พี่น้องเอย พี่น้องเคยสงสัยบ้างมั้ยว่า พลัง ของพี่น้องพันธมิตรฯ นั้นมาจากไหน? ผมเป็นคนหนึ่งที่เชื่อว่า แหล่งพลังที่สำคัญของพี่น้องพันธมิตรฯ นั้นมาจาก จินตนาการ หรือ พลังแห่งจินตนาการร่วมกัน ของพี่น้องพันธมิตรฯ เป็นสิ่งที่ทรงพลังอย่างที่สุด เนื่องเพราะผมเชื่อมั่นว่า จินตนาการ มีความสำคัญเชิงพื้นฐานยิ่งกว่าความรู้ จินตนาการ ทำให้ผู้นั้นกล้าที่จะ “แหกคอก” ออกมาเป็นอิสระจากกรอบความคิดเดิมๆ ทั้งหมด จินตนาการ ทำให้ผู้นั้นกล้าทำสิ่งใหม่ๆ ออกมา จินตนาการ ทำให้ผู้นั้นกล้าคิดที่จะไม่ยึดถือกฎเกณฑ์เดิมๆ ที่ได้รับการสั่งสอนมาแล้วใช้ความเป็นอิสระที่ได้มาจากการจินตนาการนี้ ทำการ “ปลดปล่อย” ตัวเอง
พลังแห่งจินตนาการ ของพี่น้องพันธมิตรฯ เช่นนี้แหละที่ได้ทำให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้กลายมาเป็น “ชุมชนในเชิงจินตนาการ” (imagined communities) ที่ใหญ่ที่สุด และทรงพลังที่สุดในปี 2551
ว่าแต่ว่า อะไรคือสิ่งที่พี่น้องพันธมิตรฯ ได้ “จินตนาการร่วมกัน?” ผมคิดว่า จินตนาการร่วมเชิงวัฒนธรรม กับ จินตนาการร่วมเชิงอภิปรัชญา (ในความหมายข้ามภาพข้ามชาติ) เกี่ยวกับ “สงครามครั้งสุดท้าย” คือสิ่งที่พี่น้องพันธมิตรฯ ได้มีจินตนาการร่วมกันจนกลายมาเป็น “ปฏิบัติการมวลชน” ในที่สุด
ผมจะขอกล่าวถึง จินตนาการร่วมเชิงวัฒนธรรม ก่อนเป็นอันดับแรก เริ่มจาก สนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำคนสำคัญของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ใช้ พลังแห่งการเล่าเรื่อง รวมทั้ง พลังแห่งการสร้างจินตนาการ ของเขามาอธิบายเหตุผลการจัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 25 พฤษภาคม ปี 2551 ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ว่าเป็น “สงครามครั้งสุดท้าย” เพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 และระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มันอาจไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจสำหรับ สนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ชอบอ่านวรรณกรรมกำลังภายในของ หวงอี้ เรื่อง “มังกรคู่สู้สิบทิศ” ถึง 3 รอบในช่วงหลังๆ จะ จินตนาการ ว่าตัวเขาเองเป็น “ขุนพล” ที่กำลังนำทัพของเขาเพื่อกอบกู้แผ่นดินเหมือนอย่าง โคว่จง ผู้เป็นตัวเอกคนหนึ่งของนิยายกำลังภายในเรื่องนี้ เพราะนี่คือ พลังแห่งวรรณกรรม ที่ได้ส่งผลสะเทือนต่อจิตใจของคนอ่านอย่างลึกซึ้ง โดยผ่าน จินตนาการร่วม เช่นนี้
ผมคิดว่า มวลชนที่กระโดดเข้าร่วมปฏิบัติการทางการเมืองเพื่อกดดันรัฐบาลหุ่นเชิดกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้น จะต้องมี จินตนาการร่วมเชิงวัฒนธรรม เกี่ยวกับ “สงครามครั้งสุดท้าย” นี้ดำรงอยู่ไม่มากก็น้อย และที่สำคัญ เหล่าแกนนำพันธมิตรฯ และคณะทำงานผู้ออกแบบนวัตกรรมการเคลื่อนไหว รวมทั้งยุทธศาสตร์และยุทธวิธีมักจะใช้ กลุ่มคำศัพท์ “สงคราม” อยู่ตลอดเวลา อย่างเช่น
