มีความพยายามมากเหลือเกินที่จะให้ที่มาของสมาชิกวุฒิสภากลับไปเป็นเหมือนรัฐธรรมนูญ 2540 คือมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
ข้อเสียของสภาเลือกตั้ง ก็คือ เป็นไปไม่ได้ที่จะปลอดการเมือง และเป็นไปไม่ได้ที่จะขจัดการแทรกแซงของพรรคการเมือง
ซึ่งไม่ใช่แต่เฉพาะพรรครัฐบาล หากรวมถึงพรรคฝ่ายค้าน
และก็เป็นธรรมชาติของทุกสภาเลือกตั้งที่แรงโน้มถ่วงของสมาชิกจะไหลไปทางพรรครัฐบาล
เมื่อรัฐธรรมนูญบัญญัติอำนาจ ให้คุณให้โทษนักการเมืองสารพัดสารพันไว้กับวุฒิสภาจึงเกิดปรากฏการณ์ “มันเป็นเช่นนั้นเอง” ตั้งแต่ต้นที่นักการเมืองจะต้องพยายามสร้างเครือข่ายพรรคพวกขึ้นไว้ในสภาที่จะให้คุณให้โทษ ตราบใดที่นักการเมืองทุกคนยังเป็นปุถุชน ไม่ใช่อรหันต์ ตราบนั้นความพยายามเข้าไปมีเครือข่ายพรรคพวกในวุฒิสภา รวมทั้งสมาชิกวุฒิสภาที่พยายามเข้าไปเป็น พรรคพวกกับรัฐบาล จึงเป็นเรื่อง ปกติ
ระบบการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาตามแบบรัฐธรรมนูญ 2550 มีข้อดีพอสมควร
การใช้ระบบการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเป็นแบบรวมเขต ถือจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง โดยให้ประชาชนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเลือกได้คนเดียว เป็นเหตุให้จังหวัดที่มีจำนวนสมาชิกวุฒิสภามากๆ อย่าง กทม. เกิดปรากฏการณ์ที่ผู้ได้รับเลือกอันดับ 1 คะแนนสูงเกิน 1 ล้าน ขณะที่ผู้ได้รับเลือกตั้งอันดับสุดท้ายคะแนนต่ำเพียง 2 หมื่น
เป็นตรรกะประชาธิปไตยพหุนิยม ไม่ใช่ตรรกะประชาธิปไตยเสียงข้างมาก
เป็นระบบที่ทำให้คนส่วนน้อยมีโอกาส
เป็นหนึ่งในกลไกของระบบที่เปิดโอกาสให้ตัวแทนของทุกกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวแทนของคนส่วนน้อยในเขตเลือกตั้งไม่ถูกตัดสิทธิไปด้วยกฎของเสียงข้างมาก
ตัวอย่างคลาสสิกที่น่าจะยกตัวอย่างได้ก็คือในกรณีของจังหวัดปัตตานี มีประชากรที่นับถือศาสนาพุทธเพียง 30% ในขณะที่ประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามมีถึง 70% ถ้าทั้งจังหวัดมีสมาชิกวุฒิสภาได้ 2 คน และใช้วิธีการเลือกตั้งแบบให้ประชาชนผู้มีสิทธิลงคะแนนเลือกได้คนละ 2 คน ผลก็จะเป็นว่าได้สมาชิกวุฒิสภานับถือศาสนาอิสลามทั้ง 2 คน แต่วิธีการเลือกแบบรัฐธรรมนูญ 2540 คือเลือกได้คนเดียว ทำให้ถึงอย่างไรผู้ชนะที่ 1 นับถือศาสนาอิสลาม ผู้ชนะที่ 2 นับถือศาสนาพุทธ ทำให้ มีตัวแทนทั้ง 2 ศาสนาเสมอ
จะแก้ไขหรือไม่แก้ไขอย่างไรควรพิจารณาถึงที่มาในการออกแบบรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตรรกะประชาธิปไตยพหุนิยมนี้ด้วย
