ผมคิดว่า ขุมพลังของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็น ขุมพลังทางการเมืองแห่งสังคมเครือข่าย ที่ใช้สื่อใหม่ (new media) อย่าง ASTV และเว็บไซต์ผู้จัดการ อันเป็นผลพวงจากนวัตกรรมแห่งยุคดิจิตอล มาเป็นอาวุธที่ทรงพลังที่สุดในการต่อกรกับระบอบทักษิณ ตั้งแต่ปี 2549 โดยการทำ “สงครามข่าวสาร” เป็นด้านหลัก ด้วยการใช้ความรู้ ข้อเท็จจริง ข่าวสาร ภูมิปัญญา และการสร้างวาทกรรมเป็นที่พึ่ง ขณะเดียวกันก็มีความต้องการใคร่รู้ของประชาชนชนชั้นกลางในเขตเมืองทั่วทั้งประเทศเป็นตัวกำหนด
“ปรากฏการณ์พันธมิตรฯ” ในปี 2551 นั้นเป็นปรากฏการณ์ที่ตัวผมเรียกว่า เป็น การเมืองแห่งสังคมเครือข่าย ขณะที่อาจารย์ชัยอนันต์ สมุทวณิช เรียกว่าเป็น การเมืองแบบฉับพลัน ส่วนอาจารย์ประสาท มีแต้ม เรียกว่าเป็น การเมืองแบบไฮเปอร์ ซึ่งตัวผมคิดว่า แต่ละท่านล้วนกำลังพูดถึง ปรากฏการณ์ทางการเมืองเดียวกันจากแง่มุมต่างๆ
มุมมองของ การเมืองแบบฉับพลัน (spontaneous politics) ที่นำเสนอโดยอาจารย์ชัยอนันต์ นั้น ท่านได้อธิบายว่า เป็นการเมืองที่ไม่ได้มาจากการจัดตั้งล่วงหน้า แต่เกิดจากความรู้สึกร่วมกันที่มีต่อสถานการณ์ทางการเมือง และการมีส่วนร่วมอย่างมีความเข้มข้นจริงจัง โดยที่อาจารย์ชัยอนันต์ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า การเมืองแบบฉับพลันของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มีลักษณะพิเศษ 12 ประการดังต่อไปนี้
(1) ไม่มีการรวมตัวเป็นองค์กรที่ถาวร
(2) เป็นการเคลื่อนไหวมวลชนที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันทีเป็นธรรมชาติ
(3) เป็นการเคลื่อนไหวที่มีการระดมทุนสนับสนุนอย่างกว้างขวางในระหว่างการชุมนุม
(4) เป็นการร่วมมือระหว่างคนทั่วประเทศ และจากคนไทยในต่างประเทศด้วย
(5) การชุมนุมได้สร้างชุมชนการเมืองที่มีพลังและภราดรภาพ
(6) ผู้เข้าชุมนุมทำการชุมนุมอย่างสงบ มีความอดทน อดกลั้นสูง มีระเบียบวินัย
(7) ผู้เข้าชุมนุมมีจิตใจกล้าหาญ ไม่เกรงกลัวภยันตราย
(8) ผู้เข้าชุมนุม และผู้สนับสนุนมีส่วนร่วมโดยตรงในการเคลื่อนไหว
(9) การชุมนุมทางการเมืองมีการผสมผสานสาระ ความเอาจริงเอาจังกับความสนุกสนานเพลิดเพลิน
(10) มีการนำแบบรวมหมู่คือ มีแกนนำที่ไม่มีผู้นำเดี่ยว
(11) ลักษณะของแกนนำมีความแตกต่างหลากหลายทางความรู้ สถานภาพและประสบการณ์ แต่สามารถใช้จุดแข็งของแต่ละคนมาสร้างพลังให้กลุ่มได้เป็นอย่างดี
(12) การเคลื่อนไหวมีกลยุทธ์ที่ดี มีความยืดหยุ่นสูง
ส่วนมุมมองของ การเมืองแบบไฮเปอร์ ของอาจารย์ประสาท มีแต้ม นั้น ท่านได้อธิบายว่า การเมืองแบบไฮเปอร์ (hyperpolitics) เกิดจากการที่สังคมได้มีการเรียนรู้อย่างรวดเร็วแผ่ซ่านไปอย่างกว้างขวาง โดยผ่าน การเชื่อมต่อแบบไฮเปอร์ (hyperconnected) และ การกระจายตัวแบบไฮเปอร์ (hyperdistribution) ในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจนเกิด ความเข้มแข็งแบบไฮเปอร์ (hyperempowerment) ขึ้นมา