“สงคราม 9 ทัพ” กรณีปฏิบัติการปิดล้อมทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 20 มิถุนายน 2551 หรือ “สงครามครั้งสุดท้าย-ปฏิบัติการไทยคู่ฟ้า” กรณียึดทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 26 สิงหาคม 2551 รวมทั้งการเรียกผู้เข้าร่วมชุมนุมว่า กองทัพประชาชนกู้ชาติหรือทหารเสือพระราชา-พระราชินี และมีการเรียกหน่วยการ์ดอาสาว่า นักรบศรีวิชัย อีกทั้งยังเรียกภารกิจในการต่อสู้ครั้งนี้ว่า ภารกิจศักดิ์สิทธิ์ในการทำ “สงครามศักดิ์สิทธิ์”
การปลูกฝังจินตนาการร่วมกันเรื่อง “สงครามครั้งสุดท้าย” ในหมู่มวลชนที่กระโดดเข้าร่วมปฏิบัติการทางการเมืองกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนี้ มันมีพลังและทรงพลังอย่างยิ่ง ในแง่ที่มันทำให้มวลชนผู้เข้าร่วมขบวนการพันธมิตรฯ ทั้งที่ร่วมในเชิงจินตนาการเท่านั้น คือ แค่เฝ้าติดตามผ่านหน้าจอของ ASTV หรือทางอินเทอร์เน็ต และทางวิทยุอย่างเดียวกับที่เข้ามาร่วม ทั้งทางกายภาพไปเข้าร่วมชุมนุมประท้วง และเข้าร่วมทางจิตใจหรือทางจินตนาการไปพร้อมๆ กัน ต่างก็มีความรู้สึกหรือตระหนักร่วมกันถึงสภาวะที่ไม่ปกติ หรือสภาวะฉุกเฉินที่เรียกร้องการเสียสละของทุกคน ดุจภาวะสงคราม
ความรู้สึกในเชิงจินตนาการของมวลชนว่ากำลังเข้าสู่ “สงครามเสมือนจริง” โดยเป็น สงครามศักดิ์สิทธิ์ ระหว่างฝ่ายธรรมะกับฝ่ายอธรรม หรือระหว่างฝ่ายเทพกับฝ่ายมารนั้น มันมีบริบททางวัฒนธรรมรองรับอยู่แล้วในสังคมไทยตั้งแต่ดั้งเดิม ทั้งจากอิทธิพลทางวรรณกรรมของ มหาภารตะยุทธ์ และอิทธิพลของเทพนิยายปรัมปราที่มีต้นตอมาจากวัฒนธรรมอินเดียที่ถูกผสมผสานกันอย่างกลมกลืนกับอิทธิพลของนิยายกำลังภายในอย่าง “เทพมารสะท้านภพ” “มังกรคู่สู้สิบทิศ” และ “จอมคนแผ่นดินเดือด” ของหวงอี้ที่ขายดี และเป็นที่นิยมมากในบรรดานักอ่านไทยที่เป็นชนชั้นกลาง
หัวใจของ จินตนาการ นั้น อยู่ที่ ความงาม โดยที่ ความงาม ในที่นี้ และในสายตาของพี่น้องพันธมิตรฯ คือ ความรัก โดยเฉพาะความรักชาติบ้านเมือง และความรักพวกพ้องที่เป็นสหายร่วมรบ และได้ทำ “สงครามกู้ชาติกู้แผ่นดิน” ร่วมกัน
สื่อบางกลุ่มและนักวิชาการบางส่วนที่ไม่ได้เข้ามาอยู่ใน โลกแห่งจินตนาการร่วม ของพี่น้องพันธมิตรฯ อาจรู้สึกว่าการจินตนาการร่วมโดยมีความรักชาติ และความรักพวกพ้องที่เป็นสหายร่วมรบนั้นเป็นเรื่อง “บ้า” หรือเป็น “เรื่องตลกที่น่าหัวร่อ” แต่ผมอยากจะบอกพวกคุณว่า ความรักมิใช่เรื่องน่าหัวเราะ! ไม่ว่าจะเป็นความรักแบบไหน ประเภทใดโดยไม่มีข้อยกเว้น