เชื่อหรือไม่ คุณอนุศาสน์ สุวรรณมงคล เจ้าของโรงแรมซีเอสปัตตานี คิดจะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ว. แต่พอมาเจอระบบการเลือกตั้ง ส.ว.แบบรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ให้แต่ละจังหวัดเลือกได้คนเดียว ท่านซึ่งนับถือศาสนาพุทธจึงเปลี่ยนใจ เพราะรู้อยู่ว่าลงไปก็แพ้ หันมาสมัครในระบบสรรหาแทน
แต่ทุกวันนี้ ส.ว.อนุศาสน์ก็ทำงานหนักในการเข้าหาประชาชนไม่แพ้ผู้ที่มาจากการเลือกตั้ง
ก็เพราะตรรกะประชาธิปไตยพหุนิยมนี้แหละที่ทำให้วุฒิสภา 2543 – 2549 มีตัวแทนความคิดค่อนข้างหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีเอ็นจีโอเข้ามาร่วมด้วย
บทบาทโดดเด่นของสมาชิกวุฒิสภาแม้เพียงจำนวนน้อย อาจจะมองไม่เห็นในสถานการณ์ปกติ แต่จะเห็นชัดเจนและมีพลังอย่างยิ่งในสถานการณ์วิกฤต
ยิ่งบทบาทของเพื่อนสมาชิกส่วนใหญ่ด้อยลงเท่าไร ก็จะยิ่งเสริมพลังให้กลุ่มที่เป็นเสมือนคนชายขอบมากขึ้นเท่านั้น
จริงๆ แล้ว สภาแต่งตั้งก็ใช่ว่าจะมีแต่ข้อเสีย หลายครั้งในประวัติศาสตร์ได้ให้กำเนิดสิ่งดีๆ ล่าสุดก็คือ สภาแต่งตั้งชุดสุดท้ายระหว่างปี 2539 – 2543 ที่ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจสามารถแสดงบทบาทได้สมกับเป็นวุฒิสภา
คือสามารถเป็นสภาตัวแทนของชนชั้น ได้อย่างทรงพลังยิ่งนัก
ที่คณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญ 2540 ลงมติกันในนาทีท้ายๆ กำหนดให้วุฒิสภายุคใหม่เป็นสภาเลือกตั้ง ก็เพราะเหตุผลความจำเป็นทางทฤษฎีการเมือง
เพราะวุฒิสภาเป็นสภาที่ให้กำเนิดองค์กรอิสระ และในเมื่อคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระถูกกำหนดไว้ให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ต้องมาจากการเลือกตั้งหรือมาจากประชาชนโดยตรง แต่ภาระหน้าที่ที่ต้องมาตรวจสอบและตัดสิน นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งมาจากประชาชนโดยตรง จะให้ท่านเหล่านี้เป็นผู้วิเศษที่ลอยลงมาจากฟากฟ้าโดยไม่มีจุดยึดโยงกับประชาชน
ก็เท่ากับขัดหลักการประชาธิปไตย เพราะจะทำให้การตัดสินใจของประชาชนผ่านการเลือกตั้งมีอันไร้ความหมาย
ทางออกในทางทฤษฎีการเมืองเพื่อสร้างความชอบธรรมทางการเมืองจึงเป็นไปใน 2 ทาง
ทางหนึ่ง คือให้สมาชิกวุฒิสภาที่เป็นสภาผู้เลือกบุคลากรเข้าไปสู่องค์กรอิสระนั้น มาจากการเลือกตั้ง อีกทางหนึ่ง ได้สร้างกลไกของคณะกรรมการสรรหาเพื่อการกลั่นกรองชั้นต้นให้มีตัวแทนของพรรคการเมืองร่วมอยู่ด้วย
น่าเสียดายที่เหตุผลความจำเป็นของทฤษฎีการเมืองอันบริสุทธิ์นี้ ถูกหักล้างจากการเข้ามาแทรกแซงในทุกวิถีทางของพรรคการเมืองใหญ่ที่ครองอำนาจครองเสียงข้างมาก
จนผู้ได้รับเลือกเข้าไปในองค์กรอิสระจำนวนไม่น้อยมีวัตรปฏิบัติที่ไม่เป็นอิสระ!