ส่วนมุมมองแบบ การเมืองแห่งสังคมเครือข่าย ที่ตัวผมใช้ในการวิเคราะห์ “ปรากฏการณ์พันธมิตรฯ” ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมานั้น ผมขออธิบายดังนี้ว่า “ปรากฏการณ์พันธมิตรฯ” คือรูปธรรมที่จับต้องได้ของการเมืองแบบสังคมเครือข่าย ที่มีลักษณะเป็น การเมืองแห่งคลื่นลูกที่สาม หรือ ประชาธิปไตยแห่งยุคดิจิตอล ซึ่งเรื่องนี้สามารถทำความเข้าใจได้จากทฤษฎีเชิงระบบ (system theory) ที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้วิเคราะห์สังคม และการเมืองโดยนำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ หลักการของการจัดองค์กรของชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเข้าใจเรื่อง เครือข่ายที่มีชีวิต ไปใช้ในการทำความเข้าใจความเป็นจริงทางสังคมและการเมือง
ผมมีความเห็นว่า ลักษณะของเครือข่ายทางสังคม และการเมืองของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยเฉพาะในปี 2551 นั้น มีลักษณะเป็น แบบแผนการจัดองค์กรแบบไม่เป็นเส้นตรง หรือมีลักษณะของ ระบบแห่งความซับซ้อน (system of complexity) ชนิดหนึ่ง โดยที่ “ปม” และ “จุดเชื่อม” ของเครือข่ายพันธมิตรฯ นั้น เป็น ลักษณะของเครือข่ายของการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับภาษา สัญลักษณ์ และวาทกรรมชุดหนึ่ง (วาทกรรมแบบราชาชาตินิยม)
เครือข่ายของพันธมิตรฯ จึงเป็น กระบวนการสร้างขุมพลังทางการเมืองของตนเองขึ้นมาอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับผู้คนที่มีชีวิตจิตใจ และมีความหลากหลายเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวพันกับภาษา สัญลักษณ์ จิตสำนึก และวัฒนธรรมอย่างลึกซึ้ง หรือกล่าวในอีกแง่หนึ่งได้ว่า เครือข่ายแบบพันธมิตรฯ นี้มันเกี่ยวพันกับระบบการเรียนรู้ และการรับรู้ของมวลชนที่กระโจนเข้าร่วมกับขบวนการพันธมิตรฯ ในรูปแบบต่างๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยที่ตัวเครือข่ายพันธมิตรฯ ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ ASTV เว็บไซต์ผู้จัดการ และเวทีชุมนุมของพันธมิตรฯ ต่างก็ได้ใช้ “การสื่อสาร” มาเป็นรูปแบบของการ “ผลิตซ้ำ” ความเป็นพันธมิตรฯ อยู่ตลอดเวลา ตลอดช่วงการชุมนุม 193 วันนั้น