พวกคุณอาจบอกว่า พวกเขาเหล่าพี่น้องพันธมิตรฯ เป็นพวกช่างฝันหรือพวกเพ้อฝัน แต่พวกคุณโปรดจงรู้ไว้ด้วยเถิดว่า พวกเขามิได้ฝันเพียงลำพังอย่างเดียวดาย ยิ่งมีผู้คนมาร่วมฝันกับพวกเขามากเท่าไหร่ โลกนี้ สังคมนี้ก็จะยิ่งน่าอยู่เพียงนั้น และสามารถอยู่กันอย่างสันติ และอย่างปรองดองเป็นหนึ่งเดียวกันได้อย่างแน่นอน
พวกคุณคงเคยได้ยิน เพลง Imagine ของ Beatles กันมาทุกคน เพลงที่เคยส่งผลสะเทือน และเคยเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้คนมาแล้วทั่วโลก เมื่อสี่สิบกว่าปีก่อนและกลายเป็นเพลงอมตะมาจนถึงบัดนี้
“You may say I’m a dreamer
But I’m not the only one,
I hope some day you’ll join us
And the world will be live as one”
ใช่แล้ว พวกคุณกล่าวไม่ผิดหรอกที่บอกว่า พวกเขาเหล่าพี่น้องพันธมิตรฯ เป็นพวกช่างฝัน (dreamer) ที่ใฝ่ฝันถึงความฝันอันสูงสุด ความฝันที่ยากจะเป็นจริง พวกเขาอาจจะเป็น ดอน กีโฮเต้ยุคดิจิตอล ผู้ยึดอุดมคติอย่างไม่ประนีประนอม จนอยู่ในโลกกว้างอย่างเปลี่ยวเหงา แต่ โปรดเชื่อเถอะว่า โลกนี้ สังคมนี้ ยุคนี้ ยังต้องการ “ผู้กล้า” แบบนี้ เพื่อช่วยกวาดล้างสิ่งโสโครกในสังคมให้หมดไป เพราะฉะนั้นโปรดรู้ไว้ด้วยเถิดว่า เพราะมีการดำรงอยู่ของพวกช่างฝัน เช่น พวกเขาเหล่าพี่น้องพันธมิตรฯ โลกนี้จึงงดงาม
พี่น้องเอย พี่น้องรู้มั้ยว่า ความฝันก็เป็นความจริงในอีกมิติหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ จินตนาการ ไม่ช้าก็เร็ว มันจะทำให้ผู้นั้นล่วงล้ำเข้าสู่ พรมแดนของอภิปรัชญา จนได้ ผมจึงมีความเห็นว่า นอกจาก จินตนาการร่วมเชิงวัฒนธรรม ดังข้างต้นแล้ว จินตนาการร่วมเชิงอภิปรัชญา ในความหมายของการข้ามภพข้ามชาติก็เป็นต้นตอที่สำคัญของ พลัง ของพันธมิตรฯ ด้วยเช่นกัน เพราะไม่ว่าใครก็ตามที่ได้เข้าไปร่วมชุมนุมกับพันธมิตรฯ อย่างจริงจัง ทุ่มเทและต่อเนื่องทั้งทางกายภาพและจินตภาพ จะมีบางห้วงยาม บางขณะที่ผู้นั้นจะเกิดประสบการณ์ที่คล้ายกับประสบการณ์ “เดจาวู” (ประสบการณ์ที่คล้ายกับว่า เคยพบเห็นสิ่งนั้นมาก่อน) โดยเฉพาะเกิดความรู้สึกที่ผุดขึ้นมาเองโดยไม่ได้คิดว่า
“พวกเราเคยร่วมรบ ร่วมทำศึกกู้ชาติเช่นนี้ร่วมกันมาก่อนแล้วในอดีตชาติ และได้เคยทำเช่นนี้มาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน”
จิตนาการร่วมเชิงอภิปรัชญา หรือ เชิงข้ามภพข้ามชาติ เช่นนี้ บางครั้ง สนธิ ลิ้มทองกุล ก็เคยกล่าวออกมาต่างกรรมต่างวาระเหมือนกัน โดยผลสะเทือนที่ปรากฏออกมาอย่างเห็นได้ชัดก็คือ มันทำให้ผู้คนที่เข้าร่วมชุมนุม ร่วมต่อสู้ล้วนมีความหวังหรือความมั่นใจในชัยชนะที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ผมอดรู้สึกไม่ได้ว่า ความสามารถในการสร้าง จินตนาการร่วมเชิงอภิปรัชญา แบบนี้เป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่ขาดไม่ได้ สำหรับ ผู้นำในสถานการณ์วิกฤต หรือไม่ปกติ มิหนำซ้ำมันยังเป็นความสามารถพิเศษเฉพาะตัวที่ลอกเลียนแบบกันได้ยากไม่เหมือน จินตนาการร่วมเชิงวัฒนธรรม
