3 ปีเศษแล้ว ที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ก่อตั้งมาเป็นภาคประชาชนที่ลุกขึ้นมาต่อสู้กับความเลวร้ายของระบอบทักษิณ เป็น 3 ปีเศษที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยขับไล่รัฐบาลทักษิณ 1 ชุด ผิดหวังกับรัฐบาลที่มาจากรัฐประหาร 1 ชุด แล้วยังต้องมาขับไล่รัฐบาลหุ่นเชิดของระบอบทักษิณอีก 2 ชุด
พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย และทหาร คือกลุ่มสุดท้ายในการเมืองในระบบเก่า ที่จะได้พิสูจน์ว่าประเทศไทยจะมีการเมืองใหม่ภายใต้การเมืองระบบเก่าหรือไม่!?
193 วันในการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเมื่อปีที่แล้ว มีการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ของประชาชนจำนวนมาก มีทั้งผู้บาดเจ็บ สูญเสียอวัยวะ และเสียชีวิต ด้วยเหตุนี้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จึงได้จัดกิจกรรมครั้งสำคัญในการที่จะสอบถามความรู้สึก และความคิดของมิตรที่จริงใจและเสียสละต่อสู้ร่วมรบกันมาเพื่อ ชาติ และราชบัลลังก์ มาตลอดในช่วงเวลา 193 วัน
กิจกรรมแรก เรียกว่า “การประชุมสภาพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” เป็นการประชุมร่วมกันเป็นครั้งแรกอย่างเป็นทางการระหว่างแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กับตัวแทนจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ และตัวแทนองค์กรแนวร่วมในทุกภาคส่วน ตลอดจนตัวแทนองค์กรวิชาชีพ
กิจกรรมแรกนี้ จัดที่อาคารนันทนาการ มหาวิทยาลัยรังสิต ในวันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม 2552 เริ่มลงทะเบียนตั้งแต่ 8.00 น. และเริ่มการถ่ายทอดสดการประชุมครั้งนี้ผ่านสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ASTV ช่อง 1 ตั้งแต่เวลา 9.00–12.00 น. โดยที่แกนนำจะเป็นฝ่ายพูดความในใจและวิเคราะห์สถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอำนาจและสถานการณ์การเมืองไทย การแก้ไขรัฐธรรมนูญ การนิรโทษกรรม การเมืองใหม่และก้าวต่อไปของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และสุดท้ายที่ขาดไม่ได้ คือเรื่อง “พรรคการเมืองใหม่”
หลังจากนั้นก็จะเปิดให้ตัวแทนพันธมิตรฯ ในแต่ละภูมิภาค ตลอดจนองค์กรแนวร่วม ได้ออกมาแสดงความคิดเห็น และให้แกนนำได้ตอบคำถามสลับกันไปจนเป็นที่พอใจ หลังจากพักรับประทานอาหารเที่ยงแล้วก็จะมาประชุมต่อจนถึงเวลาประมาณ 16.00 น. เพื่อแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม ตลอดจนร่วมกันร่างคำประกาศพันธกิจของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