องค์ประกอบหลักเครือข่ายของพันธมิตรฯ นั้น แท้ที่จริงแล้วก็คือ การสื่อสารที่ทำการผลิตซ้ำ วาทกรรมแบบพันธมิตรฯ หรือ วาทกรรมแบบราชาชาตินิยม ออกมาอย่างซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยตัวเครือข่ายของการสื่อสารนั้นเอง จะเห็นได้ว่าเครือข่ายของการสื่อสารเหล่านี้ของกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นการก่อเกิดขึ้นมาเองอย่างฉับพลันและเป็นธรรมชาติ (นี่คือปรากฏการณ์ที่อาจารย์ชัยอนันต์ มองว่าเป็น การเมืองแบบฉับพลัน) โดยที่การสื่อสารแต่ละครั้ง หรือข่าวสารต่างๆ ที่ผลิตออกมาจากเวทีชุมนุมโดยผ่าน ASTV รวมทั้งข่าวสาร บทความในเครือสื่อผู้จัดการทั้งหมดที่วิพากษ์เปิดโปงระบอบทักษิณ ตัวอดีตนายกฯ ทักษิณ และรัฐบาลหุ่นเชิดของเขา ทั้งหมดนี้จะสร้าง “ความคิด ความเชื่อ และความหมาย” ขึ้นมาชุดหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดการสื่อสาร และการเรียนรู้ครั้งต่อๆ ไปอย่างเข้มข้น (นี่คือปรากฏการณ์ที่อาจารย์ประสาท มองว่าเป็น การเมืองแบบไฮเปอร์)
ด้วยเหตุนี้ เครือข่ายทั้งหมดของพันธมิตรฯ จึงให้กำเนิดตัวเอง สร้างตัวเองขึ้นมา และเติบโตเองดุจเดียวกับเครือข่ายที่มีชีวิตทั้งหลาย โดยผ่านการสื่อสารต่างๆ และการสื่อสารทั้งหลายเหล่านั้น ก็จะกลับมาเกิด และถูกผลิตซ้ำขึ้นมาอีกในวงจรป้อนกลับอันหลากหลาย จึงเห็นได้ว่า ระบบเครือข่ายของพันธมิตรฯ นั้นมีหน้าที่หลักอยู่ที่การผลิตวาทกรรม และระบบความเชื่อ คำอธิบาย รวมทั้งระบบค่านิยมขึ้นมาชุดหนึ่งร่วมกันที่เรียกกันว่า คติแบบราชาชาตินิยม ซึ่งวาทกรรมและระบบความเชื่อชุดนี้ จะดำรงคงอยู่ได้ก็ด้วยการสื่อสารที่ยังคงดำเนินสืบเนื่องต่อไป
เพราะฉะนั้น การดำรงคงอยู่ของสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมอย่าง ASTV จึงมีความหมายความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการดำรงอยู่ของเครือข่ายพันธมิตรฯ และความเป็นพันธมิตรฯ โดยที่ความเป็นพันธมิตรฯ นั้น มีพื้นฐานอยู่ที่ บริบทแห่งความหมายร่วมกัน ของผู้คนที่เข้าร่วมขบวนการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งในที่นี้หมายถึง การยอมรับในวาทกรรมแบบราชาชาตินิยมร่วมกัน รวมทั้งการเห็นพ้องร่วมกันถึงหายนภัยของระบอบทักษิณที่มีต่อสถาบันกษัตริย์ และการมีจินตนาการร่วมเชิงวัฒนธรรมในการลุกขึ้นมาทำสงครามครั้งสุดท้าย เพื่อ “กู้ชาติ”
ความเป็นพันธมิตรฯ ที่มีบริบทแห่งความหมายร่วมกันเช่นนี้ จึงทำให้แต่ละปัจเจกที่เข้ามาร่วมกับกลุ่มพันธมิตรฯ ได้มาซึ่ง เอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์แห่งความเป็นพันธมิตรฯ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยวิธีการเช่นนี้เองที่ตัวเครือข่ายของพันธมิตรฯ เองก็ได้ สร้างขอบเขตของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ขึ้นมา ขอบเขตนี้มิใช่ขอบเขตทางกายภาพ แต่เป็น ขอบเขตของความคาดหวัง ความไว้เนื้อเชื่อใจ และความผูกพันภักดี ซึ่งเป็นสิ่งที่จะต้องได้รับการดูแลรักษาเอาไว้ให้ดี โดยตัวเครือข่ายของพันธมิตรฯ เอง
