ASTVผู้จัดการรายวัน – กระทรวงการต่างประเทศประท้วงยูเนสโกส่งเจ้าหน้าที่ตรวจพื้นที่บริเวณปราสาทโดยไม่ขออนุญาตไทยก่อน เจอหมัดสวนกลับไม่ได้เหยียบแผ่นดินพิพาท ยันเข้า- ออกทางกัมพูชา “ผบ.ทบ.” ปัดไม่รู้ โยนเป็นเรื่องกระทรวงต่างประเทศประสาน
รายงานข่าวจากกระทรวงการต่างประเทศ แจ้งว่า วานนี้ (21 พ.ค.) เวลาประมาณ 10.00 น. นายวีรชัย พลาศรัย อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย มีกำหนดการ เชิญนายกวาง โจ คิม (Mr. Gwang-jo Kim) ผู้อำนวยการสำนักงานยูเนสโกประจำประเทศไทยและเอเชียแปซิฟิค มาพบเพื่อประท้วงกรณีเจ้าหน้าที่ยูเนสโกและผู้เชี่ยวชาญกัมพูชาตรวจพื้นที่บริเวณประชิดปราสาทพระหารช่วงปลายเดือนมี.ค. – เม.ย. ที่ผ่านมา เพื่อประเมินความเสียหายก่อนขึ้นทะเบียนมรดกโลกโดยไม่แจ้งให้ฝ่ายไทยทราบล่วงหน้า ซึ่งเมื่อถึงเวลาพบปะ ทางผู้อำนวยการยูเนสโกฯ ได้ส่งนายคลิฟ วิง หัวหน้าฝ่ายสารนิเทศและการจัดการความรู้ของยูเนสโก มาเป็นผู้แทน และแจ้งว่า นายกวาง โจ คิม ป่วย
อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายได้ย้ำแนวทางการดำเนินการกรณีเจ้าหน้าที่หรือผู้เชี่ยวชาญหรือผู้แทน ประสงค์จะเดินทางเข้าปราสาทพระวิหารตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2551 ให้ผู้แทนยูเนสโกรับทราบ ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญว่าหากเจ้าหน้าที่หรือผู้เชี่ยวชาญหรือผู้แทนยูเนสโกจะผ่านหรือเข้ามาในดินแดนไทย เพื่อดำเนินการ ให้ขออนุญาตไทยก่อน เพื่อให้ไทยอำนวยความสะดวกอย่างเหมาะสม
ก่อนหน้านี้ การพบหารือระหว่างอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายกับผู้แทนสำนักงานยูเนสโกเกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหารนี้ เป็นการหารือต่อเนื่องจากเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2552 อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายได้เชิญนายคลิฟ วิง ซึ่งในขณะนั้นเป็นผู้รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานยูเนสโกประจำประเทศไทยและเอเชียแปซิฟิก มาพบ และได้แจ้งมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2551 ข้างต้นให้ทราบครั้งหนึ่งแล้ว
หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2552 กระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือแจ้งยูเนสโกอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่งว่า ตามที่คณะกรรมการมรดกโลกได้ลงมติในสมัยประชุมที่ 32 ให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก กับขอให้กัมพูชาตั้งคณะกรรมการจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศ (ICC) เพื่ออนุรักษ์และพัฒนาปราสาทฯ นั้น เนื่องจากข้อมติฯ กำหนดให้ทรัพย์สินที่ขึ้นทะเบียนคือตัวปราสาทเท่านั้น ไม่รวมถึงพื้นที่ชะง่อนผาที่กว้างกว่ากับหน้าผาและถ้ำ บทบาทยูเนสโกและ ICC จึงถูกจำกัดด้วยขอบเขตทางภูมิศาสตร์ไว้เพียงเท่านั้น ดังนั้น กิจกรรมใดที่ยูเนสโก ICC หรือฝ่ายอื่นที่จะทำในพื้นที่ติดกับปราสาทนอกขอบเขตที่ได้ขึ้นทะเบียนจะต้องได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการล่วงหน้าจากรัฐบาลไทย
นอกจากนั้น การเดินทางเข้าสู่ปราสาท ซึ่งจะต้องผ่านดินแดนหรือน่านฟ้าของไทยก็จะต้องได้รับอนุญาตล่วงหน้าจากรัฐบาลไทยด้วยเช่นเดียวกัน การแจ้งดังกล่าวนี้ ดำเนินการพร้อมกันทั้งที่กรุงเทพฯ ที่สำนักงานใหญ่องค์การยูเนสโกที่กรุงปารีส และสำนักงานยูเนสโกกรุงพนมเปญ โดยผ่านสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ ตามลำดับ