กิจกรรมที่สอง เรียกชื่องานว่า “193 วันรำลึก 1 ปีแห่งการต่อสู้ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” จัดที่สนามกีฬา เมน สเตเดียม ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต ในวันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม 2552 ตั้งแต่เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป งานดังกล่าวจะมีกิจกรรมเดินขบวนพาเหรดจากทุกภูมิภาคและทุกภาคส่วนในสนามกีฬาเพื่อประกาศการเข้าร่วมวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ การแสดงเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์การต่อสู้ของพันธมิตรฯ การรำลึกถึงวีรชน และการประกาศพันธกิจของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ประเด็นสำคัญในวันนั้นก็คือจะมีการถามมติจากประชาชนผู้เข้าร่วมงาน ซึ่งอาจจะรวมไปถึงคำถามสำคัญ ตัวอย่างสมมติ เช่น “ถึงเวลาแล้วหรือยังที่สังคมไทย ควรจะมีพรรคการเมืองเพื่อสร้างการเมืองใหม่อย่างแท้จริง?” ซึ่งคำถามจริงๆ จะเป็นอย่างไรและจะมีกี่คำถาม แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะประชุมกันก่อนวันงานอีกครั้งหนึ่ง
ไม่ว่าคำตอบของผู้เข้าร่วมชุมนุมส่วนใหญ่จะเป็นอย่างไร ก็จะเป็นสิ่งที่แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและพันธมิตรฯ ทั่วประเทศจะต้องยอมรับและเคารพการตัดสินใจของประชาชนในวันนั้น และไม่ว่าผลการลงมติจะเป็นอย่างไร ก็ถือว่าเป็นการตัดสินใจของประชาชนที่จะกำหนดทิศทางของภาคประชาชน และอนาคตประเทศชาติด้วยตัวเอง
ส่วนการสำรวจความคิดเห็นในรายละเอียดเพื่อให้แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้นำไปประมวลผลเพื่อการตัดสินใจในอนาคตนั้น จะมีการแจกแบบฟอร์มให้กับผู้แทนจังหวัด ตัวแทนองค์กรทุกภาคส่วน และตัวแทนองค์กรวิชาชีพ และประชาชนที่เข้าร่วมงาน 193 วันรำลึก ได้ไปกรอกแสดงความคิดเห็นในการประชุมสภาพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในวันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม 2552 และวันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม 2552
เพื่อให้ผู้แทนจังหวัด ตัวแทนองค์กรทุกภาคส่วน และตัวแทนองค์กรวิชาชีพที่จะเข้าร่วมประชุมสภาพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ตลอดจนประชาชนที่จะเข้าร่วมงาน 193 วันรำลึก ได้มีโอกาสไปสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่และองค์กรของตัวเอง ก่อนที่จะเตรียมตัดสินใจมาแสดงความคิดเห็นในวันดังกล่าว โดยแบบฟอร์มดังกล่าวจะมีลักษณะดังต่อไปนี้
คำถามส่วนแรกเกี่ยวข้องกับรายละเอียดของผู้กรอกแบบฟอร์ม หลังจากนั้นจะเริ่มคำถามตั้งแต่ข้อ 4 ถึง ข้อ 22 รวม 19 ข้อ ซึ่งเป็นคำถามเพื่อสำรวจความคิดเห็นทางด้านการเมือง ซึ่งท่านผู้อ่านอาจจะทดลองตอบเองไปพลางก่อนก็ได้ ดังต่อไปนี้
คำถามที่ 4 ท่านคิดว่าการเมืองในปัจจุบันตอบสนองเจตนารมณ์ของวีรชนแล้วหรือยัง? (สนองแล้ว/ยังไม่สนอง)