ในทัศนะของผม องค์ประกอบทางโครงสร้างวัตถุของพันธมิตรฯ มีความหมายไม่มากเท่ากับ องค์ประกอบของโครงสร้างทางจิตใจ และระบบความเชื่อของพันธมิตรฯ เอง จะว่าไปแล้ว โครงสร้างทางวัตถุที่ประกอบขึ้นเป็นพันธมิตรฯ ไม่ว่าจะเป็นเวทีชุมนุม มือตบ เสื้อเหลือง ฯลฯ ล้วนเป็นสิ่งมีไว้เพื่อ “แฝงฝันความหมาย” แห่งความเป็นพันธมิตรฯ เอาไว้ให้ดำรงอยู่เท่านั้น
การเมืองแห่งสังคมเครือข่ายของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จึงเป็นการเมืองที่มุ่งจะให้ “ความหมาย” และ “ความเป็นพันธมิตรฯ” แก่มวลชนสมาชิกในเครือข่ายให้มีจินตภาพเกี่ยวกับการต่อสู้ และอนาคตบางอย่างร่วมกัน เพื่อทำให้สมาชิกของเครือข่ายพันธมิตรฯ ทุกคน พร้อมที่จะออกไปปฏิบัติการทางการเมืองเมื่อได้รับการ “เป่านกหวีด” จากแกนนำพันธมิตรฯ
ด้วยความเชื่อมั่นได้ว่า การกระทำของพวกเขาเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และกระทำลงไปเพื่อความถูกต้องดีงาม โดยที่การกระทำของพวกเขา และพวกเธอเหล่านั้น ล้วนเป็นไปโดยสมัครใจ อย่างตั้งใจและมีเป้าหมายมุ่งมั่น เพราะมีแต่การกระทำที่คนผู้นั้นตั้งใจ และมุ่งมั่นที่จะทำออกมาเองเท่านั้น ถึงจะทำให้คนผู้นั้นมีประสบการณ์แห่งอิสรภาพอย่างแท้จริงได้
โดยส่วนตัวของผมนั้น ผมจึงไม่ค่อยเห็นด้วยกับการวิเคราะห์ความเป็นพันธมิตรฯ จากมุมมองของชนชั้นแบบลัทธิมาร์กซ์อย่างโดดๆ ซึ่งตัวผมคิดว่า มันคับแคบไปและไม่รอบด้านพอ ด้วยเหตุนี้ ตัวผมจึงเห็นด้วยกับคุณคำนูณ สิทธิสมาน ที่กล่าวว่า การมองจากมุมมองของชนชั้นแบบฝ่ายซ้ายเก่าที่มองว่า พันธมิตรฯ คือชนชั้นนำกับชนชั้นกลางในเมืองเท่านั้น ไม่น่าจะเป็นการวิเคราะห์ที่รอบด้านพอ โดยเฉพาะถ้ายิ่งไม่เข้าไปสัมผัสตรงๆ ถึงความเป็นพันธมิตรฯ และสังเกตการณ์จากข้างนอกเท่านั้น
คุณคำนูณ ยังบอกอีกว่า ความเป็นพันธมิตรฯ นั้นยากที่จะอธิบายได้ด้วยทฤษฎีชนชั้นแบบลัทธิมาร์กซ์หรือแบบฝ่ายซ้ายเก่า เพราะในที่ชุมนุมเราจะเห็นทั้งคนหาเช้ากินค่ำ นักศึกษา นักเรียน นักธุรกิจพันล้านที่มีชื่อเสียง และนักธุรกิจพันล้านที่ไม่มีใครรู้จัก แต่บริจาคทีละแสนสองแสนบาท ไปจนถึงเชื้อพระวงศ์ระดับหม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ อาหารที่นำมาเลี้ยงกันในที่ชุมนุมก็หลากหลาย บางเจ้ามาจากร้านที่มีชื่อเสียงในแต่ละท้องถิ่น การนั่งชุมนุมก็นั่งคละเคล้ากันไปไม่ได้มีการแบ่งแยกชนชั้น หัวเราะให้กัน หลั่งน้ำตาร่วมกัน ส่วนรวมขาดอะไรหรือต้องการอะไร ขอเพียงแต่ประกาศบนเวทีไม่นาน สิ่งของที่ต้องการนั้นก็จะหลั่งไหลมาจนล้นเกิน ฯลฯ
ปรากฏการณ์พันธมิตรฯ ดังที่คุณคำนูณ อธิบายมานี้ ผมคิดว่าน่าจะมองจากมุมมองของ “เบ้าหลอม” (melting pot) ที่หลอมรวมชนชั้นต่างๆ ให้กลายเป็น ขุมพลังเดียวกัน โดยผ่านเครือข่ายการสื่อสาร น่าจะเป็นมุมมองที่รอบด้านกว่า
