สุรินทร์ - พันธมิตรฯเมืองช้าง ประชุมระดมความคิด “บทบาท หน้าที่ และการดำเนินงานพธม.ในอนาคต” ระบุต้องขยายเครือข่ายอย่างต่อเนื่องให้ครอบคลุมทุกภาคส่วน และจัดตั้งองค์กรระดับจังหวัด-ภาคให้ชัดเจนเพื่อการประสานและขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพ เดินหน้าสร้างการเมืองใหม่ ยันค้านแก้ไขรธน.-นิรโทษกรรมนักการเมือง เสนอควรทอดเวลาตั้งพรรคการเมืองพธม.ไปอีกสักระยะ เพื่อระดมคนระดมปัญญาและระดมทุนให้พร้อม หวั่นแนวร่วม-ปชช.เสื่อมศรัทธา เผยเตรียมร่วมงาน “193 วัน รำลึก 1 ปีการต่อสู้ฯ” 24-25 พ.ค.นี้
นายประยูร พุ่มอินทร์ แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) จังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กลุ่มแกนนำพันธมิตรฯ สุรินทร์ได้ประชุม ที่บ้านหนังสือ ถนนหลักเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ และแนวโน้มการดำเนินงานของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในอนาคต
ทั้งนี้ในที่ประชุมเสนอความเห็น ว่า ควรดำเนินการขยายเครือข่ายพันธมิตรฯ เพิ่มขึ้นให้ครอบคลุมในทุกภาคส่วน ควรมีการจัดรูปแบบองค์กรในระดับภาค ระดับจังหวัดให้ชัดเจน เพื่อการประสานงานและขับเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการสนับสนุนหรือเป็นแนวร่วมพรรคการเมือง ที่มีแนวคิดปฏิรูปการเมืองไปสู่การเมืองใหม่ และการขับเคลื่อนให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับการเมืองใหม่อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง พร้อมทั้งเติมเต็มความรู้ด้านการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ ในทุกภาคส่วนที่ยังพร่อง
พร้อมกันนี้ที่ประชุมเห็นว่า ควรผลักดันให้บุคลากร วิทยากร ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้นำเสนอความรู้ผ่านทางฟรี TV ทั่วไป นอกจากสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอสทีวี (ASTV) ทีวีของประชาชน และ หากมีความพร้อมและสุกงอมพอ ประมาณ 4- 8 ปีข้างหน้า ควรจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองทางเลือกใหม่ของประชาชน
นายประยูร กล่าวต่อว่า ในส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 พันธมิตรฯ สุรินทร์ ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2550 เพราะ ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์จากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มากกว่าเสียประโยชน์ ประชาชนมีสิทธิ มีเสียง และมีส่วนร่วมทางการเมืองมากกว่าฉบับใด ๆ โดยเฉพาะสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย การตรวจสอบอำนาจรัฐ และการมีส่วนร่วมการเมืองทางตรงของประชาชน
อีกทั้งการบังคับใช้รัฐธรรมนูญยังไม่ครบถ้วนกระบวนความ โดยเฉพาะหมวดว่าด้วยจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งรัฐธรรมนูญ 2550 ส่งผลกระทบโดยตรงเฉพาะนักการเมืองและพรรคการเมืองที่ทุจริตเท่านั้น ส่วนนักการเมืองและพรรคการเมืองที่สุจริตไม่ได้รับผลกระทบแต่ประการใด รวมทั้งประชาชนทั่วไปด้วย
อย่างไรก็ตาม หากหลีกเลี่ยงการแก้ไขไม่ได้ ต้องใช้หลักการและวิธีการแก้ไขดังนี้ คือ ผู้มีส่วนได้เสีย (นักการเมือง) ต้องไม่เป็นผู้ดำเนินการแก้ไข ต้องให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้ประชาพิจารณ์ และดำเนินการลงประชามติด้วยเสียงส่วนใหญ่ของคนทั้งประเทศ และการดำเนินการต้องเสนอเป็นรายมาตราก่อนลงมติห้ามลงมติเสนอแก้ไขทั้งฉบับเด็ดขาด