คำถามที่ 5 ท่านคิดว่าการเมืองในปัจจุบันจะนำไปสู่การเมืองใหม่ได้หรือไม่? (ได้/ไม่ได้)
คำถามที่ 6 หากท่านคิดว่าพรรคการเมืองในปัจจุบันไม่สามารถนำไปสู่การเมืองใหม่แล้ว ท่านคิดว่าพันธมิตรฯ ควรเดินหน้าเพื่อสานเจตนารมณ์ต่อไปหรือไม่? (ควร/ไม่ควร)
คำถามที่ 7 ท่านคิดว่ากลุ่มคนใดที่มีโอกาสสร้างการเมืองใหม่ได้จริง? (พันธมิตรฯ/คนอื่น (ระบุ))
คำถามที่ 8 ท่านคิดว่าพันธมิตรฯ จะสร้างการเมืองใหม่ให้เป็นผลสำเร็จด้วยวิธีใด? (ชุมนุมต่อไป/ตั้งพรรคการเมือง/อื่นๆ (ระบุ) )
คำถามที่ 9 ท่านทราบหรือไม่ว่าการชุมนุมต่อไปจะมีข้อจำกัดในอนาคตที่นักการเมืองพยายามออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการชุมนุม ทั้งในด้านเวลาและสถานที่? (ทราบ/ไม่ทราบ)
คำถามที่ 10 ข้อเรียกร้อง 13 ข้อ ตามแถลงการณ์ฉบับที่ 29/2551 ลงวันที่ 12 ธ.ค. 51 ของพันธมิตรฯ ท่านคิดว่ารัฐบาลในปัจจุบันจะสามารถคลี่คลายได้สำเร็จหรือไม่? (ทำได้/ไม่มีทางทำได้/ไม่มั่นใจ)
คำถามที่ 11 จากการตอบสนอง/ไม่ตอบสนอง ข้อเรียกร้องของพันธมิตรฯ ทั้ง 13 ข้อ ท่านคิดว่า พันธมิตรฯ ควรพอใจหรือยัง? (ควรพอใจ/ไม่ควรพอใจ)
คำถามที่ 12 ท่านคิดว่า ถึงเวลาหรือยังที่ประเทศไทยควรมีพรรคการเมืองใหม่เพื่อสร้างการเมืองใหม่ (ถึงเวลาแล้ว/ยังไม่ถึงเวลา)
คำถามที่ 13 ท่านคิดว่าบทบาทของพันธมิตรฯ กับพรรคการเมืองใหม่ควรมีความสัมพันธ์กันอย่างไร (เลือก 1 ข้อ) 1. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยควรยุบไปรวมกับพรรคการเมืองใหม่ 2. มีพรรคการเมืองใหม่ที่เชื่อมโยงและเป็นเครื่องมือพันธมิตรฯ โดยตรง เพื่อให้รักษาที่มั่นและอุดมการณ์จากภาคประชาชนโดยมีพรรคเดียวไม่แตกแยก 3. มีพรรคการเมืองใหม่แต่ยังคงมีพันธมิตรฯ ที่เคลื่อนไหวภาคประชาชน โดยไม่มีความสัมพันธ์ต่อกัน ทิ้งระยะห่างเพื่อให้ภาคประชาชนยังคงตรวจสอบทุกพรรคการเมืองต่อไป 4. ไม่เห็นควรให้มีพรรคการเมืองใหม่
คำถามที่ 14 เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การเมืองใหม่ได้อย่างแท้จริง ท่านคิดว่าแกนนำพันธมิตรฯ ควรมีบทบาทอย่างไรในอนาคต (ถามบทบาททีละคน นายสนธิ ลิ้มทองกุล, พล.ต.จำลอง ศรีเมือง, นายพิภพ ธงไชย, นายสมศักดิ์ โกศัยสุข, นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์)
บทบาทต่อพรรคการเมืองใหม่ มีทางเลือกคือ 1. ทำงานภาคประชาชนต่อไป ไม่รับตำแหน่งในพรรคการเมือง 2. เป็นหัวหน้าพรรคใหม่ 3. เป็นกรรมการบริหารพรรค 4. เป็นที่ปรึกษาพรรค 5. แล้วแต่มติของแกนนำ
บทบาทต่อผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีทางเลือกคือ 1. ควรเป็น ส.ส. 2. ควรมีตำแหน่งในรัฐบาล 3. ไม่ควรรับบทบาทผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 4. แล้วแต่มติของแกนนำ
คำถามที่ 15 ท่านคิดว่าประเด็นใดที่จะทำให้เป็นจุดพิจารณาในการที่กลุ่มคนพันธมิตรฯ ที่จะก้าวเข้าสู่การเมือง เพื่อสร้างการเมืองใหม่มากที่สุด (เลือก 1 ข้อ)