และนี่คือเนื้อในของ “วัฒนธรรมใหม่” ในการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งถ้าใครไม่ได้มาประสบพบเห็นด้วยตนเองแล้ว ก็ยากที่จะเชื่อว่าได้มีเรื่องเช่นนี้เกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งเป็นสังคมที่มีช่องว่างระหว่างชนชั้นดำรงอยู่
www.suvinai-dragon.com
“ปรากฏการณ์พันธมิตรฯ” ในปี 2551 นั้นเป็นปรากฏการณ์ที่ตัวผมเรียกว่า เป็น การเมืองแห่งสังคมเครือข่าย ขณะที่อาจารย์ชัยอนันต์ สมุทวณิช เรียกว่าเป็น การเมืองแบบฉับพลัน ส่วนอาจารย์ประสาท มีแต้ม เรียกว่าเป็น การเมืองแบบไฮเปอร์ ซึ่งตัวผมคิดว่า แต่ละท่านล้วนกำลังพูดถึง ปรากฏการณ์ทางการเมืองเดียวกันจากแง่มุมต่างๆ
มุมมองของ การเมืองแบบฉับพลัน (spontaneous politics) ที่นำเสนอโดยอาจารย์ชัยอนันต์ นั้น ท่านได้อธิบายว่า เป็นการเมืองที่ไม่ได้มาจากการจัดตั้งล่วงหน้า แต่เกิดจากความรู้สึกร่วมกันที่มีต่อสถานการณ์ทางการเมือง และการมีส่วนร่วมอย่างมีความเข้มข้นจริงจัง โดยที่อาจารย์ชัยอนันต์ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า การเมืองแบบฉับพลันของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มีลักษณะพิเศษ 12 ประการดังต่อไปนี้
(1) ไม่มีการรวมตัวเป็นองค์กรที่ถาวร
(2) เป็นการเคลื่อนไหวมวลชนที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันทีเป็นธรรมชาติ
(3) เป็นการเคลื่อนไหวที่มีการระดมทุนสนับสนุนอย่างกว้างขวางในระหว่างการชุมนุม
(4) เป็นการร่วมมือระหว่างคนทั่วประเทศ และจากคนไทยในต่างประเทศด้วย
(5) การชุมนุมได้สร้างชุมชนการเมืองที่มีพลังและภราดรภาพ
(6) ผู้เข้าชุมนุมทำการชุมนุมอย่างสงบ มีความอดทน อดกลั้นสูง มีระเบียบวินัย
(7) ผู้เข้าชุมนุมมีจิตใจกล้าหาญ ไม่เกรงกลัวภยันตราย
(8) ผู้เข้าชุมนุม และผู้สนับสนุนมีส่วนร่วมโดยตรงในการเคลื่อนไหว
(9) การชุมนุมทางการเมืองมีการผสมผสานสาระ ความเอาจริงเอาจังกับความสนุกสนานเพลิดเพลิน
(10) มีการนำแบบรวมหมู่คือ มีแกนนำที่ไม่มีผู้นำเดี่ยว
(11) ลักษณะของแกนนำมีความแตกต่างหลากหลายทางความรู้ สถานภาพและประสบการณ์ แต่สามารถใช้จุดแข็งของแต่ละคนมาสร้างพลังให้กลุ่มได้เป็นอย่างดี
(12) การเคลื่อนไหวมีกลยุทธ์ที่ดี มีความยืดหยุ่นสูง
ส่วนมุมมองของ การเมืองแบบไฮเปอร์ ของอาจารย์ประสาท มีแต้ม นั้น ท่านได้อธิบายว่า การเมืองแบบไฮเปอร์ (hyperpolitics) เกิดจากการที่สังคมได้มีการเรียนรู้อย่างรวดเร็วแผ่ซ่านไปอย่างกว้างขวาง โดยผ่าน การเชื่อมต่อแบบไฮเปอร์ (hyperconnected) และ การกระจายตัวแบบไฮเปอร์ (hyperdistribution) ในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจนเกิด ความเข้มแข็งแบบไฮเปอร์ (hyperempowerment) ขึ้นมา