สำหรับการนิรโทษกรรมทางการเมือง ความเห็นที่ประชุมไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรม ทั้งนี้เพื่อคงความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย และสร้างบรรทัดฐานที่ดีสำหรับนักการเมือง และประชาชน
นายประยูร กล่าวต่อว่า ขณะที่ความคิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งพรรคการเมืองของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นั้น ที่ประชุมพันธมิตรฯสุรินทร์ ครั้งนี้ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย เพราะเกรงว่าจะทำให้พันธมิตรฯ เสื่อมศรัทธาจากแนวร่วมและประชาชนทั่วไป ทำให้เกิดข้อคำถามตามมากับสิ่งที่เคยขับเคลื่อนการเมืองภาคพลเมืองด้วยความบริสุทธิ์ใจ หรือเป็นเพียงยุทธศาสตร์ปูทางสู่เกมแห่งอำนาจเท่านั้น
ประกอบกับสมาชิกกลุ่มพันธมิตรฯ ในต่างจังหวัดส่วนใหญ่ ยังกระจุกตัวอยู่ในเขตเมืองโดยเฉพาะเขตเทศบาลเท่านั้น ยังไม่กระจายตัวลงถึงฐานรากมากพอที่จะเปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้งได้ เพียงแต่ทำให้นักเลือกตั้งเดิมลำบากมากขึ้นเท่านั้น
“ที่ประชุมพันธมิตรฯ สุรินทร์จึงขอเสนอแนะควรทอดเวลาไปอีกสักระยะหนึ่ง อาจเป็น1 -2 วาระของสภา เพื่อระดมคน ระดมปัญญาและระดมทุน ให้พร้อมมากกว่านี้” นายประยูร กล่าว
พร้อมกันนี้ที่ประชุมได้พิจารณารายชื่อส่งตัวแทนพันธมิตรฯสุรินทร์ เข้าร่วมสัมมนาใหญ่ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ณ ศูนย์นันทนาการ ม.รังสิต ในวันที่ 24 พฤษภาคม จำนวน 10 คนรวมทั้งเข้าร่วมริ้วขบวนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในงาน “193 วันรำลึก 1 ปีแห่งการต่อสู้ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในวันที่ 25 พฤษภาคม ด้วย
นายประยูร พุ่มอินทร์ แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) จังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กลุ่มแกนนำพันธมิตรฯ สุรินทร์ได้ประชุม ที่บ้านหนังสือ ถนนหลักเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ และแนวโน้มการดำเนินงานของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในอนาคต
ทั้งนี้ในที่ประชุมเสนอความเห็น ว่า ควรดำเนินการขยายเครือข่ายพันธมิตรฯ เพิ่มขึ้นให้ครอบคลุมในทุกภาคส่วน ควรมีการจัดรูปแบบองค์กรในระดับภาค ระดับจังหวัดให้ชัดเจน เพื่อการประสานงานและขับเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการสนับสนุนหรือเป็นแนวร่วมพรรคการเมือง ที่มีแนวคิดปฏิรูปการเมืองไปสู่การเมืองใหม่ และการขับเคลื่อนให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับการเมืองใหม่อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง พร้อมทั้งเติมเต็มความรู้ด้านการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ ในทุกภาคส่วนที่ยังพร่อง
พร้อมกันนี้ที่ประชุมเห็นว่า ควรผลักดันให้บุคลากร วิทยากร ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้นำเสนอความรู้ผ่านทางฟรี TV ทั่วไป นอกจากสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอสทีวี (ASTV) ทีวีของประชาชน และ หากมีความพร้อมและสุกงอมพอ ประมาณ 4- 8 ปีข้างหน้า ควรจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองทางเลือกใหม่ของประชาชน