แต่จะว่าไปแล้ว จินตนาการร่วมเชิงอภิปรัชญา นี้มันก็มิใช่เรื่องเพี้ยนหรือเรื่องไร้สาระ หรือเรื่องงมงายเชิงไสยศาสตร์เหมือนอย่างที่สื่อบางกลุ่มได้เคยพยายามใส่ร้ายหรือยัดเยียด “ข้อหา” นี้ให้แก่ สนธิ ลิ้มทองกุล มาแล้วในระหว่างการต่อสู้ช่วง 193 วันนั้น เพราะเรื่องนี้สามารถอธิบายความเป็นไปได้ด้วย ทฤษฎีจักรวาลคู่ขนาน (parallel universe) กล่าวคือ ในทางฟิสิกส์ จักรวาลที่เราอยู่นี้อาจเป็นเพียงหนึ่งในจักรวาลที่ “น่าจะเป็น” จำนวนนับไม่ถ้วน เหตุการณ์มีตัวตนของมันอยู่ แต่ละภพก็คือแต่ละมิติ คำว่า การข้ามภพข้ามชาติทางอภิปรัชญา จึงหมายถึง มิติที่ทับซ้อนขนานกันของจักรวาลคู่ขนานนั่นเอง
เพราะแม้จนบัดนี้ คนเราก็ยังรู้น้อยมากเกี่ยวกับจักรวาลของเราเอง เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่า จักรวาลของเราเป็นเพียงจักรวาลเดียวหรือไม่ มิหนำซ้ำเรากลับพบว่า มีความเป็นไปได้สูงที่จะมีจักรวาลมากกว่าหนึ่งเดียวที่อยู่คนละมิติและซ้อนทับขนานกัน กล่าวคือ จักรวาลน่าจะประกอบไปด้วยโลกที่ทับซ้อนกันนับล้านๆ โลก โดยที่แต่ละโลกก็มีวิวัฒนาการต่างกันออกไปในจักรวาลคู่ขนานแบบนี้ อดีต ปัจจุบัน อนาคตคือ เวลาเดียวกัน มิติต่างๆ เหลื่อมทับโดยไม่เกี่ยวข้องกับ “เวลา” ในความเข้าใจของมนุษย์ทั่วไป กล่าวคือ “อดีต” “ปัจจุบัน” และ “อนาคต” น่าจะดำรงอยู่ไปพร้อมๆ กัน แต่คนละมิติกัน โดยที่สามัญสำนึกของมนุษย์เราไม่มีทางรับรู้ได้เลย
ในจักรวาลคู่ขนานแบบนี้ ความฝันก็ย่อมเป็นความจริงอย่างหนึ่ง สิ่งที่คนเราฝัน คนเราจินตนาการจึงเป็นความจริงในอีกมิติหนึ่งได้ และถ้าหากเป็นเช่นนั้นจริง เจตจำนงอิสระโดยสมบูรณ์อย่างแท้จริงอาจจะไม่มี เพราะหลายเรื่องหลายเหตุการณ์อาจจะถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว หรือที่เรียกกันว่า “พรหมลิขิต” นั่นเอง
แต่ในท่ามกลางสิ่งที่ถูกกำหนดหรือเป็นข้อกำหนดให้อะไรต่ออะไรเป็นอย่างที่มันเป็นอยู่ก็จริง คนเราก็ยังมี เจตจำนงอิสระโดยสัมพัทธ์ ที่จะ “เลือก” หรือมี พลังแห่งการเลือก ดำรงอยู่อย่างชัดแจ้ง ซึ่งถ้าหาก พลังแห่งการเลือก นี้มันเป็น พลังแห่งความมุ่งมั่นอันแรงกล้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็น พลังรวมหมู่ ด้วยแล้ว มันก็ย่อมสามารถเปลี่ยนแปลง “พรหมลิขิต” ได้ หรือสามารถทำสิ่งที่ดูเป็นไปไม่ได้ให้กลับกลายมาเป็นไปได้ด้วยเช่นกัน ถ้าหากพวกเขาเหล่านั้นมี พลังแห่งจินตนาการ และ พลังแห่งการเลือก ร่วมกันว่า