และส.ว.ชุดนั้นจำนวนไม่น้อยในปีท้ายๆ ก็ไม่เป็นอิสระอย่างน่าเกลียด!!
ถ้าจะกลับไปแบบเดิมอีก ก็ต้องคงกลไกหลายประการที่รัฐธรรมนูญ 2550 กำหนดไว้ใหม่ด้วย เพื่อไม่ให้กลายเป็นสภาผัวเมีย สภาพี่น้อง หรือสภาหมอนข้าง
ความคิดล่าสุดที่น่าสนใจเรื่องที่มาของวุฒิสภา อยู่ในการปาฐกถาของท่านอาจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2552 นี้ แม้จะอยู่ภายใต้หัวเรื่อง “บทบาทสื่อมวลชนกับการปฏิรูปการเมือง” แต่ความจริงแล้วท่านพูดเรื่อง “ปฏิรูปประเทศไทย” ที่ผมเข้าใจว่าปีนี้สถาบันพระปกเกล้ากำลังร่วมกับหน่วยงานวิชาการอื่นทำวิจัยครั้งใหญ่
ท่านอาจารย์บวรศักดิ์บอกว่าสมาชิกวุฒิสภาไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง เพราะการจะเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ดูที่สภาล่างซึ่งมีอำนาจทางการเมืองที่แท้จริง
“ควรเป็นสภาที่สรรหามาจากหลากอาชีพให้มากที่สุด และมีผู้ดำรงตำแหน่งโดยตำแหน่ง เช่น ปลัดกระทรวง ผู้บัญชาการเหล่าทัพ นายกฯ หรือประธานองค์กรวิชาชีพที่มีกฎหมายจัดตั้ง....”
อย่าเพิ่งด่วนวิจารณ์ แต่ต้องอ่านหรือฟังให้ครบทั้งหมดของข้อเสนอ รวมทั้งแนวคิดพื้นฐานก่อนหน้านี้ของท่านด้วย
ที่ยึดตรรกะประชาธิปไตยพหุนิยมครับ!
ข้อเสียของสภาเลือกตั้ง ก็คือ เป็นไปไม่ได้ที่จะปลอดการเมือง และเป็นไปไม่ได้ที่จะขจัดการแทรกแซงของพรรคการเมือง
ซึ่งไม่ใช่แต่เฉพาะพรรครัฐบาล หากรวมถึงพรรคฝ่ายค้าน
และก็เป็นธรรมชาติของทุกสภาเลือกตั้งที่แรงโน้มถ่วงของสมาชิกจะไหลไปทางพรรครัฐบาล
เมื่อรัฐธรรมนูญบัญญัติอำนาจ ให้คุณให้โทษนักการเมืองสารพัดสารพันไว้กับวุฒิสภาจึงเกิดปรากฏการณ์ “มันเป็นเช่นนั้นเอง” ตั้งแต่ต้นที่นักการเมืองจะต้องพยายามสร้างเครือข่ายพรรคพวกขึ้นไว้ในสภาที่จะให้คุณให้โทษ ตราบใดที่นักการเมืองทุกคนยังเป็นปุถุชน ไม่ใช่อรหันต์ ตราบนั้นความพยายามเข้าไปมีเครือข่ายพรรคพวกในวุฒิสภา รวมทั้งสมาชิกวุฒิสภาที่พยายามเข้าไปเป็น พรรคพวกกับรัฐบาล จึงเป็นเรื่อง ปกติ
ระบบการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาตามแบบรัฐธรรมนูญ 2550 มีข้อดีพอสมควร
การใช้ระบบการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเป็นแบบรวมเขต ถือจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง โดยให้ประชาชนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเลือกได้คนเดียว เป็นเหตุให้จังหวัดที่มีจำนวนสมาชิกวุฒิสภามากๆ อย่าง กทม. เกิดปรากฏการณ์ที่ผู้ได้รับเลือกอันดับ 1 คะแนนสูงเกิน 1 ล้าน ขณะที่ผู้ได้รับเลือกตั้งอันดับสุดท้ายคะแนนต่ำเพียง 2 หมื่น