ส่วนมุมมองแบบ การเมืองแห่งสังคมเครือข่าย ที่ตัวผมใช้ในการวิเคราะห์ “ปรากฏการณ์พันธมิตรฯ” ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมานั้น ผมขออธิบายดังนี้ว่า “ปรากฏการณ์พันธมิตรฯ” คือรูปธรรมที่จับต้องได้ของการเมืองแบบสังคมเครือข่าย ที่มีลักษณะเป็น การเมืองแห่งคลื่นลูกที่สาม หรือ ประชาธิปไตยแห่งยุคดิจิตอล ซึ่งเรื่องนี้สามารถทำความเข้าใจได้จากทฤษฎีเชิงระบบ (system theory) ที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้วิเคราะห์สังคม และการเมืองโดยนำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ หลักการของการจัดองค์กรของชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเข้าใจเรื่อง เครือข่ายที่มีชีวิต ไปใช้ในการทำความเข้าใจความเป็นจริงทางสังคมและการเมือง
ผมมีความเห็นว่า ลักษณะของเครือข่ายทางสังคม และการเมืองของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยเฉพาะในปี 2551 นั้น มีลักษณะเป็น แบบแผนการจัดองค์กรแบบไม่เป็นเส้นตรง หรือมีลักษณะของ ระบบแห่งความซับซ้อน (system of complexity) ชนิดหนึ่ง โดยที่ “ปม” และ “จุดเชื่อม” ของเครือข่ายพันธมิตรฯ นั้น เป็น ลักษณะของเครือข่ายของการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับภาษา สัญลักษณ์ และวาทกรรมชุดหนึ่ง (วาทกรรมแบบราชาชาตินิยม)
เครือข่ายของพันธมิตรฯ จึงเป็น กระบวนการสร้างขุมพลังทางการเมืองของตนเองขึ้นมาอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับผู้คนที่มีชีวิตจิตใจ และมีความหลากหลายเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวพันกับภาษา สัญลักษณ์ จิตสำนึก และวัฒนธรรมอย่างลึกซึ้ง หรือกล่าวในอีกแง่หนึ่งได้ว่า เครือข่ายแบบพันธมิตรฯ นี้มันเกี่ยวพันกับระบบการเรียนรู้ และการรับรู้ของมวลชนที่กระโจนเข้าร่วมกับขบวนการพันธมิตรฯ ในรูปแบบต่างๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยที่ตัวเครือข่ายพันธมิตรฯ ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ ASTV เว็บไซต์ผู้จัดการ และเวทีชุมนุมของพันธมิตรฯ ต่างก็ได้ใช้ “การสื่อสาร” มาเป็นรูปแบบของการ “ผลิตซ้ำ” ความเป็นพันธมิตรฯ อยู่ตลอดเวลา ตลอดช่วงการชุมนุม 193 วันนั้น
องค์ประกอบหลักเครือข่ายของพันธมิตรฯ นั้น แท้ที่จริงแล้วก็คือ การสื่อสารที่ทำการผลิตซ้ำ วาทกรรมแบบพันธมิตรฯ หรือ วาทกรรมแบบราชาชาตินิยม ออกมาอย่างซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยตัวเครือข่ายของการสื่อสารนั้นเอง จะเห็นได้ว่าเครือข่ายของการสื่อสารเหล่านี้ของกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นการก่อเกิดขึ้นมาเองอย่างฉับพลันและเป็นธรรมชาติ (นี่คือปรากฏการณ์ที่อาจารย์ชัยอนันต์ มองว่าเป็น การเมืองแบบฉับพลัน) โดยที่การสื่อสารแต่ละครั้ง หรือข่าวสารต่างๆ ที่ผลิตออกมาจากเวทีชุมนุมโดยผ่าน ASTV