ข้อกังวลของฝ่ายไทย ทางยูเนสโกมีท่าทีตอบสนองด้วยดี โดยเมื่อวันที่ 17 เม.ย. ที่ผ่านมา นางฟร็องซัวส์ ริวิแยร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่องค์การยูเนสโก ฝ่ายวัฒนธรรม ได้แจ้งต่อเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส ซึ่งเป็นเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำยูเนสโก ว่าคณะสำรวจ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทน ICOMOS และผู้เชี่ยวชาญชาติต่างๆ ได้เดินทางไปสำรวจพื้นที่ปราสาทพระวิหารในต้นเดือนเมษายน 2552 เพื่อประเมินความเสียหายของโบราณสถาน พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางในการซ่อมแซมเท่านั้น โดยนางริวิแยร์ ได้กำชับให้คณะสำรวจหลีกเลี่ยงการเดินทางผ่านพื้นที่พิพาท ซึ่งคณะสำรวจก็ได้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยได้เดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์ไปลงที่เชิงหน้าผาทางฝั่งกัมพูชาและเดินขึ้นไปยังตัวปราสาทพระวิหารทางช่องบันไดหัก โดยใช้เวลาในการเดินประมาณ 2 ชั่วโมง
นางริวิแยร์ ได้แจ้งด้วยว่าโดยที่การเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ของคณะสำรวจได้เกิดขึ้นก่อนเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างกองกำลังทหารไทย-กัมพูชา เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2552 คณะสำรวจจึงไม่สามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดขึ้นใหม่ได้ อย่างไรก็ดี จากการที่ตนได้ตรวจสอบข้อมูลจากภาพถ่ายภายหลังการปะทะกัน เห็นว่าแทบจะไม่มีความเสียหายใดๆ เกิดขึ้นใหม่
อนึ่ง กรณีเหตุปะทะในช่วงต้นเดือนเม.ย. ดังกล่าว สื่อกัมพูชา รายงานโดยอ้างการเปิดเผยของนายทหารในพื้นที่ว่า ทางไทยมีความตั้งใจจะสร้างความเสียหายให้แก่ฝ่ายกัมพูชา โดยจุดที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ปะทะ คือ บันใดนาค ซึ่งเป็นส่วนที่ไทยกล่าวอ้างว่าอยู่ในพื้นที่ของฝ่ายไทย
ทั้งนี้ ภายหลังการหารือกับอธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ นายคลิฟ วิง รับปากนำข้อห่วงกังวลของไทย ไปรายงานต่อผู้อำนวยการสำนักงานยูเนสโกประจำประเทศไทยและเอเชียแปซิฟิก แต่ขณะนี้ตนเองไม่มีรายละเอียดว่าการสำรวจคืบหน้าไปเพียงใดแล้ว พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ให้สัมภาษณ์ก่อนเดินทางไปตรวจเยี่ยมกำลังพล ที่กองกำลังบูรพา จ.ศรีสะเกษ ว่า การที่เจ้าหน้าที่ขององค์การยูเนสโกจะเดินทางไปตรวจสอบพื้นที่นั้น ยังไม่ทราบว่า จะเข้าทางฝั่งไทย หรือกัมพูชา ซึ่งเป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ ที่จะเป็นผู้ประสานงาน.
รายงานข่าวจากกระทรวงการต่างประเทศ แจ้งว่า วานนี้ (21 พ.ค.) เวลาประมาณ 10.00 น. นายวีรชัย พลาศรัย อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย มีกำหนดการ เชิญนายกวาง โจ คิม (Mr. Gwang-jo Kim) ผู้อำนวยการสำนักงานยูเนสโกประจำประเทศไทยและเอเชียแปซิฟิค มาพบเพื่อประท้วงกรณีเจ้าหน้าที่ยูเนสโกและผู้เชี่ยวชาญกัมพูชาตรวจพื้นที่บริเวณประชิดปราสาทพระหารช่วงปลายเดือนมี.ค. – เม.ย. ที่ผ่านมา เพื่อประเมินความเสียหายก่อนขึ้นทะเบียนมรดกโลกโดยไม่แจ้งให้ฝ่ายไทยทราบล่วงหน้า ซึ่งเมื่อถึงเวลาพบปะ ทางผู้อำนวยการยูเนสโกฯ ได้ส่งนายคลิฟ วิง หัวหน้าฝ่ายสารนิเทศและการจัดการความรู้ของยูเนสโก มาเป็นผู้แทน และแจ้งว่า นายกวาง โจ คิม ป่วย
อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายได้ย้ำแนวทางการดำเนินการกรณีเจ้าหน้าที่หรือผู้เชี่ยวชาญหรือผู้แทน ประสงค์จะเดินทางเข้าปราสาทพระวิหารตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2551 ให้ผู้แทนยูเนสโกรับทราบ ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญว่าหากเจ้าหน้าที่หรือผู้เชี่ยวชาญหรือผู้แทนยูเนสโกจะผ่านหรือเข้ามาในดินแดนไทย เพื่อดำเนินการ ให้ขออนุญาตไทยก่อน เพื่อให้ไทยอำนวยความสะดวกอย่างเหมาะสม
ก่อนหน้านี้ การพบหารือระหว่างอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายกับผู้แทนสำนักงานยูเนสโกเกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหารนี้ เป็นการหารือต่อเนื่องจากเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2552 อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายได้เชิญนายคลิฟ วิง ซึ่งในขณะนั้นเป็นผู้รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานยูเนสโกประจำประเทศไทยและเอเชียแปซิฟิก มาพบ และได้แจ้งมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2551 ข้างต้นให้ทราบครั้งหนึ่งแล้ว
หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2552 กระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือแจ้งยูเนสโกอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่งว่า ตามที่คณะกรรมการมรดกโลกได้ลงมติในสมัยประชุมที่ 32 ให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก กับขอให้กัมพูชาตั้งคณะกรรมการจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศ (ICC) เพื่ออนุรักษ์และพัฒนาปราสาทฯ นั้น เนื่องจากข้อมติฯ กำหนดให้ทรัพย์สินที่ขึ้นทะเบียนคือตัวปราสาทเท่านั้น ไม่รวมถึงพื้นที่ชะง่อนผาที่กว้างกว่ากับหน้าผาและถ้ำ บทบาทยูเนสโกและ ICC จึงถูกจำกัดด้วยขอบเขตทางภูมิศาสตร์ไว้เพียงเท่านั้น ดังนั้น กิจกรรมใดที่ยูเนสโก ICC หรือฝ่ายอื่นที่จะทำในพื้นที่ติดกับปราสาทนอกขอบเขตที่ได้ขึ้นทะเบียนจะต้องได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการล่วงหน้าจากรัฐบาลไทย
นอกจากนั้น การเดินทางเข้าสู่ปราสาท ซึ่งจะต้องผ่านดินแดนหรือน่านฟ้าของไทยก็จะต้องได้รับอนุญาตล่วงหน้าจากรัฐบาลไทยด้วยเช่นเดียวกัน การแจ้งดังกล่าวนี้ ดำเนินการพร้อมกันทั้งที่กรุงเทพฯ ที่สำนักงานใหญ่องค์การยูเนสโกที่กรุงปารีส และสำนักงานยูเนสโกกรุงพนมเปญ โดยผ่านสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ ตามลำดับ
ข้อกังวลของฝ่ายไทย ทางยูเนสโกมีท่าทีตอบสนองด้วยดี โดยเมื่อวันที่ 17 เม.ย. ที่ผ่านมา นางฟร็องซัวส์ ริวิแยร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่องค์การยูเนสโก ฝ่ายวัฒนธรรม ได้แจ้งต่อเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส ซึ่งเป็นเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำยูเนสโก ว่าคณะสำรวจ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทน ICOMOS และผู้เชี่ยวชาญชาติต่างๆ ได้เดินทางไปสำรวจพื้นที่ปราสาทพระวิหารในต้นเดือนเมษายน 2552 เพื่อประเมินความเสียหายของโบราณสถาน พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางในการซ่อมแซมเท่านั้น โดยนางริวิแยร์ ได้กำชับให้คณะสำรวจหลีกเลี่ยงการเดินทางผ่านพื้นที่พิพาท ซึ่งคณะสำรวจก็ได้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยได้เดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์ไปลงที่เชิงหน้าผาทางฝั่งกัมพูชาและเดินขึ้นไปยังตัวปราสาทพระวิหารทางช่องบันไดหัก โดยใช้เวลาในการเดินประมาณ 2 ชั่วโมง
นางริวิแยร์ ได้แจ้งด้วยว่าโดยที่การเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ของคณะสำรวจได้เกิดขึ้นก่อนเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างกองกำลังทหารไทย-กัมพูชา เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2552 คณะสำรวจจึงไม่สามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดขึ้นใหม่ได้ อย่างไรก็ดี จากการที่ตนได้ตรวจสอบข้อมูลจากภาพถ่ายภายหลังการปะทะกัน เห็นว่าแทบจะไม่มีความเสียหายใดๆ เกิดขึ้นใหม่
อนึ่ง กรณีเหตุปะทะในช่วงต้นเดือนเม.ย. ดังกล่าว สื่อกัมพูชา รายงานโดยอ้างการเปิดเผยของนายทหารในพื้นที่ว่า ทางไทยมีความตั้งใจจะสร้างความเสียหายให้แก่ฝ่ายกัมพูชา โดยจุดที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ปะทะ คือ บันใดนาค ซึ่งเป็นส่วนที่ไทยกล่าวอ้างว่าอยู่ในพื้นที่ของฝ่ายไทย
ทั้งนี้ ภายหลังการหารือกับอธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ นายคลิฟ วิง รับปากนำข้อห่วงกังวลของไทย ไปรายงานต่อผู้อำนวยการสำนักงานยูเนสโกประจำประเทศไทยและเอเชียแปซิฟิก แต่ขณะนี้ตนเองไม่มีรายละเอียดว่าการสำรวจคืบหน้าไปเพียงใดแล้ว พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ให้สัมภาษณ์ก่อนเดินทางไปตรวจเยี่ยมกำลังพล ที่กองกำลังบูรพา จ.ศรีสะเกษ ว่า การที่เจ้าหน้าที่ขององค์การยูเนสโกจะเดินทางไปตรวจสอบพื้นที่นั้น ยังไม่ทราบว่า จะเข้าทางฝั่งไทย หรือกัมพูชา ซึ่งเป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ ที่จะเป็นผู้ประสานงาน.