เป็นตรรกะประชาธิปไตยพหุนิยม ไม่ใช่ตรรกะประชาธิปไตยเสียงข้างมาก
เป็นระบบที่ทำให้คนส่วนน้อยมีโอกาส
เป็นหนึ่งในกลไกของระบบที่เปิดโอกาสให้ตัวแทนของทุกกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวแทนของคนส่วนน้อยในเขตเลือกตั้งไม่ถูกตัดสิทธิไปด้วยกฎของเสียงข้างมาก
ตัวอย่างคลาสสิกที่น่าจะยกตัวอย่างได้ก็คือในกรณีของจังหวัดปัตตานี มีประชากรที่นับถือศาสนาพุทธเพียง 30% ในขณะที่ประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามมีถึง 70% ถ้าทั้งจังหวัดมีสมาชิกวุฒิสภาได้ 2 คน และใช้วิธีการเลือกตั้งแบบให้ประชาชนผู้มีสิทธิลงคะแนนเลือกได้คนละ 2 คน ผลก็จะเป็นว่าได้สมาชิกวุฒิสภานับถือศาสนาอิสลามทั้ง 2 คน แต่วิธีการเลือกแบบรัฐธรรมนูญ 2540 คือเลือกได้คนเดียว ทำให้ถึงอย่างไรผู้ชนะที่ 1 นับถือศาสนาอิสลาม ผู้ชนะที่ 2 นับถือศาสนาพุทธ ทำให้ มีตัวแทนทั้ง 2 ศาสนาเสมอ
จะแก้ไขหรือไม่แก้ไขอย่างไรควรพิจารณาถึงที่มาในการออกแบบรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตรรกะประชาธิปไตยพหุนิยมนี้ด้วย
เชื่อหรือไม่ คุณอนุศาสน์ สุวรรณมงคล เจ้าของโรงแรมซีเอสปัตตานี คิดจะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ว. แต่พอมาเจอระบบการเลือกตั้ง ส.ว.แบบรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ให้แต่ละจังหวัดเลือกได้คนเดียว ท่านซึ่งนับถือศาสนาพุทธจึงเปลี่ยนใจ เพราะรู้อยู่ว่าลงไปก็แพ้ หันมาสมัครในระบบสรรหาแทน
แต่ทุกวันนี้ ส.ว.อนุศาสน์ก็ทำงานหนักในการเข้าหาประชาชนไม่แพ้ผู้ที่มาจากการเลือกตั้ง
ก็เพราะตรรกะประชาธิปไตยพหุนิยมนี้แหละที่ทำให้วุฒิสภา 2543 – 2549 มีตัวแทนความคิดค่อนข้างหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีเอ็นจีโอเข้ามาร่วมด้วย
บทบาทโดดเด่นของสมาชิกวุฒิสภาแม้เพียงจำนวนน้อย อาจจะมองไม่เห็นในสถานการณ์ปกติ แต่จะเห็นชัดเจนและมีพลังอย่างยิ่งในสถานการณ์วิกฤต
ยิ่งบทบาทของเพื่อนสมาชิกส่วนใหญ่ด้อยลงเท่าไร ก็จะยิ่งเสริมพลังให้กลุ่มที่เป็นเสมือนคนชายขอบมากขึ้นเท่านั้น
จริงๆ แล้ว สภาแต่งตั้งก็ใช่ว่าจะมีแต่ข้อเสีย หลายครั้งในประวัติศาสตร์ได้ให้กำเนิดสิ่งดีๆ ล่าสุดก็คือ สภาแต่งตั้งชุดสุดท้ายระหว่างปี 2539 – 2543 ที่ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจสามารถแสดงบทบาทได้สมกับเป็นวุฒิสภา
คือสามารถเป็นสภาตัวแทนของชนชั้น ได้อย่างทรงพลังยิ่งนัก
ที่คณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญ 2540 ลงมติกันในนาทีท้ายๆ กำหนดให้วุฒิสภายุคใหม่เป็นสภาเลือกตั้ง ก็เพราะเหตุผลความจำเป็นทางทฤษฎีการเมือง