“พวกเขาไม่มีทางพ่ายแพ้” หากพวกเขาไม่มีวันยอมแพ้อย่างชนิดที่ไม่มีอะไรในโลกนี้ หรือโลกไหนๆ ที่สามารถมาทำลาย จิตวิญญาณที่ไม่ยอมแพ้พ่าย ของพวกเขาได้”
...ผมคิดว่า สิ่งนี้แหละคือ พลังที่แท้จริง ที่ผมเชื่อว่าเป็น พลัง ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในปี 2551
www.suvinai-dragon.com
พลังแห่งจินตนาการ ของพี่น้องพันธมิตรฯ เช่นนี้แหละที่ได้ทำให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้กลายมาเป็น “ชุมชนในเชิงจินตนาการ” (imagined communities) ที่ใหญ่ที่สุด และทรงพลังที่สุดในปี 2551
ว่าแต่ว่า อะไรคือสิ่งที่พี่น้องพันธมิตรฯ ได้ “จินตนาการร่วมกัน?” ผมคิดว่า จินตนาการร่วมเชิงวัฒนธรรม กับ จินตนาการร่วมเชิงอภิปรัชญา (ในความหมายข้ามภาพข้ามชาติ) เกี่ยวกับ “สงครามครั้งสุดท้าย” คือสิ่งที่พี่น้องพันธมิตรฯ ได้มีจินตนาการร่วมกันจนกลายมาเป็น “ปฏิบัติการมวลชน” ในที่สุด
ผมจะขอกล่าวถึง จินตนาการร่วมเชิงวัฒนธรรม ก่อนเป็นอันดับแรก เริ่มจาก สนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำคนสำคัญของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ใช้ พลังแห่งการเล่าเรื่อง รวมทั้ง พลังแห่งการสร้างจินตนาการ ของเขามาอธิบายเหตุผลการจัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 25 พฤษภาคม ปี 2551 ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ว่าเป็น “สงครามครั้งสุดท้าย” เพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 และระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มันอาจไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจสำหรับ สนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ชอบอ่านวรรณกรรมกำลังภายในของ หวงอี้ เรื่อง “มังกรคู่สู้สิบทิศ” ถึง 3 รอบในช่วงหลังๆ จะ จินตนาการ ว่าตัวเขาเองเป็น “ขุนพล” ที่กำลังนำทัพของเขาเพื่อกอบกู้แผ่นดินเหมือนอย่าง โคว่จง ผู้เป็นตัวเอกคนหนึ่งของนิยายกำลังภายในเรื่องนี้ เพราะนี่คือ พลังแห่งวรรณกรรม ที่ได้ส่งผลสะเทือนต่อจิตใจของคนอ่านอย่างลึกซึ้ง โดยผ่าน จินตนาการร่วม เช่นนี้
ผมคิดว่า มวลชนที่กระโดดเข้าร่วมปฏิบัติการทางการเมืองเพื่อกดดันรัฐบาลหุ่นเชิดกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้น จะต้องมี จินตนาการร่วมเชิงวัฒนธรรม เกี่ยวกับ “สงครามครั้งสุดท้าย” นี้ดำรงอยู่ไม่มากก็น้อย และที่สำคัญ เหล่าแกนนำพันธมิตรฯ และคณะทำงานผู้ออกแบบนวัตกรรมการเคลื่อนไหว รวมทั้งยุทธศาสตร์และยุทธวิธีมักจะใช้ กลุ่มคำศัพท์ “สงคราม” อยู่ตลอดเวลา อย่างเช่น