รวมทั้งข่าวสาร บทความในเครือสื่อผู้จัดการทั้งหมดที่วิพากษ์เปิดโปงระบอบทักษิณ ตัวอดีตนายกฯ ทักษิณ และรัฐบาลหุ่นเชิดของเขา ทั้งหมดนี้จะสร้าง “ความคิด ความเชื่อ และความหมาย” ขึ้นมาชุดหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดการสื่อสาร และการเรียนรู้ครั้งต่อๆ ไปอย่างเข้มข้น (นี่คือปรากฏการณ์ที่อาจารย์ประสาท มองว่าเป็น การเมืองแบบไฮเปอร์)
ด้วยเหตุนี้ เครือข่ายทั้งหมดของพันธมิตรฯ จึงให้กำเนิดตัวเอง สร้างตัวเองขึ้นมา และเติบโตเองดุจเดียวกับเครือข่ายที่มีชีวิตทั้งหลาย โดยผ่านการสื่อสารต่างๆ และการสื่อสารทั้งหลายเหล่านั้น ก็จะกลับมาเกิด และถูกผลิตซ้ำขึ้นมาอีกในวงจรป้อนกลับอันหลากหลาย จึงเห็นได้ว่า ระบบเครือข่ายของพันธมิตรฯ นั้นมีหน้าที่หลักอยู่ที่การผลิตวาทกรรม และระบบความเชื่อ คำอธิบาย รวมทั้งระบบค่านิยมขึ้นมาชุดหนึ่งร่วมกันที่เรียกกันว่า คติแบบราชาชาตินิยม ซึ่งวาทกรรมและระบบความเชื่อชุดนี้ จะดำรงคงอยู่ได้ก็ด้วยการสื่อสารที่ยังคงดำเนินสืบเนื่องต่อไป
เพราะฉะนั้น การดำรงคงอยู่ของสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมอย่าง ASTV จึงมีความหมายความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการดำรงอยู่ของเครือข่ายพันธมิตรฯ และความเป็นพันธมิตรฯ โดยที่ความเป็นพันธมิตรฯ นั้น มีพื้นฐานอยู่ที่ บริบทแห่งความหมายร่วมกัน ของผู้คนที่เข้าร่วมขบวนการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งในที่นี้หมายถึง การยอมรับในวาทกรรมแบบราชาชาตินิยมร่วมกัน รวมทั้งการเห็นพ้องร่วมกันถึงหายนภัยของระบอบทักษิณที่มีต่อสถาบันกษัตริย์ และการมีจินตนาการร่วมเชิงวัฒนธรรมในการลุกขึ้นมาทำสงครามครั้งสุดท้าย เพื่อ “กู้ชาติ”
ความเป็นพันธมิตรฯ ที่มีบริบทแห่งความหมายร่วมกันเช่นนี้ จึงทำให้แต่ละปัจเจกที่เข้ามาร่วมกับกลุ่มพันธมิตรฯ ได้มาซึ่ง เอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์แห่งความเป็นพันธมิตรฯ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยวิธีการเช่นนี้เองที่ตัวเครือข่ายของพันธมิตรฯ เองก็ได้ สร้างขอบเขตของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ขึ้นมา ขอบเขตนี้มิใช่ขอบเขตทางกายภาพ แต่เป็น ขอบเขตของความคาดหวัง ความไว้เนื้อเชื่อใจ และความผูกพันภักดี ซึ่งเป็นสิ่งที่จะต้องได้รับการดูแลรักษาเอาไว้ให้ดี โดยตัวเครือข่ายของพันธมิตรฯ เอง
ในทัศนะของผม องค์ประกอบทางโครงสร้างวัตถุของพันธมิตรฯ มีความหมายไม่มากเท่ากับ องค์ประกอบของโครงสร้างทางจิตใจ และระบบความเชื่อของพันธมิตรฯ เอง จะว่าไปแล้ว โครงสร้างทางวัตถุที่ประกอบขึ้นเป็นพันธมิตรฯ ไม่ว่าจะเป็นเวทีชุมนุม มือตบ เสื้อเหลือง ฯลฯ ล้วนเป็นสิ่งมีไว้เพื่อ “แฝงฝันความหมาย” แห่งความเป็นพันธมิตรฯ เอาไว้ให้ดำรงอยู่เท่านั้น