นายประยูร กล่าวต่อว่า ในส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 พันธมิตรฯ สุรินทร์ ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2550 เพราะ ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์จากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มากกว่าเสียประโยชน์ ประชาชนมีสิทธิ มีเสียง และมีส่วนร่วมทางการเมืองมากกว่าฉบับใด ๆ โดยเฉพาะสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย การตรวจสอบอำนาจรัฐ และการมีส่วนร่วมการเมืองทางตรงของประชาชน
อีกทั้งการบังคับใช้รัฐธรรมนูญยังไม่ครบถ้วนกระบวนความ โดยเฉพาะหมวดว่าด้วยจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งรัฐธรรมนูญ 2550 ส่งผลกระทบโดยตรงเฉพาะนักการเมืองและพรรคการเมืองที่ทุจริตเท่านั้น ส่วนนักการเมืองและพรรคการเมืองที่สุจริตไม่ได้รับผลกระทบแต่ประการใด รวมทั้งประชาชนทั่วไปด้วย
อย่างไรก็ตาม หากหลีกเลี่ยงการแก้ไขไม่ได้ ต้องใช้หลักการและวิธีการแก้ไขดังนี้ คือ ผู้มีส่วนได้เสีย (นักการเมือง) ต้องไม่เป็นผู้ดำเนินการแก้ไข ต้องให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้ประชาพิจารณ์ และดำเนินการลงประชามติด้วยเสียงส่วนใหญ่ของคนทั้งประเทศ และการดำเนินการต้องเสนอเป็นรายมาตราก่อนลงมติห้ามลงมติเสนอแก้ไขทั้งฉบับเด็ดขาด
สำหรับการนิรโทษกรรมทางการเมือง ความเห็นที่ประชุมไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรม ทั้งนี้เพื่อคงความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย และสร้างบรรทัดฐานที่ดีสำหรับนักการเมือง และประชาชน
นายประยูร กล่าวต่อว่า ขณะที่ความคิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งพรรคการเมืองของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นั้น ที่ประชุมพันธมิตรฯสุรินทร์ ครั้งนี้ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย เพราะเกรงว่าจะทำให้พันธมิตรฯ เสื่อมศรัทธาจากแนวร่วมและประชาชนทั่วไป ทำให้เกิดข้อคำถามตามมากับสิ่งที่เคยขับเคลื่อนการเมืองภาคพลเมืองด้วยความบริสุทธิ์ใจ หรือเป็นเพียงยุทธศาสตร์ปูทางสู่เกมแห่งอำนาจเท่านั้น
ประกอบกับสมาชิกกลุ่มพันธมิตรฯ ในต่างจังหวัดส่วนใหญ่ ยังกระจุกตัวอยู่ในเขตเมืองโดยเฉพาะเขตเทศบาลเท่านั้น ยังไม่กระจายตัวลงถึงฐานรากมากพอที่จะเปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้งได้ เพียงแต่ทำให้นักเลือกตั้งเดิมลำบากมากขึ้นเท่านั้น
“ที่ประชุมพันธมิตรฯ สุรินทร์จึงขอเสนอแนะควรทอดเวลาไปอีกสักระยะหนึ่ง อาจเป็น1 -2 วาระของสภา เพื่อระดมคน ระดมปัญญาและระดมทุน ให้พร้อมมากกว่านี้” นายประยูร กล่าว
พร้อมกันนี้ที่ประชุมได้พิจารณารายชื่อส่งตัวแทนพันธมิตรฯสุรินทร์ เข้าร่วมสัมมนาใหญ่ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ณ ศูนย์นันทนาการ ม.รังสิต ในวันที่ 24 พฤษภาคม จำนวน 10 คนรวมทั้งเข้าร่วมริ้วขบวนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในงาน “193 วันรำลึก 1 ปีแห่งการต่อสู้ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในวันที่ 25 พฤษภาคม ด้วย