“สงคราม 9 ทัพ” กรณีปฏิบัติการปิดล้อมทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 20 มิถุนายน 2551 หรือ “สงครามครั้งสุดท้าย-ปฏิบัติการไทยคู่ฟ้า” กรณียึดทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 26 สิงหาคม 2551 รวมทั้งการเรียกผู้เข้าร่วมชุมนุมว่า กองทัพประชาชนกู้ชาติหรือทหารเสือพระราชา-พระราชินี และมีการเรียกหน่วยการ์ดอาสาว่า นักรบศรีวิชัย อีกทั้งยังเรียกภารกิจในการต่อสู้ครั้งนี้ว่า ภารกิจศักดิ์สิทธิ์ในการทำ “สงครามศักดิ์สิทธิ์”
การปลูกฝังจินตนาการร่วมกันเรื่อง “สงครามครั้งสุดท้าย” ในหมู่มวลชนที่กระโดดเข้าร่วมปฏิบัติการทางการเมืองกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนี้ มันมีพลังและทรงพลังอย่างยิ่ง ในแง่ที่มันทำให้มวลชนผู้เข้าร่วมขบวนการพันธมิตรฯ ทั้งที่ร่วมในเชิงจินตนาการเท่านั้น คือ แค่เฝ้าติดตามผ่านหน้าจอของ ASTV หรือทางอินเทอร์เน็ต และทางวิทยุอย่างเดียวกับที่เข้ามาร่วม ทั้งทางกายภาพไปเข้าร่วมชุมนุมประท้วง และเข้าร่วมทางจิตใจหรือทางจินตนาการไปพร้อมๆ กัน ต่างก็มีความรู้สึกหรือตระหนักร่วมกันถึงสภาวะที่ไม่ปกติ หรือสภาวะฉุกเฉินที่เรียกร้องการเสียสละของทุกคน ดุจภาวะสงคราม
ความรู้สึกในเชิงจินตนาการของมวลชนว่ากำลังเข้าสู่ “สงครามเสมือนจริง” โดยเป็น สงครามศักดิ์สิทธิ์ ระหว่างฝ่ายธรรมะกับฝ่ายอธรรม หรือระหว่างฝ่ายเทพกับฝ่ายมารนั้น มันมีบริบททางวัฒนธรรมรองรับอยู่แล้วในสังคมไทยตั้งแต่ดั้งเดิม ทั้งจากอิทธิพลทางวรรณกรรมของ มหาภารตะยุทธ์ และอิทธิพลของเทพนิยายปรัมปราที่มีต้นตอมาจากวัฒนธรรมอินเดียที่ถูกผสมผสานกันอย่างกลมกลืนกับอิทธิพลของนิยายกำลังภายในอย่าง “เทพมารสะท้านภพ” “มังกรคู่สู้สิบทิศ” และ “จอมคนแผ่นดินเดือด” ของหวงอี้ที่ขายดี และเป็นที่นิยมมากในบรรดานักอ่านไทยที่เป็นชนชั้นกลาง
หัวใจของ จินตนาการ นั้น อยู่ที่ ความงาม โดยที่ ความงาม ในที่นี้ และในสายตาของพี่น้องพันธมิตรฯ คือ ความรัก โดยเฉพาะความรักชาติบ้านเมือง และความรักพวกพ้องที่เป็นสหายร่วมรบ และได้ทำ “สงครามกู้ชาติกู้แผ่นดิน” ร่วมกัน
สื่อบางกลุ่มและนักวิชาการบางส่วนที่ไม่ได้เข้ามาอยู่ใน โลกแห่งจินตนาการร่วม ของพี่น้องพันธมิตรฯ อาจรู้สึกว่าการจินตนาการร่วมโดยมีความรักชาติ และความรักพวกพ้องที่เป็นสหายร่วมรบนั้นเป็นเรื่อง “บ้า” หรือเป็น “เรื่องตลกที่น่าหัวร่อ” แต่ผมอยากจะบอกพวกคุณว่า ความรักมิใช่เรื่องน่าหัวเราะ! ไม่ว่าจะเป็นความรักแบบไหน ประเภทใดโดยไม่มีข้อยกเว้น
พวกคุณอาจบอกว่า พวกเขาเหล่าพี่น้องพันธมิตรฯ เป็นพวกช่างฝันหรือพวกเพ้อฝัน แต่พวกคุณโปรดจงรู้ไว้ด้วยเถิดว่า พวกเขามิได้ฝันเพียงลำพังอย่างเดียวดาย ยิ่งมีผู้คนมาร่วมฝันกับพวกเขามากเท่าไหร่ โลกนี้ สังคมนี้ก็จะยิ่งน่าอยู่เพียงนั้น และสามารถอยู่กันอย่างสันติ และอย่างปรองดองเป็นหนึ่งเดียวกันได้อย่างแน่นอน