การเมืองแห่งสังคมเครือข่ายของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จึงเป็นการเมืองที่มุ่งจะให้ “ความหมาย” และ “ความเป็นพันธมิตรฯ” แก่มวลชนสมาชิกในเครือข่ายให้มีจินตภาพเกี่ยวกับการต่อสู้ และอนาคตบางอย่างร่วมกัน เพื่อทำให้สมาชิกของเครือข่ายพันธมิตรฯ ทุกคน พร้อมที่จะออกไปปฏิบัติการทางการเมืองเมื่อได้รับการ “เป่านกหวีด” จากแกนนำพันธมิตรฯ
ด้วยความเชื่อมั่นได้ว่า การกระทำของพวกเขาเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และกระทำลงไปเพื่อความถูกต้องดีงาม โดยที่การกระทำของพวกเขา และพวกเธอเหล่านั้น ล้วนเป็นไปโดยสมัครใจ อย่างตั้งใจและมีเป้าหมายมุ่งมั่น เพราะมีแต่การกระทำที่คนผู้นั้นตั้งใจ และมุ่งมั่นที่จะทำออกมาเองเท่านั้น ถึงจะทำให้คนผู้นั้นมีประสบการณ์แห่งอิสรภาพอย่างแท้จริงได้
โดยส่วนตัวของผมนั้น ผมจึงไม่ค่อยเห็นด้วยกับการวิเคราะห์ความเป็นพันธมิตรฯ จากมุมมองของชนชั้นแบบลัทธิมาร์กซ์อย่างโดดๆ ซึ่งตัวผมคิดว่า มันคับแคบไปและไม่รอบด้านพอ ด้วยเหตุนี้ ตัวผมจึงเห็นด้วยกับคุณคำนูณ สิทธิสมาน ที่กล่าวว่า การมองจากมุมมองของชนชั้นแบบฝ่ายซ้ายเก่าที่มองว่า พันธมิตรฯ คือชนชั้นนำกับชนชั้นกลางในเมืองเท่านั้น ไม่น่าจะเป็นการวิเคราะห์ที่รอบด้านพอ โดยเฉพาะถ้ายิ่งไม่เข้าไปสัมผัสตรงๆ ถึงความเป็นพันธมิตรฯ และสังเกตการณ์จากข้างนอกเท่านั้น
คุณคำนูณ ยังบอกอีกว่า ความเป็นพันธมิตรฯ นั้นยากที่จะอธิบายได้ด้วยทฤษฎีชนชั้นแบบลัทธิมาร์กซ์หรือแบบฝ่ายซ้ายเก่า เพราะในที่ชุมนุมเราจะเห็นทั้งคนหาเช้ากินค่ำ นักศึกษา นักเรียน นักธุรกิจพันล้านที่มีชื่อเสียง และนักธุรกิจพันล้านที่ไม่มีใครรู้จัก แต่บริจาคทีละแสนสองแสนบาท ไปจนถึงเชื้อพระวงศ์ระดับหม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ อาหารที่นำมาเลี้ยงกันในที่ชุมนุมก็หลากหลาย บางเจ้ามาจากร้านที่มีชื่อเสียงในแต่ละท้องถิ่น การนั่งชุมนุมก็นั่งคละเคล้ากันไปไม่ได้มีการแบ่งแยกชนชั้น หัวเราะให้กัน หลั่งน้ำตาร่วมกัน ส่วนรวมขาดอะไรหรือต้องการอะไร ขอเพียงแต่ประกาศบนเวทีไม่นาน สิ่งของที่ต้องการนั้นก็จะหลั่งไหลมาจนล้นเกิน ฯลฯ
ปรากฏการณ์พันธมิตรฯ ดังที่คุณคำนูณ อธิบายมานี้ ผมคิดว่าน่าจะมองจากมุมมองของ “เบ้าหลอม” (melting pot) ที่หลอมรวมชนชั้นต่างๆ ให้กลายเป็น ขุมพลังเดียวกัน โดยผ่านเครือข่ายการสื่อสาร น่าจะเป็นมุมมองที่รอบด้านกว่า
และนี่คือเนื้อในของ “วัฒนธรรมใหม่” ในการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งถ้าใครไม่ได้มาประสบพบเห็นด้วยตนเองแล้ว ก็ยากที่จะเชื่อว่าได้มีเรื่องเช่นนี้เกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งเป็นสังคมที่มีช่องว่างระหว่างชนชั้นดำรงอยู่
www.suvinai-dragon.com