1. การเคลื่อนไหวในการชุมนุมถึงทางตีบตัน ด้วยข้อจำกัดทางกฎหมาย ความไร้ยางอายของนักการเมือง และการเรียนรู้ของนักการเมืองต่อการรับมือกับการเคลื่อนไหวของภาคประชาชน
2. นักการเมืองไม่ตอบสนองและไม่สนใจข้อเรียกร้องของภาคประชาชน และไม่สนใจการเสียสละของวีรชน ผู้บาดเจ็บ ผู้สูญเสียอวัยวะ และผู้เสียชีวิต
3. การเมืองในระบบเก่าทำให้ประชาชนผิดหวังต่อทุกพรรคการเมือง
4. สนธิ ลิ้มทองกุล ถูกลอบสังหารชีวิต ผู้ชุมนุมถูกอาวุธสงครามเข่นฆ่าโดยที่นักการเมืองเพิกเฉย จึงต้องเปลี่ยนวิธีการต่อสู้ยกกระดับการต่อสู้เข้าสู่อำนาจรัฐเพื่อยุติความรุนแรงและสร้างการเมืองใหม่ให้ได้เป็นจริง
5. ไม่เห็นว่าสมควรเข้าสู่บทบาททางการเมืองไม่ว่ากรณีใดๆ 6. อื่นๆ (ระบุ)
คำถามที่ 16 หากไม่ให้แกนนำพันธมิตรฯ มามีบทบาทในพรรคการเมืองที่จะเกิดขึ้นใหม่ ท่านคิดว่าอยากเห็นใครเป็นหัวหน้าพรรค (เป็นคำถามปลายเปิด ระบุชื่อที่เหมาะสม 1 ชื่อ)
คำถามที่ 17 ท่านเห็นว่าควรตั้งพรรคเมื่อใด (ทันที/ภายใน 1 ปี/ ภายใน 3 ปี/ไม่เห็นควรตั้งพรรคการเมืองใหม่)
คำถามที่ 18 ท่านคาดหวังอะไรจากพรรคการเมืองใหม่ที่จะจัดตั้งขึ้น ตัวเลือกที่ให้เลือกได้แก่ 1. บรรลุข้อเรียกร้อง 13 ข้อของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 2. เป็นตัวกระตุ้นและกดดันพรรคการเมืองในปัจจุบันให้เร่งปรับปรุงตัว 3. เป็นตัวอย่างของการเมืองใหม่ที่ส่งเสริมให้คนดีปกครองบ้านเมือง และป้องกันไม่ให้คนไม่ดีมีอำนาจ ปราศจากการทุจริตคอร์รัปชัน มีคุณสมบัติเสียสละ ซื่อสัตย์ กล้าหาญ และมีประสิทธิภาพ 4. เข้าสู่อำนาจรัฐและเพื่อไปปฏิรูปการเมืองเศรษฐกิจสังคม สร้างการเมืองใหม่ด้วยตัวเองให้เร็วที่สุด 5. ไม่เห็นควรตั้งพรรคการเมืองใหม่
คำถามที่ 19 สมมติว่ามีการตั้งพรรคการเมืองใหม่ที่ตอบสนองต่อการเมืองใหม่ หากมีการเลือกตั้งท่านจะตัดสินใจลงคะแนนเลือกพรรคใด
คำถามที่ 20 หากไม่เห็นด้วยกับการตั้งพรรคการเมืองใหม่ ข้อใดเป็นสิ่งที่ท่านกังวลมากที่สุด ได้แก่ กังวลว่าจะซ้ำรอยการเมืองเก่า, กังวลว่าคนสนับสนุน ASTV น้อยลง, กังวลว่าจะหลงอำนาจและเปลี่ยนจุดยืน, กังวลว่าจะทำให้ภาคประชาชนล้มเหลวไปด้วย, กังวลว่าจะไปแย่งเสียงกับพรรคประชาธิปัตย์, กังวลว่าจะเปลี่ยนแปลงไม่สำเร็จ/สังคมไทยยังไม่พร้อม, ไม่กังวลใดๆ เพราะเชื่อมั่นในพันธมิตรฯ, อื่นๆ (ระบุ)
คำถามที่ 21 ท่านคิดว่าถ้ามีพรรคการเมืองใหม่เกิดขึ้น อยากให้มีผู้นำ/โครงสร้าง/นโยบายอะไรบ้าง (คำถามปลายเปิดเพื่อแสดงความคิดเห็นเต็มที่) และ คำถามที่ 22 ข้อคิดเห็นอื่นๆ (เป็นคำถามปลายเปิดเช่นเดียวกัน)
บางทีการได้ทดลองตอบคำถามข้างต้นทั้งหมดแล้ว อาจทำให้ประชาชนได้คิดทบทวนดูว่าเราจะต้องการอะไรเพื่อนำไปสู่การเมืองใหม่หรือไม่ และด้วยวิธีการใด?
พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย และทหาร คือกลุ่มสุดท้ายในการเมืองในระบบเก่า ที่จะได้พิสูจน์ว่าประเทศไทยจะมีการเมืองใหม่ภายใต้การเมืองระบบเก่าหรือไม่!?
193 วันในการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเมื่อปีที่แล้ว มีการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ของประชาชนจำนวนมาก มีทั้งผู้บาดเจ็บ สูญเสียอวัยวะ และเสียชีวิต ด้วยเหตุนี้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จึงได้จัดกิจกรรมครั้งสำคัญในการที่จะสอบถามความรู้สึก และความคิดของมิตรที่จริงใจและเสียสละต่อสู้ร่วมรบกันมาเพื่อ ชาติ และราชบัลลังก์ มาตลอดในช่วงเวลา 193 วัน
กิจกรรมแรก เรียกว่า “การประชุมสภาพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” เป็นการประชุมร่วมกันเป็นครั้งแรกอย่างเป็นทางการระหว่างแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กับตัวแทนจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ และตัวแทนองค์กรแนวร่วมในทุกภาคส่วน ตลอดจนตัวแทนองค์กรวิชาชีพ
กิจกรรมแรกนี้ จัดที่อาคารนันทนาการ มหาวิทยาลัยรังสิต ในวันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม 2552 เริ่มลงทะเบียนตั้งแต่ 8.00 น. และเริ่มการถ่ายทอดสดการประชุมครั้งนี้ผ่านสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ASTV ช่อง 1 ตั้งแต่เวลา 9.00–12.00 น. โดยที่แกนนำจะเป็นฝ่ายพูดความในใจและวิเคราะห์สถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอำนาจและสถานการณ์การเมืองไทย การแก้ไขรัฐธรรมนูญ การนิรโทษกรรม การเมืองใหม่และก้าวต่อไปของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และสุดท้ายที่ขาดไม่ได้ คือเรื่อง “พรรคการเมืองใหม่”
หลังจากนั้นก็จะเปิดให้ตัวแทนพันธมิตรฯ ในแต่ละภูมิภาค ตลอดจนองค์กรแนวร่วม ได้ออกมาแสดงความคิดเห็น และให้แกนนำได้ตอบคำถามสลับกันไปจนเป็นที่พอใจ หลังจากพักรับประทานอาหารเที่ยงแล้วก็จะมาประชุมต่อจนถึงเวลาประมาณ 16.00 น. เพื่อแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม ตลอดจนร่วมกันร่างคำประกาศพันธกิจของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
กิจกรรมที่สอง เรียกชื่องานว่า “193 วันรำลึก 1 ปีแห่งการต่อสู้ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” จัดที่สนามกีฬา เมน สเตเดียม ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต ในวันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม 2552 ตั้งแต่เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป งานดังกล่าวจะมีกิจกรรมเดินขบวนพาเหรดจากทุกภูมิภาคและทุกภาคส่วนในสนามกีฬาเพื่อประกาศการเข้าร่วมวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ การแสดงเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์การต่อสู้ของพันธมิตรฯ การรำลึกถึงวีรชน และการประกาศพันธกิจของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ประเด็นสำคัญในวันนั้นก็คือจะมีการถามมติจากประชาชนผู้เข้าร่วมงาน ซึ่งอาจจะรวมไปถึงคำถามสำคัญ ตัวอย่างสมมติ เช่น “ถึงเวลาแล้วหรือยังที่สังคมไทย ควรจะมีพรรคการเมืองเพื่อสร้างการเมืองใหม่อย่างแท้จริง?” ซึ่งคำถามจริงๆ จะเป็นอย่างไรและจะมีกี่คำถาม แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะประชุมกันก่อนวันงานอีกครั้งหนึ่ง
ไม่ว่าคำตอบของผู้เข้าร่วมชุมนุมส่วนใหญ่จะเป็นอย่างไร ก็จะเป็นสิ่งที่แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและพันธมิตรฯ ทั่วประเทศจะต้องยอมรับและเคารพการตัดสินใจของประชาชนในวันนั้น และไม่ว่าผลการลงมติจะเป็นอย่างไร ก็ถือว่าเป็นการตัดสินใจของประชาชนที่จะกำหนดทิศทางของภาคประชาชน และอนาคตประเทศชาติด้วยตัวเอง
ส่วนการสำรวจความคิดเห็นในรายละเอียดเพื่อให้แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้นำไปประมวลผลเพื่อการตัดสินใจในอนาคตนั้น จะมีการแจกแบบฟอร์มให้กับผู้แทนจังหวัด ตัวแทนองค์กรทุกภาคส่วน และตัวแทนองค์กรวิชาชีพ และประชาชนที่เข้าร่วมงาน 193 วันรำลึก ได้ไปกรอกแสดงความคิดเห็นในการประชุมสภาพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในวันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม 2552 และวันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม 2552
เพื่อให้ผู้แทนจังหวัด ตัวแทนองค์กรทุกภาคส่วน และตัวแทนองค์กรวิชาชีพที่จะเข้าร่วมประชุมสภาพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ตลอดจนประชาชนที่จะเข้าร่วมงาน 193 วันรำลึก ได้มีโอกาสไปสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่และองค์กรของตัวเอง ก่อนที่จะเตรียมตัดสินใจมาแสดงความคิดเห็นในวันดังกล่าว โดยแบบฟอร์มดังกล่าวจะมีลักษณะดังต่อไปนี้
คำถามส่วนแรกเกี่ยวข้องกับรายละเอียดของผู้กรอกแบบฟอร์ม หลังจากนั้นจะเริ่มคำถามตั้งแต่ข้อ 4 ถึง ข้อ 22 รวม 19 ข้อ ซึ่งเป็นคำถามเพื่อสำรวจความคิดเห็นทางด้านการเมือง ซึ่งท่านผู้อ่านอาจจะทดลองตอบเองไปพลางก่อนก็ได้ ดังต่อไปนี้
คำถามที่ 4 ท่านคิดว่าการเมืองในปัจจุบันตอบสนองเจตนารมณ์ของวีรชนแล้วหรือยัง? (สนองแล้ว/ยังไม่สนอง)
คำถามที่ 5 ท่านคิดว่าการเมืองในปัจจุบันจะนำไปสู่การเมืองใหม่ได้หรือไม่? (ได้/ไม่ได้)
คำถามที่ 6 หากท่านคิดว่าพรรคการเมืองในปัจจุบันไม่สามารถนำไปสู่การเมืองใหม่แล้ว ท่านคิดว่าพันธมิตรฯ ควรเดินหน้าเพื่อสานเจตนารมณ์ต่อไปหรือไม่? (ควร/ไม่ควร)