พวกคุณคงเคยได้ยิน เพลง Imagine ของ Beatles กันมาทุกคน เพลงที่เคยส่งผลสะเทือน และเคยเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้คนมาแล้วทั่วโลก เมื่อสี่สิบกว่าปีก่อนและกลายเป็นเพลงอมตะมาจนถึงบัดนี้
“You may say I’m a dreamer
But I’m not the only one,
I hope some day you’ll join us
And the world will be live as one”
ใช่แล้ว พวกคุณกล่าวไม่ผิดหรอกที่บอกว่า พวกเขาเหล่าพี่น้องพันธมิตรฯ เป็นพวกช่างฝัน (dreamer) ที่ใฝ่ฝันถึงความฝันอันสูงสุด ความฝันที่ยากจะเป็นจริง พวกเขาอาจจะเป็น ดอน กีโฮเต้ยุคดิจิตอล ผู้ยึดอุดมคติอย่างไม่ประนีประนอม จนอยู่ในโลกกว้างอย่างเปลี่ยวเหงา แต่ โปรดเชื่อเถอะว่า โลกนี้ สังคมนี้ ยุคนี้ ยังต้องการ “ผู้กล้า” แบบนี้ เพื่อช่วยกวาดล้างสิ่งโสโครกในสังคมให้หมดไป เพราะฉะนั้นโปรดรู้ไว้ด้วยเถิดว่า เพราะมีการดำรงอยู่ของพวกช่างฝัน เช่น พวกเขาเหล่าพี่น้องพันธมิตรฯ โลกนี้จึงงดงาม
พี่น้องเอย พี่น้องรู้มั้ยว่า ความฝันก็เป็นความจริงในอีกมิติหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ จินตนาการ ไม่ช้าก็เร็ว มันจะทำให้ผู้นั้นล่วงล้ำเข้าสู่ พรมแดนของอภิปรัชญา จนได้ ผมจึงมีความเห็นว่า นอกจาก จินตนาการร่วมเชิงวัฒนธรรม ดังข้างต้นแล้ว จินตนาการร่วมเชิงอภิปรัชญา ในความหมายของการข้ามภพข้ามชาติก็เป็นต้นตอที่สำคัญของ พลัง ของพันธมิตรฯ ด้วยเช่นกัน เพราะไม่ว่าใครก็ตามที่ได้เข้าไปร่วมชุมนุมกับพันธมิตรฯ อย่างจริงจัง ทุ่มเทและต่อเนื่องทั้งทางกายภาพและจินตภาพ จะมีบางห้วงยาม บางขณะที่ผู้นั้นจะเกิดประสบการณ์ที่คล้ายกับประสบการณ์ “เดจาวู” (ประสบการณ์ที่คล้ายกับว่า เคยพบเห็นสิ่งนั้นมาก่อน) โดยเฉพาะเกิดความรู้สึกที่ผุดขึ้นมาเองโดยไม่ได้คิดว่า
“พวกเราเคยร่วมรบ ร่วมทำศึกกู้ชาติเช่นนี้ร่วมกันมาก่อนแล้วในอดีตชาติ และได้เคยทำเช่นนี้มาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน”
จิตนาการร่วมเชิงอภิปรัชญา หรือ เชิงข้ามภพข้ามชาติ เช่นนี้ บางครั้ง สนธิ ลิ้มทองกุล ก็เคยกล่าวออกมาต่างกรรมต่างวาระเหมือนกัน โดยผลสะเทือนที่ปรากฏออกมาอย่างเห็นได้ชัดก็คือ มันทำให้ผู้คนที่เข้าร่วมชุมนุม ร่วมต่อสู้ล้วนมีความหวังหรือความมั่นใจในชัยชนะที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ผมอดรู้สึกไม่ได้ว่า ความสามารถในการสร้าง จินตนาการร่วมเชิงอภิปรัชญา แบบนี้เป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่ขาดไม่ได้ สำหรับ ผู้นำในสถานการณ์วิกฤต หรือไม่ปกติ มิหนำซ้ำมันยังเป็นความสามารถพิเศษเฉพาะตัวที่ลอกเลียนแบบกันได้ยากไม่เหมือน จินตนาการร่วมเชิงวัฒนธรรม