เพราะวุฒิสภาเป็นสภาที่ให้กำเนิดองค์กรอิสระ และในเมื่อคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระถูกกำหนดไว้ให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ต้องมาจากการเลือกตั้งหรือมาจากประชาชนโดยตรง แต่ภาระหน้าที่ที่ต้องมาตรวจสอบและตัดสิน นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งมาจากประชาชนโดยตรง จะให้ท่านเหล่านี้เป็นผู้วิเศษที่ลอยลงมาจากฟากฟ้าโดยไม่มีจุดยึดโยงกับประชาชน
ก็เท่ากับขัดหลักการประชาธิปไตย เพราะจะทำให้การตัดสินใจของประชาชนผ่านการเลือกตั้งมีอันไร้ความหมาย
ทางออกในทางทฤษฎีการเมืองเพื่อสร้างความชอบธรรมทางการเมืองจึงเป็นไปใน 2 ทาง
ทางหนึ่ง คือให้สมาชิกวุฒิสภาที่เป็นสภาผู้เลือกบุคลากรเข้าไปสู่องค์กรอิสระนั้น มาจากการเลือกตั้ง อีกทางหนึ่ง ได้สร้างกลไกของคณะกรรมการสรรหาเพื่อการกลั่นกรองชั้นต้นให้มีตัวแทนของพรรคการเมืองร่วมอยู่ด้วย
น่าเสียดายที่เหตุผลความจำเป็นของทฤษฎีการเมืองอันบริสุทธิ์นี้ ถูกหักล้างจากการเข้ามาแทรกแซงในทุกวิถีทางของพรรคการเมืองใหญ่ที่ครองอำนาจครองเสียงข้างมาก
จนผู้ได้รับเลือกเข้าไปในองค์กรอิสระจำนวนไม่น้อยมีวัตรปฏิบัติที่ไม่เป็นอิสระ!
และส.ว.ชุดนั้นจำนวนไม่น้อยในปีท้ายๆ ก็ไม่เป็นอิสระอย่างน่าเกลียด!!
ถ้าจะกลับไปแบบเดิมอีก ก็ต้องคงกลไกหลายประการที่รัฐธรรมนูญ 2550 กำหนดไว้ใหม่ด้วย เพื่อไม่ให้กลายเป็นสภาผัวเมีย สภาพี่น้อง หรือสภาหมอนข้าง
ความคิดล่าสุดที่น่าสนใจเรื่องที่มาของวุฒิสภา อยู่ในการปาฐกถาของท่านอาจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2552 นี้ แม้จะอยู่ภายใต้หัวเรื่อง “บทบาทสื่อมวลชนกับการปฏิรูปการเมือง” แต่ความจริงแล้วท่านพูดเรื่อง “ปฏิรูปประเทศไทย” ที่ผมเข้าใจว่าปีนี้สถาบันพระปกเกล้ากำลังร่วมกับหน่วยงานวิชาการอื่นทำวิจัยครั้งใหญ่
ท่านอาจารย์บวรศักดิ์บอกว่าสมาชิกวุฒิสภาไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง เพราะการจะเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ดูที่สภาล่างซึ่งมีอำนาจทางการเมืองที่แท้จริง
“ควรเป็นสภาที่สรรหามาจากหลากอาชีพให้มากที่สุด และมีผู้ดำรงตำแหน่งโดยตำแหน่ง เช่น ปลัดกระทรวง ผู้บัญชาการเหล่าทัพ นายกฯ หรือประธานองค์กรวิชาชีพที่มีกฎหมายจัดตั้ง....”
อย่าเพิ่งด่วนวิจารณ์ แต่ต้องอ่านหรือฟังให้ครบทั้งหมดของข้อเสนอ รวมทั้งแนวคิดพื้นฐานก่อนหน้านี้ของท่านด้วย
ที่ยึดตรรกะประชาธิปไตยพหุนิยมครับ!