คำถามที่ 7 ท่านคิดว่ากลุ่มคนใดที่มีโอกาสสร้างการเมืองใหม่ได้จริง? (พันธมิตรฯ/คนอื่น (ระบุ))
คำถามที่ 8 ท่านคิดว่าพันธมิตรฯ จะสร้างการเมืองใหม่ให้เป็นผลสำเร็จด้วยวิธีใด? (ชุมนุมต่อไป/ตั้งพรรคการเมือง/อื่นๆ (ระบุ) )
คำถามที่ 9 ท่านทราบหรือไม่ว่าการชุมนุมต่อไปจะมีข้อจำกัดในอนาคตที่นักการเมืองพยายามออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการชุมนุม ทั้งในด้านเวลาและสถานที่? (ทราบ/ไม่ทราบ)
คำถามที่ 10 ข้อเรียกร้อง 13 ข้อ ตามแถลงการณ์ฉบับที่ 29/2551 ลงวันที่ 12 ธ.ค. 51 ของพันธมิตรฯ ท่านคิดว่ารัฐบาลในปัจจุบันจะสามารถคลี่คลายได้สำเร็จหรือไม่? (ทำได้/ไม่มีทางทำได้/ไม่มั่นใจ)
คำถามที่ 11 จากการตอบสนอง/ไม่ตอบสนอง ข้อเรียกร้องของพันธมิตรฯ ทั้ง 13 ข้อ ท่านคิดว่า พันธมิตรฯ ควรพอใจหรือยัง? (ควรพอใจ/ไม่ควรพอใจ)
คำถามที่ 12 ท่านคิดว่า ถึงเวลาหรือยังที่ประเทศไทยควรมีพรรคการเมืองใหม่เพื่อสร้างการเมืองใหม่ (ถึงเวลาแล้ว/ยังไม่ถึงเวลา)
คำถามที่ 13 ท่านคิดว่าบทบาทของพันธมิตรฯ กับพรรคการเมืองใหม่ควรมีความสัมพันธ์กันอย่างไร (เลือก 1 ข้อ) 1. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยควรยุบไปรวมกับพรรคการเมืองใหม่ 2. มีพรรคการเมืองใหม่ที่เชื่อมโยงและเป็นเครื่องมือพันธมิตรฯ โดยตรง เพื่อให้รักษาที่มั่นและอุดมการณ์จากภาคประชาชนโดยมีพรรคเดียวไม่แตกแยก 3. มีพรรคการเมืองใหม่แต่ยังคงมีพันธมิตรฯ ที่เคลื่อนไหวภาคประชาชน โดยไม่มีความสัมพันธ์ต่อกัน ทิ้งระยะห่างเพื่อให้ภาคประชาชนยังคงตรวจสอบทุกพรรคการเมืองต่อไป 4. ไม่เห็นควรให้มีพรรคการเมืองใหม่
คำถามที่ 14 เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การเมืองใหม่ได้อย่างแท้จริง ท่านคิดว่าแกนนำพันธมิตรฯ ควรมีบทบาทอย่างไรในอนาคต (ถามบทบาททีละคน นายสนธิ ลิ้มทองกุล, พล.ต.จำลอง ศรีเมือง, นายพิภพ ธงไชย, นายสมศักดิ์ โกศัยสุข, นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์)
บทบาทต่อพรรคการเมืองใหม่ มีทางเลือกคือ 1. ทำงานภาคประชาชนต่อไป ไม่รับตำแหน่งในพรรคการเมือง 2. เป็นหัวหน้าพรรคใหม่ 3. เป็นกรรมการบริหารพรรค 4. เป็นที่ปรึกษาพรรค 5. แล้วแต่มติของแกนนำ
บทบาทต่อผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีทางเลือกคือ 1. ควรเป็น ส.ส. 2. ควรมีตำแหน่งในรัฐบาล 3. ไม่ควรรับบทบาทผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 4. แล้วแต่มติของแกนนำ
คำถามที่ 15 ท่านคิดว่าประเด็นใดที่จะทำให้เป็นจุดพิจารณาในการที่กลุ่มคนพันธมิตรฯ ที่จะก้าวเข้าสู่การเมือง เพื่อสร้างการเมืองใหม่มากที่สุด (เลือก 1 ข้อ)
