสหรัฐฯ แม้กระทั่งในยุโรปด้วย ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้"
ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันและคอลัมนิสต์ของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ผู้นี้ ได้เคยแสดงความกังวลไว้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯอาจจะร่วงหล่นลงสู่ช่วงตกต่ำรุนแรงยาวนานหนึ่งทศวรรษ อย่างที่ญี่ปุ่นเคยประสบมาในช่วงทศวรรษ 1990
ครุกแมนยังวิพากษ์วิจารณ์มาตรการกอบกู้เศรษฐกิจของรัฐบาลสหรัฐฯอย่างรุนแรง โดยเฉพาะกรณีมีมาตรการจูงใจให้นักลงทุนเข้ามาช่วยเอาสินทรัพย์ที่เน่าเสียของภาคการธนาคารมูลค่าประมาณหนึ่งล้านล้านดอลลาร์ไปบริหาร เพราะเท่ากับว่ารัฐบาลอุดหนุนการซื้อสินทรัพย์เน่าเหล่านี้
"ผมจะไม่แปลกใจเลยถ้าหากการค้าโลกจะกลับมีเสถียรภาพ การผลิตด้านอุตสาหกรรมของโลกจะกลับมีเสถียรภาพ และเริ่มที่จะขยายตัวในช่วงสองเดือนนับจากนี้ไป" ครุกแมนกล่าวในการประชุมสัมมนาซึ่งจัดขึ้นที่อาบูดาบี
"และผมก็จะไม่แปลกใจเลยที่จะเห็นจีดีพีคงที่เท่าเดิมจนถึงเป็นบวกในสหรัฐฯ แม้กระทั่งในยุโรปด้วย ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้"
ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันและคอลัมนิสต์ของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ผู้นี้ ได้เคยแสดงความกังวลไว้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯอาจจะร่วงหล่นลงสู่ช่วงตกต่ำรุนแรงยาวนานหนึ่งทศวรรษ อย่างที่ญี่ปุ่นเคยประสบมาในช่วงทศวรรษ 1990
ครุกแมนยังวิพากษ์วิจารณ์มาตรการกอบกู้เศรษฐกิจของรัฐบาลสหรัฐฯอย่างรุนแรง โดยเฉพาะกรณีมีมาตรการจูงใจให้นักลงทุนเข้ามาช่วยเอาสินทรัพย์ที่เน่าเสียของภาคการธนาคารมูลค่าประมาณหนึ่งล้านล้านดอลลาร์ไปบริหาร เพราะเท่ากับว่ารัฐบาลอุดหนุนการซื้อสินทรัพย์เน่าเหล่านี้