แต่จะว่าไปแล้ว จินตนาการร่วมเชิงอภิปรัชญา นี้มันก็มิใช่เรื่องเพี้ยนหรือเรื่องไร้สาระ หรือเรื่องงมงายเชิงไสยศาสตร์เหมือนอย่างที่สื่อบางกลุ่มได้เคยพยายามใส่ร้ายหรือยัดเยียด “ข้อหา” นี้ให้แก่ สนธิ ลิ้มทองกุล มาแล้วในระหว่างการต่อสู้ช่วง 193 วันนั้น เพราะเรื่องนี้สามารถอธิบายความเป็นไปได้ด้วย ทฤษฎีจักรวาลคู่ขนาน (parallel universe) กล่าวคือ ในทางฟิสิกส์ จักรวาลที่เราอยู่นี้อาจเป็นเพียงหนึ่งในจักรวาลที่ “น่าจะเป็น” จำนวนนับไม่ถ้วน เหตุการณ์มีตัวตนของมันอยู่ แต่ละภพก็คือแต่ละมิติ คำว่า การข้ามภพข้ามชาติทางอภิปรัชญา จึงหมายถึง มิติที่ทับซ้อนขนานกันของจักรวาลคู่ขนานนั่นเอง
เพราะแม้จนบัดนี้ คนเราก็ยังรู้น้อยมากเกี่ยวกับจักรวาลของเราเอง เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่า จักรวาลของเราเป็นเพียงจักรวาลเดียวหรือไม่ มิหนำซ้ำเรากลับพบว่า มีความเป็นไปได้สูงที่จะมีจักรวาลมากกว่าหนึ่งเดียวที่อยู่คนละมิติและซ้อนทับขนานกัน กล่าวคือ จักรวาลน่าจะประกอบไปด้วยโลกที่ทับซ้อนกันนับล้านๆ โลก โดยที่แต่ละโลกก็มีวิวัฒนาการต่างกันออกไปในจักรวาลคู่ขนานแบบนี้ อดีต ปัจจุบัน อนาคตคือ เวลาเดียวกัน มิติต่างๆ เหลื่อมทับโดยไม่เกี่ยวข้องกับ “เวลา” ในความเข้าใจของมนุษย์ทั่วไป กล่าวคือ “อดีต” “ปัจจุบัน” และ “อนาคต” น่าจะดำรงอยู่ไปพร้อมๆ กัน แต่คนละมิติกัน โดยที่สามัญสำนึกของมนุษย์เราไม่มีทางรับรู้ได้เลย
ในจักรวาลคู่ขนานแบบนี้ ความฝันก็ย่อมเป็นความจริงอย่างหนึ่ง สิ่งที่คนเราฝัน คนเราจินตนาการจึงเป็นความจริงในอีกมิติหนึ่งได้ และถ้าหากเป็นเช่นนั้นจริง เจตจำนงอิสระโดยสมบูรณ์อย่างแท้จริงอาจจะไม่มี เพราะหลายเรื่องหลายเหตุการณ์อาจจะถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว หรือที่เรียกกันว่า “พรหมลิขิต” นั่นเอง
แต่ในท่ามกลางสิ่งที่ถูกกำหนดหรือเป็นข้อกำหนดให้อะไรต่ออะไรเป็นอย่างที่มันเป็นอยู่ก็จริง คนเราก็ยังมี เจตจำนงอิสระโดยสัมพัทธ์ ที่จะ “เลือก” หรือมี พลังแห่งการเลือก ดำรงอยู่อย่างชัดแจ้ง ซึ่งถ้าหาก พลังแห่งการเลือก นี้มันเป็น พลังแห่งความมุ่งมั่นอันแรงกล้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็น พลังรวมหมู่ ด้วยแล้ว มันก็ย่อมสามารถเปลี่ยนแปลง “พรหมลิขิต” ได้ หรือสามารถทำสิ่งที่ดูเป็นไปไม่ได้ให้กลับกลายมาเป็นไปได้ด้วยเช่นกัน ถ้าหากพวกเขาเหล่านั้นมี พลังแห่งจินตนาการ และ พลังแห่งการเลือก ร่วมกันว่า
“พวกเขาไม่มีทางพ่ายแพ้” หากพวกเขาไม่มีวันยอมแพ้อย่างชนิดที่ไม่มีอะไรในโลกนี้ หรือโลกไหนๆ ที่สามารถมาทำลาย จิตวิญญาณที่ไม่ยอมแพ้พ่าย ของพวกเขาได้”
...ผมคิดว่า สิ่งนี้แหละคือ พลังที่แท้จริง ที่ผมเชื่อว่าเป็น พลัง ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในปี 2551
www.suvinai-dragon.com