1. การเคลื่อนไหวในการชุมนุมถึงทางตีบตัน ด้วยข้อจำกัดทางกฎหมาย ความไร้ยางอายของนักการเมือง และการเรียนรู้ของนักการเมืองต่อการรับมือกับการเคลื่อนไหวของภาคประชาชน
2. นักการเมืองไม่ตอบสนองและไม่สนใจข้อเรียกร้องของภาคประชาชน และไม่สนใจการเสียสละของวีรชน ผู้บาดเจ็บ ผู้สูญเสียอวัยวะ และผู้เสียชีวิต
3. การเมืองในระบบเก่าทำให้ประชาชนผิดหวังต่อทุกพรรคการเมือง
4. สนธิ ลิ้มทองกุล ถูกลอบสังหารชีวิต ผู้ชุมนุมถูกอาวุธสงครามเข่นฆ่าโดยที่นักการเมืองเพิกเฉย จึงต้องเปลี่ยนวิธีการต่อสู้ยกกระดับการต่อสู้เข้าสู่อำนาจรัฐเพื่อยุติความรุนแรงและสร้างการเมืองใหม่ให้ได้เป็นจริง
5. ไม่เห็นว่าสมควรเข้าสู่บทบาททางการเมืองไม่ว่ากรณีใดๆ 6. อื่นๆ (ระบุ)
คำถามที่ 16 หากไม่ให้แกนนำพันธมิตรฯ มามีบทบาทในพรรคการเมืองที่จะเกิดขึ้นใหม่ ท่านคิดว่าอยากเห็นใครเป็นหัวหน้าพรรค (เป็นคำถามปลายเปิด ระบุชื่อที่เหมาะสม 1 ชื่อ)
คำถามที่ 17 ท่านเห็นว่าควรตั้งพรรคเมื่อใด (ทันที/ภายใน 1 ปี/ ภายใน 3 ปี/ไม่เห็นควรตั้งพรรคการเมืองใหม่)
คำถามที่ 18 ท่านคาดหวังอะไรจากพรรคการเมืองใหม่ที่จะจัดตั้งขึ้น ตัวเลือกที่ให้เลือกได้แก่ 1. บรรลุข้อเรียกร้อง 13 ข้อของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 2. เป็นตัวกระตุ้นและกดดันพรรคการเมืองในปัจจุบันให้เร่งปรับปรุงตัว 3. เป็นตัวอย่างของการเมืองใหม่ที่ส่งเสริมให้คนดีปกครองบ้านเมือง และป้องกันไม่ให้คนไม่ดีมีอำนาจ ปราศจากการทุจริตคอร์รัปชัน มีคุณสมบัติเสียสละ ซื่อสัตย์ กล้าหาญ และมีประสิทธิภาพ 4. เข้าสู่อำนาจรัฐและเพื่อไปปฏิรูปการเมืองเศรษฐกิจสังคม สร้างการเมืองใหม่ด้วยตัวเองให้เร็วที่สุด 5. ไม่เห็นควรตั้งพรรคการเมืองใหม่
คำถามที่ 19 สมมติว่ามีการตั้งพรรคการเมืองใหม่ที่ตอบสนองต่อการเมืองใหม่ หากมีการเลือกตั้งท่านจะตัดสินใจลงคะแนนเลือกพรรคใด
คำถามที่ 20 หากไม่เห็นด้วยกับการตั้งพรรคการเมืองใหม่ ข้อใดเป็นสิ่งที่ท่านกังวลมากที่สุด ได้แก่ กังวลว่าจะซ้ำรอยการเมืองเก่า, กังวลว่าคนสนับสนุน ASTV น้อยลง, กังวลว่าจะหลงอำนาจและเปลี่ยนจุดยืน, กังวลว่าจะทำให้ภาคประชาชนล้มเหลวไปด้วย, กังวลว่าจะไปแย่งเสียงกับพรรคประชาธิปัตย์, กังวลว่าจะเปลี่ยนแปลงไม่สำเร็จ/สังคมไทยยังไม่พร้อม, ไม่กังวลใดๆ เพราะเชื่อมั่นในพันธมิตรฯ, อื่นๆ (ระบุ)
คำถามที่ 21 ท่านคิดว่าถ้ามีพรรคการเมืองใหม่เกิดขึ้น อยากให้มีผู้นำ/โครงสร้าง/นโยบายอะไรบ้าง (คำถามปลายเปิดเพื่อแสดงความคิดเห็นเต็มที่) และ คำถามที่ 22 ข้อคิดเห็นอื่นๆ (เป็นคำถามปลายเปิดเช่นเดียวกัน)
บางทีการได้ทดลองตอบคำถามข้างต้นทั้งหมดแล้ว อาจทำให้ประชาชนได้คิดทบทวนดูว่าเราจะต้องการอะไรเพื่อนำไปสู่การเมืองใหม่หรือไม่ และด้วยวิธีการใด?